DREAM CINEMA
นักเขียน : ธรรมนูญ ประทีปจินดา :
WE ARE AN AUDIOPHILE/VIDEOPHILE เป็นบทความประจำของนิตยสารออดิโอไฟล์/วิดีโอไฟล์ ที่นำเสนอ มานานเกือบยี่สิบปี บอกเล่าเรื่องราวของห้องฟังมานับร้อยห้อง ถือเป็นคอลัมน์ยอดนิยมที่มีผู้อ่านติดตามกันอย่างเหนียวแน่น ด้วยเหตุผลที่ว่า เครื่องเสียงนั้นเป็นหนึ่งใน Boy’s Toy “ของรักของหวง” ที่ปฏิเสธมิได้ว่า ของเล่นชนิดนี้ เหล่าผู้ชายที่รักเครื่องเสียงต่างมีความชอบ และฝังใจมาตั้งแต่เด็กๆ
‘ได้แต่วาดฝันว่าสักวันหนึ่งเราจะได้เป็นเจ้าของห้องดูหนังดีๆ สักห้องถ้าโอกาสมาถึง’
ฉบับนี้ เราได้มาเยี่ยมห้อง Home Cinema ในฝัน อันมีสไตล์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว บ่งบอกถึงตัวตนของ คุณเม้ง (สุเมธ กิตติพร้อมพงษ์) นักธุรกิจหนุ่ม เจ้าของ ห้องที่มีความ “มุ่งมั่น ชัดเจน ทำให้ผลงานออกมาลงตัว ไร้ที่ติ” เพื่อตอบสนองในสิ่งที่ปรารถนาตั้งแต่ต้น เพราะเจ้าของห้องได้ระบุความต้องการไว้แน่ชัด
สำหรับบทความในครั้งนี้ได้รับข้อมูลสนับสนุน จาก บริษัท IAV จำกัด ในส่วนของรายละเอียด แนวคิด ในการออกแบบและการก่อสร้าง ตามสไตล์ของ คุณโก้ (ปภังกร เลิศอารยะ, กรรมการผู้จัดการ) ที่เน้น ประโยชน์ใช้สอยของเจ้าของห้องเป็นที่ตั้งครับ
ชอบดูหนัง
เดิมทีพวกเราพักอยู่บนตึกแถว แถบโอเดี้ยน ชอบ ดูหนังมาก ฟังเพลงบ้างแบบฉาบฉวยไม่จริงจัง สมัยตั้งแต่วัยรุ่น ถ้าจะดูหนังก็ไปดูในโรง ดูเป็นประจำเกือบทุกสัปดาห์ ตื่นตาตื่นใจทุกครั้งที่ได้ไปดู เพราะจอ มันใหญ่ ระบบเสียงเซอร์ราวด์รอบตัวที่ที่บ้านไม่มีทางทำได้ ก็ได้แต่ใฝ่ฝันว่าสักวันจะมีโอกาสทำห้องดูหนัง ในบ้านตัวเอง เพราะว่าบ้านเราอยู่แถวเยาวราช คลองถมก็เป็นแหล่งที่หาซื้อแผ่นดีวีดีมาดูที่บ้านได้ง่าย ก็เอามาเปิดดูกับทีวีในห้องนั่งเล่น ซึ่งอยู่ท่ามกลางโต๊ะทำงาน มิได้มีสภาพแวดล้อมที่จะดูหนังได้อย่าง ออกอรรถรสเลย ก็ดูไปอย่างนั้นแหละ รับรู้แค่เรื่องราว ของหนัง ไม่ได้ Feel ของโรงหนังหรอก ได้แต่วาดฝันว่า สักวันหนึ่งเราจะได้เป็นเจ้าของห้องดูหนังดีๆ สักห้อง ถ้าโอกาสมาถึง
เมื่อได้โอกาสสานฝัน
