นักเขียน : ธรรมนูญ ประทีปจินดา :

ในแวดวงนักเล่นเครื่องเสียงโดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียกลุ่มคนรักเครื่องเสียงหลายกลุ่มน่าจะรู้จัก “คุณหมู” หรือ “คุณวรวุฒิ อุ่นใจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีโอแอล จำกัด(มหาชน) เป็นอย่างดี วันนี้ให้เกียรติมาเป็นแขกในคอลัมน์ WE ARE AN AUDIOPHILE คุณหมู ต้อนรับพวกเรา โดยเชิญให้ไปฟังซิสเต็มของห้องที่เห็นอยู่นี้ ทั้งยังได้แลกเปลี่ยนทัศนะร่วมกัน จากการประสานงานของคุณบอล แห่ง Living Sound และ Mr. Gerhard Hirt เจ้าของและนักออกแบบจาก Ayon Audio ซึ่งได้แวะมา Finetune ระบบให้พอดี ทั้งนี้ก็เพราะเครื่องเสียงชุดนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายโดย Living Sound แทบทั้งสิ้นตั้งแต่ลำโพงฮอร์น Cessaro Acoustics คู่แรกของเมืองไทย และเพาเวอร์แอมป์, ปรีแอมป์,โฟโนสเตจ ของ Ayon Audio รุ่นท็อป ไม่นับสายอีกเพียบ รวมถึงเทิร์นเทเบิ้ลที่มีอยู่ตัวเดียวในโลกอีกด้วย และนี่คือบทสนทนาของวันนี้…

ตัวตน

ผมเป็นคนชอบเครื่องเสียงมาตั้งแต่เด็ก อายุ 11-12 ขวบ ประทับใจกับเครื่องเสียงของคุณอาที่ท่านนำมาจากอเมริกา จำได้ว่าเป็น Bose 601, อินทิเกรตแอมป์ Luxman L50 มั้ง ประทับใจเพลงของ Ray Conniff จัง โอ้โฮ! ทำไมมันเพราะแบบนี้ ทึ่งมาก แต่ก็ไม่มีปัญญาเล่นหรอก ที่บ้านก็ไม่มีที่จะเล่น

ชอบอ่านหนังสือเครื่องเสียง อ่านทุกฉบับเลย เราก็อ่านมาเรื่อยๆ จนเลิกตามหนังสือไปเมื่อสิบปีหลังมานี่เอง ไม่ใช่เลิกตามเรื่องเครื่องเสียงนะ ไม่ใช่อะไร ก็เมื่อเป็นยุคออนไลน์แล้วก็อ่านจากอินเทอร์เน็ตแทน มันไวกว่า ยังไงเราก็ชอบเครื่องเสียงมาตลอด

ก่อนหน้านั้นเล่นอินทิเกรตแอมป์ในห้องนอน เล่นอยู่พักหนึ่งต้องหยุดเล่น เพราะลูกเล็ก เพิ่งได้เล่นจริงๆ จังๆ เมื่อห้าหกปีที่แล้วนี่เอง ชุด Burmester ชุดนี้ไง ความจริงเดิมอยู่บนคอนโดฯ แต่ที่บ้านไม่มีใครยอมไปอยู่คอนโดฯ ชินกับบ้านติดดิน ชอบเลี้ยงสุนัข ต้องปลูกบ้านใหม่ ซึ่งก็เลยกลายเป็นบ้านหลังนี้

คิดการใหญ่

เมื่อคิดจะปลูกบ้านหลังใหม่ทั้งที ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้นว่าต้องมีห้องฟังเพลงด้วย มันเป็นสิ่งที่ฝันมาตลอด ตอนนี้มีกำลังทรัพย์จะเล่นก็ต้องจัดกันหน่อย ห้องฟังห้องนี้เป็นโจทย์ให้กับดีไซเนอร์ที่จะทำห้องเครื่องเสียง ต้องกว้างพอ ฐานรากต้องรับน้ำหนักมากพอของห้องฟัง รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องเสียงชุดเดิมจะย้ายมาห้องใหม่ดีมั้ย สองจิตสองใจ คิดว่าไม่เอาดีกว่า เล่นแบบม้วนเดียวจบไปเลยดีกว่า เล่นแล้วให้จบไปเลย เหมือนเล่นมินิคอมโปที่เบ็ดเสร็จทีเดียว

เครื่องเสียงในห้องใหม่

ใช้ลำโพงเป็นตัวตั้ง กำลังอยากด้งลำโพงคู่ใหม่ ไปฟังเครื่องเสียงหลายที่ แต่ก็ยังไม่ตัดสินใจ เผอิญไปฟังบ้านเพื่อนที่ญี่ปุ่น ใช้แอมป์หลอดกับลำโพงฮอร์น ฟังแล้วปิ๊งขึ้นมาเลย ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนก็เคยฟังมาก่อนเยอะด้วย กลับไม่ชอบ ฮอร์นเสียงมันใหญ่ แต่แบนๆ อาจจะเพราะเป็นฮอร์นวินเทจ พบว่าส่วนใหญ่เสียงไม่มี Soundstage, Image, Focus หรือ Detail ยิบๆ ก็จะไม่ได้ รู้สึกว่าเสียงมันไม่เข้าหูเลย เราอาจจะคุ้นกับแนวออดิโอไฟล์ก็ได้ เลยไม่ชอบแต่ครั้งนี้กลับไม่แฮะ อยากเล่นแล้วล่ะ ก็ยังติว่าเบสกับกลางแหลมจะไม่ทันกัน แต่ไดนามิกส์มันสุดๆ อยู่แล้ว เราเล่น Nola ก็ไฮเอ็นด์อยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ไดนามิกส์แบบฮอร์นนะ สงสัยคงต้องเล่นฮอร์นกับแอมป์ Single Ended ดีกว่า เพราะส่วนใหญ่คนที่เล่นเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ ที่สุดแล้วต้องไปตายกับแอมป์หลอดจับกับลำโพงฮอร์นกันทั้งนั้น ถึงตรงนั้นจะเป็นเครื่องเสียงชุดสุดท้ายของชีวิต เราก็น่าจะลองดูไม่ใช่เหรอ

