Audiophile/Videophile Reviewer
อดีตที่ปรึกษาฝ่ายวิศวกรรมสนับสนุนการผลิตโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำ
ผู้เฝ้าติดตามความเป็นไปของดิจิทัลออดิโอ ตาไม่กะพริบ

Fine Dining >> Audio-File Network Switch (ANS)
บทความพิเศษที่ Audio-File ต้องอ่าน..
ความสำคัญของวัตถุดิบในอาหารจานหรูที่เรียกว่า Network Audio ในยุคสตรีมมิ่งครองโลก

ตอบคำถามที่ว่า “Audio-File Network Switch” คืออิหยังฟะ…?

บทความแบ่งเป็น 2 Parts… คือ

ปล่อยงูข้อมูล ที่แท้ทรูตอบคำถามว่า ทำไมอะไรตรงไหนอย่างไร…?

ป้ายยา ข้อมูลผลิตภัณฑ์ Audio-File Network Switch 4 แบรนด์ในบทความเดียว

สวัสดีครับ ….ทุกคนที่ติดตาม

พบกันอีกครั้งกับบทความพิเศษในแนว audiophile go digital ที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้ เช่นที่เคย

สายสตรีมที่เรียกว่า Audio-File ทราบดีว่า Network Audio นั้นเล่นไม่ยาก ไม่ต้องเซียนก็เล่นได้

ไม่อยากวุ่นวายกับการรีดเค้นคุณภาพซิสเต็มนักก็ไม่ต้องทำอะไร ตัวแปรไม่มากเท่ากับฝั่งโต๊ะหมุนแน่นวล แต่ถ้า “คัน” นัก อยากอัพ โน่น-นี่-นั่น “ก็พอมีจุดให้เล่นบ้าง”

บทความนี้เป็น EP. ต่อเนื่องจากเรื่องของสาย LAN ออดิโอเกรดในบทความชื่อ..

HELLO! Audiophile Ethernet (LAN) Cable…What is going on… Here?

บทความอันตอบคำถามเกี่ยวกับสาย LAN ออดิโอเกรดมีจริงหรือ… เขียนไว้ก่อนหน้านี้ย้อนไปอ่านได้..

the Connection…

LAN cable ต้องต่อเชื่อมกับ Router และ Network Switch อย่างเลี่ยงไม่ได้ เมื่อตกลงปลงใจกับ “สาย LAN เทพ” แล้วจะต่อกับอะไรล่ะ “ที่คู่ควร” ที่จะไม่ไปลดทอนคุณภาพที่ลงทุนไปให้ได้คุณภาพสูงสุด

Network Switch ล้วนติดตั้งไว้ในห้องฟังในแทบทุกบ้านนั่นแหละ เพียงติดตั้งคั่นระหว่าง Router ของ ISP (Internet Service Provider) และเชื่อม Music Server กับ Player นั่นเอง LAN cable กับ Network Switch อยู่ในวงของการต่อพ่วงในระบบนั่นแหละ อย่าบอกนะว่าคุณยอมลากสาย LAN จาก Router วิ่งดิ่งไปเข้าเครื่องโดยไม่ผ่าน Switch ยิ่ง Router นี่ปัญหาใหญ่เลย Network Switch คือ the Weakest Link นั่นเอง

EP. ก่อนหน้านี้ กล่าวถึงสาย LAN ออดิโอเกรดที่วงการเครื่องเสียงเล่นกัน การนำเสนอสาย LAN Audio grade นำเสนอมานานราวสิบปีมาแล้วช่วงนั้นยังอดขำว่าซักวันคงต้องรีวิว Router หรือ Network Switch กันล่ะมั้ง ปัจจุบันสาย LAN เทพนั้นฮอตมาก ในตลาดมีนับร้อยแบรนด์แล้วมั้ง ซึ่งถ้าพวกเรายอมรับว่าสาย LAN ส่งผลต่อเสียงและภาพแล้วล่ะก็ ในเมื่อ Network Switch คือตัวเชื่อมต่อในระบบเน็ตเวิร์ก แล้วทำไม Audio-File Network Switch (ANS) ซึ่งถูกนำเสนอมาไม่กี่ปีมานี้จะให้ความแตกต่างไม่ได้ล่ะ ปัจจุบันในตลาดมีนับสิบแบรนด์… มา มาส่องกัน

WHY...?