ไม่เคยทำห้องดูหนังเลย ห้องแรกที่ได้เป็นเจ้าของ ก็ห้องนี้แหละ ความเป็นมาคือ เมื่อจะต้องย้ายบ้าน วางแผนปลูกบ้านใหม่ จ้างสถาปนิกมาออกแบบบ้าน นึกได้เลยว่าต้องวางแผนให้ดีเสียตั้งแต่แรก จึงได้ปรึกษา คุณโก้ ก็เชื่อมือว่าจะทำให้เราได้ ระหว่างออกแบบถาม คุณโก้เลยว่า ห้องที่ดีต้องมีสัดส่วนอย่างไร ที่คุณโก้จะ ทำงานได้ง่ายที่สุด คุณโก้ก็บอกสัดส่วนที่ต้องการมา กว้างยาว ความสูงของเพดานที่เหมาะสม รวมถึง รายละเอียดในการก่อสร้าง ตั้งแต่โครงสร้างห้องจนถึง ลักษณะการก่อกำแพง โดยก่อเป็นสองชั้น พื้นต้องปู แบบไหน อย่างไร ผมก็นำข้อมูลจากคุณโก้ ไปคุยกับ สถาปนิกกับวิศวกรโครงสร้าง บอกเขาว่าอยากทำห้องดูหนัง ซึ่งก็ไม่มีปัญหา เขาก็ปรับแบบให้ ทำใน กระดาษมันง่ายอยู่แล้วครับ เราสร้างบ้านราวสองปีครึ่ง บังเอิญติดปัญหาเรื่องน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 54 ด้วย
อยากได้ห้องดูหนังสวยๆ เน้นว่าดูหนังโดยเฉพาะ ไม่ใช้ฟังเพลงอย่างจริงจัง
ชอบสไตล์โมเดิร์น เป็นงานไม้ ไม่ชอบพรม ดูแลง่าย
IAV ใช้เวลาทำราวครึ่งปี โดยขั้นแรกต้องปรับโครงสร้าง ก่อนด้วยยิบซัมบอร์ดเพื่อแดมปิ้งและเพิ่มค่า Isolation จากนั้น จึงติดตั้งแผงอะคูสติกส์ลอยตัว ซึ่งเราทำ Pre Fab. จากภายนอก รวมถึง Bult in หน้างานในส่วนที่ต้องการความประณีต รวมเวลาประมาณหกเดือนจนแล้วเสร็จ
เชื่อในความเป็นมืออาชีพ
จริงๆ ก่อนหน้านี้ก็เคยปรึกษาคนอื่นสองสามคนเรื่องทำห้องโฮมฯ เขาพูดแปลกๆ บอกว่า “ทำห้องอยาก Built in ก็ทำเลย เดี๋ยวผมเอาลำโพงมาวางๆ ก็เรียบร้อย” ได้ยินคำพูดนี้ แล้วตกใจ “ลำโพงดี ตั้งตรงไหนก็ได้” ประมาณว่าเขาจะขาย ของท่าเดียว โดยไม่มองที่ตัวห้องเลย ผมว่า “ไม่ใช่แล้วมั้ง”
รู้จักคุณโก้จากคนแนะนำหรืออ่านจากเน็ตนี่แหละ เมื่อพบคุณโก้ก็ได้ใช้เวลาจูนความต้องการกับแกไม่นาน แกเน้น ที่ทำห้องให้ดีไว้ก่อน ถ้าห้องดีแล้วนึกจะเปลี่ยนอะไรในอนาคต ก็สามารถทำได้เลย ไม่ต้องไปทุบหรือปรับแก้อีก ถ้าห้องไม่ดี อัพเกรดอะไรก็ไม่ช่วย จะเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ วนไปหาจุดจบยาก
จากที่ได้คุยกัน ก็ไปดูหน้างานอ้างอิงหลายที่ จูนกันเข้าใจ จนเชื่อมือวางใจว่า คุณโก้คนนี้แหละที่จะทำงานให้เราได้ ซึ่งถ้า เราออกแบบตั้งแต่ต้นก็จะสามารถได้ผลงานที่ดี รวมถึง ยังควบคุม และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายที่อาจจะบานปลาย ไปได้มาก ดีกว่าถ้าทำไปแล้วไม่ดี มาแก้ภายหลังก็จะยุ่งยาก ถ้าเราเข้ามาอยู่แล้ว ซึ่งจะทำงานยากขึ้นด้วย
BUILT IN VS ACOUSTICS SPECIALIST