เล่นเครื่องเสียง

ผมเป็นมิวสิกเลิฟเวอร์ คอนเซ็ปต์ก็คือ พยายามลงทุนเพื่อให้เสียงที่ดีใกล้เคียงดนตรีสดมากที่สุด ชอบฟังเสียงสดๆ ชอบฟังแผ่น Live ผมว่าแผ่นออดิโอไฟล์ให้เสียงปรุงแต่ง ซึ่งจริงๆ แล้วดีกว่าไปฟังสดๆ เสียอีก ก็ดีนะ แต่ขาดบรรยากาศ เล่นเครื่องเสียงจะไม่เล่นตามกระแส อาจจะเพราะเราเป็นนักการตลาด รู้ว่าทุกอย่างคือการตลาด คือไม่ได้ดูแค่ยี่ห้อ ราคา จะไปศึกษาแนวคิดของดีไซเนอร์ ว่าคิดยังไง ทำยังไง ขณะเดียวกันก็ศึกษาจากรีวิวส์บนเว็บทั่วโลกมาประกอบการตัดสินใจ แบรนด์ที่ไม่ค่อยมีคนติ

“ผมเป็นมิวสิกเลิฟเวอร์ คอนเซ็ปต์ ก็คือ พยายามลงทุนเพื่อให้เสียงที่ดีใกล้เคียงดนตรีสดมากที่สุด”

ทั้งความถี่ต่ำมาพร้อมกับซับวูฟเฟอร์ ทวีตเตอร์เป็น Alnico Magnet ที่ให้ เสียงปลายแหลมพลิ้วไป ได้ไกล เสียงกลางที่เป็นฮอร์น ไดรเวอร์เป็น Beryllium อีกอย่างจะเห็นว่าลำโพงของเขาจะหนาหนัก เขาแก้ปัญหาเรื่อง Resonance ซึ่งพวกฮอร์นที่ใช้วัสดุบางๆ จะเจอปัญหา Color ทั้งสิ้น ผมฟังออกว่าเป็นปัญหา Resonance ยิ่งเสียงร้องนี่ ฟังออกขึ้นจมูกเลยครับ ปากฮอร์นซึ่งมีผลอย่างมากต่อคุณภาพเสียง เมื่อก่อนก็เป็นไม้ ต่อมาก็พัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นไฟเบอร์กลาส โดยแดมป์ด้วย Liquid Polymer อยู่มีแต่คำชม แบรนด์แบบนี้จะอยู่ในเรด้า(พิสัย)ของผม ในที่สุดผมจะฟังความเห็นจากนักเล่นทั่วโลก ไม่ใช่ประเทศใดประเทศหนึ่งด้วยนะ พวกนี้ลงลึก มีทั้งชมและทั้งด่า สนใจ User Review มากกว่าแม็กกาซีนรีวิวส์

เชื่อในเรื่องของ Mass (มวล) ไม่ว่าจะเป็นลำโพง แอมป์เครื่องเล่น ชอบเครื่องหนักไว้ก่อน มันจะนิ่ง แอมป์ควรจะหนักที่เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่ควรหนักที่ตัวถัง ดังนั้น แอมป์เราก็ควรจะดูที่ทรานส์ฟอร์เมอร์ คาปาซิเตอร์กี่ไมโครฟารัด บอกถึงกำลังสำรองต้องดี ลำโพงก็ดูที่ไดรเวอร์ แม่เหล็กใหญ่ไหม เมื่อชิ้นส่วนอุปกรณ์ดีก็จะทำให้มันดีเอง เลือกเครื่องเสียง ประวัติผู้ผลิตต้องเชื่อถือได้ มีความรู้จริง นอกจากเทคนิคัลต้องได้แล้ว ต้องสวยด้วย เราอยู่กับมันทุกวัน มองหน้ามันทุกวัน ถ้ามันไม่สวย บางทีเสียงดีก็ไม่อยากเล่น อย่าง Ayon ออกแบบคลาสสิก ฐานใหญ่ๆ แบบนี้ ดูก็สวยแล้วครับ อีกอย่างคือ บริการหลังการขายด้วย