เครื่องเสียงใหม่ในกล่องจะมีสายแถมมาให้ สายไฟแถม เสียบปั๊บ เปิดเครื่องก็ติด เสียงดังนี่ แต่นักเล่นสายโอ้ฟายไม่มีใครยอมใช้สายแถมหรอก เพราะรับรู้ถึงความต่างของการอัพเกรดสายไฟ ให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสายลำโพงหรือสายสัญญาณ บางทีอาจมากกว่าด้วย ดังนั้นไฮเอนด์จึงให้ความสำคัญกับสายไฟ กับปลั๊กราง เครื่องกรองไฟมาก

WHERE... The Weakest Link…?

สาย LAN ต้องคู่กับ Network Switch นี่แหละคือ The Weakest Link ตัวใหญ่ในวงเน็วิร์ เชื่อไหมว่า Network Switch (ANS) ก็ทำหน้าที่ไม่ต่างจากปลั๊กราง แม้ว่าคล้ายปลั๊กรางก็จริง เผลอๆ จะสำคัญมากกว่าเพราะปลั๊กรางคุณอาจไม่ยอมใช้ เพราะเสียบปลั๊กผนังดีๆ ไปเลยก็ได้ แต่เล่นสตรีมจะหนี Network Switch ไม่ออกจริงๆ

ความต่างจาก Switch ทั่วไปอยู่ตรงใช้อุปกรณ์ Audio grade ชั้นดี ออกแบบด้วยแนวคิดของเครื่องเสียงไฮเอนด์ผนวกรวมร่างขึ้นมาคือเหตุผลที่ทำไม Audio-Fileต้องเล่น ANS

… “ต่างจาก Switch ของ IT ทั่วไปอย่างไร IT ต้องการความเสถียรของสัญญาที่ยอมรับได้เท่านั้น แต่กลุ่ม Audio-File ต้องการมากกว่านั้น ผู้ผลิตต้องทำอย่างไร ส่งผลต่อคุณภาพ ภาพและเสียงแค่ไหน Network Switch ออดิโอเกรด จึงจัดได้ว่าเป็นเครื่องปรุงของอาหารชั้นเลิศจานนี้ ซึ่งในที่นี้ก็คือ Network Audio นั่นเอง เพราะมีที่มาดังนี้

Part #1 ปล่อยงู: ว่าด้วยเหตุและผล

ทำไมต้อง สายเทพ และ เน็วิร์สวิตช์เทพ… แปลกตรงไหน สายไฟเทพ ปลั๊กรางเทพยังมี ก่อนถึงตรงนั้นขอปูพื้นถึงเรื่องราวที่มาที่ไปว่าทำไมต้องจัดการกับปัญหาของ noise และ jitter ที่คือปัญหาใหญ่ของ Digital Audio บทวิเคราะห์นี้จะแบ่งเนื้อหาไว้ ดังนี้

– 3 บริบทของ GIGO (Garbage In, …Garbage Out) ในไฮไฟ

Weakest Link ใน Network Audio ถ้าไม่นับตัวเครื่องเสียงเอง ก็คือสายและจุดเชื่อมต่อในระบบ อันหมายถึงเน็ตเวิร์กสวิตช์ หรือสาย LAN นั่นเอง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพโดยรวมอย่างมาก ดังนั้น Audio-File Network Switch (ANS) จะกลายเป็นที่สุดของวัตถุดิบของ อาหารหูรสเลิศที่เรียกว่าไฮไฟ เพื่อ Audio-File ผู้ใส่ใจในทุกสิ่ง ค้นหาความเป็นที่สุดของเสียงดนตรีดิจิทัลออดิโอ

สงสัยล่ะสิว่า Up Level อย่างไร เพื่ออะไร เพราะถ้าเชื่อมกับสาย LAN cable ดีๆ ด้วยแล้วจะจัดการกับขยะได้อย่างไร และส่งผลดีอย่างไร

WHAT..?

