ชานนท์

นักเขียน : ชานนท์ จุทัยรัศม์

REFERENCE-GRADE

DLP 4K HOME CINEMA PROJECTOR WITH HLD LED LIGHT SOURCE!!

คุณภาพสมกับเป็นรุ่นเรือธงด้วยความละเอียดแบบ 4K XPR ผสานโครงสร้างเลนส์คุณภาพสูงที่ให้อัตราการคลาดสีน้อย ที่สำคัญคือไม่มีการรบกวนจากปัญหา Misconvergence รายละเอียดจึงมีความคมชัดสูง

ก่อนสิ้นปี 2016 BenQ สร้างแรงกระเพื่อมให้กับวงการ โฮมเธียเตอร์ไฮเอ็นด์ด้วยการเปิดตัว W11000 DLP Home Cinema Projector ตัวท็อป (เวลานั้น) พร้อมเทคโนโลยี 4K XPR และพ่วง THX HD Certified Display เป็นเครื่องแรกของโลก แต่ BenQ ก็ยังไม่หยุดยั้ง เพียงเท่านั้น เพราะบัดนี้ได้นำเสนอ “X12000” โปรเจ็กเตอร์ ความละเอียด 4K “รุ่นเรือธง” ที่มาพร้อมเทคโนโลยีเหนือกว่าเดิม!

ขอย้อนความสักนิดหนึ่งเกี่ยวกับพื้นฐานเทคโนโลยีแสดงผลระดับ 4K ที่ BenQ นำมาใช้งานกับโปรเจ็กเตอร์ระดับสูง ทั้ง W11000 ต่อเนื่องมาถึงรุ่น X12000 คือ 4K UHD DMD Chip ที่มีจำนวน micro mirrors ทั้งสิ้น 2716 x 1528 หรือเท่ากับ 4.15 ล้านพิกเซล ผนวกกับเทคโนโลยีการแสดงผลแบบ XPR ซึ่งใช้ Optical Actuator ที่ทำงานรวดเร็วมากจนสร้างเป็นภาพนิ่ง (frame) ที่มีรายละเอียด จำนวนพิกเซลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือรวมกันทั้งสิ้นเท่ากับ 8.3 ล้าน พิกเซล ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับความละเอียด 4K ที่เราคุ้นเคยนี่เอง…

หลักการนี้ได้การรับรองจาก Consumer Technology Association หรือ CTA ซึ่งเป็นสมาคมที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกำหนด มาตรฐาน และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังงาน Consumer Electronic Show หรือ CES ที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันดี

ผลเกี่ยวเนื่องจากแนวทาง 4K XPR ข้างต้นนี้ BenQ ให้ข้อมูล เพิ่มเติมว่า นอกจากรายละเอียดของภาพที่สูงขึ้นกว่า Full HD Projector อย่างชัดเจนแล้ว ยังไม่ทำให้เกิดปัญหา Screen-door Effect หรือการ รบกวนของเส้นตารางพิกเซล อีกทั้งยังไม่มีปัญหา Misconvergence หรืออาการเหลื่อมสีที่อาจพบได้กับเทคโนโลยีการแสดงผลของโปรเจ็กเตอร์รูปแบบอื่น ซึ่งประเด็นเหล่านี้ได้รับการยืนยันจากผลการทดสอบ W11000 แล้วว่าเป็นความจริง! ว่าแต่ในเมื่อ X12000 ที่มีดีกรีถึงรุ่นเรือธง ทาง BenQ ได้อัพเกรดความสามารถใดให้เหนือกว่า W11000 บ้าง? เดี๋ยวจะทยอย แจ้งให้ทราบต่อไปในรีวิวนี้ครับ ก่อนอื่นมาเริ่มกันที่รูปลักษณ์ภายนอกกันก่อน

