พลโท นพ. ดำรงค์ ธนะชานันท์

ทะเลยามเช้านี้หม่นหมอง ทึบ เหมือนกับอารมณ์ของคนเขียนที่อึดอัด
ก็ไม่รู้สาเหตุจริงว่ามาจากอะไร ชีวิตคนเรามันก็มีมืดมีสว่าง
คงหมุนเวียนไปตามธรรมชาติ
สิ่งที่ผมทำเพื่อแก้ไขก็คือ เอาเพลงที่ชอบๆ มาเปิดฟังดังๆ
นึกขึ้นได้ว่ามีเพลงที่ชอบๆ แล้วลืมเลือนไปบ่อยๆ พอนึกได้ก็เอามาเปิดและเขียนถึง

ในบรรดา ซิมโฟนี ในดวงใจ ผมก็หลีกไม่พ้นงานของพระเอกของผม คือ เบโธเฟน แต่ชุดที่ผมชื่นชมและติดใจมาเสมอรองลงไปก็ต้องเป็นของ ซิเบลิอุส ทั้ง ๗ ซิมโฟนี

Jean Sibelius (1865 – 1967)

คุณปู่ชาวฟินด์ คนนี้เป็นศิลปินที่ประเทศนี้ เขายกย่องว่าเป็นบิดา มีเพลงที่ปลุกเร้าให้รักชาติ ถือเสมือนเพลงชาติ คือ Finlandia ธนบัตรฉบับละ ๑๐๐ มาร์คมีรูปศิลปินผู้นีอยู่จนถึงการเปลี่ยนเป็นเงินยูโรในปี ๒๐๐๒ นี่เอง รัฐให้การสนับสนุนตั้งแต่อายุ ๓๒ ก่อนแต่งซิมโฟนีเบอร์ ๑ มีเงินให้จนตาย ต่อมาเมื่อมีชื่อเสียง รัฐจ้างให้บริษัทอัดแผ่นซีดี เพลงซิมโฟนีเบอร์ ๒ ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ศิลปินผู้เฒ่านี้หยุดแต่งเพลงตั้งแต่อายุเพียง ๖๒ ติดเหล้า ไวน์ และซิการ์ อย่างยอบแยบ พยายามเลิกหลายครั้ง แต่ไม่ได้ผล เกือบทำให้ครอบครัวคือ ภรรยาและลูกสาว ๕ คน แยกกัน ภรรยาต้องเข้ารักษาโรคจิต ตนเองคิดว่าจะเลิกเหล้าหลายครั้งหลายหน แต่ก็กลับมาเสพอีก เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล สนับสนุนส่งซิการ์มาให้เป็นของขวัญวันเกิด ตอนอายุ ๙๐ ปี (เพราะคอเดียวกัน) ติดแอลกออฮอล์และซิการ์ขนาดนี้ ไม่มีผลงานใดๆ ถึง ๓๐ ปี แต่รัฐบาลก็ยังนึกแต่ในทางดี สนับสนุนให้มีเงินใช้ ศิลปินผู้นี้เป็นลูกหมอมีฐานะคนหนึ่ง แต่พอสิ้นพ่อ
แม่คนเดียวก็เป็นหนี้เป็นสินต้องขายบ้าน แรกเริ่มหัดเปียโน แต่มามีใจรักไวโอลิน เรียนและฝึกทั้งวันทั้งคืน

Mendelsohn แต่ง Italian Symphony

Berlioz แต่ง Harold in Italy

Tchaikovsky แต่ง Capriccioso Italiano

Wagner แต่ง Opera das Rheingold

Sibelius อยู่ที่นี่เกือบปี แต่งเบอร์ ๒ นี่จนได้รับความสำเร็จ และนับว่าเป็นซิมโฟนีเอก บางทีเรียกกันว่า ซิมโฟนีแห่งความเป็นไท (Symphony of Independence) มีทำนองเร้าใจ ปลุกให้ชาวฟินด์ให้รักชาติและแข็งข้อต่อรัสเซีย (รัสเซียห้ามใช้ภาษาฟินด์ และพยายามกดดันไม่ให้ศิลปวัฒนธรรมของชาวฟินด์ฟื้นกลับมา)

Movement I: Allegretto

เปิดด้วยโน้ตสามตัว นำออกมาจากทำนองสง่างาม กลุ่มเครื่องเป่าลมมีบทบาทสลับกับเครื่องเป่าทองเหลืองและกลอง เร่งเร้าแล้วลากยาว ท่อนนี้ได้รับการยกย่องว่าสามารถเอาโน้ตเพียงสามตัวมาแปรผันไปได้อย่างสวยงาม ดูเหมือนว่าสะท้อนความยิ่งใหญ่แห่งท้องทุ่ง ภูเขา และทะเลสาบ ที่สวยงาม ตอนกลางๆ มีการนำเสนอธีมเก่านี้ขยายออกไปอย่างสง่างาม

Movement II: Tempo andante

ท่อนสำคัญนี้จะมีเสียงรัวทิมปานี และการดีดของเชลโล่และเบสเป็นพื้นนำแล้วมีบาสซูนเป่าเข้ามาทำนองซึมเศร้า ไม่ทราบว่าจนฝีมือแก่กล้าเป็นนักเดี่ยว (virtuoso) ภายหลังกลับใจมาเป็น composer ลุ่มๆ ดอนๆ จนอายุ ๓๔ แต่งซิมโฟนีเบอร์ ๑ ได้รับการต้อนรับอย่างดี ไม่เคยร่ำรวย พอมีเงินสร้างบ้านที่ Ainola ห่างจาก เฮลซิงกิ ๔๕ กม. พอมีเงินก็เข้ามาสังสรรค์ดื่มไวน์ สูบซิการ์กับเพื่อนๆ จนเงินหมด เป็นหนี้เขาต่อเพลงที่ผมติดใจเสมอคือ Violin Concerto in D minor Op.47,  Symphony ทั้ง ๗, the Swan of Tuonola, Finlandia