GIGO (Garbage In, …Garbage Out) in HiFi จะขอตีความเป็น 3 บริบทดังนี้

– GIGO ในอะนาล็อก
– GIGO ในดิจิทัล
– GIGO in NETWORK

1.GIGO ในอนาล็อก

ในยุคอะนาล็อก ถ้าบันทึกไม่ดีตั้งแต่แรก เพราะ (Garbage In) มีขยะอยู่ไง เล่นกลับก็จะยากที่จะดีได้เลย ขณะเล่นกลับได้ขยะ (Garbage Out) ก็ออกมาด้วยเช่นนั้น

…ก็อาหาร Junk Food นั่นไง You are What you EAT จะไหวไหม…

ยุคอะนาล็อกซึ่งในทางอะนาล็อกก็ไม่มีทางขจัดขยะหรือนอยส์ ต้นเหตุของความผิดเพี้ยนออกได้เลย ที่มาของความเชื่อที่ว่านอกจากรีล แผ่นดำซึ่งเป็นต้นน้ำ เทิร์นเทเบิลก็คือ “Player ที่ดี คือสารตั้งต้นของโลกไฮไฟ และเป็นเช่นนั้นในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

2. GIGO ในยุคดิจิทัล

บอกถึงความบกพร่องของข้อมูลดิจิทัลในแวดวง Computer Science/การแปลงไฟล์ดิจิทัลคุณภาพไม่ดี เป็นการ Garbage In ในการแปลงข้อมูลอะนาล็อกเป็นดิจิทัล หรือเรียกว่า Digitized ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพ วิดีโอและเสียง ยิ่งถ้าต้นฉบับอะนาล็อกไม่ดีตั้งแต่แรกก็แทบจะจบอยู่ตรงนั้นแล้ว

การ Digitizing ที่ดีในขั้นตอนแรกก็ง่ายเพื่อที่จะ Cleaning up (กำจัดขยะ) สัญญาณและข้อมูลดิจิทัลต่อไป ช่วยให้การ Remaster ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไปได้ง่ายขึ้น ได้ผลงานดีเยี่ยมขึ้นไปอีก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยให้การ Digitizing ทำได้ง่าย และได้ผลดีตั้งแต่แรก การ Remaster ในยุคนี้สามารถชุบชีวิตภาพและเสียงขึ้นใหม่ให้ได้คุณภาพดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว

ปัจจุบันภาพยนตร์และดนตรีจากมาสเตอร์ฟิล์มและรีลเทปถูก Digitized ถูก Remaster ขึ้นใหม่ ก็คือจัดการ clean up ขยะที่เกิดจากขั้นตอนถ่ายโอนข้อมูลจากต้นฉบับให้หมดไป (Garbage Out) หรือให้เหลือน้อยที่สุด ปัจจุบันเราได้เสพสื่อบันเทิงในแบบเพลงและหนังผ่านระบบสตรีมมิ่งจากหนังเก่าและอัลบั้มเพลงยุค 70 ได้บรรยากาศสดใหม่กว่าเดิม เพราะความก้าวล้ำของเทคโนโลยีดิจิทัลนั่นเอง ตัวอย่างเช่น หนังสตรีม หรือบลูเรย์ที่มาจากฟิล์ม เพลงจากยุค 70 ล้วนมาจากเทปแม่เหล็กทั้งสิ้น เช่นอัลบั้มของ the Beatles Abbey road 2019 ล่าสุดนี้ Let it be และหนัง Get Back ภาพ 4K ที่เกิดจากวัตถุดิบเป็นฟิล์ม 16 มม. ความยาว 56 ชั่วโมงถ่ายทำในช่วง 3 สัปดาห์สำหรับเตรียมการแสดงครั้งสุดท้ายของ the Beatles โดยผ่านมีดหมอ Peter Jackson แห่ง TLOTR (The Lord Of The Rings) ออกมาได้ภาพ เสียงใสปิ้ง เหมือนเพิ่งถ่ายเสร็จเมื่อวาน ลงจอทาง Disney Plus ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนอัลบั้มเพลง Let it Be (2021 Remaster) ทุกฟอร์แมต ซึ่งเปิดให้สตรีมแล้วบน Streaming service ทุกค่ายแล้ว บอกเลยว่า “สด” มาก นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น

