ชานนท์

นักเขียน : ชานนท์ จุทัยรัศม์

 Spectacular Cinematic Performance!!

 ดังที่เกริ่นไปในบททดสอบ W11000 1 ว่า เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคของความ ละเอียด 4K Ultra HD ทาง BenQ ก็พร้อมนำเสนอ W11000 และล่าสุด X12000 โฮมซีเนม่าโปรเจ็กเตอร์ระดับ 4K รุ่นเรือธงที่มีศักยภาพพร้อมเท่าทัน ยุคสมัย แต่ถึงกระนั้นสำหรับท่านที่มีงบประมาณไม่สูงถึงระดับ 4K แต่ต้องการ ประสิทธิภาพสูงสุดจากโปรเจ็กเตอร์เพื่อเติมเต็มการรับชมภาพยนตร์จอใหญ่ ภายในบ้าน “ตัวท็อป” สำหรับรุ่นความละเอียด Full HD ย่อมเป็นทางเลือกที่ น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

 W8000 คือ โปรเจ็กเตอร์ระดับ Full HD ตัวท็อปล่าสุดของ BenQ ใช้เทคโนโลยี DLP (Digital Light Processing) พร้อมการรับรองมาตรฐาน THX HD Display ดีกรีเดียวกับ W11000 รูปลักษณ์ภายนอกหากเปรียบกัน ก็แน่นอนว่าขนาดและน้ำหนักของ W8000 กะทัดรัดกว่าตามคาด มิติออกไป ทางสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่ได้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต้องการพื้นที่ในการติดตั้งด้านลึก น้อยกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง

การจัดวางตำแหน่งเลนส์อยู่กึ่งกลางตามแบบ ฉบับรุ่นใหญ่เหมือนกัน ถึงแม้ขนาดและโครงสร้าง ภายในของเลนส์ที่ใช้แตกต่างกัน แต่ยังคงใช้วิธีปรับ ซูมและโฟกัสที่กระบอกเลนส์โดยตรงเช่นเดียวกัน จุดหนึ่งที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกับโปรเจ็กเตอร์ใน ท้องตลาด คือ… ฝาปิดครอบป้องกันหน้าเลนส์ โดยรุ่นนี้ใช้วัสดุอ่อนหยุ่นเหมือนยางสังเคราะห์ แล้วซ้อนด้านในด้วยแผ่นโลหะอีกชั้นหนึ่ง ไม่ได้เป็น พลาสติกแข็งทึบหรือโปร่งแสงเหมือนทั่วไป

บริเวณด้านบนของตัวเครื่องดูเรียบสะอาดตา เพราะแผงควบคุม ไปจนถึงปุ่มปรับ Lens Shift มีฝาปิดซ่อนไว้ โดยฝาปิดที่ว่านี้อยู่เยื้องไปทาง ด้านหน้าใกล้กับตำแหน่งเลนส์

ด้านหลังเปิดโล่งให้เห็นจุดเชื่อมต่อสายสัญญาณ ประกอบไปด้วย HDMI In จำนวน 2 ช่อง (หนึ่งในนั้น รองรับ MHL) และยังมีช่องสัญญาณอะนาล็อกวิดีโอ ทั้ง Composite, Component และ PC In (D-Sub) ไม่มีช่องสัญญาณเสียงเข้า เนื่องจาก W8000 ไม่ได้ ติดตั้งลำโพงไว้ในตัว

บริเวณด้านหลังนี้ยังมี USB Type A จ่ายกระแส ได้ 1.5 แอมป์ สำหรับประจุไฟให้อุปกรณ์เชื่อมต่อ ขณะเดียวกันก็เผื่อไว้สำหรับอุปกรณ์เสริม Wireless FHD Kit รองรับสัญญาณแบบไร้สายระยะไกลสุด 100 ฟุต ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p 60Hz แบบ Zero latency นอกจากนี้ยังมีไฟแสดงสถานะ การทำงาน และเมนเพาเวอร์สวิตช์สำหรับตัดไฟ เบ็ดเสร็จเมื่อไม่ใช้งานโปรเจ็กเตอร์เป็นเวลานาน

รีโมตคอนโทรลอาจดูไม่หรูเท่า แต่ก็ได้ในเรื่อง ของขนาดที่กะทัดรัด พร้อม Backlit สำหรับส่องแสง เมื่อใช้งานในห้องมืด ติดตั้งเซ็นเซอร์ IR ที่ตัวเครื่อง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จึงรับสัญญาณได้รอบทิศ อย่างไรก็ดี การตอบสนองรับสัญญาณจากรีโมตพบ ว่ายังเป็นรองรุ่น W11000 อยู่เล็กน้อย กรณีที่มีสิ่ง กีดขวางบดบังทางของสัญญาณ

