วีรเกียรติ จิรัฐการุณธ์

นักเขียน : โรมัน, วีรเกียรติ จิรัฐการุณธ์

“ทีวีระดับกลาง” มักเป็นทีวีที่มียอดขายสูงสุดอยู่เสมอ จากสถิติปี 2016 ที่ผ่านมา LG รุ่น UH650T ก็มียอดขาย สูงสุดในบรรดาทีวีทุกรุ่นของ LG เหตุผลก็ง่ายๆ คือ “มีทุกอย่าง ในราคาที่เอื้อมถึง” มาในปี 2017 นี้ LG ก็พยายามสานต่อความสำเร็จจากรุ่นเดิม โดยเปิดตัว รุ่น UJ652T เป็น 4K HDR TV ที่มี Smart TV เวอร์ชั่น ใหม่อย่าง webOS 3.5 ผมทำการทดสอบแล้วก็จัดว่า น่าสนใจและน่าจะถูกใจสาวกมิใช่น้อย โดยเฉพาะแฟน LG ที่ประจักษ์ดีกับแบรนด์นี้ ที่มักจัดสเป็กมาให้เต็มเหนี่ยว ในราคาย่อมเยา

DESIGN การออกแบบ

55UJ652T (ปี 2017) คือ 4K Ultra HD LED TV ขนาด 55” มีดีไซน์ ที่ไม่หนีรุ่นก่อนอย่าง UH650T (ปี 2016) มากนัก ตัวกรอบทีวีเป็นสีเงินที่มี ความพรีเมียมกว่ากรอบดำเงาธรรมดา พร้อมขาตั้งทรงกิ่งไม้ที่อยู่ริมซ้าย-ขวา แบบสุดๆ จุดประสงค์เพื่อให้สอดลำโพง Soundbar เข้าด้านใต้ได้ แต่ข้อจำกัดก็ คือ เมื่อขาตั้งดันไปสถิตย์อยู่ตำแหน่งริมมาก ก็ต้องพึงระวังว่าชั้นวางทีวีของท่าน จะต้องกว้างพอสำหรับขาตั้งทรงนี้ หรือหากจะแขวนก็ไร้ปัญหาไป ตรงกลางมี โลโก้ LG ขนาดเล็ กพร้ อมไฟ LED แสดงสถานะเปิ ด-ปิ ดตัวเครื่องด้านหลังก็เรียบดำทรงเดิม ไม่ได้มีอะไรพิเศษผิดแปลกไปมากนัก สุดท้ายก็มาพร้อมกับ Magic Remote แบบ 2 In 1 ที่ควบรวมรีโมตแบบปุ่มกดธรรมดาเข้ากับรีโมตแบบ แอร์เมาส์ เวลาแกว่งรีโมตไปในทิศทางต่างๆ ก็จะมี “ลูกศร” ชี้ตามบนหน้าจอเลย จัดว่าเป็นเอกลักษณ์ของระบบปฏิบัติการ webOS ของ LG ไปแล้ว

Connectivity – ช่องต่อ

LG 55UJ652T มาพร้อมช่องต่อที่ครบครัน บางอย่างให้มาเยอะเกิน รุ่นกลางด้วย อาทิ HDMI ถึง 4 ช่อง ซึ่งโดยปกติรุ่นกลางนั้นมักให้มาแค่ 2 – 3 ช่อง เท่านั้น หากจะใจป้ำเราก็ยินดีที่จะรับไว้ด้วยความเต็มใจจ้า ช่องต่อประกอบด้วย… HDMI x 4, USB x 2, Antenna x 1, AV และ Component x 1 (ใช้ร่วม), LAN x 1, Optical Out x 1, Audio Out 3.5 mm x 1, รองรับการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย

Picture – ภาพ

มาถึงด้านภาพกันบ้าง LG 55UJ652T มีความละเอียดหน้าจอแบบ 4K Ultra HD หรือ 3840 x 2160 พิกเซล ใช้จอพาแนลแบบ IPS ซึ่งมีโครงสร้างแบบ RGBW ซึ่งเป็นหน้าจอ 4K แบบประหยัด เฉกเช่นเช่นเดียวกับรุ่น UH650T ปีที่ผ่านมา (หากรุ่นสูงอย่าง SJ850 / SJ800 โครงสร้างเป็น RGB ที่มีคลาส และคุณภาพสูง กว่าอีกสเตป) รองรับ HDR มาตรฐาน HDR10 มีโครงสร้างการกำเนิดแสงแบบ Edge LED หรือหลอดไฟ LED ติดตั้งไว้ที่แถบด้านบน-ล่างของของหลังเครื่อง มีฟีเจอร์ Local Dimming ที่สามารถดิมหลอดไฟเป็นโซนๆ เพื่อให้ฉากแบ็กกราวด์ มีความดำสนิทเฉพาะจุดได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งโดยทั่วไป ทีวี 4K ระดับเริ่มต้นแบบนี้ไม่ค่อย ให้กันมา มาดูกันว่า 4K รุ่นประหยัดจาก LG จะมีประสิทธิภาพที่ดีสักเพียงใด?

โครงสร้าง RGBW โดยการเพิ่ม
เม็ดซับพิกเซลสีขาวขึ้นมา

การตั้งค่าภาพเบื้องต้น

สำหรับการเซ็ตอัพเพื่อรับชมโดยทั่วไปนั้น ถึงแม้โหมดภาพสำเร็จรูปของ LG ให้มามากมาย ไม่ว่าจะเป็น Vivid ซึ่งมักจะสดใสและจัดจ้านเกินจริง, Standard, Sport แต่โหมดที่ให้ค่าแสงสีได้ค่อนข้างแม่นยำคือ โหมด Expert ISF ไม่ว่าจะเป็น Bright Room หรือ Dark Room ก็สามารถใช้ตามสภาพแวดล้อมของห้องเรา ตามการแปลความหมายที่ตรงตัว การปรับสัดส่วนของภาพ หรือ Aspect Ratio ให้ตั้งเป็น 16:9 และปิด Overscan ให้เป็น OFF เพื่อการแสดงผลภาพเต็มหน้า จอไม่ถูกครอปซ้ายขวาไป ระดับความสว่างของตัวทีวีอาจไม่สูงมากนัก ให้ชดเชย โดยการเพิ่มค่า Backlight ให้สูงขึ้น หรือหากอยากให้รายละเอียดในที่มืดมีความ แจ่มแจ้งขึ้น ก็ขอแนะนำให้เคาะค่า Brightness จาก 50 ให้สูงขึ้นจนถึง 55 เลยก็กำลังดี ส่วนการเปิด LED Local Dimming แนะนำแค่ระดับต่ำหรือกลางก็พอ เพราะระดับสูงสุดนั้น ผมทดสอบดูแล้ว แลรู้สึกว่าแสงไฟมันค่อนข้างวูบวาบเกิน ไปจนรบกวนการรับชมพอสมควร

หากจะดูหนัง 4K HDR ผ่านช่องต่อ HDMI เช่น จากเครื่องเล่น 4K Ultra HD Blu-ray Player
จำเป็นต้องเปิด HDMI Ultra HD Deep Color ให้เป็น On เสียก่อน

ปิ๊งป่อง : เนื่องจากทีวีมีความละเอียดแบบ 4K พร้อมรองรับ HDR การเซ็ตเมนูของ เครื่องทีวีเพื่อให้รองรับภาพ 4K HDR จาก HDMI ก็สำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะมิเช่น นั้นภาพ HDR ไม่ออก ก็จะหาไม่ว่าเตือน โดยให้เราไปตั้งค่าที่เมนูหัวข้อ General แล้วเลือกช่อง HDMI ที่เราใช้เสียบ 4K Ultra HD Blu-ray Player แล้วให้เลือก เปิด HDMI Ultra HD Deep Colour ตัวเครื่องจะรีบูตตัวเอง 1 ที เพียงเท่านี้ทีวี ของท่านก็จะรองรับ 4K HDR ผ่านทางช่อง HDMI ได้อย่างสมบูรณ์ ตั้งค่าเพียง 1 ครั้ง ก็ใช้ได้ตลอดไป ไม่ต้องกลับมาตั้งซ้ำ

