ปฤษณ กัญจา
นักเขียน : ปฤษณ กัญจา

“อยากจะแนะนำสำหรับคนที่เล่นเครื่องเสียงนะครับ”

“อันดับ 1 สำคัญที่สุดเลย… ผมคิดว่า สำหรับผมเอง ห้องฟังมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ส่วนเรื่องเครื่องเสียง เราสามารถปรึกษากับร้านค้า หรือปรึกษากับอาจารย์วิพลได้นะครับ เพราะเราสามารถเอามาลองฟังที่ห้อง ถ้าไม่ชอบ ไม่ลงตัว ยังสามารถปลี่ยนได้ แต่ถ้าห้องฟังไม่ได้มาตรฐาน ต่อให้คุณเอาเครื่องเสียงดีขนาดไหนมาฟัง มันก็ไม่ลงตัว ขอแนะนำว่า ห้องฟังสำคัญที่สุด เอาห้องฟังเป็นหลัก”

ขอแนะนำว่า ห้องฟังสำคัญที่สุด เอาห้องฟังเป็นหลัก”

ห้องฟัง

สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง

นพ. วสันต์ อนุรักษ์เลขา

ข้อความข้างต้นนี้คือหลักใหญ่ใจความของ นพ. วสันต์ อนุรักษ์เลขา ที่ต้องการสื่อสารกับนักเล่นเครื่องเสียงคนอื่นๆ ว่า… คุณภาพเสียงจากชุดเครื่องเสียงจะออกมาดีหรือไม่ดีอย่างไร ปัจจัยหลักอยู่ที่ห้องฟังเพลงนั่นเอง

นับตั้งแต่คอลัมน์ WE ARE AN AUDIOPHILE เกิดขึ้นมาครั้งแรกในนิตยสาร AUDIOPHILE/VIDEOPHILE ชื่อที่เป็นภาษาไทยของคอลัมน์นี้ที่ถูกเรียกกันจนติดปากผู้อ่านก็คือ “คอลัมน์เยี่ยมห้องฟัง” และทุกครั้งที่ทีมงานไปทำคอลัมน์นี้ เรื่องราวของห้องฟังจะต้องถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นหลัก มากกว่าเรื่องของเครื่องเสียง ซึ่งเป็นประเด็นรองลงไป ทั้งนี้เพราะได้พิสูจน์แล้วว่า ชุดเครื่องเสียงจะสามารถเปล่งประสิทธิภาพถ่ายทอดคุณภาพเสียงออกมาดีที่สุดเมื่ออยู่ในห้องฟังที่มีการออกแบบอะคูสติกส์ที่เหมาะสมและมีขนาดของห้องที่เหมาะสมเช่นกัน

กาลเวลาผ่านมาสองทศวรรษ เรายังคุยกันเรื่องห้องฟังไม่รู้เบื่อ เพราะว่าห้องฟังแต่ละห้องที่พวกเราไปทำคอลัมน์นั้นต่างมีรายละเอียดปลีกย่อยที่น่าสนใจแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้เป็นเจ้าของห้องฟัง

สำหรับขึ้นปีใหม่ 2563 นี้ คอลัมน์เยี่ยมห้องฟัง็ยังมีเรื่องราวของห้องฟังเพลงรอที่จะนำมาเสนออีกมากมายครับ สำหรับฉบับนี้เป็นห้องฟังเพลงของ “คุณหมอวสันต์ อนุรักษ์เลขา” ที่มีรายละเอียดและแนวคิดในการให้ความสำคัญกับห้องฟังเพลงที่น่าสนใจมากครับ

“ผมชอบเครื่องเสียงมาตั้งแต่อายุประมาณ 20 เล่นมาทุกรูปแบบ ตั้งแต่ชุดเล็กๆ เล่นมาก็ขยับขึ้นไปเรื่อยๆ จนครั้งสุดท้าย ผมจำได้ว่าก่อนที่จะเลิกเล่นผมใช้เครื่องเสียงของ MARK LEVINSON ชุดใหญ่สุด และลำโพง DUNTECH SOVER­EIGN แลัวก็ขายไป เพราะไม่มีความสนใจที่จะเล่นต่อ หยุดไปประมาณสิบกว่าปี”