ความพิเศษของ W8000 ยังรวมไปถึงการถอดเปลี่ยนเลนส์เอื้อ กับการติดตั้งหลากหลายสถานการณ์เพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด ตั้งแต่ระยะ Short-throw ไปจนถึง Long-throw ยกตัวอย่าง หากตั้งการฉายภาพขึ้นจอขนาด 100 นิ้ว จะสามารถจัดวาง ตำแหน่งของโปรเจ็กเตอร์ห่างจากจอรับภาพที่ระยะตั้งแต่ 1.7 ม. ไปจนถึง 11.1 ม. ได้ ด้วยการเลือกใช้เลนส์ที่เหมาะสม

W8000 มีตัวเลือก Test Pattern ไว้ให้อ้างอิงในการติดตั้ง เพื่อช่วยในการปรับตำแหน่ง Lens Shift และซูมขนาดภาพฉาย ให้พอดีกับขนาดของจอรับภาพ

ผลการทดสอบ

ด้วยความละเอียดระดับ Full HD เป็นเรื่องปกติที่ต้องทิ้งระยะรับชมสักหน่อย เพื่อมิให้เห็นพิกเซลรบกวน อันที่จริงจุดนี้จะไม่เป็นประเด็นใดๆ เลย ถ้าไม่เห็น ศักยภาพของโปรเจ็กเตอร์ 4K มาก่อน แต่พอมีประสบการณ์ผ่านตากับขนาด พิกเซลที่เล็กกว่า 4 เท่าแล้ว มันอดพูดไม่ได้จริงๆ (ฮา) ทั้งนี้หากเทียบกับ Full HD Home Theater Projector ประจำปี 2017 ด้วยกันแล้ว ความคมชัดของ W8000 ขึ้นสู่อันดับหนึ่ง (ณ เวลานี้) อย่างไม่มีข้อกังขาใดๆ

รุ่นนี้ใช้ 6X-Speed RGBRGB Color Wheel เช่นเดียวกับ W11000 ประเด็น เรื่องของ Rainbow Effect จึงทำได้ดีใกล้เคียงกัน ในส่วนของอาการเหลื่อมสี (Mis-convergence) ยังมีให้เห็นบ้างนิดๆ ยังไม่ถึงกับเพอร์เฟ็กต์แบบรุ่น W11000 ซึ่งต้องยอม เพราะ Single DMD chip แบบ 4K XPR เทพจริงในประเด็นนี้

จุดหนึ่งที่สังเกตได้จาก W8000 ซึ่งเหนือกว่า Home Theater Projector ระดับกลางๆ คือ เรื่องของการเกลี่ยแสง หรือ Uniformity ที่ทำได้ดี มีความ แตกต่างไม่มากนักที่บริเวณกลางจอและขอบจอ ส่วนหนึ่งเป็นอานิสงส์จากเทคนิค ของทาง BenQ ที่เรียกว่า Total Inner Reflection (TIR) ในการควบคุมแสงส่วน เกินที่สะท้อนออกจาก DMD (Digital Micromirror Device)

W8000 เป็นโปรเจ็กเตอร์ระดับสูงอีกหนึ่งรุ่นของ BenQ ที่ได้การรับรอง มาตรฐานจาก THX ความเที่ยงตรงในการถ่ายทอดสีสันจึงไว้ใจได้ อย่างไรก็ดี จากการทดสอบพบว่า โหมดภาพจากโรงงานที่ให้ความลงตัวที่สุดไม่ใช่โหมดที่ใช้ ชื่อว่า THX แต่กลับเป็น Vivid เหตุเพราะผลลัพธ์ด้านสมดุลสีมีความเที่ยงตรงกว่า แม้ติดโทนเย็นบ้าง แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่สมดุลสีของโหมด THX ติดโทนอุ่นมากไปหน่อย และแน่นอนว่าศักยภาพในการถ่ายทอดความสว่างใน โหมด Vivid ก็ทำได้ดีด้วย (ทำได้ใกล้เคียงโหมด Game ซึ่งสว่างกว่าโหมด THX ถึง 50%) เป็นรองแค่โหมด Bright 2 เท่านั้น