PREFECT FUNCTIONAL DESIGN

THAT FITS ANY DECOR

มองเผินๆ จะเห็นว่า X12000 ถอดแบบจากรุ่น W11000 แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นขนาดที่ใหญ่โตตามแบบฉบับรุ่นสูง วัสดุสีสัน เท็กซ์เจอร์ที่ดูดี หรือแม้แต่การออกแบบจัดวางตำแหน่งชิ้นส่วนสำคัญต่างๆ ก็เหมือนกัน โดยรุ่นนี้จัดวางตำแหน่งเลนส์ฉายภาพไว้กึ่งกลางเพื่อให้ง่ายในการอ้างอิง จุดติดตั้ง โดยเฉพาะเมื่อยึดเข้ากับขาแขวนเพดาน

จุดเชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆ ถูกจัดวางไว้ด้านข้างตัวเครื่อง ไม่ได้อยู่ ด้านหลังแบบโปรเจ็กเตอร์ทั่วไป ซึ่งเอื้อสำหรับการเชื่อมต่อสาย กรณีที่จำเป็น ต้องติดตั้งโปรเจ็กเตอร์ชิดผนังด้านหลัง อย่างไรก็ดี X12000 ไม่มีฝาครอบ หรือช่องสำหรับเก็บซ่อนสาย จึงอาจต้องหาทางจัดระเบียบสายดีๆ เพื่อไม่ให้ ดูรุงรัง ใกล้กันเยื้องลงมาด้านล่างเป็นแผงสวิตช์ควบคุม สามารถเลื่อนฝาปิด ได้เมื่อมิได้ใช้งาน ซึ่งดูลงตัวดี

จำนวนช่องต่อรับสัญญาณภาพไม่ต่างกับ W11000 กล่าวคือ สามารถรับ สัญญาณภาพความละเอียดระดับ 4K Ultra HD ผ่านทาง HDMI Input จำนวน 2 ช่อง โดย HDMI 1 เป็น Version 2.0 (with HDCP 2.2) รองรับสัญญาณ ภาพความละเอียดสูงสุดที่ 4K/60Hz 16-bit 4:2:0 หรือ 4K/60Hz 8-bit 4:4:4 ดังนั้นการเชื่อมต่อกับแหล่งโปรแกรมภาพระดับ 4K Ultra HD คุณภาพสูง (อาทิ 4K/UHD Blu-ray Player) จึงแนะนำให้เชื่อมต่อที่ช่องนี้

ส่วน HDMI 2 เป็น Version 1.4 (with HDCP 1.4) รองรับสัญญาณภาพ ความละเอียดสูงสุดที่ 4K/30Hz 8-bit

ช่องรับสัญญาณวิดีโออื่นมีเพียง Analog D-Sub (VGA) In 1 ช่องเท่านั้น แต่สามารถรับสัญญาณได้ทั้ง PC (RGB) และ Component (YPbPr/YCbCr)

จุดที่ต่างจาก W11000 พอให้สังเกตได้มีเพียงเล็กน้อย หนึ่งในนั้น คือ “การตัดขอบกระบอกเลนส์ด้วยสีทอง” ของ X12000 นอกจากนี้ ด้านหลังตัว เครื่องของ X12000 เปิดช่องเป็นตะแกรงโปร่ง มิได้ปิดทึบเหมือนรุ่นW11000

ทั้งนี้เป็นการปรับเปลี่ยนระบบระบายลมร้อนใหม่ โดยใช้หลักการนำลมเย็นเข้าจากด้านหลัง (ทั้ง 2 ฝั่งซ้าย-ขวา) แล้วระบายออกทางด้านหน้า ทางเดินของมวลอากาศที่ไหลผ่านจึงสั้นกว่า W11000 การถ่ายเทความร้อน ย่อมรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า

รีโมตคอนโทรลแลดูพรีเมียม ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับ W11000 มี Back-lit สีส้ม สว่างเห็นชัดทุกปุ่ม แม้ใช้ งานในห้องมืด และที่ตัวเครื่องโปรเจ็กเตอร์ติดตั้ง เซ็นเซอร์รับสัญญาณทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในบางสถานการณ์ไม่จำเป็นต้องชี้รีโมตตรงไปที่ตัว โปรเจ๊กเตอร์ก็ยังควบคุมได้ดีมาก