คุณหมอวสันต์เริ่มต้นเล่าย้อนถึงอดีตในการเล่นเครื่องเล่น ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่า คุณหมอเคยเล่นเครื่องเสียงระดับไฮเอ็นด์ไปจนสุด แล้วกลับหยุด …จนในที่สุด คุณหมอตัดสินใจที่จะกลับมาซื้อเครื่องเสียงอีกครั้ง และหนนี้จึงได้พบกับ อาจารย์วิพล พลตระกูลวงศ์ เจ้าของร้าน AUDIO ABSOLUTE

เครื่องเสียงให้ เป็นแอมป์หลอด SINGLE-ENDED CLASS A ของ CAYIN หลอดเอาต์พุต 300B เพราะว่าคุณหมอมีลำโพง JBL 4343 อยู่แล้ว ที่ผมแนะนำให้คุณหมอใช้กับแอมป์หลอด เพราะสามารถขับลำโพงที่มี ความไวสูงๆ อย่าง JBL 4343 ได้ หลังจากนั้นก็มีโอกาสได้มาที่บ้านของ คุณหมอ เอาแอมป์หลอด CAYIN มาลองต่อกับ JBL ปรากฏว่าเสียงดี และเหมาะสมกันมากระหว่างหลอดกับลำโพง JBL ซึ่งเป็นลำโพงวินเทจ

ระยะหลังผมได้มาเยี่ยมเยือนคุณหมอบ่อยครั้งขึ้น คุณหมอบอกว่า อยากจะเล่นเครื่องเสียงที่อัพเกรดคุณภาพสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อคุณหมอ ได้ฟังก็กลับมาชอบและฟังเพลงมากขึ้น ขยับขยายเป็นชุดที่ใหญ่ขึ้น ลำโพง JBL จากรุ่น 4343 ก็มาเป็น 4348 จากนั้นมาเป็นชุดใหญ่ของ JADIS”

จากที่คุณหมอวสันต์คิดว่าจะกลับมาเล่นเครื่องเสียงชุดเล็กๆ แต่ปัจจุบันนี้ได้อัพเกรดไปถึงระดับไฮเอนด์อีกครั้ง

“ปัจจุบันนี้ ผมก็ใช้แอมป์ JADIS JP500 กับลำโพง BORRESEN D5 ชุดนี้เป็นชุดที่ลงตัวมากที่สุดเลยนะครับ ส่วนเครื่องเล่นก็มีเทิร์นเทเบิลของ ACOUSTIC SIGNATURE หัวเข็มของ EMT และก็มี DAC รุ่น HQ9038 ของ HQ AUDIO เป็น DAC หลอด ยี่ห้อนี้บางคนยังไม่รู้จัก เป็นเครื่องเสียง ของเวียดนาม โดยคนเล่น DIY เขาเล่นเครื่องเสียง แล้วทำHQ ขึ้นมา ตอน ที่อาจารย์วิพลมาที่บ้านผม ก็ได้ฟัง และเกิดความสนใจว่า ทำไมถึงเสียงดี ผมบอกว่าเป็นของนัก DIY ชาวเวียดนาม ยี่ห้อ HQ อาจารย์็สนใจ ก็ไป ติดต่อขอเป็นตัวแทน จากนั้นได้รุ่นใหญ่สุดของ HQ มา เสียงดีมาก หลายคน มาเห็นที่ผมเล่นอยู่ก็ติดใจ และอยากจะเล่นบ้าง”

ซิสเต็มที่รวมไว้ทั้งอะนาล็อก, ดิจิทัล และโฮมเธียเตอร์
ความคลาสสิกของลำโพง JBL: 4348