3. GIGO (Garbage in, …Garbage out) In Network Audio

ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าสื่อดนตรีและภาพยนตร์ วิดีโอที่เสพกันอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นการสตรีมมาทางอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น ไม่ว่าจะฟังเพลงจาก Streaming services: Tidal, Spotify หรือเปิดทีวีดูข่าวติดตามช่อง YouTube ดูหนัง Netflix, DisneyPlus, HBO, Amazon Prime หรือ ถ่ายทอดสดกีฬาอย่าง F1, NFL หรือ Premier League ล้วนเป็นการสตรีมทั้งสิ้น แม้ว่าต้นทางจัดการดีสักเพียงไร ถ้าการส่งผ่านมีปัญหาคงไม่น่าจะดีแน่ Infrastructure ปลายทางคือโฮมเน็ตเวิร์กในบ้าน เราควรต้องวางระบบให้ดีที่สุด… แต่ดีแค่ไหนล่ะ ดีแบบ IT ก็ใช่ สัญญาณเสถียรก็บอกว่าดีแล้ว แต่สำหรับคุณชายสายสตรีมอาจดีไม่พอ ..

…ไหน ไหน ไม่ดียังไง ไหนเอาปากกามาวง…

สัญญาณดิจิทัลเดินทางมาถึงเรา จะเจอกับ “ขยะ” ระหว่างทาง (Garbage In) ที่มาในระบบเครือข่ายกับต่อพ่วง สัญญาณดิจิทัลก็จะถูกรบกวนจาก Noise & Jitter เกิดความผิดเพี้ยนของสัญญาณดิจิทัลอันส่งผลต่อคุณภาพเสียงและภาพอย่างมากเช่นกัน

ทางที่จะจัดการกับปัญหานี้ก็พอมี… จัดการกำจัด “ขยะที่ติดมากับไฟล์” (Garbage Out) ให้มากที่สุด ก่อนที่สัญญาณดิจิทัลบริสุทธิ์จะเดินทางเข้าสู่ Player/Music Server/TV/TopBox ซึ่งต้องส่งผ่านสาย LAN ในวง Ethernet ใช่ไหม มาดูว่าอะไรคือตัวปัญหา

LAN cable and then…ANS (Audio-File Network Switch)

แน่นอนว่า Audio-File ต้องการความแตกต่าง ต้องไปให้ไกล ลึกกว่าแค่เล่นสตรีมมิ่งทั่วไป

ANS ถูกนำเสนอไม่นานมานี่เอง น่าจะราวปี 2018 พบในงานที่มิวนิก และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดมากขึ้นนับสิบแบรนด์ แต่ละแบรนด์มีเทคโนโลยีต่างกันบ้าง มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือจัดการกับ noise และป้องกัน jitter แม้จัดอยู่ในกลุ่ม accessories ซึ่งอาจหมายถึงเครื่องปรุง เอาเข้าจริงมันคือ “วัตถุดิบ” ชั้นดีเพื่ออาหารเมนูหรูเชียวนะ ลองคิดดูว่าถ้าปลั๊กราง เครื่องกรองไฟชั้นดีให้ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อเสียงและภาพได้ แล้วทำไม ANS ถึงจะให้ไม่ได้ล่ะ ไม่ต้องคิดเยอะ

จึงเกิดที่มาของวัตถุดิบเมนูเด็ดเลิศหรู Fine Dining Audio-File Ingredient ANS หลายตัวของวันนี้นั่นเอง

กว่าจะได้จานนี้ ไม่ง่าย ต้องเลือกเฟ้นวัตถุดิบ เชฟฝีมือดีที่เข้าใจที่จะทำอย่างไรให้ได้รสชาติของสเต๊กชิ้นนี้ดีที่สุด

What’s they did in ANS...!

ใน Home Network จาก Router ทั้งสาย LAN cable + Switch คือตัวเชื่อมต่อ ทำงานร่วมกันเช่นเดียวกับของ IT แต่ Audio-File Network Switch แม้ทำงานไม่ต่างกันก็จริง แต่เรามีเป้าหมายที่ไกลกว่า เรียกว่าคิดเยอะกว่า เพราะเราคือ Audio-File ทั้งนี้ก็เพื่อทำหน้าที่ ป้องกัน ลด ขจัด จัดการ Noise ตัวก่อปัญหาใหญ่คือความผิดเพี้ยน (Distortion) & Jitter เจอเรื่องของ (Phase &Timing) ก็จะถูกจัดการให้ทุกอย่างอยู่ในความควบคุม ก่อนที่ข้อมูลดิจิทัลจะเดินทางสู่ Network Player/TV/Top Box ซึ่งอุปกรณ์ก็จะได้รับสัญญาณดิจิทัลบริสุทธิ์ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้นั่นเอง