กา ร ถ่า ย ท อ ด ภา พ ที่ดีเ ยี่ย ม จา ก โปรเจ็กเตอร์นั้น คุณภาพของเลนส์ก็มี ส่วนสำคัญยิ่ง เพราะเป็นทางผ่านใน ขั้นสุดท้าย ก่อนที่ภาพจะถูกฉายออกไป ซึ่ง BenQ ได้เลือกใช้ชิ้นเลนส์คุณภาพสูง จำนวน 14 ชิ้น แบ่งเป็น 6 กลุ่ม มีการฉาบผิว เพื่อลดการคลาดสี ติดตั้งในกระบอกโลหะ ที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อผลลัพธ์ภาพที่คมชัด และถ่ายทอดคุณภาพของภาพดีที่สุด

ความยอดเยี่ยมที่เอื้อต่อการติดตั้งจาก X12000 ยังรวมไปถึงระบบซูม 1.5 เท่า ยกตัวอย่าง หากต้องการฉายภาพบน จอขนาด 100 นิ้ว สามารถกำหนดระยะ จัดวางโปรเจ็กเตอร์ได้ยืดหยุ่นมาก ตั้งแต่ 3.03 ม. ไปจนถึง 4.56 ม. นอกจากนี้ยัง มีระบบ Lens Shift ที่สามารถชดเชย ระยะติดตั้งได้ทั้งแนวตั้ง (+/-65%) และ แนวนอน (+/-27%)

สำหรับท่านที่จะใช้งานรับชมแบบ Ultra-wide 2.35:1 ร่วมกับ X12000 ก็มี Anamorphic Lens จาก Panamorph เป็นอ็อปชั่นเสริมด้วยเช่นกัน (สามารถใช้ ร่วมกับรุ่น W11000 ได้)

X12000 มีตัวเลือก Test Pattern ไว้ให้อ้างอิงในการติดตั้ง โดยใช้ในการปรับตำแหน่ง
Lens Shift และซูมขนาดภาพฉาย ให้พอดีกับขนาดของจอรับภาพอย่างเที่ยงตรง

DIGITAL CINEMA QUALITY COLOR PRECISION AND PICTURE PERFORMANCE

ปัจจัยหลักที่ส่งให้ X12000 มีศักยภาพเหนือกว่า W11000 คือ การที่ BenQ ผสานเทคโนโลยี CinematicColor เข้ากับเทคโนโลยีแหล่งกำเนิดแสง ล่าสุด ColorSpark HLD LED จาก Philips ด้วยระดับความสว่างที่สูงกว่า เทคโนโลยีแหล่ งกำเนิดแสงแบบ LED ทั่วไปถึง 3 เท่า แต่ท่พิเศษ คือ “คุณภาพ แสง” อันส่งผลถึงการแสดงขอบเขตสีของโปรเจ็กเตอร์ที่กว้างขวางครอบคลุม ถึงมาตรฐาน DCI-P3 เหนือกว่าความสามารถของ W11000 ที่ทำได้ครอบคลุม ที่มาตรฐาน Rec.709

จุดนี้สามารถยืนยันได้อีกเช่นเคยกับผลการทดสอบ CIE Color Gamut ตามภาพ บ่งบอกถึงศักยภาพของ X12000 ว่าเหนือกว่า W11000 จริง (รายละเอียดคุณภาพของภาพเพิ่มเติมจะกล่าวถึงอีกครั้งช่วงรายงาน การทดสอบ) ขณะเดียวกันแหล่งกำเนิดแสง HLD LED ยังมีประสิทธิภาพ ด้านการประหยัดพลังงานสูงกว่า มีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่าถึง 3 เท่า เป็นอย่างน้อย (อ้างอิงที่ 20,000 ชม.) เรียกว่าใช้นานไม่ต่างจากทีวีเลย และค่าดูแลรักษาในระยะยาวก็ย่อมจะต่ำลงด้วย

