ON THE RIVER SIDE
นักเขียน : ธรรมนูญ ประทีปจินดา :
We ARE AN AUDIOPHILE คอลัมน์ เยี่ยมห้องฟังที่นำมาซึ่งโลกทัศน์ใหม่ๆ เพื่อคนรักเครื่องเสียงโดยแท้
คุณผู้อ่านที่ติดตามมาตลอดจะทราบว่าการเล่น เครื่องเสียงนั้นมีหลายระดับ หลากหลายแนว แล้วแต่กำลัง ทรัพย์ และพื้นฐานความชอบที่ต่างกัน แต่มีสิ่งที่เหมือนกัน คือ ความสุข ความภูมิใจ ของเจ้าของห้องฟังแต่ละท่าน นอกจากนั้น ก็คือ ความเป็นกันเองในฐานะคนคอเดียวกัน ทำให้ได้ทราบ ถึงเรื่องราวความเป็นมาของซิสเต็มในห้องฟังนั้น เราจึงได้รับ ความไว้วางใจที่จะนำภาพมาถ่ายทอดในทำนอง Pictures Tell A Story โดยผมจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางส่งต่อมิตรภาพ รวมถึงข้อคิดดีๆ มาสู่ผู้อ่านนิตยสาร Audiophile/Videophile
สำหรับครั้งนี้ พวกเราจะไปเยี่ยมห้องฟังของนักเล่น รุ่นใหญ่ในวงการท่านหนึ่ งที่ ได้ เปิดบ้านต้อนรับสู่ห้องฟังส่วนตัวที่ทำขึ้นโดยเฉพาะ ผมสงสัยตั้งแต่แรกแล้วว่าลำโพงใหญ่ขนาด MBL101 X-Treme นี้จะไปอยู่บนคอนโดชั้น 44 ริมแม่น้ำ (อีกแล้ว) ได้ยังไง แถมเครื่องเสียงในห้องนี้ยังถือเป็นชุดรอง ซึ่งไม่เล็กเลย ห้องขนาดใหญ่ก็จริงเมื่อเทียบกับบ้านทั่วไป แต่ดู เล็กไปเลย เนื่องจากของเล่นเต็มห้องไปหมด กินเนื้อที่สามในสี่ ของห้องทีเดียว ถึงจะเป็นชุดรอง แต่ก็พิถีพิถันมาก ลงมือ
เซ็ตอัพเองทั้งหมด เน้นตั้งแต่ แอคูสติกส์ห้องฟัง ชั้นวาง ตัวรองสาย ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่สั่งทำเอง แม็ตชิ่งเอง ชุดเครื่องเสียง Super Hi-End ประกอบด้วยลำโพงหลัก MBL101 X-Treme ตู้แยกถึงสี่ตู้ ขับด้วย เพาเวอร์แอมป์ Karan Monoblock ตัวเขื่องถึงสี่ก้อนพร้อมด้วยฟรอนต์เอ็นด์ทั้งดิจิทัลและอะนาล็อก ครบสูตรด้วยเทิร์นเทเบิลและเทป โอเพ่นรีล ทีเด็ดตรงเอาลำโพง JBL Paragon ลำโพงในตำนานขับด้วย แอมป์หลอดเนื้อคู่ และยังใช้ร่วม กันเป็นลำโพงเซ็นเตอร์ของชุด โฮมเธียเตอร์ โดยใช้ชุดฟังเพลงเป็น ลำโพงหลัก… สนใจล่ะสิ งั้นเราเข้าเรื่องกันเลย
ชอบเครื่องเสียง
ผมไม่มีฮอบบี้อื่นเลยนะ จริงๆ พูดยากว่าชอบเพราะอะไร ก็ชอบ เป็นเพราะเราชอบเสียงดนตรีสดๆ อยู่แล้ว พอได้เครื่องเสียงดีๆ มันสามารถถ่ายทอดเสียงดนตรีออกมาได้ดี เราก็ติดกับมัน พยายามหาว่าเครื่องเสียงดี ดียังไง ดีแค่ไหน ความจริงคำว่าไม่ดี ไม่มีหรอก ถูกใจเราหรือไม่ ส่วนเล่นยังไงก็อีกเรื่อง ผมชอบของผมแบบนี้ ผมเล่นแบบนี้ บางทีก็ชวนเพื่อนมาฟัง บอกเขาด้วยว่าติชมได้ ไม่ต้องเกรงใจ ถ้าไม่ดี บอกด้วยว่าไม่ดีตรงไหน เราจะได้นำมาปรับปรุง ส่วนใหญ่น้อยครับที่จะติ ก็มีแต่พวกที่เอาของมาส่งนั่นแหละ ที่เมนต์โน่นนี่นั่น เราก็จดไว้ เล่าแบบขำๆ นะ พอคุณโชว์ในงานแสดงเครื่องเสียง ไม่ยักกะดีกว่าเราสักเท่าไหร่ ก็ดีนะ เมื่อเราไปฟังของคนอื่น แล้วก็เอามาปรับปรุงของเราสิ
คำว่า… เครื่องเสียงเริ่มอย่างไร?
