เคยพูดถึงการปรับภาพในห้อง Home Theater มาหลายฉบับ แต่ส่วนมากพูดถึง แค่การปรับแบบเบื้องต้น ไม่ยุ่งยากอะไร ฉบับนี้ผมจึงจะขอพูดถึงการปรับภาพ ในระดับที่ละเอียดและมีความแม่นยำมาก ขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าวิธีไหน วัตถุประสงค์ของการปรับภาพ หรือ Video Calibration ก็ยังคงเดิม คือปรับภาพออก มาให้มีความเที่ยงตรงอยู่บนพื้นฐานของ มาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นสากลว่าภาพที่ได้ มาตรฐานเป็นยังไง ทำให้ภาพยนตร์ที่ดูมี ความใกล้เคียงกับสิ่งที่ Producer เขาเห็น เมื่อเวลาดูหนังจะได้สัมผัสประสบการณ์ อารมณ์ ความรู้สึกเหมือนกับที่ผู้กำกับ หรือผู้ทำหนังต้องการสื่อออกมา (Direc­tor, Creator Intend)

การปรับภาพให้ได้มาตรฐานเพื่อสามารถถ่ายทอด Director Intend ออกมา คือวัตถุประสงค์สำคัญในการปรับภาพ

การปรับภาพที่ได้ยินกันบ่อยๆ ก็คงเป็น การปรับ CMS (Color Management System) ที่มีทั้งการปรับ Color Temperature, 2points Grayscale หรือถ้าให้ละเอียดหน่อยก็อาจ ละเอียดถึง 11 หรือ 21 points Grayscale, การปรับความสว่าง หรือ Gamma, เสร็จแล้วก็ จะปรับ Color Gamut ของแม่สีหลักและสีรอง อีกหกสี (RGBCMY) แต่บางท่านเคยเจอไหม แบบว่าปรับเสร็จแล้วกราฟทุกอย่างดี ค่า delta E หรือค่าความเพี้ยนก็น้อย สีของแม่สีแต่ละสี เข้าเป้า Color Gamut หมดเลย แต่พอดูภาพ จริงๆ ภาพกลับออกมาอมแดงบ้าง อมเขียว หรืออมฟ้าบ้าง ทำให้แปลกใจว่า Color Gamut ก็ตรงอยู่นี่นา ปัญหานี้ผมได้รับคำถามมาบ่อยๆ ซึ่งพบว่า ถ้าไม่ใช่เพราะความผิดพลาดของ meter วัดสี (Colorimeter, Spectroradiometer) หรือความผิดพลาดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปก็คือ เรื่องของ เทคนิคการปรับภาพ อย่างค่า Color Gamut ของแม่สีที่เห็นนั้น ความจริงแล้วเป็นค่าสีที่ขอบ ของ Color Space ที่จอภาพแต่ละจอทำได้ เช่น สีแดงเกือบ 100% ซึ่งในชีวิตจริงนั้น สีที่เห็น อยู่ทุกวันแทบไม่มีสีที่อยู่ตรงนี้เลย ดังนั้น การที่บอกว่าสีตรงขอบของ Color Space ตรงเข้าเป้า ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าสีที่อยู่ภายใน Color Space ตรงหรือใกล้เคียงกับความจริง

 การที่สีบริเวณสุดขอบของ Color Space ตรงเข้าเป้าไม่ได้ เป็นการยืนยันว่าสีทั้งหมดที่จอภาพแสดงออกมาถูกต้อง

 การใช้ Color Checker วัดสีที่พบบ่อยใน ชีวิตประจำวัน หรือวัด Color Sweeps ของสี ที่อยู่ภายใน Color Space จึงให้ข้อมูลของสีที่ ถูกต้องมากกว่า โดยเน้นไปที่สีแดง สีแสด สีเหลือง เป็นสำคัญ เพราะบริเวณนี้เป็นสีของ Skin Tone ที่มนุษย์เราให้ความสำคัญและจดจำในการมอง เห็นได้มากกว่าเฉดสีอื่นๆ จอภาพที่มีความเป็น Linearity สูง เมื่อวัดแม่สีบริเวณขอบของ Color Space สีที่อยู่ภายในก็มักไม่ค่อยมีความเพี้ยนเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นจอภาพที่ ไม่มีความเป็น Linearity (Non-Linear response) ถึงแม้วัดแม่สีตรงทุกสี แต่สีที่อยู่ภายใน Color Space ก็มักมีความเพี้ยนอยู่ไม่มากก็น้อย จอทีวี ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องนี้ เพราะมีองค์ประกอบที่ส่งผลถึงความเป็น Linearity ของภาพน้อย แต่ถ้าเป็นพวกโปรเจกเตอร์ต่างๆ ต้องระวัง เนื่องจากภาพ ที่ออกมาขึ้นอยู่กับจอภาพที่ใช้รับภาพ แสงโดยตรงจากสิ่งแวดล้อม หรือ แสงสะท้อนจากผนังห้องที่มีสีต่างกันเข้ามากระทบแสงจากเครื่องฉายที่ส่ง ผลกระทบต่อสีแต่ละสีในแต่ละความสว่างไม่เท่ากันด้วย ทำให้ความเป็น Linearity ของภาพจากโปรเจกเตอร์มีน้อยกว่าจอทีวี