คำแนะนำเบื้องต้นก่อนใช้งานโหมด Vivid คือ ให้ทำการ Off ตัวเลือก Brilliant Color จะได้สมดุลสีใกล้เคียงมาตรฐาน 6500K ขึ้นอีกเล็กน้อย และทำการไฟน์จูนระดับ Contrast โดยปรับระดับลดลงเพื่อให้สามารถแสดงรายละเอียดไฮไลต ์ ได้อย่างครบถ้วน

ถัดมา คือ พิจารณาการให้น้ำหนัก Pixel Enhancer ตัวเลือกหนึ่งสำหรับการอัพสเกลที่มีส่วนช่วยเพิ่มความคมชัด เวลารับชมแหล่งโปรแกรมความละเอียดต่ำอย่างไรก็ดี สำหรับ คอนเทนต์ Full HD แท้ หากปรับตั้งตัวเลือกนี้ไว้สูงเกินไปจะทำให้ ภาพดูหยาบ ต้องทำการปรับลดโดยบาลานซ์เข้ากับตัวเลือก Sharpness ให้ลงตัว เพียงเท่านี้โหมด Vivid ก็จะมีความเที่ยงตรง มากพอสำหรับการใช้งานร่วมกับทุกแหล่งโปรแกรม

W8000 สามารถกำหนด Lamp Power ได้ 3 ระดับ คือ Normal, Economic และ Smart Eco โดยค่ากำหนด จากโรงงานทุกโหมดภาพตั้งไว้ที่ Normal ยกเว้นโหมด User เพียงโหมดเดียวที่ถูกกำหนดไว้ที่ Eco (สามารถเปลี่ยนแปลง ตัวเลือกนี้ภายหลังได้) ซึ่งการใช้พลังงานสำหรับ Lamp Power = Normal อยู่ที่ 330 วัตต์ ในขณะที่ Eco ลดลงลงมาที่ 274 วัตต์ ในขณะที่ความสว่างลดลงราว 20% และแน่นอน ว่าความสว่างลดลง แต่อายุการใช้งานของแหล่งกำเนิดแสงจะ ยาวนานขึ้นจาก 2500 ชม. เป็น 3500 ชม. และสูงสุดที่ 6000 ชม. โดยกรณีที่ใช้งานในห้องมืดสนิทอาจกำหนด Lamp Power = Eco ร่วมกับโหมดภาพ Vivid จะยังมีศักยภาพด้านความสว่าง ที่เพียงพอกับการใช้งานได้ดีอยู่ครับ

ระดับความสว่างที่ Lamp Power = Normal อยู่ในเกณฑ์ดีมาก สำหรับ มาตรฐาน Home Theater Projctor สามารถสู้แสงรบกวนทำได้ดี แต่แนะนำให้ ทำการคุมแสงรบกวนบ้าง หากต้องการได้ภาพที่ดีที่สุดจากโปรเจ็กเตอร์เครื่องนี้ ในส่วนของการคุมระดับ Black Level ยังเป็นรอง W11000 อยู่บ้าง ทั้งนี้จาก การทดสอบพบว่า ฟังก์ชั่น Iris สามารถเปิดใช้งานกับโหมด Bright ได้เพียง โหมดเดียวเท่านั้น

นอกจากมาตรฐาน THX แล้ว W8000 ยังได้การรับรอง ISFccc จึงสามารถ ไฟน์จูนค่าภาพโดยละเอียดเพื่อความเที่ยงตรงสูงสุดได้ ซึ่งผลลัพธ์หลังดำเนินการ พบว่าทำได้ยอดเยี่ยมเข้าขั้นเพอร์เฟ็กต์เลยทีเดียว โดยสามารถไฟน์จูนในส่วนของ White Balance, CMS และ Gamma ซึ่งความสามารถในการแสดงขอบเขตสี หรือ Color Space นั้น ทำได้ครอบคลุมเต็ม 100% ของมาตรฐาน sRGB/Rec.709 (เทียบเท่า W11000)

เปรียบเทียบระหว่างก่อน (Pre) และหลังปรับภาพ (Post Calibration) พบว่า ตัวเลือกการ ไฟน์จูนจาก ISFccc มีส่วนช่วยให้ได้ผลลัพธ์ด้านความเที่ยงตรงสูง จนใกล้เคียงอุดมคติมากยิ่งขึ้น

W8000 รองรับการแสดงผล 3D ทั้งแบบ Frame Sequential, Frame Packing, Top-Bottom, Side-by-Side ไปจนถึง 2D 3D Conversion จากภาพยืนยันด้วย Open Season (3D Blu-ray) อย่างไรก็ดี เนื่องจาก ไม่มีแว่น 3D Active Glasses ส่งมาด้วย จึงไม่ สามารถอ้างอิงผลการทดสอบในจุดนี้ได้ครับ