ชอบเล่นเครื่องเสียงตั้งแต่เด็กโน่น อายุ ได้ 11 – 12 ขวบก็ป้วนเปี้ยนอยู่แถวบ้านหม้อ ซื้อดอกลำโพง ครอสโอเวอร์ มาต่อตู้เอง ไม่ได้มีความรู้อะไรหรอก ครูพักลักจำ ซื้อทวีตเตอร์มาเปลี่ยนไปเรื่อยๆ สนุกดี พอเล่นได้สักระยะ คุณพ่อซื้อเครื่องเสียง ตัวแรกเป็นยี่ห้อ Marantz ให้เล่น ต่อมาก็มี Standard, Sansui เราก็เล่นแบรนด์ตลาด ที่เขาเล่นกันนั่นแหละ
ข้ามมายุคไฮเอ็นด์
ถ้าพูดถึงเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ก็ต้อง Mark Levison สิ เล่นปรีก่อน เพาเวอร์ SAE, ลำโพง JBL 4450 Studio Monitor ตู้ใหญ่ๆ เทิร์นฯ ก็ Micro Seiki เผลอแป๊บเดียว น้องบริจาคให้เพื่อนเฉยเลย ยังโกรธไม่หาย ต้องเลิกเล่นเครื่องเสียงไป เพราะไฟไหม้บ้าน ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีเงินเล่น กว่าจะสร้างตัวได้
จนได้กลับมาเล่นเครื่องเสียงใหม่เมื่อราว ยี่สิบปีที่แล้ว ตอนนั้นตั้งงบไว้ก้อนหนึ่ง เข้าไป ที่ร้านหนึ่ง บอกเขาว่าตั้งงบไว้สองสามล้าน ช่วยจัดชุดให้หน่อย “อย่าว่าแต่สองสามล้านเลย สิบล้านก็มี” เดินออกมาเลย ไปดูอีกร้าน ให้เขาจัดให้ ไม่มีปัญหาตกลงกลับมาเล่น Mark Levinson อีกครั้งจนได้ ครั้งนี้ครบชุด จับกับ ลำโพง Revel ได้เล่นสมใจ หายคิดถึง ต่อมาเปลี่ยนเป็น Burmester เต็มชุดใหญ่ ได้ลำโพง มาด้วย เลยปล่อยลำโพง Revel ออกไป จากนั้นเริ่มไต่ขึ้นไปจนถึง Wisdom แล้วใช้ ASR อินทิเกรตแอมป์ซึ่งมีตั้งสี่ก้อนมาขับ ความที่เราต้องการพลังสูงๆ เลยต่อเยอะหน่อย เล่นไป 24 ชิ้น จนคนขายบอกว่ารู้แล้วว่าทำไมใช้แอมป์เยอะ นัก ถึงได้เสียงหนา(แน่น)ขนาดนี้ครับ ชุดนี้อยู่ ในบ้านในกรุงเทพฯ นี่แหละ ใช้มามากกว่าสิบปี พอใจแล้ว ความจริงดีกว่านี้ก็คงมี แต่คงต้อง เสียเงินเพิ่มอีก ไม่เอาดีกว่าเล่นแบบนี้ล่ะ
ชุดเครื่องเสียงที่คอนโดฯ ริมแม่น้ำ
เมื่อตัดสินใจซื้อคอนโดฯ เลือกชั้นสูงๆ ต้องการวิวสวยริมแม่น้ำ เห็นบรรยากาศของ กรุงเทพฯ เราเองตั้งใจตั้งแต่แรกเลยว่าต้องมี ห้องฟัง ยังไงก็ต้องมี เพราะผมรักมัน ให้ผม มาอยู่ในห้องนี้เฉยๆ จะให้มองวิวอย่างเดียว ไม่เอาหรอกครับ แฟนบอกว่า“คุณมาถึง คอนโดฯ กินข้าวเสร็จก็เข้าห้องฟังเหมือน เดิม” ซึ่งก็จริงของเธอ เราอยู่ในห้องนั้นถึง ตีสามตีสี่นะ ง่วนไปกับมัน ไม่รู้สึกว่าเหนื่อย ไม่ง่วงเลย เหลือบมองนาฬิกานึกได้ว่าพรุ่ง ต้องไปทำงาน รีบปิดเครื่องเข้านอน