โหมดภาพสำเร็จรูป ซึ่งโหมด Cinema, Expert (Bright), และ Expert (Dark)
ให้สมดุลแสงขาวได้ใกล้เคียงค่าอ้างอิงความถูกต้องมากที่สุด
ใช้โหมด Expert ISF (Bright) ในการปรับภาพ ค่า Pre-Calibrated
ก่อนปรับภาพก็อยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้อยู่
ปรับ White Balance แบบ 20 จุดอย่างละเอียด ทำให้สมดุลแสงขาวดีขึ้นมาก ส่วนการปรับ
ขอบเขตการแสดงเขตสีของแม่หลักและแม่สีรอง ก็ทำได้อยู่ประมาณ 98% ของมาตรฐาน REC 709

หมายเหตุว่า หากปรับค่าอย่าง White Balance 20 จุด แบบหนักหน่วงจนเกินไป จะส่งผล ให้การแสดงผลภาพภาพติดเรื้อนบ้าง จึงแนะนำว่า หากท่านเป็นผู้ใช้งานทั่วไปให้ใช้โหมดภาพ สำเร็จรูปอย่าง Cinema หรือ Expert ISF (Bright) ก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องไปยุ่งกับเมนูปรับค่า White Balance จะดีที่สุด

โหมดภาพสำเร็จรูปในสำหรับคอนเทนต์ HDR โหมดที่ให้ค่าสมดุลแสงขาว หรือ White Balance
ได้เที่ยงตรงที่สุด = Cinema โหมดที่ให้ค่าความสว่างได้สูงที่สุด = Cinema Home

สำหรับการรับชมคอนเทนต์ HDR จะแนะนำโหมดภาพ HDR 2 แบบด้วยกัน โหมดแรกได้แก่โหมด Cinema เพราะให้ค่า White Balance ได้เที่ยงตรง ที่สุด การรับชมคอนเทนต์ 4K HDR จะอ้างอิงการแสดงขอบเขตของสีด้วย มาตรฐาน DCI P3 (มาตรฐานเดียวกับโรงหนัง) ซึ่ง 55UJ652T จะทำได้ ประมาณ 80% ของมาตรฐานนี้ ส่วนโหมดภาพ HDR ที่ให้ค่า Peak Brightness เพื่อแสดงเอฟเฟกต์ภาพ HDR ได้เจิดจรัสที่สุดได้สูงสุด ได้แก่ โหมด Cinema Home จะได้ราวๆ 571 nits ทว่าก็ยังไม่ถึงเกณฑ์ของ Ultra HD Premium ซึ่งกำหนดไว้ที่ 1000 nits อยู่ดี ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร เพราะส่วนใหญ่จะต้องพวก ทีวี 4K ตัวท็อป Series 9 เท่านั้น หรือพวกจัดเรียงหลอดไฟแบบ Full LED จึงสามารถแสดงภาพสว่างจนทะลุมาตรฐาน

แผ่น 4K Ultra HD และ แผ่น Blu-ray Disc ที่ใช้ทดสอบในครั้งนี้
จัดว่าเป็นเซ็ตใหม่ผสมของเก่าที่คุ้นเคยใช้อ้างอิงเป็นประจำ

เริ่มจากแผ่น 4K Ultra HD Blu-ray เรื่อง X-Men Apocalypse แผ่น 4K อันดับต้นๆ ในใจผม ฉากรวมพลเหล่าพระเอกนางเอกในการช่วยรุมสกรัมตัวร้าย อย่างเจ้า Apocalypse คุณภาพโดยรวมจัดว่าไม่หนีจากรุ่นปีที่ผ่านมาอย่าง UH650T มากนัก ผิวหน้าคนมีความเข้ม แต่ก็คงความถูกต้องเป็นธรรมชาติไว้ได้อยู่ ความสว่าง ของภาพอยู่ในเกณฑ์พอประมาณ มิได้รุกเร้า แสงแฟลชแปร๊บๆ จากการยิงพลัง สายฟ้าฟาดของนางเอกสาวอย่าง Storm ก็มีเอฟเฟกต์ HDR ให้เห็นกล้อมแกล้ม จนชื่นใจอยู่บ้าง ซึ่งโดยปกติ 4K HDR TV รุ่นประหยัดที่มีระดับความสว่างและสีสัน อยู่ในระดับเริ่มต้นก็จะแสดงเอฟเฟกต์ของ HDR ได้อยู่ในระดับพอประมาณเท่านั้น จึงมิได้คาดหวังอะไรมากนักกับเจ้า UJ652T

ทดสอบเอฟเฟ็กต์ HDR จากหนัง X-Men: Apocalypse จัดว่ามีแสงแปร๊บๆ ยิงเข้าหาเรา
แบบพอเป็นกระษัย ให้อุ่นใจว่าเจ้าฟีเจอร์ HDR นี่มีผลต่อภาพอยู่บ้าง

หลังจากนั้นทดสอบเรื่อง Lucy แบบ 4K HDR นำแสดงโดย แม่สาวทรงสะบึม Scarlett Johanson เรื่องนี้อาจจะไม่มีแสงไฟเรืองรองให้ทดสอบความเจิดจรัสมากนัก ทว่าจะได้ทดสอบความถูกต้องของ Skin Tone หรือสีผิวของคน คาแรกเตอร์ภาพ ของ IPS นั้นจะออกแนวเข้มข้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งถึงแม้เป็นเพียงแค่ขอโครงสร้าง RGBW รุ่นประหยัดก็ตาม แต่ก็ได้ DNA ความเป็น IPS มาค่อนข้างชัดเป๊ะ ใบหน้า ของเจ๊แกจัดว่าเป็นสีเนื้ออมชมพูแบบ “ติดเข้ม” เล็กน้อย ซึ่งตรงกันข้ามกับพาเนล ของคู่แข่งร่วมประเทศที่จะเป็นแนว “เปิดโปร่ง” ฉะนั้น หากมองถึงข้อดีของ แนวภาพแบบเข้มข้นก็คือจะถ่ายทอดอารมณ์ของหนังให้มีอรรถรสขึ้นได้

หนังเรื่องนี้มักมีฉากพวกลูกกระจ๊อกใส่เสื้อสูทชุดดำเสนอหน้าออกมาให้โดน นางเอกกระทืบจนม้ามแตกบ่อยครั้ง ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ควาทนทานของม้าม แต่อยู่ ที่เสื้อสูทสีดำที่รายละเอียด อาทิ ปกเสื้อ รอยยับ มักถูกความดำจมกลืนหายไป ขอแนะนำให้เพิ่มระดับ Brightness ไปอีกสัก 5 หน่วย สิ่งที่ซ่อนเร้น.. ซึ่งเราควรต้อง เห็นก็จะค่อยๆ ผุดออกมาให้เราได้เชยชม ส่วนระดับความดำของภาพนั้น ขอใช้ำว่า อยู่ในเกณฑ์ปานกลางเท่านั้น การเปิดฟีเจอร์ LED Local Dimming ใน “ระดับต่ำถึงกลาง” จะช่วยเรื่องการแสดงสีดำให้มืดสนิทเฉพาะจุดได้ดีอยู่พอประมาณ ส่วน การเปิดระดับสูงหลอดไฟ LED จะเปิดๆ ปิดๆ หรีๆ ด้วยความรวดเร็วเกินไป ทำให้ ภาพดูวูบวาบไม่เป็นธรรมชาตินัก