ช่วงที่ผู้รับเหมาของ IAV เข้ามาทำงาน ระหว่างนั้น ผู้รับเหมาอินทีเรียร์ซึ่งเป็นช่างเฟอร์นิเจอร์กำลังทำงานอยู่ เหมือนกันก็ถามผมว่า งานแบบนั้นเขาก็ทำได้ ทำไมไม่ให้เขาทำเราต้องอธิบายว่า “เป็นงานคนละแบบกัน เป็นเรื่องของ Specialist ที่ต้องมีอุปกรณ์ซับเสียงและอื่นๆ อีกเยอะที่พิเศษ คุณอาจไม่เข้าใจ เอาเป็นว่าคุณทำไม่ได้หรอก แม้จะมองว่า Built in เหมือนกัน แต่คงไม่ใช่ ปล่อยให้เขาทำไปเถอะ”
กำหนดความต้องการให้ชัด
ผมแจ้งความต้องการกับคุณโก้ว่า อยากได้ห้องดูหนังสวยๆ เน้นว่าดูหนังโดยเฉพาะ ไม่ใช้ฟังเพลงอย่างจริงจัง ชอบสไตล์ โมเดิร์นเป็นงานไม้ ไม่ชอบพรม ดูแลง่าย อยากได้ห้องที่มีภาพสวย เสียงดี อยากเห็นแต่จอไม่ต้องการเห็นเครื่องเสียงมาตั้งโชว์ หรืออวดว่าเครื่องเราแพง เราใช้ความสามารถของมัน ไม่ต้องการเห็นมันด้วยซ้ำ รวมถึงไม่อยากเห็นสายรกรุงรัง ด้านหน้าต้องไม่มีอะไรรบกวนสายตาถึงจะถูกต้อง คิดดูสิ ถ้าดู หนังแล้วมีไฟกะพริบๆ จะรำคาญมาก ห้องต้องเก็บเสียง และ ป้องกันเสียงภายนอกเข้ามารบกวน รวมถึงเสียงดังจากในห้อง ออกไปรบกวนห้องอื่นด้วย นี่เป็นโจทย์หลัก
MY HOME CINEMA
เมื่อห้องเสร็จก็ถือเป็นการสานฝันที่สมบูรณ์แบบ ได้ผลดีกว่าที่คาดเสียด้วย้ำ เทียบกับภาพ Perspective แล้วใกล้เคียงมากแทบไม่มีอะไร ผิดเพี้ยนเลยด้วยซ้ำจริงๆ ภาพ Perspective ทำครั้งเดียวด้วยซ้ำจะเป็นเพราะผมคุยกับคุณโก้ละเอียดและชัดเจน เราเข้าใจตรงกันมากกว่า จึงออก มาตรงตามที่วาดฝันไว้
ทีนี้ได้ดูหนังจากแผ่นบลูเรย์ที่ซื้อเก็บไว้ตั้งแต่ยังไม่ได้สร้างห้อง รวมถึง ตัว Mascot Model ที่ซื้อไว้นานแล้ว สะสมไว้เรื่อยๆ อย่างที่เห็นเอามาแกะกล่องยังไม่หมดเลย แม้มีห้อง Home Cinema ที่บ้านแล้ว ก็มีบ้างที่ยังต้องไปดูที่โรงหนังอย่างหนังใหม่ๆ แฟนอยากดูก็ไปดู แต่เมื่อเทียบกัน แล้ว ของเราดีกว่าครับ เราได้สมาธิดีกว่า เราไม่สามารถเลือกที่นั่งใน ตำแหน่งที่ดีที่สุดได้ในทุกครั้งที่เราไปดู โรงหนังดังๆ มิใช่ว่าจะดีเหมือนกัน ทุกโรง บางโรงก็ไม่ค่อยดีก็มี บางทีก็เปิดเสียงดังเกินไป เสียงแตกก็มี ซึ่งจริงๆ ก็อาจจะมีโรงหนังใหม่ๆ ที่คุณภาพของภาพและเสียงดีอยู่ แต่เราควบคุมสภาพรอบๆ ไม่ได้นี่ครับ หนังดีก็ค่อยซื้อแผ่นมาดูที่บ้านเราดีกว่า ดูที่ห้องเราได้ครบกว่าในทุกด้าน เรานั่งในเก้าอี้ที่ดีที่สุดทุกครั้ง ผมดูเองเป็นส่วนใหญ่มีบ้างที่ลูกสาวมาดูหนังของเขา เป็นการ์ตูน หรือหนังแนว ตื่นเต้นบ้าง บางครั้งก็ชวนเพื่อนมาดูกันหลายๆ คน บางทีก็อาจจะ อยากอวดเพื่อนบ้าง ผมก็เปิดให้ แต่ก็สั่งว่า อย่าไปกดปุ่มมั่วนะ เดี๋ยวยุ่ง
