ชานนท์

นักเขียน : ชานนท์ จุทัยรัศม์

Hi-quality Minimal Space Home Theater!!

คำถามยอดฮิตจากหลายๆ ท่านที่เพิ่งก้าวเข้าสู่ระบบความบันเทิง ภายในบ้าน คือ… จะหาซิสเต็มเล็กๆ ที่สามารถเติมเต็มการใช้งานใน ห้องหับขนาดทั่วๆ ไป ในงบประมาณที่ไม่สูงจนเกินไปได้จากไหน? วันนี้จึงขอเสนอชุด AV Receiver กับชุดลำโพงขนาดเล็ก ที่เหนือกว่าHome Theater in a Box ทั้งในแง่การออกแบบรูปลักษณ์ ไปจนถึง คุณภาพเสียง…

ซิสเต็มดังกล่าวประกอบไปด้วย AV Receiver จาก Marantz รุ่น NR1607 ซึ่งเป็นรุ่นสูงสุดจากซีรี่ส์ “Slim Line” จากชื่อก็แน่นอนว่ามีขนาดกะทัดรัด ไม่ต้องการเนื้อที่มาก ขนาดช่องชั้นทั่วๆ ไปที่มีใช้งานตามบ้านสามารถตั้งวางได้ ที่สำคัญคือดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ง่ายกว่า AVR ที่มีขนาดตัวเครื่องใหญ่ๆ ขนาดที่เล็กมิได้หมายถึงว่า ถูกจำกัดความสามารถ ในแง่คุณสมบัติพื้นฐาน ของ NR1607 จัดเต็มไม่แพ้ AVR อื่นใดในปัจจุบัน จุดเด่นสำคัญ คือ สามารถ ถอดรหัสระบบเสียงรอบทิศทางยุคใหม่ ทั้ง Dolby Atmos และ DTS:X ได้ หากจะเป็นรองรุ่นท็อปๆ ก็ตรงที่ยังไม่สามารถอัพเกรดให้ถอดรหัส Auro-3D เท่านั้น 1 แต่ประเด็นนี้คงไม่จำเป็นเท่าใดนัก เนื่องจากคอนเทนต์ระบบเสียง Auro-3D ไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร

ช่องต่อรับสัญญาณก็มีไม่แพ้ AVR ขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น HDMI In ที่มีถึง 7 ช่อง (บวกอีก 1 ช่อง ด้านหน้า) ทั้งหมดรองรับ HDCP 2.2 สามารถส่งผ่าน สัญญาณวิดีโอ 4K HDR 60Hz 4:4:4 ได้ ส่วน HDMI Out มี 1 ช่อง รองรับ ARC พร้อมวิดีโออัพสเกลที่ 4K 24-30Hz นอกจากนี้ยังมีช่องรับสัญญาณภาพแบบ อะนาล็อกครบทั้ง Composite และ Component กับ Digital Audio In แบบ Optical, Coaxial และอะนาล็อกออดิโออีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีภาค MM Phono สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องเล่นแผ่นเสียง (จะเริ่มมีใน SR Series เป็นต้นไป)

NR1607 มาพร้อมภาคขยายกำลังขับตามสเป็ก 50 วัตต์ อ้างอิงที่ อิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม จำนวน 7 แชนเนล รองรับจำนวนลำโพงสำหรับระบบเสียง รอบทิศทางทั่วไปทั้งสิ้น 7.2 แชนเนล (หรือ 5.2 แชนเนล + Front Bi-amp) ส่วนระบบเสียงยุคใหม่อย่าง Dolby Atmos และ DTS:X จะรองรับจำนวน ลำโพงสูงสุดที่ 5.2.2 แชนเนล และมี Front Channel Pre-out สำหรับเชื่อมต่อ เพาเวอร์แอมป์ภายนอกเพื่ออัพเกรดภาคขยายของลำโพงคู่หน้าในอนาคตได้

ขั้วลำโพงใช้วัสดุใส ดูดี ตามสไตล์ Marantz พร้อมแถบสีกำกับเพื่อให้ง่าย ต่อการแยกแยะเชื่อมต่อสายลำโพง จุดเชื่อมต่อสายไฟเอซีเป็นแบบ IEC Inlet ถอดเปลี่ยนสายไฟได้