CESSARO ACOUSTICS HORN

คิดจะเริ่มจากลำโพงฮอร์น เมืองไทยมีไม่กี่รายที่ขายเราศึกษาในเว็บก็มี Cessaro เข้ามาในหัว ผมตามดูใน YouTube หลายปีแล้ว ได้แบบทรง Tower ไม่เปลืองที่ก็เพิ่งมีนี่แหละ แม้ตู้ใหญ่ แต่ไม่เปลืองด้านข้าง แต่เปลืองสเปซด้านสูงแทน ก็ไม่มีปัญหากับห้องที่เราดูหนังฟังเพลงด้วยได้ มันจะไม่บังจอ ไปเห็นเว็บ Hi-End Audio ของฮ่องกง เดิมเป็นรุ่น Liszt เพิ่งเปิดตัว ศึกษาใน YouTube ขนาดใน YouTube ยังรู้ว่าเสียงดีเลย มันก็ตอบโจทย์ เขาแก้ข้อติดขัดที่เราติในเรื่อง Time Alignment ไม่ทันกัน อยากให้ปรับปรุง มีการเลือกไดรเวอร์ของ TAD มาอยู่ในระบบ แถมมีแอ็กทีฟซับวูฟเฟอร์มาด้วย แก้ปัญหาของลำโพงฮอร์นในอดีตที่เจอ ให้การตอบสนองความถี่ที่ฮอร์นในอดีตไปไม่ถึง ซึ่งโดยเฉลี่ยแค่หมื่นห้า หมื่นหกเฮิร์ซเท่านั้นก็หรูแล้ว แต่นี่เป็นฮอร์นสมัยใหม่ที่แก้จุดบอดของลำโพงฮอร์นในอดีตทั้งหมด ครบเครื่องภายใน ซึ่งมีคุณสมบัติหยุ่นตัว ทั้งนี้เพื่อให้มีมวล ตัดปัญหาเรื่อง Resonance ไป เฉพาะปากฮอร์นน้ำหนักข้างละ 63 กิโลเข้าไปแล้ว ซึ่งถ้ารวมลำโพงทั้งตู้ หนักถึงข้างละห้าร้อยกิโล ซึ่งหนักมาก

เล่นกัน ดูเหมือนจะเป็นสมาคมที่จัดงาน Audio Exotic มีเพาเวอร์มาก เล่นกันสุดขั้ว จะเอาอะไรมาเล่นก็ได้ ประมาณว่า Cost No Object สามารถสั่งผู้ผลิตออกแบบตามที่ตัวเองต้องการได้เลย อย่างลำโพงคู่นี้เป็นรุ่นพิเศษ ไม่ใช่รุ่นมาตรฐานที่ขายทั่วไปหรอก ไม่มีในเว็บด้วย ความจริงเป็นความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นของบ้านเรา แต่เมื่อตกปากรับคำแล้ว ขอเป็นคู่เดียวในเมืองไทย เพราะเป็นรุ่นที่ถูกสั่งทำขึ้นเพื่องานนี้โดยเฉพาะ เจ้า Carmen นี่ เดิมคือรุ่น Liszt II ซึ่งคนฮ่องกงฟังแล้วก็ชอบทุกอย่างแต่อยากให้ปรับแต่งเพิ่มคือ Bass และ Mid Low จึงมีความพิเศษตรงนี้ เพราะกลายเป็นต้องปรับไดรเวอร์ใหม่ทั้งหมด ไดรเวอร์โตขึ้น ทำให้ต้องขยายตัวตู้ให้ใหญ่และหนักขึ้นด้วย สังเกตดูได้เลยว่าเหมือน Liszt II ไหม ผมก็คิดเลยว่า เขาเล่นกันขนาดนี้ ยังเอามาโชว์ในงานสองสามปีซ้อนเลย ประมาณว่าเขาสามารถเล่นลำโพงทุกคู่ในโลกได้ แต่ต้องยอมรับว่า Cessaro คู่นี้มันสุดยอดจริงๆ ของจริงก็ไม่ได้ฟัง ผมก็ไปตามฟังบน YouTube สิ ผมน่ะฟังเครื่องเสียงบน YouTube เยอะมาก หลายคนบอกว่าจะฟังออกเหรอ บอกเลยว่า พอว่าเห็นเค้าลางบ้างเหมือนกัน ตัวไหนพอไหวไหม พออ้างอิงประกอบการตัดสินใจได้ ลำโพงห่วยๆ ฟังไม่ต่างหรอก แต่ถ้าดีๆ จะต่างจากคลิปอื่น ซึ่งเราฟัง Cessaro Carmen แล้ว ขนาดฟังบน YouTube ยังฟังออกเลยว่าดีมาก ทั้งๆ ที่ไม่เคยฟังของจริงเลยด้วย เอาล่ะ….ตัดสินใจสั่งเลย

คุณบอล เสริมว่า “Cessaro เคยไปคุยกับเขามาหลายรอบ แต่ก็ไม่ได้เอาเข้ามาซักที เป็นลำโพงที่ดี ต้องเล่นกับแอมป์หลอด Single Ended Class A เท่านั้น ข้อสำคัญขนาดมันใหญ่ หาห้องลงยาก ราคาไม่ใช่ปัญหา ลูกค้ามีความสามารถจ่ายได้ แต่ถ้าบ้านมีที่แค่นี้ ทำไงได้” โชคดีที่คุณหมูทำห้องใหม่ จึงลงตัวพอดี