How….TO

Network Switch ที่สายสตรีมใช้อาจเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อเน็ตเวิร์กเช่นเดียวกับ IT เพียงแต่จุดมุ่งหมายต่างกัน ใส่ใจในรายละเอียดการจัดการที่มีลักษณะของเทคโนโลยีของเครื่องเสียงไฮเอนด์ในทุกมิติ เพื่อจัดการกับการรบกวน (noise) เป็นเป้าหมายหลัก แนวคิดเดียวกันมีสินค้าประเภทนี้หลายแบรนด์ โดยอาจใช้เทคโนโลยีต่างกัน

จัดการ Noise cancellation >> Filtering (EMI & RFI Noise) ป้องกัน ปกป้อง vibration/noise ด้วยการ isolation และ shielding รวมถึงเป็นจุด grounding ให้กับสาย LAN เทพ เพื่อ drain noise ก็คือขยะนั่นเอง ผ่าน shield ในสาย LAN ทิ้งไป บ้างก็ขายไอเดียเรื่องจัดการกับ noise อันจะไม่รบกวนการทำงานของ clock ซึ่งถ้าเพี้ยนขึ้นมาก็จะเจอปัญหาใหญ่ในแวดวง Digital audio ก็คือ jitter ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พาลให้สิ่งที่ควรจะดีรวนไปหมด เมื่อถึงตรงนี้สัญญาณดิจิทัลที่ผ่าน ANS ก็จะบริสุทธิ์เหมือนน้ำ RO ที่กว่าจะถึงตรงนั้นก็ผ่านระบบกรองหลายชั้นกันเลยทีเดียว

Result: Less noise / Jitter… meant:

….ผลล่ะครับ

*ลดอาการ “ไม่พึงประสงค์” ในวงเน็ตเวิร์กอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ส่งผลต่อคุณภาพภาพและเสียง “ที่แท้ทรู”ของ “Player” ให้เปล่งประสิทธิภาพ เนื้อแท้ของ Player ตัวนั้นอย่างมีนัยยะ จะมีแนวเสียงที่เปลี่ยนไปตามแนวของ Player แต่ละแบรนด์ที่ลงทุนซื้อ

เมื่อ Background Noise ต่ำ จะได้ความสงัดได้ยินรายละเอียดของชิ้นดนตรีเล็กๆ ชัดขึ้น ความลื่นไหล และมีความสมดุลของ Tonal balance ดีขึ้น ให้เสียงอุ่นนวลเนียน ดนตรีมีบอดี้เป็น 3D ไร้สากเสี้ยน ดนตรีไดนามิกส์ดี ยามโหมกระหน่ำ ให้อิมแพ็กดี รายละเอียดเล็กๆ ก็ได้ยิน ให้เสียงโปร่ง ไร้เมฆหมอก ดนตรีมีชีวิตชีวามากขึ้น ส่วนภาพจะมีไดนามิกส์คอนทราสต์ดีขึ้น รายละเอียดดีขึ้นมาก

Upgradable… & Booster

เช่นเดียวกับเครื่องเสียงไฮเอนด์ตัวอื่น ใครต้องการคุณภาพเหนือระดับ เน็ตเวิร์กสวิตช์ออดิโอเกรดก็เช่นกัน สามารถอัพเกรดได้หลายระดับไม่น้อยกว่าเครื่องเสียงไฮเอนด์อื่นๆ เราทราบดีว่าอุปกรณ์เหล่านี้ช่วยให้การทำงานของมันดีขึ้นซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพขึ้นไปอีกเช่น PSU (Power Supply Unit) รวมถึงสายไฟเข้าเครื่อง 10M Master Clock จนถึง GROUND Box ที่ไฮเอนด์สมัยนี้เล่นกัน ยังอัพเลเวลได้อีกด้วย..

the BOOSTER:

“Series Connection”… พิสูจน์แล้วว่าการต่อพ่วง 2 ตัวแบบ Series พ่วงกันจะเป็นการกรอง 2 ชั้น ซึ่งจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น จะใช้แบรนด์เดียวกันหรือต่างแบรนด์กันแบบ “สูตรไขว้” ก็ได้ ถือเป็นวิธี Booster เป็นการเพิ่มภูมิคุ้มครองป้องกัน กำจัด noise ที่เล็ดลอดมาขึ้นอีกระดับ จับกับสาย LAN เทพ อาจเหมือนการจูนเสียงประมาณว่าแนวเสียงเปลี่ยนไปด้วย บอกเลยว่ามีอึ้งครับ