มาดูแผ่น Blu-ray แบบปกติกันบ้าง ผมใช้แผ่น WWE – Summerslam 2016 ซึ่งผมเองเป็นติ่งมวยปล้ำมาอย่างช้านาน ดูตั้งแต่สมัย UTV / UBC นู้นแหละ จะเรียก ได้ว่าอ้างอิงสีผิวของ The Rock ตั้งแต่สมัยยังหนุ่มยังแน่น ผิวกายเต่งตึง มาจนช่วง นมเหี่ยวยับ และกลับมาฟิตกล้ามเต่งตึงได้อีกครั้ง (ฮา) โดยแผ่นมีความละเอียดแบบ 1080 โดยรวมภาพสว่างกว่าแผ่นหนังทั่วๆ ไป โดยแมตช์ที่ใช้ทดสอบคือ Randy Orton vs Brock Lesnar แมตช์การปล้ำคู่นี้จัดว่าดุเดือดเลือดพล่านมาก ด้วย คาแรกเตอร์ภาพที่ติดเข้มเล็กๆ ส่งผลให้อารมณ์ร่วมมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นไปอีก หนึ่งสเตป ไม่ว่าจะเป็นผิวกายของนักมวยปล้ำทั้งสอง ตลอดจนเลือดแดงฉานจาก บาดแผลหัวแตกที่หลั่งออกมา ผมว่า การรับชมคอนเทนต์ความละเอียด Full HD – SDR นี่ UJ652T ก็ทำได้ดี มิได้ด้อยกว่าทีวี 4K รุ่นเริ่มต้นของค่ายอื่นเลย

ทดสอบภาพเคลื่อนไหว

ใครไม่อ่านย่อหน้านี้ถือว่า “ผิดมหันต์” เพราะหากเซ็ตค่า TruMotion ผิด ทีวี จากราคาสามหมื่นอาจเหลือเพียงสามพันได้ (ฮา) เพราะฟีเจอร์การแทรกเฟรมภาพ อย่าง TruMotion จะถูกเปิดอัตโนมัติในโหมดภาพสำเร็จรูปที่เรามักใช้กันเป็นประจำอย่างเช่นโหมด Vivid และ Standard เป็นต้น หากดูคอนเทนต์ 4K แท้ๆ แนะนำว่า “ไม่” ต้องเปิด TruMotion เลยจะดีที่สุด ส่วนคอนเทนต์ HD/Full HD หากเปิด TruMotion ระดับ Clear หรือ Smooth ภาพเคลื่อนไหวเร็วๆ จะมีวุ้นเรืองๆ ขึ้น ตามตัวละครและวัตถุที่เคลื่อนไหว จึงเป็นระดับที่ “ไม่แนะนำ” อย่างแรง ขอให้ปิด ไปเลย อย่าริอาจใช้มัน ในความเป็นจริงให้เลือก TruMotion ปิดเป็น Off ไปเลยก็ได้ ภาพเคลื่อนไหวแบบปกติทั่วไปไร้กำลังเสริมก็พอใช้ได้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ถ้าหาก อยากให้ภาพเคลื่อนไหวลื่นไหลขึ้นอีกสักนิด แนะนำให้ปรับ TruMotion เป็นระดับ Custom และเพิ่ม De-Judder หรือลดอาการสะดุดให้เป็น 2 ภาพ ก็จะลื่นไหลเป็น ธรรมชาติขึ้น ไม่มีวุ้นเรืองตามขอบมากวนใจ ให้ความสมดุลระหว่างความลื่นไหลและ คงความเป็นธรรมชาติของภาพไว้ได้ดี

TruMotion

ดูคอนเทนต์ 4K = ปิด
ดูคอนเทนต์ HD / Full HD = ปิด
หรือ เปิดแบบ Custom และปรับ De-Judder เป็น 2

หากดูคอนเทนต์ HD/Full HD ให้ปิด TruMotion เป็น Off ไปเลย
หรืออยากให้ลื่นไหลขึ้นอีกนิดให้เลือกเป็นระดับ Custom แล้วปรับ De-Judder = 2