CUSTOM INSTALLATION VS HI-END
เมื่อเจ้าของห้องมิได้ต้องการฟังเพลงจากระบบ 2 แชนเนลเลย คือดูหนังอย่างเดียว โจทย์เลยเปลี่ยนว่าต้องมาทาง Custom Installation และขึ้นชื่อว่า Custom ลงทุนไม่มีถูก แต่จะแลกกับสิ่งที่จู่ๆ ทำห้องแล้วซื้อลำโพงมาตั้งได้ อย่างสบาย ในเรื่องความสวย ลงตัว ไม่เห็นลำโพงให้รกตา อีกอย่างลำโพงที่ ทำมาเพื่อ Custom Installation จะได้เปรียบในเรื่องรองรับ Dynamic Headroom ที่สูง อย่าง ProAudio ตัวนี้สามารถเปิดได้ดังถึง 130dB โดยไม่คลิป ทีนี้ ถ้าใช้ลำโพงไฮเอ็นด์ซึ่งออกแบบเพื่อฟังเพลง ขณะเมื่อเปิดด้วย ความดังระดับเดียวกันจะได้ยินเสียงที่เกิดจาก distortion ได้ง่าย การติดตั้ง ตรงตามความต้องการทุกอย่าง ออกแบบโดยให้มีห้องติดตั้งชั้นใส่เครื่องเสียง อยู่หลังห้อง เปิดประตูออกไปก็เป็นห้องคลังแสงที่อยู่ด้านหลัง แน่นอนว่าต้อง สิ้นเปลืองสายเยอะมาก ความยาวเป็นกิโล แต่ก็ไม่ถึงกับแพงมาก เนื่องจากใช้ สายเกรดงาน PA ที่เขาใช้กัน อย่าง Canare ก็โอเคแล้ว
PROAUDIO ห้องแรกในเมืองไทย
ระบบเสียงในห้องนี้ออกแบบเป็นระบบ DOLBY ATMOS 7.4.4 หรือ เรียก 11.4 ช่องเสียง โดยที่ตัวลำโพงของ ProAudio เป็น Full Passive แต่ไม่มี Crossover ติดตั้งในตู้ ใช้แอมป์ขับตรงที่ลำโพง โดยใช้แอมป์ของ ProAudio ที่ติดตั้งไว้ด้วย DSP ทุกตัว ทำหน้าที่ตัดความถี่ส่งต่อไปยังไดรเวอร์ แต่ละดอก โดยที่ลำโพงเจ็ดตู้เป็นแบบสองทาง แบ่งเป็นความถี่ต่ำและสูง ก็จะมีแอมป์ขับล?ำโพงแต่ละช่วงความถี่รวมเป็น 14 ตัว จากนั้นก็จะเป็นลำโพง ฝังฟ้าด้านบนฝ้าอีก4 ตัวขับด้วยแอมป์ 4 ตั วรวมเป็ น18 ตั วรวมกั บSubwoofer อีก 4 ตั วกลายเป็นแอมป์22 ตั วฟั งดูแล้วน่าตกใจเหมือนกัน
IAV เป็นมืออาชีพด้านนี้อยู่ แล้ วโดยที่ห้องนี้ใช้ ProAudio เป็นห้องแรกในเมืองไทยด้วย จริงๆ แล้ว พวกที่เป็นเซียนๆ ด้าน โฮมเธียเตอร์ ถึงวันหนึ่งก็จะมาที่ DSP อยู่ดี ProAudio ทำมาเลยในตัว ซึ่งก็มีค่ามาตรฐานมาให้แล้ว ที่เหลือคือการปรับจูนให้ดีที่สุด เท่านั้น
DREAM HOME CINEMA