AYON AUDIO

ได้ลำโพงแล้วหาแอมป์มาขับ ด้วยความที่ความไวลำโพงสูงมากกว่า 100dB เขา Recommended ต้องเป็นแอมป์หลอด Single Ended Class A เท่านั้น ความจริงต้องการวัตต์ต่ำๆ เกรงมีปัญหา เดี๋ยวน้อยส์แซด ถึงเขาไม่บอกก็ต้องรู้อยู่แล้วว่า ถึงวัตต์น้อยก็ต้องเป็นของดี กระแสต้องถึง ไม่ลังเลที่จะเลือก Single Ended Class A เพราะเชื่อว่า Pure ที่สุดแล้ว แอมป์ทรานซิสเตอร์ Class A ก็พยายามทำให้ใกล้เคียงแอมป์หลอด Class A นั่นเอง ก็เลยเอาที่ Original เสียเลยดีกว่า ซึ่งหลอด Single Ended Class A มีแบรนด์ดังๆ ของโลกอยู่ไม่กี่แบรนด์หรอกครับ Ayon ก็เป็นแบรนด์ที่ติดตามมานาน ต้องยอมรับในฝีมือการออกแบบของ Mr. Gerhard ว่า เขาออกแบบได้ดีมาก หลักการเขาดี ใช้อุปกรณ์ชั้นยอด วงจรเรียบง่าย Simply Best แต่ใส่ใจในทุกรายละเอียด Ayon เข้าใจที่จะตัดตอนปัญหา และคิดว่าแอมป์ที่ดีควรทำก็คือ แยกเพาเวอร์ซัพพลาย ซึ่งมีไม่มาก ไม่ว่ากับปรีหรือเพาเวอร์ โดยเฉพาะปรีโฟโนยิ่งสำคัญมาก เพาเวอร์ซัพพลายดี ให้เสียงสงัด มีบอดี้ ไดนามิกส์ดีมาก คิดดูสิ ลำโพงฮอร์นความไวขนาดนี้ ถ้ามีปัญหาอะไรนิด จะฟ้องหมด เสียงขุ่น เสียงตื้อ เสียงอั้น ฟ้องหมด ดังนั้น แอมป์หลอดกับลำโพงฮอร์นต้องให้แม็ตช์ด้วย เพื่อให้ชัวร์ เลยฝากคุณบอลไปเช็คกับ Cessaro ว่าชัวร์ไหม เขาก็บอกว่าไม่มีปัญหา ลูกค้าใช้อยู่ ดีลเลอร์บางรายก็ใช้ ทั้งๆ ที่ Cessaro ก็มีแอมป์ของเขาเหมือนกัน

“เราต้องการเครื่องมือ ที่จะถ่ายทอดอารมณ์เพลง ไม่ใช่แค่ฟังเพลง”

เมื่อได้ของสองสิ่งที่สำคัญสำหรับห้องฟังในฝันของผมแล้ว ประกอบกับทั้ง Cessaro และ Ayon อยู่ในมือ คุณบอล Living Sound พอดี คุยกันง่าย เพราะคบกันอยู่แล้ว รู้นิสัยใจคอกันดี เชื่อถือกันได้ ก็เต็มไลน์ไปเลย อย่าง Ayon นี่ ตั้งแต่ปรีโฟโน ปรีแอมป์ มาถึงเพาเวอร์แอมป์ เราก็เล่นแค่นี้เอง เป็นรุ่นเรือธงทั้งหมด ภาคตัวต้นทาง ยังไงก็เทิร์นเทเบิ้ล ซึ่งก็มองว่าดีสุด ซึ่งผมก็มี TW Acoustic Black Knight อยู่แล้ว Cessaro ใช้เป็นตัวอ้างอิงอยู่แล้ว แถมเขาเป็นเพื่อนกันด้วย เมื่อเรามี TW ก็เลยมาหาเทิร์นอีกตัวเป็น AVID เป็นสปริงแขวนลอย แต่ตัวนี้เป็นรุ่นพิเศษ ครบรอบสิบปีของเขา ทำแค่สิบตัวในโลก ซึ่งน่าสนใจมาก โอกาสขอฟังมันยาก ก็ต้องดูหลักการเอาก่อน โอเคไหม รุ่นนี้มาพร้อมขาและแท่น หนัก 147 กก. ปกติสีเงิน ขอเป็นทอง 24K ได้ไหม กลายเป็นตัวเดียวในโลก ไม่เกี่ยวกับเสียงหรอก แต่มันสวย มองก็มีความสุขแล้วครับ

ESOTERIC

เมื่อเราจะเล่นเทิร์นเทเบิ้ลแล้ว ถ้าจะเล่นไวนิลให้ได้ดี ผมอยากมีดิจิทัลเป็นตัวอ้างอิง ไวนิลเสียงต้องแซงดิจิทัลให้ได้ ถ้าเท่าก็แสดงว่ามีอะไรผิดพลาดแล้ว ผมยอมลงทุนกับดิจิทัล ไวนิลเรายังไม่ไว้ใจฝีมือการเซ็ตของเรา ดีไม่ดีไม่รู้ ผมยังเซ็ตไม่เก่ง ถ้ายังไม่แซง แปลว่ายังเซ็ตไม่ถูก ผมคิดแค่นี้ มันต้องแซงนะ เสียงมันได้อารมณ์กว่า ผมว่าแนวคิดมันดีที่สุดแล้ว หาดีกว่ามันไม่ง่าย ได้ราคาดีอยู่แล้ว