เอาเป็นว่าถ้าฟังทีหนึ่งต้องใช้เวลาอยู่กับมันเจ็ดแปด ชั่วโมง บางครั้งมีเวลาอยู่ได้ทั้งวัน เรามีความสุข กับมัน เพราะเรารักมัน ถ้ามีเวลาแค่สองชั่วโมง ต้องรีบๆ ไม่เอาหรอก ต้องมีห้าหกชั่วโมง ฟังยังไม่ทันไรเลย แต่ถ้าอยู่แบบนี้ ฟังห้าเพลง สิบเพลง ออกมาเดินยืดเส้น เดี๋ยวกลับเข้าไป ใหม่ อยู่แบบนี้แหละ ชุดนี้มีความต่างจาก ชุดที่บ้าน เราจะมาที่นี่เดือนละครั้ง มาครั้ง หนึ่งก็อยู่สักสัปดาห์หนึ่ง
แอคูสติกส์ห้องฟัง
เห็นห้องบนคอนโดฯ แบบนี้ สงสัยไหมว่าทำไมเบสแน่นกระชับ เรียกว่าสั่งได้ เพราะ คุมอยู่ ทราบไหมว่าผมทำเยอะนะครับ ห้องนี้สัดส่วนประมาณ เคลียร์ใน 5.6 x 7.2 x 3.xx เมตร ลักษณะเหมือนเป็น กล่องซ้อนกันสองชั้น รวมผนังพื้นฝ้าเพดานแยกอิสระจากกันด้วยก้อนซิลิโคนที่ จะให้ตัวไม่สะท้าน กรุด้วยแผ่นไม้ใช้ไม้อัด หนา20 มม. ที่ต้องทำแบบนี้ เพราะเกรง จะรบกวนคนด้านล่าง เพราะเราเปิดดัง เปิดเพลงตอนตีหนึ่งตีสองก็ไม่รู้สึกได้ยิน แม้ใน ห้องด้านบนที่เป็นห้องของเราเอง
ต้องหล่อซิลิโคนเป็นก้อนมาวาง แล้วเอาไม้ วางบนซิลิโคนอีกที ไม้ตงแม้ไม่ใหญ่แต่วางถี่ๆ ขันสกรูทุกตัว เน้นที่ต้องทากาวตรงรอยต่อ ทุกจุด เพดานก็กรุด้วย Aeroflex จึงนิ่ง แอร์ก็เย็นดีด้วย ห้องนี้ทำเสร็จก่อนเพื่อน เรียกว่าก่อนห้องอื่นในบ้าน (เหมือนทุกที่) สิน่า
ความจริงงบลงทุนทำห้องฟังนิดหน่อย เมื่อเทียบกับชุดเครื่องเสียงในห้องนี้ ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามาก อย่าลืมนะ ว่ายังไงคุณก็ต้องตกแต่ง เพื่ออยู่อยู่แล้ว ลงทุนเพิ่มอีกนิดที่จะทำแอคูสติกส์ ห้องฟัง ทำเพื่อให้มันดี จะดีไหม ได้ผลคุ้มค่าที่สุด น่าเสียดายถ้าไม่ได้ใส่ใจเรื่องแบบนี้
ที่เห็นอยู่หน้าลำโพง Paragon เรียก ขำๆ ว่า“ใบพาย” ทำหน้าที่เป็น reflector ทำงานได้ผลดี ต้องอยู่มุมนี้ด้วยนะ ใส่ตัวนี้ ไปแล้ว Hartsfield ก็เถอะ ถามว่ามายังไง ก็ทิศทางเสียงมันวิ่งทแยงมาแบบนี้จะเพราะ ได้ยังไง เบี่ยงทิศทางเสียงมันซะ พอโฟกัสได้ เสียงก็หนา(แน่น)ขึ้น นักร้องถอยไปด้าน หลังหน่อยหนึ่ง น่าฟังขึ้น แอคูสติกส์ ห้องฟังก็เอาไอเดียนี้มาปรับอย่างที่เห็น นี่แหละ ใบพายแต่ขนาดใหญ่กว่าเอามาติดช่วย X-Treme ทำให้ตำแหน่งชิ้นดนตรี ชัดขึ้น เพราะ MBL เป็นไดรเวอร์แบบ MBL RADIALSTRAHLER ที่ให้เสียงสด (Live Sound) อยู่แล้ว ผมไม่ต้องซื้อ เครื่องเสียงอีกนานหลายปี ก็ตรงที่สนุกกับ การปรับใบพายนี้แหละ… ฮา