Part #2 ป้ายยา: The 4 Companies

แนะนำ Network Switch เทพ 4 แบรนด์จากผู้นำเข้า Living Sound พอสังเขป

SotM™ sNH-10G

เพราะเข้าใจในความต้องการของนักเล่นเครื่องเสียงไง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นเป็น Audio grade จัดการกับ noise ด้วย ultra-low noise regulator และ active noise canceller สำหรับ clock ทุกพอร์ต จะติดตั้ง filter ทุกช่องที่จะไม่มากวนกันเอง ทั้งหมดจะทำงานประสานกันเพื่อจัดการ wide frequency band noise อย่างหมดจดให้เสียงดนตรีสะอาดเป็นธรรมชาติ สไตล์เสียงสดใส

SotM™ sNH-10G มีขั้ว Ethernet port จำนวน 8 ช่องพร้อม SFP ports อีก 2 ช่อง มีออปชันให้อัพหลายสเตป ตั้งแต่ Clock input หรืออัพเกรด cap จนถึง Wiring

สนนราคาตั้งแต่ 29,900 จนถึง 79,000 บาท

SILENT Angel: Bonn N Series

เป้าหมายเพื่อจัดการให้มี noise ต่ำ สามารถป้องกันการรบกวนได้สูง ทำให้ปลอดจากปัญหาสัญญาณข้อมูลที่ถูกบดบังโดย noise ทั้งยังขจัด noise ในวง LAN ได้ดี เป็นผลให้ Network signal มีความบริสุทธิ์ ได้ยินข้อมูลครบถ้วน โดยใช้เทคโนโลยี 3 ประการช่วย ทำให้ Bonn N8 ปรับปรุงคุณภาพ Network signal ได้อย่างดีเยี่ยม ประกอบด้วย Precision Clock Signal จากเทคโนโลยี TCXO (Temperature Compensation Crystal Oscillator) ใช้วงจร Noise isolation สองวงจรที่มี Noise rejection สำหรับวงจรไฟฟ้า และแยก Noise isolation เป็น 2 วงจร พร้อม Noise rejection สำหรับวงจร Clock generation การแยกวงจรเช่นนี้เพื่อให้แน่ใจว่า Bonn N8 ทำงานเสถียร

นอกจากวงจรดิจิทัล Bonn N8 มีตัวดูดซับ EMI ชนิดพิเศษภายในกล่องด้านล่าง เพื่อดูดซับ EMI (Electromagnetic Interference) จากวงจรดิจิทัลภายใน และทำให้ Network signal และ Clock circuit มีความเสถียรยิ่งขึ้น SILENT Angel: Bonn Series มีหลายตัวเลือก

ราคาเริ่มต้นที่ BONN N8 คือ15,000 จนถึง Bonn N16 ราคา 56,000 บาท

MELCO: S100

MELCO S100 อยู่ในตัวถังซึ่งเหมือนกับ Melco N100 EX Series เด๊ะ ติดตั้งไว้ด้วยพอร์ตอีเทอร์เน็ต RJ45 จำนวน 8 ช่องจัดเรียงเป็นสองช่วง ช่วงละ 4 ช่อง ชุดแรกคือพอร์ต 100Mb/s สำหรับการรับส่งข้อมูลความเร็วต่ำที่เกิดจากส่วนประกอบเสียง ชุดที่ 2 สำหรับ 1000Mb/s นี่คือที่เชื่อมต่อ Music server และ Streamer ซึ่งมีเอาต์พุตเฉพาะสำหรับ Streamer พอร์ตอื่นๆ มีความสามารถระดับ Giga Bit และทำงานได้ดีสำหรับการเชื่อมต่อ Computer/Router เช่นเดียวกับ Roon Core ด้วยเซิร์ฟเวอร์ S100 มีพอร์ต SFP สองพอร์ต โดย Melco ได้นำคุณสมบัติมากมายของการ Reproduced แบบอะนาล็อกที่ดีมาสู่การสตรีมแบบดิจิทัล