CABLES

เลือกทุกอย่างยกเว้นเคเบิ้ล ค่อยมาเลือก ความจริงอย่างที่ทราบกันดีว่า ลำโพงฮอร์นไม่เชิงซีเรียสเรื่องสาย แต่เราเล่นไฮเอ็นด์ก็ต้องเน้นสายด้วย เราก็เอาสายหลายแบรนด์มาเลือกมาลอง ระดับ Worldclass ทั้งหมด ทุกคนเขายินดีให้เรามาลองทั้งหมดนั่นแหละ ยังไงก็ฟังออก เมื่อพื้นฐานมันดี ความจริงมันดีทั้งหมดนั่นแหละ ไม่มีสายไหนห่วย ขึ้นอยู่ว่าเราจะชอบอะไร เพียงแต่เราชอบแบบไหน เมื่อห้องดี เครื่องดี สายเหมือนเครื่องปรุง ก็แค่จูนเท่านั้น ถูกรสนิยมเราแค่ไหน บางยี่ห้อดีหมด แต่เบสบางไป บางตัวขุ่นไปนิด หรือช้าไปหน่อย สุดท้ายก็เลือกสายที่ไม่เคยฟังอีกนั่นแหละ ยี่ห้อ Synergistic Research ความจริงรู้จักมายี่สิบกว่าปีแล้ว เขาวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ชอบเขาตรงไหนรู้ไหม เขากล้าท้า AB Test ตลอด เวลาออกงาน เขากล้าให้คนเปลี่ยนสายเดี๋ยวนั้นเลย เมืองไทยไม่มีใครนำเข้ามา ผมก็เชื่ออย่างว่า ซิสเต็มใหญ่ขนาดนี้ ยากที่จะเอาสายทั้งระบบมาเทสต์ได้ ไม่มีทางเลย เสียงช่วงเดียวกับสามช่วงก็ไม่เหมือนกัน หลายแบรนด์หลายรุ่น มึนครับ สุดท้ายผมเลือก Synergistic Research ไม่ถูกนะ แต่ก็ไม่แพงมากกว่าแบรนด์อื่น แล้วก็เลือกขนาดความยาว ซักสามสิบกว่าคู่(เส้น)ได้ แค่ Digital Source เข้าไปก็สิบกว่าเส้นแล้วครับ พอเราใช้สายแบรนด์เดียวกัน แฮปปี้

สร้างบ้าน ทำห้อง

พอเราได้ชุดเครื่องเสียงขนาดนี้แล้ว เนื่องจากเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ เราก็คิดว่า รายละเอียดทุกอย่างมีผลต่อคุณภาพเสียงทั้งหมด ตั้งแต่ระบบไฟ เราขอหม้อแปลงมาติดตั้งหน้าบ้านใหม่เลย เดินเข้าบ้านเลย ก็เมื่อเรามาสร้างบ้าน คำนวณโหลดแล้ว ใช้ไฟ 150 แอมป์ทีเดียว ก็บ้านพันสี่ร้อยตารางเมตรไร่หนึ่งปลูกเต็มพื้นที่ไปเลย เฉพาะแอร์ในบ้านนี้ก็ยี่สิบกว่าตัวแล้ว กฟน. บอก ไฟไม่พอหรอก เสียค่าใช้จ่ายไปเกือบล้าน ใช้กันทั้งซอยกันเลย ระบบไฟห้องนี้แยกอิสระหมด ทั้งสองห้อง กราวด์ก็แยกหมด บ้านหลังนี้มีกราวด์สามชุด สายไฟก็พิเศษ ให้คุณหนุ่ม พีรพล จัดการให้เนื่องจากลำโพงคู่นี้เป็นลำโพงที่หนักมาก ตั้งแต่ออกแบบต้องตอกเสาเข็มแน่นเป็นพิเศษในโซนห้องฟังเพลง ต้องเผื่อรับโหลดให้ได้สองตันต่อตารางเมตร ลำโพงก็ตันหนึ่งแล้ว เครื่องเสียงรวมกันก็สองตันนั่นแหละ ดีที่มีพื้นที่ให้กระจายโหลดบ้าง ความจริงคุยกันว่าอยากได้รุ่นใหญ่กว่านี้ แต่ความกว้าง 5.5 เมตร แคบไป ลงไม่ได้ เมื่อได้ลำโพงมา ก็สเก็ตช์แบบเองในกระดาษก่อน สัดส่วน 5.5 x 11 x 3 เมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่ดีนัก แต่กับลำโพงฮอร์นคู่นี้มันลงได้ เขาแนะนำระยะนั่งฟังห่างจากหน้าลำโพงอย่างน้อยสุด 5 เมตร ตอนนี้ 6 เมตรเศษ เอาเป็นว่าถ้าห้องไหนที่สั้นกว่า 8 – 9 เมตร ก็ไม่ต้องคุยแล้วล่ะ ที่ฮ่องกงเล่นกันวางชิดผนังหลังห้องเลย เพราะเขาไม่มีที่ ของเราห่างเมตรกว่า อย่าลืมนะว่า ลำโพงตู้ลึกตั้งเมตรยี่สิบแล้ว เฉพาะลำโพงกับผนังหลังก็สองเมตรครึ่ง หน้าลำโพงถึงจุดนั่งฟังอีกหกเมตร เจอไปแปดเมตรกว่า ด้านหลังมีเหลือนิดหน่อย ปรากฏว่าสิบเอ็ดเมตรกลายเป็นพอดี ด้านหลังเลยทำชั้นแผ่นเสียงมาวาง เหมือนดิฟฟิวเซอร์ แก้เรื่อง Resonance เพราะมันสองคูณสองพอดี มันเป็นตัวเลขต้องห้ามพอดี ส่วนด้านหน้าหลังจอก็ใส่ดิฟฟิวเซอร์เต็มแผง แล้วใช้ลำโพงดูหนังสามตัวฝังเข้าไป จอเป็นแบบ Acoustic Transparent เสียงทะลุได้ แน่นอนว่าโครงสร้างทำให้แข็งแรงที่สุด ให้การสั่นและกระพือไม่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงเลย การตีโครงต้องถี่ยิบ เป็นตารางฟุต ตีแบบ Random ด้วย ฝ้าใช้แบบอะคูสติกส์ เป็นอย่างเดียวที่ใช้อุปกรณ์อะคูสติกส์ ผมพยายามไม่ใช้อะคูสติกส์ทรีตเม้นท์แบบวิทยาศาสตร์มากเกินไป พยายามทำให้มันกลืนกับอินทีเรียร์ ใช้พรม ผ้าม่าน ผมชอบห้องฟังเพลงที่เป็น Homy ไม่ชอบห้องฟังเพลงที่เป็นห้องแล็บ แล้วแต่คนนะ ก็เชื่อนะว่าห้องที่ทรีตเมนต์ดีๆ จะรีดประสิทธิภาพของซิสเต็มได้ดีที่สุด ติดม่านให้สมมาตร ก็ไม่ค่อยเปิดม่านให้เห็นสระน้ำหรอกครับ จริงอยู่ที่เราซีเรียสเรื่องเสียงนั่นแหละ อีกอย่าง เขาว่ากันว่า ลำโพงฮอร์นไม่ค่อยซีเรียสเรื่องอะคูสติกส์ แต่ฮอร์นส่วนใหญ่ไม่มีเลเยอร์ อิมเมจ โฟกัสนะ แต่ฮอร์นของ Cessaro มันมีสิ่งเหล่านี้ ก็ต้องทรีตสิ มันเป็นเหตุเป็นผลที่ต้องทำระดับหนึ่ง ผมเองเป็นคนกำหนดความต้องการ การจัดวาง ส่วนอินทีเรียร์มีหน้าที่ไปทำให้สวย