จอภาพที่เป็น Linear Display เมื่อสีที่บริเวณขอบของ Color Space ตรง สีที่อยู่ด้านในก็ จะตรงด้วย แต่จอภาพ Non-Linear Display ถึงแม้วัดแม่สีตรงทุกสีที่ขอบ แต่สีที่อยู่ภายใน Color Space ก็มีความเพี้ยนอย

ปัญหาก็คือว่า ตอนนี้พอรู้แล้วว่าสีที่อยู่ภายใน Color Space มันไม่ตรง แล้วจะแก้ไขยังไง เพราะการปรับการวัดที่ทำมาส่วนมากก็คือ ทำได้แค่แม่สี ที่อยู่บริเวณสุดขอบของ Color Space กับเรื่องของ Black & White levels, Peak White, Gamma, Color Temp, White Balance จึงทำให้ไม่สามารถ ปรับในส่วนของสีที่อยู่ใน Color Space ทั้งหมด นี่แหละครับการปรับที่ ผมจะพูดถึงในวันนี้ จะเป็นการปรับสีทั้งหมดที่อยู่ใน Color Space ตรงนี้ ให้มีความถูกต้องใกล้เคียงกับมาตรฐานเหมือนกับจอที่ใช้เป็น Mastering Monitor ในงาน Post-production ให้มากที่สุด ถึงแม้เราใช้แค่จอที่เป็น Consumer Display ไม่ใช่จอระดับที่ Colorists ใช้ราคานับล้านบาท ต่อเครื่อง ในฝั่งของ Professional World

Mastering Monitor ในงาน Post-Production ที่มีราคานับล้านบาทต่อเครื่อง

การปรับที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ก็คือ การปรับภาพแบบ 3D LUT (ลัท) ซึ่งการปรับภาพแบบ 3D LUT นี้ ถือว่าเป็น Gold Standard สำหรับ การ Calibrate ภาพใน Pro World เลยทีเดียว (ณ ตอนนี้) จอภาพที่ใช้ ในงาน Mastering Monitor ส่วนมากต้องมี LUT ฝังอยู่ในเครื่อง หรือใช้ เครื่อง External LUT generation อยู่ เพราะนอกจากใช้ประโยชน์ในการ Calibration แล้ว ก็ยังใช้ในการเปลี่ยนโทนสีของภาพให้เป็นไปตามต้องการ เช่น การถ่ายทำมาเป็นฟิล์มภาพยนตร์ แต่ Colorists ต้องการเปลี่ยนโทนสี ของภาพไม่ให้เป็นเหมือนฟิล์ม ต้องการโทนสีที่ต่างออกไปตามที่ต้องการ Colorists ก็สามารถใส่ LUT เข้าไปในภาพ ก่อนให้ Producer พิจารณา ดูก่ อนว่าดีไหม ก็สามารถทำได้ อย่างง่ายดาย อีกประโยชน์ หนึ่ งก็คื อGamut Matching ที่เวลาถ่ายหนังต้นฉบับมา ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มหรือเครื่องถ่าย Digital ที่มี Color Space อยู่ในระดับ DCI-P3 หรือกว้างกว่า (Rec.2020) แต่ต้องการนำมาลงใส่ในแผ่นหรือ Content ที่มี Color Space ต่ำกว่า เช่น Rec.709 ก็จะต้องใส่ LUT เข้าไปในภาพ ทำให้ภาพย่อ Color Space ลงมาให้พอดีกับที่ต้องการ โดยตำแหน่งสีต่างๆ ยังดีอยู่ไม่ผิดเพี้ยน ต่อมา การใช้ LUT ก็ได้เข้ามาสู่ในบ้าน โดยวัตถุประสงค์หลักของการใช้ LUT ภายในบ้านก็เพื่อใช้ในขั้นตอนการ Calibration เพื่อให้จอภาพมีภาพ ที่ถูกต้อง ใกล้เคียงภาพจากต้นฉบับที่ Director หรือ Colorists เห็น

วัตถุประสงค์หลักของการใช้ LUT ภายในบ้านก็เพื่อใช้ในขั้นตอน Display Calibration เพื่อให้ได้ภาพที่ถูกต้อง ใกล้เคียงภาพจากต้นฉบับที่ Director หรือ Colorists เห็นในขั้นตอน Post-production