ส่วนอุปกรณ์เสริมอื่น พวกชั้นวางใช้ สเตนเลสเพลาตัน กลึงออกมาเลย ท่อโลหะ กลวงมีผลต่อคุณภาพเสียงอยู่แล้ว ที่รองสายหรือเฟอร์นิเจอร์ในห้องนี้ ก็อยากได้ให้มัน สะดวก ก็ร่างแบบสเก็ต แล้วไปจ้างเขาทำมาตามที่เราต้องการอย่างที่เห็นนี่แหละ
ห้องนี้คอนโทรลเป็น automation ทาง Save มาทำให้ ระบบภาพผมติดตั้งเอง บริการ ร้านค้าน้อยมาก เพราะผมทำเองแทบทั้งหมด
ฟรอนต์เอ็นด์
เครื่องเล่นซีดี เทิร์นเทเบิล เทปรีล ก็มี ที่เล่นซีดีมากกว่าเพราะมีความสะดวก เล่นง่าย มีความแตกต่างจากเทิร์นฯ น้อยมาก แผ่นเสียง ก็เล่นน้อย แต่ก็ยอมรับว่ารีลเสียงดี มีเสน่ห์ ขนาดว่าเอาต้นทางเป็นซีดีบันทึกลงไปดื้อๆ เวลาเล่นกลับยังน่าฟังเลย จะเป็นเพราะมัน มีบุคลิกของมันเองก็ได้ ที่ชวนให้ติดหูนั่นเอง ตัวนั้นเป็น Studer รุ่นแรก ตัวใหญ่มาก
ที่เล่น Esoteric Transport ก็เพราะเคย ได้ยินว่าดี แต่ไม่เคยมีตัวใหญ่ของเขาผมเองเล่น Burmester CD Transport + DAC ตัวใหญ่อยู่ ซึ่งความจริงผมมีครบ บอกเลยว่าCD Transport หาตัวที่จะกินมันยาก เคยจับมาBlind test กับเทิร์นเทเบิล Rockport หัวเข็มดีๆ ราคาแสนกว่าPhono Stage ASR ฟังอัลบั้มเดียวกัน John Coltrane กับอีก อัลบั้ม Three Blind Mice กดซ้ายกดขวายังฟังแยกความแตกต่างไม่ออกก็แล้วกัน แค่นี้ก็จบแล้ว เลยยกให้ Burmester CD Transport เป็นเบอร์หนึ่ง เบอร์สองก็ Mark Levinson ตัวที่เปิดฝาดังอี๊ด ตัวนั้นเสียงดี
มาที่นี่ซื้อไม่ไหว แพงเกิน ด้วยงบประมาณ ขนาดนี้ ตอบตรงๆ ว่าไม่รู้จะซื้ออะไร Esoteric ตัวใหญ่นี่แหละ เดี๋ยวจูนเสียงเอาเอาDAC ของ Accuphase มาใส่ มันไปกันได้ดี จะเพราะ สัญชาติเดียวกันก็ไม่รู้ ซึ่งความจริงมันก็ดี จริงนะ ไปๆ มาๆ เราก็เล่นไม่สังกัดค่าย แต่เน้นที่แม็ตชิ่งแล้วลงตัวมากกว่า
ปรีแอมป์
เล่นอยู่ที่บ้าน ชอบ Burmester 808 นะ มาที่นี่ที่เห็นเป็นของ Cello เป็นตัว Limited สั่งพรรคพวกไว้นานมาก รอตั้งห้าปี เขาโทร มาบอก “สวยด้วยนะ” เราก็เอาเลย ที่เล่นตัวนี้ เพราะเห็นเพื่อนบอกว่าDan D’Agostino คนออกแบบ Krell ใช้เล่นอยู่ที่บ้าน เจ้าปรีแอมป์ Cello เหมือนตัวนี้ ถ่ายรูปให้ดู ก็มีปรีตัวนี้ ตั้งอยู่ เรามีตัวอ้างอิงที่ดี ความจริงก็เคยฟัง มาก่อน ค่าตัวสามสี่แสน ไม่แพงเลย วันนี้ ปรีแอมป์ดีๆ ราคาเป็นล้านนะ มีข้อเสียนิดหนึ่ง คือ เป็นแจ็ค RCA ไม่มีขั้วบาลานซ์ ต้องแม็ตช์เอาเลยเอาตัวคั่นมาช่วยอย่างที่เห็น