รูปลักษณ์ภายนอกไม่มีความแตกต่างจากรุ่นก่อน (NR1606) เช่นเดียวกับ คุณสมบัติภายในอื่นๆ ก็ไม่ต่างกัน… จุดต่างน่าจะมีเพียงรุ่นใหม่ NR1607 รองรับการ ไฟน์จูนผ่าน Audyssey MultEQ Editor App และน่าจะได้อัพเกรดเฟิร์มแวร์รองรับ Dolby Vision และ HLG (Hybrid Log Gamma) HDR pass-through ในอนาคต (ขณะที่ทำการทดสอบ ยังไม่มีแถลงการณ์ยืนยันในเรื่องนี้ แต่มีโอกาสเป็นไปได้สูง)

อุปกรณ์ภายในของ NR1607 ยังคงอัดแน่นด้วยคุณภาพไม่แพ้ SR Series ที่เป็นรุ่น ใหญ่กว่า แต่มาในขนาดที่กะทัดรัดลง ภาคจ่ายไฟแบบ EI Transformer ขนาดพอเหมาะ พร้อมด้วยตัวเก็บประจุคู่ขนาด 6800uF x 2 ในส่วนของภาคขยายยังคงเป็นแบบ Discrete Amplifier ทั้งหมด

ซิสเต็มนี้คงเป็นโฮมเธียเตอร์ที่สมบูรณ์มิได้หากขาด ชุดลำโพงรอบทิศทาง ครั้งนี้รับหน้าที่โดย harman/kardon HKTS 11 ซึ่งเป็นรูปแบบ “Sat+SUB” หรือลำโพงขนาดเล็ก พร้อมแอ็กทีฟซับวูฟเฟอร์ดีไซน์เฉียบ จึงเข้ากับคอนเซ็ปต์ “Slim Line AVR” ของ Marantz ได้เป็นอย่างดี…

ลำโพงแซทเทลไลท์ทั้ง 5 แชนเนล มีขนาดตัวตู้เท่ากันและ ติดตั้งตัวขับเสียงแบบเดียวกันทั้งหมด จึงมั่นใจได้ในเรื่องของ ความกลมกลืน ตัวขับเสียงประกอบไปด้วย ทวีตเตอร์โดมขนาด 3/4 นิ้ว ขนาบด้วยวู ฟเฟอร์คู่ขนาด 3 นิ้ว ทั้งหมดได้รับการชีลด์ ป้องกันสนามแม่เหล็กรบกวนจอภาพ ติดตั้งอยู่ภายในตัวตู้วัสดุ สังเคราะห์สีดำเงา 2 มีการลบมุมให้มีความโค้งมนดูสวยงาม น้ำหนักต่อข้างประมาณ 1 กก.

ในชุดจะให้ขาแขวนผนังพร้อมติดตั้ง หรือจะตั้งวางลำโพง ตรงๆ บนหิ้งหรือบนขาตั้งลำโพง หรือจะใช้ขาตั้งเสริมของทาง harman/kardon ที่ออกแบบมาเข้ากัน ดูสวยงามลงตัวก็ได้ มีสายลำโพงแซทเทลไลท์ สายสัญญาณซับวูฟเฟอร์ครบชุด พร้อมติดตั้งใช้งานทันที

ส่วนลำโพงแอ็กทีฟซับวูฟเฟอร์นั้น ตัวตู้ขนาดไม่เล็กแต่ก็ ไม่ถึงกับใหญ่เทอะทะ ผลิตจากไม้ MDF หนา มีน้ำหนักตัว ไม่น้อยที่ 15 กก. ทำผิวสีดำมันเงาแบบเปียโน ให้ความแข็งแรง และดูสวยงามกลมกลืนเข้ากับลำโพงแซทเทลไลท์ ตัวขับเสียง ที่ติดตั้งอยู่ด้านล่างนั้น มีขนาดใหญ่ถึง 10 นิ้ว ดังนั้น ในแง่การ ถ่ายทอดความลึกของเบสจึงไม่แพ้ซิสเต็มลำโพงขนาดใหญ่กว่า ภาคขยายภายในกำลังขับ 200 วัตต์ สามารถเติมเต็มความ หนักแน่นและดุดันในห้องหับตามบ้านทั่วไปได้สบาย