ทดสอบ Input Lag

สำหรับการเล่นเกมนั้น ค่าที่สำคัญที่สุดที่เราควรรู้เอาไว้คือ ค่า Input Lag หรือ ค่าการดีเลย์ที่ทีวีจะตอบสนองต่อคำสั่งจากจอยเกมของเรา ยิ่งค่าต่ำ= ยิ่งดี แปลว่า… ทีวีตัวนั้นตอบสนองไว ตัวอย่างเช่น เวลาเรากดปุ่ม “ยิง” บนจอย ภาพบนจอก็จะตอบ สนอง “ยิง” ให้ไวสมใจอยาก ไม่มีอาการหน่วงให้สังเกตเห็น โหมดภาพที่แนะนำคือ โหมด Game ซึ่งชื่อก็บอกโต้งๆ ไว้ตรงตัวอยู่ วัดด้วยเครื่องมือของ Leo Bodnar ก็ได้ อยู่ที่ 18.8 ms ซึ่งถือว่าเร็วมาก (ตามมาตรฐาน ค่าควรไม่สูงเกิน 30 ms = ดีเยี่ยม) ส่วนโหมดภาพอื่นๆ เช่น Expert ISF ก็จะอยู่ประมาณ 120 ms ก็ค่อนข้างดีเลย์พอ สมควร ฉะนั้น หากจะเล่นเกมกับ LG 55UJ652T ก็ขอแนะนำโหมด Game เท่านั้น

สรุปเรื่องภาพ

หากผมจะบอกว่าเป็น Series 6 ภาพก็จัดอยู่ในคลาสของ Series 6 แบบชัดเจน กล่าวคือ เด่นกว่าพวก Full HD ซีรี่ส์ 5 แต่ก็ยังมิอาจเทียบชั้นพวก Super UHD ซีรีส์ 8 ได้อยู่ดี ผมจึงกล้าฟันธงให้เลยว่า มันอยู่ระดับนี้จริง ผมลองตั้งทีวีเทียบเรียง กันแล้ว ก็เห็นความต่างอย่างชัดเจน ทั้งเรื่องสีสัน ความสว่าง มุมมอง และความเจิด จรัสของ HDR ฉะนั้น หากท่านจะเล่น UJ652T นี้ก็ขอให้รับทราบไว้ว่า คุณภาพของ ภาพคือรุ่นประหยัด จัดว่าดูได้ ไร้ซึ่งข้อกังขา ให้ภาพโดยรวมได้คุ้มกับเงินที่จ่ายไป ไม่แตกต่างจากซีรีส์ 6 ปีก่อนเท่าใดนัก

Sound – เสียง

มาทดสอบคุณภาพเสียงกันบ้าง LG 55UJ652T ตัวนี้ให้ลำโพงกำลังขับแบบ 20 Watts พร้อมโหมดเสียงสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็น Standard, Cinema, Clear Voice II, Music, และ Game มาให้ โดยโหมดที่ผมฟันธงแล้วว่าดีที่สุดคือ… โหมด Standard นั่นเอง เพราะให้สมดุลเสียงดีเยี่ยม ไม่มีเสียงย่านไหนไปกลบอีกย่านมิดจนรายละเอียดหาย คุณภาพเสียงจัดว่าดีเกินคาด เป็นทีวีระดับกลางที่ให้คุณภาพเสียงเกินหน้าเกินตา ทดสอบจากเพลงรักโหยหวนอย่าง Look what you have done to me โดย Boz Scaggs Feat. David Foster เสียงร้องนั้นมีเนื้องมีหนังอิ่มฉ่ำเสียงกลอง มีน้ำหนักเต่งตึง เสียงกีตาร์พลิ้วไหว สำแดงความอิ่มแน่นได้พอประมาณ ถัดมาลอง เพลง Radioactive สุดเร้าใจของวง Imagine Dragons ดูบ้าง เสียงร้องยังมีน้ำหนักไม่แหบแห้งเช่นเคย ความชัดเจนนั้นอาจจะมีขุ่นมัวบ้างตามประสาลำโพงทีวี ส่วนจังหวะฮุกสุดท้ายที่ทั้งกลอง กีตาร์ พร้อมเสียงแหกปากร้องดังขึ้นมาพร้อมกัน ก็จะ ออกลูกมั่วหน่อยๆ แต่ก็คงความมันส์ไว้ได้ดี! (หากเอาอยู่จริงต้ องลำโพงแยกชิ้นหลาย แชนเนลเท่านั้น) แต่โดยรวมแล้วในราคานี้ ผมยกให้คุณภาพเสียงอยู่ “แนวหน้า” ของที วี ความละเอี ยด 4K รุ่ นเริ่ มต้ นใช้ ดู หนั งดู รายการที วีทั่ วไป ได้ อย่างไม่ ตะขิ ดตะขวง