Air Condition หัวใจสำคัญ ของห้องฟังที่ดี

นอกจากอะคูสติกส์ห้องฟังต้องใส่ใจแล้ว ห้องฟังที่ดีต้องมีความสงัด เพราะจะได้ยินรายละเอียดเสียงเล็กๆ ได้หมดผมไปฟังห้องฟังหลายห้อง พบว่าส่วนใหญ่ฟังเพลงบวกเสียงแอร์ ซึ่งเสียหายมาก เครื่องเสียงชุดเป็นสิบล้าน เราพยายามฟังความแตกต่างของอุปกรณ์ที่เราอัพเกรดมัน ซึ่งตอนนี้เราเล่นกันจนถึงสายไปแล้ว มันจะได้ยังไง ในเมื่อพื้นฐานยังไม่ได้เลย ถ้าจะให้ได้แบบนั้น ห้องต้องสงัดพอควร คงไม่ถึงกับวิ้งๆ เหมือนสตูดิโอบันทึกเสียงหรอก แต่เราก็ใช้แอร์ระบบเดียวกับเขานั่นแหละ คือใช้เป็นระบบท่อ ติดตั้ง Duct Silencer เข้าไป ให้มีแต่ลมเข้ามา อย่าให้มีเสียงลมวิ่งผ่าน ลงทุนไปราวครึ่งล้าน ไม่มากเลย เมื่อเทียบกับซิสเต็มที่ลงทุนไป สายไฟเส้นเดียวก็แพงกว่าแล้วครับ แหม… จ่ายเงินไปกับสายเส้นนี้เพื่อมาฟังความแตกต่าง แต่กลับแยกไม่ออก เนื่องจากได้ยินเสียงแอร์แทน น่าเสียดายจริงๆ เสียงแอร์ต้องมากวน คือควรวางแผนให้ดี ก็มีครับที่อุตส่าห์ลงทุนสร้างบ้านทำห้องใหม่ แต่กลับมองข้ามสิ่งสำคัญข้อนี้ เราควรคิดให้เบ็ดเสร็จเสียก่อน อย่าทำไปก่อน แล้วค่อยไปแก้

ฟังเพลง แนวดนตรี

ฟังเพลงมาตั้งแต่นั้น ก็มี Beatles, BeeGees, Bay City Roller แล้วก็มาเฮฟวี่ UFO, Deep Purple ฟังมันทุกวงซื้อเทป Peacock สี่ห้าร้อยม้วน ต่อมายุค ’80s ยุคดิสโก้มา ร็อกเริ่มโรย หันไปฟังแจ๊ส ฟังแจ๊ส ลูกเริ่มโต เริ่มเรียนเปียโน ก็ฟังเพลงคลาสสิก มันเป็นดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีเยอะ ซับซ้อนมากที่สุดแล้ว ใช้โน้ตมากที่สุด เอาเครื่องดนตรีเป็นร้อยๆ ชิ้นมารวมกันเป็นท่วงทำนองเดียวกันนี่ มันยอดมาก เพลงคลาสสิกเป็นเพลงที่ฟังแล้วคุ้มเครื่องที่สุด ฟัง Soundstage, Image, Focus, Timbre มาหมด ที่สุดแล้ว เพลงคลาสสิกผมมีเยอะมาก มีเป็นพันแผ่น กลายเป็นว่ามีแผ่นร็อกกับคลาสสิกนี่แหละ

อารมณ์ไหนเหรอ

หลังเลิกงานนะ ทำงานเครียดๆ บางคนไปนั่งสมาธิ แต่ผมเลือกฟังเพลง เวลาฟังเพลงจะโฟกัสอยู่กับมัน ยิ่งฟังเครื่องเสียงดีๆ เราสามารถแยกไลน์ดนตรีได้ดีว่า ตรงนั้นเพอร์คัสชั่น เบส กีตาร์ เปียโนเสียงร้อง ได้เป็นชิ้นๆ แล้วเอามารวมกัน เราอยู่ในภวังค์แบบนั้น มันเหมือนกับฝึกสมาธิ ลืมอย่างอื่นหมด มันช่วยผ่อนคลายได้ดีมาก ฟังเพลงช่วงหลังเลิกงานมันมีประโยชน์ อย่าบอกว่าเพราะ เพราะฟังเมื่อไหร่ก็เพราะนะ

YOU ARE THERE!