ผลการทดสอบ

เช่นเดียวกับ W11000 คือ คุณภาพเลนส์ที่ใช้กับรุ่น X12000 นอกจาก ได้ภาพที่ชัดเจนแล้ว อาการคลาดสี โดยเฉพาะบริเวณขอบจอนี่แทบไม่มี แต่ที่เด็ดสุดเห็นจะเป็นรายละเอียดคมชัดอันไร้ซึ่งปัญหาเหลื่อมสี หรือ Misconvergence อานิสงส์จากเทคโนโลยี DLP แบบ 4K XPR อันยอดเยี่ยม (อ่านรายละเอียดการทดสอบยืนยันในจุดนี้ได้จากรีวิว W11000)

การปรับซูมและโฟกัสของ X12000 ทำได้โดยใช้มือหมุนวงแหวนที่ กระบอกเลนส์ ซึ่งยากกว่าโปรเจ็กเตอร์รุ่นไฮเอ็นด์อื่นๆ ที่ใช้มอเตอร์ควบคุมและสั่งการผ่านรีโมตคอนโทรลไร้สายอยู่บ้าง แต่ถ้าทำได้ ผลลัพธ์ก็จะเป๊ะมาก คำแนะนำคือ ควรมี 2 คนช่วยกัน คนหนึ่งคอยหมุนปรับวงแหวนโฟกัส ที่โปรเจ็กเตอร์ ส่วนอีกคนยืนใกล้จอรับภาพ แล้วคอยดูผลลัพธ์เพื่อแจ้งบอก ทั้งนี้การปรับโฟกัสมีความสำคัญ เพราะจะให้ได้ผลลัพธ์ที่ปราศจากการ เหลื่อมสี 100% โฟกัสต้องเข้า 100% ด้วย

มาดูในส่วนของโหมดภาพที่ให้มากันบ้าง หากสังเกตโลโก้มาตรฐานต่างๆ ที่กำกับไว้บนตัวเครื่อง X12000 ไม่ปรากฏ THX HD Display Certified Logo แตกต่างจากที่ เคยมี ในรุ่ นW11000 ในจุ ดนี้ ส่ งผลถึ งรายละเอี ยดของโหมดภาพ จากโรงงานที่แตกต่างกันด้วย

โหมดภาพที่ชื่อว่า “THX” ในรุ่น W11000 ถูกแทนที่ด้วย “DCI-P3” ในรุ่น X12000 แล้วผลลัพธ์ความเที่ยงตรงจากโหมดภาพโรงงานจะมี ความแตกต่างกันด้วยไหม?

หมายเหตุ: กรณีที่ปลดล็อกในส่วนของ ISFccc จะมีโหมดภาพเพิ่มเติมเข้ามาอีก 2 โหมด
ได้แก่ ISF Night และ ISF Day

จากการทดสอบพบว่า เกือบทุกโหมดภาพของ X12000 ให้ความ เที่ยงตรงไม่แพ้ W11000 โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของสมดุลสี (เกี่ยวเนื่อง ไปถึงอุณหภูมิสี) ทำได้ดีกว่า W11000 เล็กน้อยด้วยซ้ำอย่างไรก็ดี หลายๆ โหมดภาพของ X12000 ถูกเร่งดีเทลจนรายละเอียดภาพติดหยาบอยู่บ้าง ซึ่งสังเกตได้โดยเฉพาะเมื่อรับชมคอนเทนต์ 4K ที่มีรายละเอียดมาก อย่างภาพยนตร์ในฟอร์แมต 4K/UHD Blu-ray Disc

ที่เป็นเช่นนี้เพราะการตั้งค่าในส่วนของ Sharpness และโดยเฉพาะ “Pixel Enhancer 4K” นั้น ถูกปรับตั้งจากโรงงานมาเยอะเกินไป คำแนะนำคือ ให้ปรับลดน้ำหนักของทั้ง 2 ตัวเลือกนี้ลงอย่างเหมาะสมจึงจะเป็นการดี