การออกแบบห้องนี้คำนึงถึงสุขพลานามัย (Hygiene) เช่น มีช่องระบายอากาศ ให้เห็นแสง สีเขียวจากต้นไม้ภายนอก ไม่แนะนำให้ใช้แอร์ท่อ แทบไม่ใช้วัสดุซับเสียงที่จะอมไรฝุ่นเลย พรมก็ไม่มี ทุกชิ้นถอดทำความสะอาดได้ทุกส่วน เล็งเห็น อรรถประโยชน์ที่พึงมีผสมผสานกับความสวยงามทันสมัย การดูแล รักษาในระยะยาว มี Room Mode อยู่ที่ราว 40 แต่ทำได้ต่ำกว่า ซับวูฟเฟอร์สี่ตัว อยู่ด้านหน้าสอง หลังสองตัวซ่อนอยู่ตรงเสา เมื่อปรับจูนดีๆ ก็ไม่รู้สึกว่าเบสตูมมาจากที่ใดที่หนึ่งเลย ได้บรรยากาศของโรงภาพยนตร์สมบูรณ์แบบที่สุด
Last Word… คำแนะนำสำหรับคนที่อยาก ทำห้อง
ต้องคำนึงถึงอะไรเป็นสิ่งแรก วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง อย่าง เช่น คิดให้เบ็ดเสร็จเรื่องความต้องการของเราไว้ก่อนว่า ตกลง เราต้องการอะไรแน่ จะดูหนังหรือฟังเพลง น้ำหนักไปทางไหน มากกว่ากัน เลือกมืออาชีพที่เราไว้ใจ เชื่อมือ ตรวจสอบให้ดีกับ ผลงานอ้างอิง ข้อสำคัญมาก ต้องคุยกันรู้เรื่อง ทำงานเข้าใจ ความต้องการและรวมถึงรสนิยมของเรา จะได้ไม่มีปัญหา เขาจะช่วยคิดฟังก์ชั่นที่ต้องการ ออกแบบ ปรับแบบให้พอใจก่อนลงมือ ทำงาน พร้อมวางงบประมาณไว้ในใจให้เหมาะสมกับกำลังจ่าย ของเรา วางแผนให้ดีก่อน ทุกอย่างก็จะลงตัวได้ตามที่เราคิด
และที่คุณผู้อ่านได้ทราบเรื่องราวดีๆ เช่นนี้ก็เพราะ…
“WE ARE AN AUDIOPHILE/VIDEOPHILE”
System: Pro Prestige System Atmos 11.4
Item Model Qty
1 Proaudio 12sm Front LCR 3 Bi-amp require 450wx1 & 200wx1 each ch
2 Proaudio 8ai Surround Side Rear LR 4 Bi-amp require 450wx1 & 200wx1 each ch
3 Proaudio 25ica Ceiling Sur 4 Single amp require 200wx1 each ch
4 Proaudio LFC-18sm Front Sub 2 Front Subwoofer 18” 1,000 w
5 Proaudio LFC-12V Rear Sub 2 Rear Subwoofer 12” 800 w
6 Proaudio PMA 9942 Poweramp 1 Output 1000wx2 & 450×1 & 200wx1
7 Proaudio PMA 4242 Poweramp 1 Output 450wx2 & 200wx2
8 Proaudio PMA 2222 Poweramp 2 Output 200wx4
9 Proaudio PMA 4444 Poweramp 1 Output 450wx4
10 Add. Sub Amp 800wx2 1
11 DSP Subwoofer Control 10 Ch in-out 1
12 Onkyo Atmos Pre Surround Processor 1
13 Pioneer LX-88 Bluray Player 1
14 Sony 4K Projector VPL VW-500ES 1
15 จอ Stewart แบบมีรู Perforated Screen 2.4 – 135 1 Totally system use power amp 22 ch. Totally system provide 7,510 watts power output
นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 248
No Comments