LUT (ลัท) ย่อมาจากคำว่า Look Up Table เป็นการนำเอาข้อมูล สีของภาพแต่ละจุดมาแก้ไขให้ค่าสีที่ออกมาเปลี่ยนแปลงไปตามต้องการ โดยที่ข้อมูลรายละเอียดของสีภาพที่จุดต่างๆ ก็เก็บอยู่ในลักษณะเป็นแบบ ตารางหรือเป็นแบบเมตริก เพื่อความง่ายและรวดเร็วในการคำนวณของ คอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงเรียกวิธีนี้ว่า Look Up Table พูดให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ ถ้า R (Result) เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ S (Source) เป็นสิ่งที่เริ่มต้น L (LUT) จะเป็นการคำนวณผลต่างของ R และ S ดังนั้นก็พูดได้ว่า R = S+L โดย LUT มีอยู่สองแบบคือ 1D LUT ที่เป็นการ Re-map ง่ายๆ อยู่ในมิติเดียว เช่น ค่าความสว่าง ความมืดของแม่สีแดง เขียว น้ำเงิน แต่ละสี แต่ 3D LUT เป็นการ Re-map ในลักษณะสามมิติ คือ นอกจากมีการคำนวณของเฉพาะสี แต่ละสีเองแล้ว ก็มีการคำนวณความสัมพันธ์ของแม่สีแดง เขียว น้ำเงิน ที่มี ต่อกันเป็นแบบแนวแกนสามแกน ลักษณะเป็นลูกบาศก์ ทำให้บางทีก็เรียกว่า เป็น 3D Cube ซึ่ง 3D LUT แบบนี้ ผลลัพธ์ที่ออกมามีความถูกต้องแม่นยำและ ละเอียดกว่าแบบ 1D LUT ดังนั้นก็อาจเรียก 3D LUT ว่าเป็นการปรับภาพ แบบสามมิติเลยก็น่าจะได้

การปรับภาพแบบ LUT เป็นการนำเอาข้อมูลสีของภาพแต่ละจุดมาแก้ไขให้ ค่าสีที่ออกมาเปลี่ยนแปลงไปตามต้องการ

1D LUT เป็นการปรับค่าอยู่ในมิติเดียว เช่น ค่าความสว่าง ความมืดของแม่สีแดง เขียว น้ำเงิน แต่ละสี

3D LUT เป็นการปรับในลักษณะสามมิติ คือ นอกจาก มีการคำนวณเฉพาะสีแต่ละสีเองแล้ว ก็มีการคำนวณ ความสัมพันธ์ของแม่สีแดง เขียว น้ำเงิน ที่มีต่อกันเป็น แนวแกนสามแกน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ 3D LUT ภายในบ้าน นอกจากต้องมีอุปกรณ์ Calibrate ภาพพื้นฐาน คือ Probe หรือ Meter ที่ใช้วัดแสง และ Pattern Generator ที่ใช้เพื่อปล่อยสัญญาณสีต่างไปยังจอแสดงภาพ ก็ยังต้องมี External LUT Boxes เพิ่มเติม เพราะจอภาพที่ใช้อยู่ในบ้านเกือบทั้งหมด ไม่มี LUT ฝังอยู่ในเครื่องเหมือนกับเครื่องใน Mastering Monitor ต่างๆ เท่าที่รู้จอภาพที่ใช้ภายในบ้านก็มีทีวีรุ่นสูงๆ อยู่บางรุ่นเท่านั้นที่มี LUT มากับเครื่องเลย ตัวอย่างของ LUT Boxes ที่ต้องซื้อมาต่อเพิ่มก็เช่น Murideo Prisma LUT Box, Lumagen, EEColor LUT Box ฯลฯ และสิ่งสุดท้าย ที่ต้องมีก็คือ คอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมสำหรับทำ LUT Generation ซึ่งที่ ใช้กันมีอยู่สามสี่ตัว เช่น LightSpace, CalMAN, ChromaPure เป็นต้น สำหรับที่ผมแนะนำในที่นี้ก็คือ โปรแกรม LightSpace ความจริงไม่ว่า จะเป็น CalMAN, ChromaPure ล้วนทำ LUT 3D ได้ทั้งนั้น แต่สำหรับ LightSpace นั้น ถึงแม้เป็นโปรแกรมที่ใช้งานยาก รูปร่างหน้าตาไม่ดูเข้าใจ ง่าย หรือสวยงามเหมือนโปรแกรมอื่น เพราะโปรแกรมนี้พัฒนามาจาก โปรแกรมของฝั่ง Pro World แต่จุดเด่นของโปรแกรมนี้คือ มันถูกออกแบบ มาให้เน้นในการทำ 3D LUT โดยเฉพาะ ดังนั้น การพลิกแพลงของโปรแกรม เพื่อใช้ให้เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และง่ายดายกว่าการใช้โปรแกรมอื่น