มาดูในส่วนของความเที่ยงตรงในการถ่ายทอดสีสันของโหมด “DCI-P3” ซึ่งมาแทนโหมด THX ของ W11000 เดิม พบว่า ในส่วนของสมดุลสีทำได้ดี ไม่แพ้กัน ในขณะที่ความสามารถแสดงขอบเขตสี (Color Space) ทำได้ ครอบคลุมราว 96.7% ของมาตรฐาน DCI-P3 ซึ่งกว้างกว่าที่ W11000 ทำได้ อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนระดับความสว่างนั้น ถึงแม้โหมดนี้ถูกกำหนด Light Mode ไว้ที่ Eco ระดับความสว่างจึงไม่สูงมากเท่ากับโหมด Vivid แต่ก็ยังสู้ แสงได้ดีระดับหนึ่ง โดยรวมยังดูสว่าง ไม่รู้สึกทึมมากเหมือนโหมด THX ของW11000 (โหมด THX เหมาะใช้งานในห้องที่คุมแสงรบกวนได้ 100% เท่านั้น)

นอกจาก DCI-P3 โหมดภาพแนะนำของ X12000 ลำดับถัดมาที่มีศักยภาพ ใกล้เคียงกัน คือ “Silence” โดยจะได้ระดับความสว่างสูงกว่า DCI-P3 ขึ้นอีกนิดหนึ่งราว 12% (อ้างอิงที่ Light Mode = Eco เหมือนกัน) โดยทั้ง 2 โหมดนี้ให้ความเที่ยงตรงของสีสันเหนือกว่าโหมด Cinema และ User จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในห้องมืดที่คุมแสงรบกวนได้ 100% ไปจนถึงห้องที่ มีแสงรบกวนเล็กน้อย ระดับความสว่างที่ไม่เจิดจ้ามาก นอกจากช่วยประหยัด ไฟ (Maximum Power Consumption = 182W) ระดับเสียงพัดลมระบาย ความร้อนเบา อายุการใช้งานของแหล่งกำเนิดแสงจะขยายขึ้นไปได้สูงสุดถึง 20,000 ชม. ด้วย

ถึงแม้สภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งานโปรเจ็กเตอร์ คือ “ห้องมืด” ทว่าสำหรับกรณีที่ต้องสู้กับแสงรบกวนคงไม่มีโหมดใดทำได้ดีเกิน Vivid สมดุล สีของโหมดนี้ทำได้ดีเช่นเคยตามมาตรฐานโปรเจ็กเตอร์ BenQ โดยจุดเด่นที่ เพิ่มเติม คือ ระดับความสว่างจะสูงกว่าโหมด DCI-P3 ราว 45% แต่การใช้ พลังงานเพิ่มขึ้นราว 63% (Maximum Power Consumption = 264W) ด้วย ส่วนหนึ่งเป็นอานิสงส์จากตัวเลือก Light Mode ที่ถูกกำหนดไว้ที่ระดับ Normal (1)

โหมด Vivid จึงมีศักยภาพสู้กับแสงรบกวนได้ดี ในขณะที่ไม่ย่อหย่อน เรื่องของสีสัน ทว่ามีคำแนะนำเบื้องต้นก่อนใช้งานโหมด Vivid คือ นอกจาก ต้องปรับลดในส่วนของ Sharpness และ Pixel Enhancer 4K เพื่อให้ภาพ ดูหยาบน้อยลง ดังเช่นที่ต้องกระทำกับโหมดภาพอื่นๆ แล้ว ลำดับถัดมา คือ ต้องทำการไฟน์จูน Contrast โดยปรับลดระดับลงเล็กน้อยเพื่อให้ X12000 สามารถแสดงรายละเอียดไฮไลต์ได้อย่างครบถ้วน เพียงเท่านี้ Vivid ก็พร้อม ใช้งานร่วมกับทุกสถานการณ์ และทุกแหล่งโปรแกรมอย่างแท้จริง

แน่นอนหากสามารถทำการปรับภาพละเอียดเพิ่มเติมอิงตามมาตรฐาน ISFccc โหมด Vivid ที่มีศักยภาพสูงอยู่แล้วจะมีความเที่ยงตรงสูงมาก จนตอบสนองการใช้งานได้หลากหลายสภาวการณ์ ครอบคลุมไปถึงการเป็น “จอภาพระดับอ้างอิง”