สำหรับเรื่องห้องฟังนั้น คุณหมอวสันต์ ได้อธิบายเพิ่มเติม…

“เดิมที ผมใช้ห้องที่อยู่ในตัวบ้านมาทำเป็นห้องฟังเพลง ขนาด 4 X 6 เมตร แต่ฟังแล้วไม่เหมาะ เพราะว่าฝ้าเป็นแบบ C LINE เวลาฟังเพลงเสียงจะสะท้อน คิดไปคิดมา ไหนๆ จะเล่นทั้งทีทำห้องฟังแยกออกมาต่างหากเลยดีกว่า เพราะว่าพื้นที่ของบ้านทั้งหมด 200 กว่าตารางวา ซึ่งห้องฟังที่สร้างขึ้นมาใหม่ ผมได้ไอเดียมาจากที่ร้านของอาจารย์วิพล ก็ไปดูว่าจะเหมาะกับสไตล์แบบไหนที่เข้ากับห้องที่เราจะสร้าง อาจารย์บอกว่าขนาดที่เหมาะสมที่สุดคือ 6 X 9 เมตร วัดจากภายใน ผมเลยตัดสินใจสร้างห้องฟังขนาด 6 X 9 เมตร ขอแบบจากที่ร้านของอาจารย์ แล้วมีที่ดีไซน์เองบ้าง ผมเพิ่งมารู้ว่า ห้องฟังทำให้เครื่องเสียงของเราสุดยอดเลยก็ว่าได้ ซึ่งบางคนไม่ได้ให้ความสำคัญกับห้องฟัง แต่จริงๆ เราควรเอาห้องฟังเป็นหลัก ส่วนเครื่องเสียง เราจะหารุ่นไหนมาใส่ก็ได้ ถ้าห้องฟังลงตัวแล้ว มันไม่ต้องแก้ไขอะไรมาก แต่ถ้าห้องฟังไม่ลงตัว ให้คุณเอาเครื่องเสียงดีขนาดไหนมาใส่ มันก็ยังไม่ลงตัวอยู่ดี ดีที่สุดคือต้องเอาห้องฟังเป็นหลักก่อน”

และคุณหมอวสันต์ได้ให้ความเห็นปิดท้าย…

“สุดท้าย… อยากจะแนะนำสำหรับคนที่เล่นเครื่องเสียงนะครับ

อันดับ 1 สำคัญที่สุดเลย… ผมคิดว่า สำหรับผมเอง ห้องฟังมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ส่วนเรื่องเครื่องเสียง เราสามารถปรึกษากับร้านค้า หรือปรึกษากับอาจารย์วิพลได้นะครับ เพราะเราสามารถเอามาลองฟังที่ห้อง ถ้าไม่ชอบ ไม่ลงตัว ยังสามารถปลี่ยนได้ แต่ถ้าห้องฟังไม่ได้มาตรฐาน ต่อให้คุณเอาเครื่องเสียงดีขนาดไหนมาฟัง มันก็ไม่ลงตัว ขอแนะนำว่า ห้องฟังสำคัญที่สุด เอาห้องฟังเป็นหลักครับ”. ADP

ซิสเต็มฟังเพลง

TURNTABLE: ACOUSTIC SIGNATURE รุ่น THUNDER MK 3

TURNTABLE: YAMAHA รุ่น YPD71 (VINTAGE)

CARTRIDGE: EMT รุ่น TSD15N

VACUUM TUBE PHONO PRE-AMPLIFIER: CAYIN รุ่น PHONO1

SUPER AUDIO CD PLAYER: ESOTERIC รุ่น K07

DAC: HQ AUDIO รุ่น HQ9038 TUBE DAC

SPEAKER: BORRESEN รุ่น 05 (FLAGSHIP)

SPEAKER: JBL 4348 (VINTAGE)

TUBE PRE-AMPLIFIER: JADIS รุ่น JP500

TUBE POWER AMPLIFIER: JADIS รุ่น JA500

CABLE: ANSUZ

POWER DISTRIBUTION: ANSUZ