เชื่อหรือไม่ปิดตาก็เห็นมันอยู่ตรงกลางแต่ถ้าลืมตา
มันเคลื่อนที่ตามนักร้องได้ทั้งๆ ที่ทำหน้าที่เซ็นเตอร์นี่แหละลองฟังเป็นร้อยๆ ครั้งก็ได้ผลเหมือนเดิม
“ความจริงงบลงทุน ทำห้องฟังนิดหน่อย เมื่อเทียบกับชุดเครื่องเสียงในห้องนี้ ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามาก
น่าเสียดายถ้าไม่ได้ ใส่ใจเรื่องแบบนี้”
MBL101 X-Treme
MBL ผมชอบมาก มันสวย งานประณีต มาก ออกแบบหลักวิศวกรรมที่ไม่เหมือนใคร ที่เรียก MBL RADIALSTRAHLER ให้เสียง ละเอียด สดเสมือนดนตรีสด (Live Sound) ที่ลำโพงอื่นทำไม่ได้ ตั้งใจถอยเจ้าMBL 101 X-Treme เลยตั้งแต่แรก แต่ก็ต้องไปฟังตั้ง สี่รอบ รอบแรกๆ ทำใจแข็ง จนเมื่อจับลำโพง ไปแล้ว ค่อยหาแอมป์มาขับ ซึ่งมีหลายตัว จนได้เนื้อคู่ในที่สุด
Karan
ตอนที่ซื้อลำโพง MBL เขาบอกว่าต้องใช้ แอมป์ถึงๆ หน่อย ควรใช้ของมันอย่าง MBL ราคาดุเชียว ความจริงก็ดี แต่ผมไม่ชอบหุ่นมัน ก็เลยไม่เอาเครื่องเสียงระดับล้านขึ้น ดีทุกตัว ขึ้นอยู่กับว่าจะแม็ตช์กับลำโพงของคุณหรือไม่ อย่าง Karan นี่ก็ไม่หล่อ แต่ให้พลังเหลือเฟือ เสียงดี คุ้มค่ามาก เป็นเพราะเป็นแอมป์ เซอร์เบียจึงไม่แพง ถ้าเป็นค่ายไอ้กัน หรือ สแกนฯ แพงกว่านี้แน่นอน มีหลายตัว แต่คิดว่าไม่จำเป็น จะจ่ายแพงทำไม มั่นใจเพราะเราก็เอามาลองกับลำโพง MBL มาแล้ว พอมาตัวนี้ ใช้ 2000 วัตต์ มันผลักไปได้หมดจด ไม่มีอั้น พอใจเลย ประหยัดตังค์ได้หลายเงิน จ่ายน้อย ไปตั้งเยอะ
ลำโพงวินเทจกับโฮมเธียเตอร์
ลำโพงวินเทจที่มีอยู่ไม่ใช่เพราะรัก มีเพราะ มันสวยและเท่ดี ซื้อมาเก็บไว้ ตอนนี้มี Paragon รวมทั้งที่บ้านเป็นสองคู่ และ Hartsfield อีกคู่หนึ่ง ก็อยากลองเล่นวินเทจดูว่าเสียง เป็นยังไง เห็นเขาว่ากันว่าJBL เบอร์หนึ่งคือ Hartsfield ใช่ไหม Paragon คือเบอร์สองจากนั้นก็ Tannoy ส่วน Western Electric คงไป ไม่ถึง มันเก่าเกิน Paragon ต้อง Marantz 2 เนื้อคู่มัน เล่นวินเทจต้องใช้ของยุคมัน
เรื่องเป็นแบบนี้ผมมี Paragon ที่ บ้านแบบนี้ เหมือนกัน ตั้งอยู่ใกล้ๆ Wisdom ความจริง ไม่ได้ใช้หรอก ตั้งไว้เท่ๆ บังเอิญว่าทวีตเตอร์ ของ Wisdom ตัวเซ็นเตอร์ดันเสีย ไม่รู้จะเอาอะไรเล่น เครียดเลย เอาของใกล้ตัว ต่อมัน เข้าไปเลย กลับดี ไปกันได้เฉยเลย ความจริง ตัวเปล่าๆ ถ้าฟังเพลงก็เสียงดีอยู่แล้ว จริงๆ ก็ไม่คิดว่าจะเข้ากับโฮมเธียเตอร์ได้ด้วยซ้ำ เพราะคนละยุคกันจะไปกั นได้ หรือเปล่าความถี่ ไปกันได้หรือเปล่าแต่พอเปิดเข้ามันไปกันได้ ให้ เสียงร้อง หวานอิ่มฉ่ำ ยิ่งคอนเสิร์ตพวก Diva นี่เข้าทางเลย ผมว่าหาตัวเทียบยาก เชื่อหรือไม่ ปิดตาก็เห็นมันอยู่ตรงกลาง แต่ถ้าลืมตามันเคลื่อนที่ตามนักร้องได้ ทั้งๆ ที่ทำหน้าที่ เซ็นเตอร์นี่แหละ ลองฟังเป็นร้อยๆ ครั้งก็ได้ ผลเหมือนเดิม แปลกมากเลย แสดงว่ามันทำ หน้าที่สมบูรณ์แบบมาก
ชุดเครื่องเสียงให้น้ำหนักกับสองแชนเนล มากกว่าอยู่แล้ว ดังนั้นอย่างเซอร์ราวด์ หรือลำโพงบนฝ้าสำหรับ ATMOS ให้เสียง เอฟเฟ็กต์ด้านบน ผมไม่ซีเรียสว่าจะต้องใช้ ลำโพงคู่ละเกือบแสน ผมว่าไม่คุ้ม เพราะมันทำ หน้าที่สร้างบรรยากาศเท่านั้น แทบแยกแยะ ไม่ออกอยู่แล้ว แล้วจะลงทุนทำไม JBL ตัวที่เห็นนี่ก็โอเค สำหรับหนัง ต่างกันไม่มาก ห้องเราติดตั้งก็ยาก ที่ทางก็ยิ่งไม่ค่อยมี อยู่แล้ว จริงไหม
เซ็ตอัพโดยรวม
ที่นี่ระบบไฟให้มาค่อนข้างดี เมนไฟค่อน ข้างใหญ่ ไม่ได้ทำอะไรใหม่ ใช้เครื่องที่จะ จัดการกับระบบไฟสองสามตัว ก็ลงทุนไม่เยอะ หรอก เอาไว้คุมระบบทั้งหมด รวมถึงทำหน้าที่ เป็น Safety ด้วย ข้อสำคัญได้คุณภาพเสียงที่ ดีขึ้นด้วย ถือว่าคุ้มมาก
ห้องนี้เริ่มทำเสร็จราวๆ กลางปี แต่เครื่อง- เสียงชุดนี้ใช้เวลาเซ็ตราวสามเดือน ขยับเข้าขยับออก เพื่อปรับแต่ง เปลี่ยนสาย แม็ตชิ่ง กับมัน สายสว่างไปก็เอาทึบมาใส่ ใช้แม็ตชิ่งกัน หลายแบรนด์ สายแต่ละตัวมีบุคลิก บางครั้งเปลี่ยนเส้นเดียวให้เสียงโดยรวมนิ่ง หวานขึ้นเฉยเลย ใช้สายหลายแบรนด์ อย่าง XLO, Audience, Transparent ต้องฟังก่อน ถึงตอนนี้ก็พอใจระดับหนึ่ง ยังไปได้อีก อย่าง Paragon นี่ แทบจะเป็นสายดำแดงเสียด้วยซ้ำ ใช้สายดีไม่ได้ สว่างจ้าเกินไป เจี๊ยวจ๊าวไปหมด ต้องใส่สายทึบลงมาหน่อย อย่าง Belden ก็โอเคเลย เราจูนไปเรื่อยๆ พอได้ที่ก็หยุดสักพัก แล้วขยับใหม่ เครื่องเสียงมีเรื่องท้าทายอยู่เสมอ
เล่นเครื่องเสียงต้องเดินงานเครื่องเสียงไปเดินทุกงานทั้งในและนอกงาน BAV Hi-End Show เดินทุกปี ก็มีหลายระดับให้ฟัง
เล่นเครื่องเสียงต้อง…
เล่นเครื่องเสียงต้องเดินงานเครื่องเสียง ไปเดินทุกงาน งานทั้งในและนอก งาน BAV Hi-End Show เดินทุกปี ก็มีหลายระดับให้ฟัง บางทีชุดปานกลางเซ็ตดีมาก บางชุดแพงมากแต่ก็… ไม่ใช่ ไม่ใช่หูทองนะ แต่คงต้องฟังว่าเบสดีไหม เสียงกลาง ปลายเสียงแหลมเป็นยังไง ชิ้นดนตรี โอเคไหม เสียงร้องดีไหม ส่วนโฟกัสหรือไม่ อยู่ที่คุณตั้ง ไม่เกี่ยวกับเครื่องเสียง หรือเซ็ตอัพแล้วล่ะ