1 Marantz AVR รุ่นที่สามารถอัพเกรดถอดรหัสเสียง Auro-3D ได้แก่ AV8802/AV8802A,
AV7703, AV7702/AV7702mkll, SR7011, SR7010 และ SR7009 โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
199 USD ทั้งนี้ส􀁎ำหรับ AVR รุ่นที่ไม่มีภาคถอดรหัส Auro-3D สามารถใช้ DTS Neural:X ในการ
ถอดรหัสแทนได้ ผลลัพธ์ใกล้เคียงกัน
2 มีรุ่นสีเงินด้วย แต่ไม่แน่ใจว่ามีจำหน่ายในประเทศไทยหรือไม่

อุปกรณ์ที่ให้มาในชุด HKTS 11 ประกอบไปด้วย 1) ลำโพงแซทเทลไลท์ขนาดและตัวขับเสียงแบบเดียวกันทั้ง 5 แชนเนล, 2) ลำโพงแอ็กทีฟซับวูฟเฟอร์, 3) ขาแขวนผนัง, 4) สกรูยึดขาแขวนผนัง, 5) สายลำโพงสายสัญญาณซับวูฟเฟอร์ และสายทริกเกอร์, 6) คู่มือการใช้งาน

ซ้าย – ตำแหน่งจุดเชื่อมต่อสายลำโพงแซทเทลไลท์ซึ่งเป็นแบบหนีบ อยู่ด้านล่างตัวตู้ มีการบากช่องที่ฐานเพื่อให้สายลำโพงลอดออกไปได้อย่างลงตัว; กลาง – ที่ด้านบนตู้ลำโพงแอ็คทีฟซับวูฟเฟอร์ใกล้กับโลโก้ harman/kardon เป็นตำแหน่งของไฟบอกสถานะ ในโหมดสแตนบายแสงเป็นสีส้ม และจะกลายเป็นแสงสีขาวเมื่อซับวูฟเฟอร์ทำงาน; ขวา – วูฟเฟอร์ขนาดใหญ่ถึง 10 นิ้ว ติดตั้งอยู่ส่วนล่างของตัวตู้ลำโพงซับวูฟเฟอร์

ซ้าย – ลักษณะของตัวขับเสียงที่ติดตั้งมากับลำโพงแซทเทลไลท์ ให้อัตราตอบสนองความถี่ต่อเนื่องถึง 20kHz รับกำลังขับได้ตั้งแต่ 10 – 120 วัตต์ที่อิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม ความไว 86dB @ 1 watt/1 meter; ขวา – จุดเชื่อมต่อสัญญาณด้านหลังลำโพงซับวูฟเฟอร์ รองรับทั้งแบบ Low-level(LFE & Stereo) และ High-level พร้อมปุ่มปรับชดเชย Level และ Phase แต่ไม่สามารถกำหนดความถี่ครอสโอเวอร์ (Low-pass Filter) เพราะรุ่นนี้เป็นแบบฟิกซ์ความถี่ที่ 120Hz อย่างไรก็ดี สามารถบายพาสวงจรครอสโอเวอร์ได้ด้วยการสับสวิตช์ Filter ไปที่ตำแหน่ง Off (รุ่นนี้วงจรครอสโอเวอร์จะถูกบายพาสโดยอัตโนมัติเมื่อเชื่อมต่อสัญญาณผ่านทางช่อง Sub Input)

คุณภาพการใช้งาน

Marantz NR1607 เป็นดังเช่น AVR ยุคใหม่ที่ถึงพร้อมด้านการรองรับเทคโนโลยีความบันเทิง ในปัจจุบัน ทั้งความสามารถส่งผ่านสัญญาณภาพความละเอียด 4K Ultra HD สูงสุดที่ 60Hz 4:4:4 ไปจนถึง HDR และ 3D อีกทั้งยังถอดรหัสเสียง Dolby Atmos และ DTS:X ได้ จึงตอบสนองการ ใช้งานได้ยาวๆ เผื่อไปถึงอนาคต

สำหรับท่านที่ยังไม่พร้อมกับระบบเสียงยุคใหม่ตอนนี้ สามารถใช้งานร่วมกับชุดลำโพงอย่าง HKTS 11 แบบ 5.1 ได้เลย แต่ในอนาคตสามารถเพิ่มความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มเติมลำโพง เอฟเฟ็กต์ด้านสูง โดยอาจติดตั้ง Front Height Speakers หรือ Top Surround (In-ceiling Speakers) ก็ ได้ ซึ่งในการทดสอบครั้งนี้ บางช่ วงจะทดลองอ้างอิ งTop Middle Speakers ในแบบ 5.1.2 เพื่อยืนยันศักยภาพการถอดรหัสเสียง Dolby Atmos และ DTS:X อันเป็นความสามารถของ NR1607 ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่ผิดหวังครับ