Symphony No.2 in D major Op. 43

ซิมโฟนีเบอร์นี้ต้องเรียกว่าสุดโปรดอีกชิ้นหนึ่งของผม ต้นปี 1902 ผู้เฒ่านี้ได้แสดงซิมโฟนีเบอร์ 2 นี้เป็นครั้งแรกที่ เฮลซิงกิ ซิมโฟนีเบอร์ 2 นี้ใช้เวลาแต่งเริ่มต้นที่ในประเทศอิตาลี ที่คฤหาสน์บนภูเขาเมือง Rapallo ที่ Baron คนหนึ่งเชิญไปพัก (บารอนคนนี้ไม่ได้ร่ำรวย แต่ก็เรี่ยไรหาเงินอุดหนุนจนสำเร็จ) ทำไมต้องไปแต่งเพลงถึงอิตาลี คำตอบคือ Goethe เคยเขียนไว้ว่า อิตาลีนั้นเป็นคำตอบของศิลปิน เป็นที่ที่วิเศษในการรักษาจิตใจ แล้วก็จริงเสียด้วย…

เขาบอกกันว่าเป็นการนำเอาการเกิดและการตายและการ ฟื้นคืนชีพมาตีแผ่ เหมือนเป็นการเร้าให้ปลุกคนฟินด์ฟื้นขึ้นมา ผมฟังดูว่าทำนองแปลกจากเสียงแหบๆ ของบาสซูน แลดู วังเวงยิ่ง ไม่เห็นจะเป็นการปลุกเร้าให้ต่อสู้เลย สักพักก็มี ทำนองเล่นโดยกลุ่มเครื่องเป่าแทรกเข้ามา ผู้เฒ่านี้ออกจะชอบ ใช้บาสซูนมาก ทั้งๆ ที่เคยพูดว่า ในฟินแลนด์ตอนนั้นมีคนเล่น เครื่องดนตรีประหลาดนี้ได้เพียง ๒ คน

ตอนท้ายๆ ของท่อนนี้มีกลุ่มเครื่องทองเหลืองเล่นอย่าง ดังจนจบ

Movement III: Vivacissimo

Scherzo นี้ เริ่มแบบรัวอย่างรวดเร็ว โอโบ คลาริเนต ฮอร์น เป่าแทรกเข้ามาอย่างสวยงาม และแล้วทำนองหลัก ก็กลับมาเล่นอีก ทรัมเป็ตเล่นอย่างโดดเด่นจนเข้าท่อนที่ ๔ โดยไม่มีพัก

Movement IV: Finale

ทำนองหลักจากท่อนที่ ๑ และ ๒ กลับมาเล่นวกวน อย่างโดดเด่น ท่อนนี้จะต้องบอกว่าสง่างาม ผมชอบท่อนนี้ เป็นพิเศษ จังหวะเร้าใจ พร้อมกับสอดแทรกท?ำนองหลักเข้ามา อย่างสวยงามด้วยจังหวะที่ค่อยๆ ช้าลง ช้าลง จนจบ

ผมเขียนเรื่องนี้เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ กว่าจะพิมพ์ใน ออดิโอไฟล์ก็คงราวๆ กุมภาพันธ์ ๖๒ ตอนนั้นผมได้จองตั๋วไปที่ ออสโล ฟัง Sibelius Symphony No.5 วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๖๒ ไว้แล้วแหละ… ที่เป็นอย่างนี้เพราะเกิดอยากเห็น “แสงเหนือ” เลยไป Finland Helsingki ไปคารวะ ผู้เฒ่า ฌอง ซิเบลิอุส แล้วไปนอนดูฟ้าที่ Glass Igloo Artic Resort ไม่รู้จะหนาว ตายไหม

ค้นดูรายการ ดนตรีคลาสสิก ใน Helsingki มีแต่เพลง บราห์มส ซิมโฟนี ที่ Music Center ไม่มีของ Sibelius ในช่วงนั้น แต่ไหนๆ มาแล้วก็จองไปเพื่อดูสถานที่ คือโรงของ เขาที่ว่าสวยงามและทันสมัยนัก ขากลับจะแวะไปดู Edward Munch Museum รูปดังมากที่แหกปากร้อง (ขอโทษ) เลยค้นดู ได้เบอร์ ๕ ของผู้เฒ่า มีแสดงตอนนั้นพอดี ก็ยังดี เพราะเบอร์ ๕ นี้ก็โดดเด่นเช่นกัน เบอร์ ๕ นี้เป็นซิมโฟนีถัดไป ที่ชอบรองมาจากเบอร์ ๒ แล้วต่อด้วยเบอร์ ๑ แล้วก็ ๗

แปลกไหมล่ะ เบอร์ ๕ มีแค่ ๓ ท่อน และเบอร์ ๗ มีแค่ท่อนเดียว หลังจากนั้นเห็นว่าร่างๆ เบอร์ ๘ แต่ไม่สำเร็จ เพราะหมดไฟ หรือเพราะดื่มด่ำกับไวน์และสูบซิการ์ จนวายชีพ อายุ ๙๒ ปี

อารมณ์หงุดหงิดของผมตอนเริ่มเขียนก็จางไปแล้ว ขอให้สนุกกับการฟังครับ. ADP

AUDIOPHILE – VIDEOPHILE 264