อีกจุดที่ต้องชม คือ ภาพเคลื่อนไหวจาก W8000 นั้น ยอดเยี่ยม! ด้วยการที่ BenQ บรรจุเทคโนโลยี “Motion Enhancer” มาด้วย ซึ่งประเด็นนี้จึงเหนือกว่า รุ่นพี่เลข 4 ตัว ที่ไม่ได้ให้มาเลยด้วยซ้ำแต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ “ประสิทธิภาพ” ที่ ยากจะหาใครเทียม

ตัวเลือกการประมวลผลแทรก เฟรมทั้ง 3 ระดับ ของ W8000 ใช้การได้ดีทั้งหมด แต่แนะนำที่ ระดับ Low หรือ High 4 ทั้งนี้ ผลกระทบจากความไม่สมบูรณ์ของ กระบวนการแทรกเฟรมจนเกิด สิ่งรบกวนในภาพ (artifacts) นั้น หากอ้างอิงที่ระดับ Low ถือว่าน้อยมากกกก (ก.ไก่ร้อยตัว) จนแทบสังเกตไม่เห็น ผนวกกับการแทรกเฟรมเพิ่มในปริมาณเพียง เล็กน้อย (แต่เน้นๆ) ระดับ Low จึงลดทอนอาการสะดุดที่เกิดจากกระบวนการ ถ่ายทำของคอนเทนต์อัตราเฟรมเรตต่ำได้ดี ในขณะที่ให้ความต่อเนื่องของภาพ เคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติใกล้เคียงต้นฉบับ

ส่วนระดับ High แม้ระบบฯ แทรกเฟรมเข้ามามากจนไหลลื่นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ขณะเดียวกันก็สังเกตเห็นจุดบกพร่องจากการประมวลผลน้อยมากๆ โดยเฉพาะ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีลักษณะเดียวกันของทีวี ไม่ว่าจะเป็นทีวีรุ่นท็อปแค่ไหน ลองเปิดโมชั่นระดับ High เทียบกันดู รับรองแพ้ทุกตัวกล้าพูดได้เลย

และการทดสอบสุดท้าย กับความบันเทิงอีกชนิดที่ขาดไม่ได้ คือ การเล่นเกม! HDMI Input Lag อาจเป็นรอง W11000 อยู่บ้าง อีกทั้งการเปลี่ยนโหมดภาพไปเป็น Game หรือ Off ตัวเลือก Motion Enhancer ก็ไม่ส่งผลเปลี่ยนแปลงใดๆ กับการลดทอน Input Lag แต่แน่นอนว่า พื้นฐานการถ่ายทอดรายละเอียดของภาพที่ ทำได้ยอดเยี่ยมดังที่กล่าวไปในย่อหน้าก่อนๆ ล้วนส่งอานิสงส์จัดเต็มสำหรับการเล่นเกม ทั้งสิ้น การแจกแจงรายละเอียดกราฟิกทั้ง ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวทำได้ดีมาก ระดับความสว่างเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยให้ ความบันเทิงรูปแบบนี้ขยายเป็นหมู่คณะได้ เพราะไม่จำเป็นต้องนั่งเล่นอยู่ในห้องมืดๆ คนเดียว แต่สามารถนำออกมาเล่นเกม บนจอขนาดยักษ์ในห้องรับแขก (ที่คุมแสง บางส่วน) ได้ดีเช่นเดียวกัน

การแจกแจงรายละเอียดกราฟิกทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวทำได้ดีมากระดับความสว่างเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยให้ความบันเทิงรูปแบบนี้ขยายเป็นหมู่คณะได้

ด้วยประสบการณ์ที่ BenQ สั่งสมมา นานหลายปี ยืนยันด้วยผลการทดสอบจริง อีกครั้งจนยืนยันได้ว่า W8000 ยังคงเป็น ที่หนึ่งของอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยรังสรรค์ โรงภาพยนตร์ภายในบ้าน โดยบาลานซ์ ระหว่างความคุ้มค่า กับประสิทธิภาพ การรับชมคอนเทนต์ความละเอียด Full HD อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะภาพยนตร์ บลูเรย์ (2D/3D) รายการโทรทัศน์ ออนไลน์ วิดีโอ หรือเกม ที่มีอยู่มากมายแพร่หลายใน ปัจจุบันได้อย่างยอดเยี่ยม. VDP

ราคา 149,000 บาท
จัดจำหน่ายโดย บริษัท เบ็นคิว (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2670-0310-1