เบื้องแรกที่ได้จากการสัมผัสคุณภาพเสียงของชุดลำโพง HKTS 11 คือ ความจะแจ้ง รายละเอียด ที่ชัดเจน จึงส่งเสริมให้การแยกแยะทิศทางเสียงมีความเด่นชัด ความกลมกลืนของสนามเสียง โอบล้อมจากลำโพงรอบทิศทางเป็นสิ่งที่ดำเนินการได้ไม่ยากสำหรับรุ่นนี้ที่ลำโพงเป็นรุ่นเดียวกัน ทั้งหมด ในด้านการรับชมภาพยนตร์จึงได้อานิสงส์จากประเด็นเหล่านี้อยู่มาก

ย่านความถี่ต่ำด้วยพื้นฐานของลำโพงซับวูฟเฟอร์ที่ใช้ตัวขับเสียงใหญ่ถึง 10 นิ้ว เบสจึงลงได้ลึก และ “เต็มที่” กว่าซิสเต็ม Home Theater in a Box ทั่วไป และหากจะถามหาความหนักแน่นจาก ลำโพงซับวูฟเฟอร์ของ harman/hardon รุ่นนี้ ก็ต้องบอกว่า ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ

ทดสอบกับภาพยนตร์ The Revenant ในฟอร์แม็ต 4K HDR Blu-ray ซึ่งแผ่นนี้เป็นระบบเสียง DTS HD Master Audio พบว่า ส่วนผสมของ NR1607 และ HKTS 11 ให้เสียง ที่ดุดันเกินตัว เสียงลมหายใจของหมีฟังดูน่าเกรงขาม จุดที่ทำให้ HKTS 11 สูสีกับซิสเต็มลำโพงที่มีขนาดใหญ่กว่า ก็คือลำโพง ซับวูฟเฟอร์ในชุดนี่เอง

ทั้งนี้หากสามารถอัพเกรดสายสัญญาณซับวูฟเฟอร์ จากสายแถมมาเป็นรุ่นที่คุณภาพสูงขึ้น จะสามารถดึงศักยภาพ ของลำโพงแอ็กทีฟซับวูฟเฟอร์ในชุด HKTS 11 นี้ ออกมาได้ เด่นชัดเกินตัวเลยทีเดียว

ถึงแม้ขนาดจะมาในแบบ “สลิม” แต่ NR1607 ยังคงเอกลักษณ์ทางเสียงตามแบบฉบับของ Marant ที่ยึดมั่นดังสโลแกนที่ว่า “Because Music Matters”

ในแง่การฟังเพลง ถึงแม้ลำโพงแซทเทลไลท์ขนาดเล็กจะ ให้ความอิ่มเอิบของน้ำเสียงได้ไม่เหมือนกับลำโพงวางหิ้งที่มีตัว ตู้ขนาดใหญ่ แต่เอกลักษณ์ทางเสียงของ AVR จาก Marantz เข้ามาเสริมในจุดนี้ได้อย่างลงตัว น้ำเสียงยังคงความไหลลื่น ไม่ติดรุกเร้าจนขาดความผ่อนคลาย และดังที่เรียนไปในตอนต้น ว่ารายละเอียดเสียงที่จะแจ้งของ HKTS 11 ยังช่วยให้รายละเอียด เสียงดนตรีชัดเจนดีด้วยครับ

การปรับตั้ง NR1607 ให้สามารถถอดรหัสเสียง Dolby Atmos และ DTS:X ในขั้นแรก จะต้องกำหนด “Speakers/Amp Assign Mode” ให้ตรงกับรูปแบบลำโพงเอฟเฟ็กต์ ด้านสูงที่มีอยู่ จากรูปเป็นการอ้างอิงใช้งานร่วมกับ Top Middle Surround (ลำโพง ฝังฝ้า หรือ In-ceiling Speakers ซึ่งเป็นการติดตั้งเพิ่มเติม)… หรือถ้าต้องการใช้งาน ลำโพงรูปแบบเก่า (7.1 with Surround Back) หรือ 5.1 + Front Bi-amp ก็มากำหนด ที่หัวข้อนี้เช่นเดียวกัน