Extra – เพิ่มเติม

ระบบ Smart TV ของ LG นั้น ยังคงสานต่อความสำเร็จจากระบบปฏิบัติการ webOS อยู่ มาคราวนี้ก็อัพเกรดตัวเองจากเวอร์ชั่น 3.0 เป็นเวอร์ชั่น 3.5 พร้อม Magic Remote ตัวเก่งที่มีการใช้งานแบบ “แอร์เมาส์” พร้อม “ลูกศร” บอกตำแหน่งโชว์บนหน้าจอทีวี มีแอพพลิเคชั่นให้ดาวน์โหลดพอประมาณ ทีเด็ดสุด… ผมยกให้ Netflix แอพดูซีรีส์และหนังของต่างประเทศ ที่มีซีรี่ส์ความละเอียด 4K พร้อม HDR ติดมาให้ด้วย ส่วนแอพวิดีโอคอนเทนต์หลักๆ ก็ยังร่วมเสนอหน้ากันมา อย่างพร้อมเพียงเช่นคย อาทิ YouTube, MonoMaxx, Google Movies, Amazon ส่วนพวกเกมก็จะออกแนวไม้ประดับสักหน่อย เล่นได้พอขำๆ

webOS 3.5 มีลูกเล่นปลีกย่อยเพิ่มเติมขึ้นมาหลายจุดอยู่ ได้แก่

• การเล่นไฟล์เพลงจาก USB ในขณะที่เปิดช่องรายการต่างๆ อยู่ ตลอดจนดูเนื้อร้อง (ไฟล์ต้องมีเนื้อร้อง)
• การเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือด้วยแอพ LG TV Plus
• ฟีเจอร์ซูมภาพแบบแว่นขยาย โดยสามารถบันทึกรายการไปในตัว
• Magic Link ที่จะช่วยค้นหาและดึงวีดีโอคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับรายการดิจิทัลทีวีที่เรารับชมอยู่มาจัดแสดงให้เราเลือกรับชมเพิ่มเติม

โดยทั้งหมดนั้นสามารถศึกษาวิธีเล่นยิบย่อยได้จากวิดีโอในหน้า 5 (หน้า สุดท้าย) แล้วจะรู้ว่า webOS 3.5 นี่มัน “ของเล่นเพียบ” ใช้จริงก็แทบไม่มีทางหมด ทุกฟังก์ชั่น แต่รู้ไว้ก่อนก็เป็นดีที่สุด

Conclusion – สรุป

  1. webOS 3.5 ลูกเล่นเยอะและแพรวพราว สารพัดประโยชน์จริงๆ
  2. รองรับ HDR มาตรฐาน HDR10
  3. คุณภาพเสียงจัดว่าอิ่มแน่น ไม่เหือดแห้งเหมือนทีวีรุ่นประหยัดทั่วไป
  4. ให้ HDMI มาถึง 4 ช่อง ไม่มีกั๊ก เชื่อว่าเพียงพอต่อการใช้งานแบบทั่วไปและผู้ใช้จำพวกเครื่องเล่นเยอะ !
  5. Magic Remote ใช้ควบคุม Smart TV ได้สะดวกรวดเร็วเหมือนเดิม ลองใช้ซัก 1 – 2 วันแล้วจะคล่องปร๋อ
  6. ขาตั้งทรงกิ่งไม้ ดูโฉบเฉี่ยวก็จริง แต่ก็แอบกินพื้นที่ชั้นวางพอสมควร
  7. พาแนลแบบ RGBW ยังมีข้อจ􀄞ำกัดอยู่บ้างเรื่อง 1:1 Pixel Matching หากนำมาใช้เป็นจอมอนิเตอร์
  8. ฟีเจอร์ TruMotion หากเซ็ตไม่ดี กลายเป็นเสียมากกว่าได้ โปรดทำตามข้อแนะนำที่ผมเขียนให้ข้างต้น
  9. ไม่แนะนำให้ปรับค่าสมดุลแสงขาวแบบ 20 จุดเพราะภาพจะมีโอกาสเพี้ยน