จริงๆ ผมเป็นมิวสิกเลิฟเวอร์ อยากซื้อแบบมินิคอมโป ซื้อทีเดียวให้จบไปเลย ซึ่งลำโพงฮอร์นให้บรรยากาศ ถ้าเทียบกับลำโพงออดิโอไฟล์ เสียงอาจเป็นรอง แต่ได้ความสดมากกว่า ลำโพงออดิโอไฟล์ให้ความสมจริงได้ไม่เท่า ลำโพงฮอร์นให้อะไรที่มากกว่า มันมี Energy วิ่งมาหาเรา เหมือนเราอยู่หน้าเวที อยู่ตรงนั้นเลย เหมือนแผ่น BBA เมื่อกี้นี้เลย ผมชอบฟังแล้วหรี่ไฟ ผมมีแผ่นร็อกเยอะมาก ชอบฟังมาตั้งแต่วัยรุ่น ผมเล่นกีตาร์มาตั้งแต่วัยรุ่น แต่ไม่เก่งนัก ว่างๆ ก็เอาเล่นบ้าง ไม่มีวงหรอก แต่ชอบสะสมกีตาร์ด้วย ผมจูนหูทุกวันด้วยเปียโนที่ลูกผมเล่น วันสองสามชั่วโมง สิบกว่าปีมาแล้ว ดังนั้น เมื่อไปฟังเครื่องเสียงจะลองฟังแผ่นเปียโน ฮาร์โมนิกของเปียโนเราฟังออกหมด แผ่นออดิโอไฟล์สตูดิโออัลบั้ม เพราะกว่าดนตรีสด แต่ได้บรรยากาศไม่เท่า

ชอบฟังบันทึกการแสดงสด อัลบั้มแสดงสดดีๆ เยอะไปหมด อย่าง Bela Fonte’ อัดมาตั้งห้าหกสิบปี ฟังแล้วขนลุกเลย วงร็อกอย่างแผ่น BBA (Beck Bogert Appice) หามาสามสิบปี กว่าจะได้มาจากญี่ปุ่น อย่าง Made In Japan นี่ก็ยอด มันกำลังฮอตสุด

ต้องเชื่อตัวเอง

อย่างที่บอกว่าผมเป็นมิวสิกเลิฟเวอร์ที่ต้องการฟังเพลงจากเครื่องเสียงดีๆ ผมไม่ค่อยเปลี่ยนเครื่องเสียงบ่อยนัก เพราะเราทำการบ้านมาดีเสมอ เราไม่เล่นเครื่องเสียงตามตลาด เรารู้ว่าตลาดมีมามีไป เราติดตามมาตลอด กว่าจะได้ชุดนี้มาต้องบอกว่าทำการบ้านหนักมาก ไม่เคยเชื่อคนขาย บอลบอกว่าอะไรดี ก็รับฟังไว้ ไม่เคยเชื่อเขาหรอก หาข้อมูลเอง หาเวลา ไปฟัง ถ้ามีโอกาส เผอิญในลีกที่ผมเล่น มันหาฟังไม่ได้ มี Ayon ที่พี่วิรุณห์กับหมอบอย ก็เล่นอยู่ ก็พอไปฟังได้ มีอ้างอิงแบบนี้ แค่นี้ก็พอใจแล้ว Ayon ผมมั่นใจแต่ต้นแล้ว ก็มีลุ้นตรงฮอร์นนี่แหละ แต่เผอิญฟังฮอร์นมาหลายแบรนด์ ก็รู้ว่าจุดเด่นจุดด้อยอยู่ตรงไหน เพียงแต่รุ่นที่เราซื้อดัน ไม่ได้ฟัง เพราะมันไม่มีให้ฟัง มันเป็นลำโพงที่ดีมาก

เมื่อทุกอย่างพร้อม ห้องฟังห้องนี้ คิด วางแผน ศึกษามาอย่างดี ก่อนตัดสินใจทำรวมถึงสั่งซื้ออุปกรณ์ ทุกชิ้น มั่นใจว่าต้องดี จ่ายเงินไปสิบกว่าล้าน ก็มีลุ้นบ้าง ได้ผลพอใจมาก ผมคงต้อง “เลิกเล่นเครื่องเสียงแล้ว” พูดเช่นนี้ อาจมีคนเสียใจบ้าง ถ้าไม่เสียก็คงไม่อยาก เปลี่ยนอะไร คงเลิกเปลี่ยนไปนาน

เล่นเครื่องเสียงได้อะไร?