สามารถอ้างอิงการเชื่อมต่อสายลำโพงเข้ากับตำแหน่งขั้วลำโพงด้านหลัง จากตัวเลือก “View Terminal Config.” ซึ่งแสดงเป็นไดอะแกรมภาพ ดูเข้าใจง่าย จากนั้นสามารถ ดำเนินขั้นตอน Audyssey Auto Calibration ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ทางเสียงสำหรับลำโพง แต่ละแชนเนลและซับวูฟเฟอร์ที่ลงตัว สะดวกขึ้น

ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ทาง Marantz เปิดตัว Audyssey MultEQ Editor แอพฯ เสริมราคา 699 บาท สำหรับติดตั้งกับ Smartphone/Tablet ระบบ Android และ iOS เพื่อให้สามารถใช้งานในส่วนของการตรวจสอบและปรับแต่งผลลัพธ์ จากระบบ Audyssey ร่วมกับ Marantz AVR เพิ่มเติมได้ (แต่เดิมความสามารถนี้จะจำกัด ไว้เฉพาะกับ Audyssey Pro Installer-ready เท่านั้น)

Marantz AVR ยุคหลัง จะได้ ใช้งาน Remote App เวอร์ชั่น ใหม่ที่ใช้ชื่อว่า “Marantz 2016 AVR Remote” (แทน Marantz Remote App เดิม) ในแง่ของการพัฒนา อินเทอร์เฟสไม่โดดเด่นจาก เดิมมากนัก ของเดิมอาจ ดูสวยกว่าในบางจุด แต่ สิ่งที่ได้เพิ่มเติมน่าจะเป็น เรื่องของฟีเจอร์การปรับตั้ง ที่ครอบคลุมมากกว่า

หากจะหาข้อติสำหรับ NR1607 ก็คงเป็นในส่วนของบริการ Online Music เรียกว่าไม่มี ตัวเลือกอื่นใดเลยนอกจาก Internet Radio ในขณะที่ AVR ยี่ห้ออื่นอาจมีทั้งบริการจาก Tidal, Deezer ฯลฯ ไปจนถึงฟีเจอร์ Google Cast

อย่างไรก็ดี ความกลมกลืนทางเสียงระหว่างลำโพงแซทเทลไลท์และซับวูฟเฟอร์ ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะฟังเพลงหรือรับชมภาพยนตร์ โดยประเด็นนี้จะสัมพันธ์ กับจุดตัดความถี่และการบาลานซ์ระดับเสียงของลำโพงซับวูฟเฟอร์… จากการ ทดสอบพบว่า จุดตัดความถี่ (Crossover) ของ HKTS 11 นั้นค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ดำเนินการติดตั้งลำโพงแซทเทลไลท์ลักษณะใด

หากแขวนแนบชิดผนัง จุดตัดความถี่อาจจะอยู่ที่ 120 – 150Hz แต่ถ้าติดตั้ง เข้ากับขาตั้งและวางแบบลอยตัวเหมือนกับลำโพงตั้งพื้น จุดตัดความถี่อาจเขยิบ สูงขึ้นมาที่ 200Hz ซึ่งการอ้างอิงจุดตัดความถี่และระดับเสียงของซับวูฟเฟอร์นี้สำหรับ NR1607 มีวิธีดำเนินการที่สะดวกด้วยการอ้างอิงผ่านระบบ Audyssey ผลลัพธ์ที่ได้มีความเที่ยงตรงดีครับ

ถึงแม้ขนาดจะมาในแบบ “สลิม” แต่ NR1607 ยังคงเอกลักษณ์ทางเสียงตาม แบบฉบับของ Marantz ที่ยึดมั่นดังสโลแกนที่ว่า “Because Music Matters” เมื่อจับคู่กับชุดลำโพง Sat-SUB ของ harman/kardon รุ่น HKTS 11 ที่โดดเด่น ในแง่การออกแบบ จึงผสานความลงตัวทั้งในแง่การติดตั้งที่ง่ายดาย เข้ากับคุณภาพ เสียงที่ลงตัวกับงบประมาณที่คุ้มค่า รองรับการใช้งานเติมเต็มบรรยากาศเซอร์ราวด์ ทั้งในพื้นที่ห้องนั่งเล่นขนาดเล็กในคอนโด ไปจนห้องรับแขกขนาดกลางตามบ้าน พักอาศัยทั่วไปได้อย่างน่าสนใจยิ่ง. VDP

MARANTZ: NR1607 + HARMAN/KARDON: HKTS 11
ราคาเซ็ตละ 39,900 บาท
จัดจำหน่ายโดย บริษัท เอ็ม ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
โทร. 0-2254-3316-9