โดยภายหลังปรับภาพละเอียด ด้วยการถ่ายทอดรายละเอียดภาพระดับ 4K Ultra HD พร้อมๆ กับการแสดงขอบเขตสีครอบคลุมมาตรฐาน DCI-P3 ที่ 96.3% (หรือราว 91.8% ของมาตรฐาน AdobeRGB) พร้อมสมดุลสี (White Balance) ที่เที่ยงตรง หากจะใช้ X12000 เป็นมอนิเตอร์งานกราฟิก ตัดต่อ แต่งภาพ ย่อมทำได้ และทำได้ดีเสียด้วย จากการที่เปิดเผยดีเทล สีสันของ คอนเทนต์ได้อย่างเข้มข้น สดใส และมีชีวิตชีวากว่า

ในส่วนของการแสดงผลแบบ HDR (High Dynamic Range) พบว่า X12000 ไม่มีโหมดภาพหรือตัวเลือก HDR โดยเฉพาะ และไม่มี Info ยืนยัน การแสดงผล จึงเข้าใจว่า น่าจะยังไม่รองรับแบบตรงๆ อย่างไรก็ดีด้วยความ สามารถด้านการแสดงขอบเขตสี และ Color Depth ที่ทำได้เหนือข้อกำหนด สำหรับ HDR10 Standard บวกกับศักยภาพของแหล่งกำเนิดแสงใหม่ที่ ให้คุณภาพแสงดีกว่าเดิม ผลลัพธ์การรับชมภาพยนตร์ฟอร์แมต 4K/UHD Blu-ray Disc ด้วย X12000 จึงมีความใกล้เคียงการแสดงผลแบบ HDR ซึ่งในบางด้านนั้นให้ศักยภาพเหนือกว่าจอทีวีหรือโปรเจ็กเตอร์ระดับเริ่มต้นที่ รองรับการแสดงผลแบบ HDR เสียอีก

ด้านภาพเคลื่อนไหว X12000 ยังไม่มี Motion Interpolation หรือ ฟังก์ชั่นประมวลผลแทรกเฟรมเสมือน (เช่นเดียวกับ W11000) แต่ก็ให้ผลลัพธ์ ความต่อเนื่องของเฟรมต้นฉบับที่ดูเป็นธรรมชาติจนอาจไม่มีความจำเป็นต้อง พึ่งระบบดังกล่าว

ทดสอบการเล่นเกมดูบ้าง ความคมชัดระดับ 4K และการแสดงขอบเขต สีสันที่กว้างขวางของ X12000 เหนือกว่ามาตรฐานโปรเจ็กเตอร์ยุค Full HD จึงส่งอานิสงส์สร้างประสบการณ์การเล่นเกมที่ตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่าเคย ภาพดู กระจ่าง มีพลัง สีสันสดใสมากยิ่งขึ้นกว่าที่ได้สัมผัสจาก W11000 4K/UHD DLP Projector ของ BenQ เองด้วย ในส่วนของ HDMI Input Lag แม้ว่า เป็นรอง W11000 แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ส่งผล ให้การเล่นเกมเสียจังหวะแต่อย่างใด

คุณภาพสมกับเป็นรุ่นเรือธง ด้วยความละเอียดแบบ 4K XPR ผสาน โครงสร้างเลนส์คุณภาพสูงที่ให้อัตราการคลาดสีน้อย ไม่มีการรบกวนจาก ปัญหา Misconvergence รายละเอียดจึงมีความคมชัดสูง และที่สำคัญ คือ เทคโนโลยีแหล่งกำเนิดแสง ColorSpark HLD LED จาก Philips ขยาย ขีดความสามารถทั้งคุณภาพแสง ส่งอานิสงส์ไปถึงการแสดงขอบเขตสี ที่เหนือชั้นยิ่งขึ้น ครอบคลุมถึงมาตรฐาน DCI-P3 อายุการใช้งานที่ยาวนาน นับหมื่นชั่วโมง อีกทั้งช่วยประหยัดพลังงานได้มากอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น BenQ X12000 จึงนับโปรเจ็กเตอร์ระดับไฮเอ็นด์ประจำปี 2017 ที่น่า จับจ้องเป็นพิเศษ!. VDP

ราคา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
จัดจำหน่ายโดยบริษัท เบ็นคิว (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 02670 0310-1