คนเราต้องมีฮ็อบบี้นะ เครื่องเสียงชุดนี้เป็นการกลั่น กรองประสบการณ์สี่สิบปีในชีวิตการเล่นเครื่องเสียงมา เราอยู่ในวงการเครื่องเสียงมายาวนาน เราต้องการเครื่อง มือที่จะถ่ายทอดอารมณ์เพลง ไม่ใช่แค่ฟังเพลง เพราะถ้า แค่ฟังเพลง ลำโพง Bluetooth ก็ฟังเพลงได้ เข้าห้องน้ำก็เปิด iPhone กับลำโพง Bluetooth ไง เป็นการลงทุนที่ คุ้ม ผมไม่นั่งสมาธิ ไม่ตีกอล์ฟ ไม่มีฮ็อบบี้อื่น ว่ายน้ำก็ก้ม หน้าก้มตาว่าย ไม่มีอย่างอื่น ก๊วน กปต. กลายเป็นก๊วน ถ่ายรูปไปแล้ว เปลี่ยนไปเป็นก๊วนกล้อง Leica ไปแล้ว …ฮา

ผมว่าเล่นเครื่องเสียง ผมว่าดีกว่านี้ก็มี แพงกว่านี้มี เยอะ แต่โอกาสเสียงจะดีกว่านี้ยาก บางทีเสียงแตกต่างก็ไม่ใช่ว่าจะดีกว่า บางคนเปลี่ยนเพราะ เบื่อ แต่ละยี่ห้อมันมีความดีแตกต่างกัน บางทีมันชินหูก็อยากเปลี่ยน หูเราอาจจะ ชินกับความถี่นี้นานๆ พอไปฟังตัวใหม่ มันจะปิ๊งปั๊ง ตื่นตาตื่นใจ บางที ฮ็อบบี้ของ เขาคือเล่นเครื่องเสียง ก็เลยเปลี่ยนไปเรื่อย แต่ผมเป็นมิวสิกเลิฟเวอร์ที่คลั่งไคล้เสียงดีๆ ผมมีนิสัยเสียอย่างคือ เวลาทดสอบเครื่อง จะทดสอบไม่ได้นาน เพราะจะไหลไปกับเพลง บางทีจะให้ฟังอะไรบางอย่าง เฮ้ย! มันเลย ไปแล้ว เพราะเราไหลไปกับมันเสียก่อนที่จะ โฟกัส สิ่งที่เขาอยากให้ฟัง ลองเทียบกับหนัง ต่อให้ภาพเสียงดีขนาดไหน ถ้าหนังห่วย มันก็ไม่ไหว คราวนี้ถ้าเพลงดี เสียงด้อย ไปหน่อย ผมไม่สนใจแล้วล่ะ เพราะเราอิน กับมัน content ต้องมาก่อน ซึ่งถ้าเครื่อง เสียงดีก็ยิ่งดีขึ้น ผมถึงลงทุนไง ถ้ามีกำลัง ทรัพย์ก็เล่นไปเถอะ สุขภาพดี จะได้มีแรง หาเงินมาเล่นเครื่องเสียงอีกนั่นแหละ แต่อย่าไปแห่ตามเพื่อน เล่นเกินกำลัง แบบนั้นเจ็บ อย่าเลยครับ

…ขอบคุณสำหรับการมาเยี่ยมเยือน

พวกเราปลื้มใจแทนคุณหมู ที่ได้ ชุดเครื่องเสียงสมใจ อิ่มใจที่ได้ฟัง เครื่องเสียงชุดใหญ่ที่หาฟังยาก ชื่นชมกับ ห้องฟังในฝัน เกิดจากการ “กลั่นกรอง จากประสบการณ์ตลอดสี่สิบปีในวงการ” ของคุณหมู ถือว่าสุดๆ เลย ขอบพระคุณ อย่างสูงครับ …และที่เราได้ทราบเรื่องราว ดีๆ เช่นนี้ก็เพราะ

“WE’RE AN AUDIOPHILE”.ADP

“ประสบการณ์อันยาวนานของเรากับ แอมป์ Single Ended Class A ด้วยจิต วิญญาณและความหลงใหลในดนตรี บวกกับ ความต้องการที่จะทำเครื่องเสียงที่สามารถ ถ่ายทอดความเป็น musical ของดนตรีสด ดั่งนั่งฟังในคอนเสิร์ตฮอลล์ระดับโลก Ayon เป็นแอมป์ที่ให้ไดนามิกส์กว้าง ให้ความสมจริง สามารถถ่ายทอดความชัด ลึก ของเวทีเสียงได้ อย่างลงตัว

จะมีสักกี่ผู้ผลิตเครื่องเสียงในโลกนี้ ที่ผลิตหลอดเพื่อใช้แอมป์ของตนเอง แทนที่จะ ดีไซน์แอมป์โดยใช้หลอดที่มีในตลาด Ayon เลือกที่จะผลิตหลอดเอง ยิ่งสำหรับ amp ในรุ่นเรือธงของเราเอง เพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ และยังสามารถปรับแก้คุณสมบัติของหลอด ให้เข้ากับแอมป์ของ Ayon อย่างไร้ขีดจำกัด

ผมเดินทางไปทั่วโลก ได้ฟังลำโพงฮอร์น อื่นๆ มาก็มาก ต้องบอกว่าวันนี้ได้ฟัง Ayon ซึ่งไปได้ดีกับ Cessaro ให้เสียงน่าทึ่งมาก เป็นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับผมด้วย ขอบคุณมากครับ” Mr. Gerhard Hirt กล่าวทิ้งท้าย

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 240