สรุป

LG 55UJ652T จัดว่ามาสานต่อความสำเร็จของ UH650T เมื่อปีที่แล้ว ให้ คุณสมบัติด้านภาพ เสียง และลูกเล่นที่รองรับอนาคตทั้งหมด เรื่องภาพความละเอียด แบบ 4K พร้อมรองรับ HDR คุณภาพอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมกับช่วงราคา ดี-ด้อยตาม เกรดเลขซีรี่ส์ของมัน ส่วนคุณภาพเสียงจัดว่าดีเกินคาด อิ่มแน่น มีน􀄞ำหนัก ไม่ก๊องแก๊ง ระบบปฏิบัติการ Smart TV อย่าง webOS 3.5 เป็นเวอร์ชั่นที่อัพเกรดให้สดใหม่ขึ้น ผมขอยกให้เป็น “ไฮไลต์เด็ด” ของซีรีส์ 6 ตัวนี้เลย เพราะช่วยยกระดับความคุ้มค่า ให้ทะลุราคาขาย อัดแน่นด้วยตัวแอพส์และฟีเจอร์ลูกเล่นที่ใช้ทั้งวันก็ไม่หมด ที่ให้ เป็นทีเด็ดก็เพราะว่าพวก OLED TV ตัวท็อปราคาแพงบรรลัยก็เป็น webOS 3.5 ที่มีฟีเจอร์แบบเดียวเหมือนกันกันเป๊ะ!

ส่วนข้อจำกัดที่ผมอยากให้ระมัดระวังมากที่สุดก็คือ เรื่องของดีไซน์ขาตั้งแบบกิ่งไม้ ซึ่งปีนี้ก็ถ่างออกข้างกว้างซะเหลือเกิน จนในหลายๆ ที ไม่ว่าโต๊ะหรือชั้นวางทีวีที่บ้าน มักจะกว้างไม่พอ ฉะนั้นต้องตรวจสอบทั้งตัวเครื่องและชั้นวางของเราให้ดีก่อนซื้อ อีกจุดก็จะเป็นเรื่องการตั้งค่าภาพทั้ง LED Local Dimming และ TruMotion แทรก เฟรมภาพ หากเซ็ตค่าผิด ชีวิตเปลี่ยนทันที โปรดทำตามคำแนะนำในรีวิวหน้า 2 แล้วจะพบความสุขจากการเสพภาพ เอาเป็นว่าภายใต้งบประมาณที่จำกัด และอยาก ได้ทีวีความละเอียด 4K HDR ที่พรั่งพรูไปด้วยฟีเจอร์สารพัดนึก พร้อมรองรับอนาคต ทุกรูปแบบ ฟันธงให้ว่า LG UJ652T เป็นตัวเลือกที่ให้ความ “คุ้มค่าสูง” สามารถยืน “เสนอหน้า” ได้อย่างไม่อายใคร!. VDP

คุณสมบัติทางเทคนิค

• 4K Ultra HD Resolution (3840 x 2160 Pixel)
• IPS Panel
• Edge LED Backlight with Local Dimming
• HDR 10 / HLG
• 20 Watts Speaker
• webOS 3.5
• Magic Remote
• HDMI x 4
• USB x 2
• Digital TV – DVB-T2
• ขนาดรวมขาตั้ง (กว้าง x สูง x ยาว) 1,237 x 232.9 x 778

ราคาเปิดตัว 38,900 บาท
จัดจำหน่ายโดย บริษัท แอลจี อีเล็กทรอนิกส์ จำกัด
โทร. 0-2878-5757