MELCO S100 สนนราคาอยู่ที่ 90,000 บาท

Synergistic Research:UEF

Ethernet Switch UEF ใหม่ของ Synergistic Research ใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัย UEF และ Active EM Cell เพื่อปิดช่องว่างระหว่างการเล่นดิจิทัลกับเทปอะนาล็อกและ LP เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ SR ได้รวมการใช้งาน EM Cell และ UEF Tech ทั้งหมด และโครงสร้างแชสซีส์ระดับ Galileo เข้าเป็นส่วนประกอบเดียว EM Cell และ UEF Tech ปรับสภาพสัญญาณดิจิทัล EM Cell เพื่อทำหน้าที่เป็นฐานความสงบในตัว แชสซีส์ที่ทำขึ้นจากแท่งอะลูมิเนียมที่มั่นคงเช่น Galileo Active Ground Block โดยใช้คาร์บอนไฟเบอร์เพื่อขจัดผลกระทบของการสั่นสะเทือนของแชสซีส์ซึ่งส่งผลต่อสัญญาณดิจิทัล

SR ยังมาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อโดยตรงกับระบบ grounding ด้วย ดังนั้นคุณจึงสามารถกราวด์สวิตช์ Ethernet UEF ตัวใหม่ของคุณไปยัง SR Ground Block เพื่อลด noise ในระบบของ SR ที่มีสวิตช์อีเทอร์เน็ต UEF จะได้ยินการนำเสนอที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น สัมผัสได้ถึงความไหลลื่นกลมกลืนกันซึ่งเทียบได้กับ LP และการเล่นเทปที่ดีที่สุด นอกจากนี้เรายังได้ยิน Jet Black Noise Floor และ Dynamic แบบอะนาล็อก ในที่สุด SR ก็บรรลุเป้าหมาย เสียงที่สมบูรณ์แบบตลอดกาล

ราคา 91,000 บาท จะ Bundle มาพร้อม fuse และ สายไฟของ SR ซึ่งไม่ใช่ของแถมแน่นอน

WHY not?

แม้ ANS ไม่ได้เปลี่ยนไฟล์เพลงของคุณให้เหมือนเสียงของไวนิล แต่อาจเหนือกว่า สู้ได้ หรือเข้าใกล้กันมากขึ้น ยิ่งถ้าส่วนประกอบที่เหลือขึ้นอยู่กับวงเน็ตเวิร์กทำงานได้อย่างไร้ที่ติด้วยแล้ว… มีเพียงคุณเท่านั้นที่ทราบ เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินเลย

Audio-File หรือ “คนเล่นไฟล์” ควรต้องเข้าใจการทำงานของโฮมเน็ตเวิร์กบ้างไม่มากก็น้อย แหม่… บอกว่าอยากเล่น Network Audio แต่ยังแข็งขืนจะ “ไม่ลาก LAN ไม่เอา Network Switch ก็เพราะคิดว่าเล่น Digital ก็ต้องง่ายดิ ไม่ควรยากลำบาก”… เอ้อ ยากลำบากเชียวเหรอ

แนะนำอย่างยิ่งว่า “ควร” ต้องลากสาย LAN เข้าไปในห้องฟังเพื่อใช้เชื่อมกับ Network Switch ที่จะทำตัวเป็นตัวเชื่อม (คล้าย Hub) กับอุปกรณ์ที่ทำงานบนโฮมเน็ตเวิร์กทั้งหมดในห้องฟัง เช่นเครื่องเสียง Network Audio, Music Server หรือ NAS เป็นต้น… คงไม่ทำให้ชีวิตลำบากนักมั้ง

Audio-File ที่เล่นสาย LAN เทพ & ANS นั้นเป็นอะไรที่ Beyond กว่าคำว่าเล่นสตรีมมิ่งปกติขึ้นไปอีกขั้น จะแมตชิ่งแค่ไหนเพียงไรขึ้นอยู่กับซิสเต็มที่เล่น ส่งผลต่อคุณภาพของเสียงโดยรวมทั้งซิสเต็มว่า คุณภาพ “ที่แท้ทรู” นั้นคือเยี่ยงไร จะเป็นคำตอบว่า “คุ้มหรือไม่”?

ถ้าสามารถสัมผัสได้กับ “อาการพึงประสงค์ อันเป็นเหตุ สังเกตุได้”… ทำไมจะไม่ล่ะครับ. ADP