ผมชอบฟังชิ้นดนตรีเหมือนจริง อย่างชุดนี้บอกได้เลยว่าให้เสียงสด (Live Sound) ส่วนแนวเพลงคลาสสิกไม่ค่อยชอบนะ มันยาวเกินไป แต่ก็มีชอบบ้าง อย่างไวโอลิน เครื่องเสียงดีๆ ได้ยินถึงการสั่นไหวของเส้นสายเลยครับ อย่างเพลงแจ๊ส ชอบเสียงแซ็กอย่างของ Coltrane ยิ่งได้เสียงสากๆ ของเสียงลมผ่านท่อโลหะนี่ชอบเลย เบสก็ชอบ มันดี กลองฟังยาก มันวิ่ง เปียโน ไวโอลิน เห็นเส้นเสียง กีตาร์ไม่เท่าไหร่
ฟังดัง ยิ่งคอนเสิร์ตต้องเปิดดัง ต้องให้ไดนามิกส์เหมือนเวลาเราอยู่ในคอนเสิร์ตฮอลล์ ยิ่งดนตรีน้อยชิ้นยิ่งต้องเปิดดังขึ้น ซิสเต็มที่บ้านกับที่นี่เสียงคนละแนวเลย แต่มีความสงัด ชนิดนักดนตรีขยับตัวยังได้ยิน เคยเอาแผ่นเดียวกันไปเปิดที่อื่น ไม่ยักได้ยิน
เชื่อไหมว่าเล่นเครื่องเสียงแล้วชีวิตจะเปลี่ยน
ถามก่อนว่าชอบฟังเพลงไหม บางคนฟังเพลงไม่ซีเรียส ฟังอะไรก็ได้ เราไม่คุยด้วย เพราะจูงไม่มาก็มีนะ เขาบอกว่าซื้อนั่นซื้อนี่ เลยบอกเขาว่าเดี๋ยวๆ ใจเย็นๆ ซื้อน่ะง่าย จ่ายเงินก็ได้ของแล้ว มาฟังก่อน ชอบไหม ถ้าคุณชอบ ผมมีตัวอย่างให้ฟังดู ถ้าคุณหาดีกว่านี้ได้ก็โอเค แต่ถ้าหาไม่ได้ คุณตามผมไหม ก็พูดแค่นั้น เขาก็มาแล้วก็ชอบ “อะไรก็จัดได้นะ แต่ Paragon นี่ ต้องใช้เวลา” เอาเซ็นเตอร์อื่นก่อนเถอะ บทมีก็มี ไม่มีก็ไม่มี รอหน่อย
เริ่มต้นเล่นใหม่ๆ ต้องใช้บริการของร้านค้าแต่ก็ควรเรียนรู้ที่จะปรับแต่งหรือเซ็ตอัพเอง โดยเริ่มจากหัดขยับลำโพงก่อนเลย อย่าไปเชื่อว่าตั้งทีเดียวแล้วดีตลอด ข้อสำคัญ ถ้าจะเล่นไฮเอ็นด์ยังไงก็ต้องมีห้อง และเซ็ตอัพให้พอเป็นบ้าง สนใจที่จะหาความรู้ ใส่ใจในรายละเอียด อย่าเชื่อเรื่องวูดู ทุกอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วจะสนุก
พูดถึงห้องฟัง ถ้าจะเล่นเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ ยังไงก็ต้องมีห้องฟังที่ดี เพราะส่งผลต่อคุณภาพเสียงโดยตรง กล้าเล่นเครื่องเสียงแพงๆ อย่าขี้เหนียวเรื่องห้อง ขอเล่าเรื่อง MBL ให้ฟังนิดหนึ่ง ผมไปมิวนิกกับคุณเกษมเขาตั้งไว้สองชุด ตัวใหม่กับตัวนี้ ฟังตัวย่อมก่อน โอ้โฮ! ทำไมฟังเพราะอย่างนี้ ส่วนไอ้คู่นี้ ชุดที่เราซื้อแล้วนี่แหละ เดี๋ยวต้องลองฟังสักหน่อย พออีกราวสิบห้านาที เขามาเปิดให้ฟัง ฟังได้ห้านาที เดินออกเลย ไม่เข้าใจว่าทำไมมันห่วยแบบนี้ ความจริงเพราะว่าห้องมันแย่มาก ดังนั้น คิดจะเล่นเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ต้องลงทุนกับห้องดีๆ สักนิด มิฉะนั้นจะน่าเสียดายมาก
เมื่อมีห้องแล้ว ต้องเลือกลำโพงที่เราชอบ แต่ต้องให้เหมาะกับห้องเสียก่อน แล้วค่อยหาเพาเวอร์มาขับมัน แอมป์ใหญ่ไว้หน่อยดีกว่าเล็กไป เพราะจะไม่มีแรง ป๋องแป๋งแย่เลย ส่วนคำถามว่าจะเลือกอะไรก่อน ระหว่างแอมป์ หรือลำโพง และฟรอนต์เอ็นด์ ลำโพงต้องมาก่อน เพราะเราฟังเสียงจากลำโพง เราต้องชอบเสียง ลำโพงก่อนสิ ลำโพงคือปาก ถ้าไม่ชอบนักร้อง เสียแล้วจะเพราะได้ยังไง ตัดสินใจให้ดี เพราะ มันจะอยู่กับเรานาน ผมเองเกือบซื้อ Rockport Mira Grand แล้ว ตอนนั้นเขาใช้ Gryphon ขับ แรกๆ ก็ชอบมาก ทำไมมันเพราะแบบนี้ ไปที่งาน สามวันติดกันเลย พอวันที่สาม กลับเปลี่ยนใจ ความจริงก็ดีจริง ทำไมฟังแล้วเครียด ดุดันเกิน อยู่นานไม่ไหว ออกมานอกห้องแล้วกลับไปฟัง ใหม่ ก็เป็นอาการเดิม อย่ากระนั้นเลย มันจะอยู่ กับเราอีกนาน ดังนั้นตัดสินใจให้ดีว่าชอบแน่นะ
ถึงเพื่อน
ก่อนลงทุนกับเครื่องเสียงตัวใหม่ ต้องถามตัวเองก่อน คุณชอบจริงหรือเปล่าอย่าเชื่อ แรงยุ ไล่ฟังให้มากพอ จนกว่าจะพอใจจริงๆ เสียก่อน แล้วค่อยตัดสินใจซื้อ ยังไงเสีย เขาเปิดให้ฟังฟรีอยู่แล้ว เตือนนิดหนึ่งว่าอย่าไปฟังตอนอารมณ์ดีมากๆ อย่างเช่น เพิ่งขายที่ได้ มีความรัก หรือถูกหวยมาเพราะอารมณ์นั้นฟังอะไรก็เพราะ เรื่องจ่าย ไม่ยากหรอก แต่ถ้าตัดสินใจไปแล้วดันไม่ใช่ คิดจะปล่อยคืน เจ็บตัวแน่ ไม่สนุก เพราะดันเบื่อเสียแล้ว ก่อนตัดสินใจ รอบคอบนิด แล้วจะไม่พลาด ขอให้มีความสุข กับเสียงดนตรีจากชุดเครื่องเสียงสุดรักของคุณ
ผม และ บก.บห. เป็นบุญตาบุญหูที่ได้ฟัง เป็นเกียรติที่ได้เห็นกับตากับความงดงาม อลังการของชุดเครื่องเสียงชุดนี้ตรงหน้าที่ผมได้เล่าผ่านภาพประกอบบทความนี้ ฟังเพลงสองแชนเนล เราเปิดแผ่นซีดี Burmester Art for the Ear II หลายแทร็ก ไม่ต้องพูดถึงรายละเอียด ชิ้นดนตรีที่พรั่งพรู ตำแหน่งชิ้นดนตรีแม่นเป๊ะ ให้เสียงสด เบสมีพลัง แน่นเปรี๊ยะ ส่วนบลูเรย์คอนเสิร์ตที่ได้ยินกับหูต้องร้องว้าว เสียงร้องของ ไช่ฉิน ทำไมหวาน เป็นธรรมชาติ ทำไมเสียงเธอสาวแบบนี้… และที่เราได้ทราบ เรื่องราวดีๆ อันน่าจดจำเช่นนี้ก็เพราะ..
‘WE’RE AN AUDIOPHILE’
นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 239
No Comments