การใส่ 3D LUT เข้าไปในภาพเพื่อใช้ในการเปลี่ยนโทนสีของภาพให้เป็นไปตามต้องการ

Probe หรือ Meter ที่ใช้วัดแสงและ Pattern Generator ที่ใช้เพื่อปล่อยสัญญาณสีต่างไปยังจอแสดงภาพแบบอัตโนมัติเพื่อใช้ในการปรับภาพแบบ 3D LUT

ตัวอย่าง External LUT Box แบบต่างๆ ที่ใช้ในห้อง Home Theater

หลักการทำ LUT 3D ถ้าเป็นโปรแกรม CalMAN หรือ ChromaPure ก็คล้ายๆ กัน คือ ใน CalMAN จะมี Workflow ที่ชื่อว่า Cube3D LUT เราก็ทำตามคำแนะนำของ Workflow ไปทีละขั้นได้เลย ส่วน ChromaPure จะอยู่ในหัวข้อที่ชื่อว่า Calibration และ Auto Cal เมื่อเข้าไปในโปรแกรมก็ไปตั้งค่า Options ก่อน ว่าต้องการ ปรับ Grayscale กี่จุด, Reference Gamut หรือความ กว้างของสีที่ต้องการคืออะไร, Gamma Target คืออะไร ซึ่งถ้าเราปรับที่ความกว้างสีเป็น Rec.709, Gamma ก็เลือกได้ว่าจะเอา 1.8-2.8 ยิ่งค่า Gamma มาก ภาพก็ จะมืดลง ปกติที่นิยมในห้อง Home Theater ก็ประมาณ 2.2-2.6 แต่ถ้าเป็นการปรับของภาพ 4K HDR ค่า Gamut ที่แนะนำคือ Rec.2020 ส่วน Gamma ก็เป็น HDR10 หรือ HDR10-Projector เสร็จแล้วก็เข้าใน Auto Cal และ ทำตามคำแนะนำของโปรแกรมต่อไปได้เลยเป็นอันเสร็จ

แต่สำหรับโปรแกรม LightSpace ใช้วิธีที่ต่าง ออกไป โดยขั้นตอนแรกหลังจากที่ปรับค่าพื้นฐาน ทั้ง Black & White levels, Color Temp, เลือกค่า Picture mode เสร็จแล้ว ก็จะเป็นการเก็บข้อมูลค่าของสี ในแต่ละจุดที่เรียกว่า Profile ปกติแนะนำไว้ที่ 10x10x10 จุดเป็นอย่างน้อย แต่ถ้าต้องการความละเอียดแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะในจอแสดงภาพที่ไม่ค่อยมีความเป็น Linearity ก็ควรจะทำเป็น 17x17x17 หรือ 21x21x21 จุดไปเลยจะดีกว่า แต่ก็ต้องแลกกับเวลาที่มากขึ้นด้วย อย่างที่ผมทำโดยใช้ Meter ตัวที่เร็วมากคือ Klein K10 โดยถ้าเป็น 17x17x17 ใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง แต่ถ้า เป็น 21x21x21 นี่อย่างน้อยต้องสองชั่วโมงครึ่ง ในการ เปิดเครื่องทิ้งไว้ให้เก็บข้อมูล Profile แต่ข้อดีของโปรแกรม LightSpace ก็คือทำ Profile แค่เพียงครั้งเดียว ขั้นตอน ต่อไปก็คือ การทำ 3LUT Generation ก็สามารถใช้ Profile ที่เก็บไว้มาทำซ้ำกี่ทีก็ได้จนได้ LUT ในแบบที่ต้องการแล้วถึงค่อย Upload LUT ไปยัง LUT Boxes ซึ่งการทำ 3LUT Generation ของ LightSpace เป็นขั้นตอนที่กำหนด Color Space ที่ต้องการ ว่าต้องการมาตรฐานอะไร สามารถเลือกได้หมด ไม่ว่าจะเป็นภาพ SDR ในความกว้างเฉดสีแบบ Rec601, Rec709, DCI P3 ทั้งที่แบบไม่ใช่ D65 และ D65 หรือไม่ว่าจะเป็นภาพแบบ HDR ที่มีให้เลือกทั้ง ST2084 แบบ Rec709, DCI P3, DCI P3 D65, Rec2020 และมาตรฐานอื่นๆ อีกมากมาย เท่าที่มีใช้ในงานทั้งในบ้านและ Professional เมื่อต้องการได้มาตรฐานแบบไหนก็เลือก ในส่วนของ Source และเลือก Profile ของจอภาพที่เราเก็บไว้ในส่วนของ Destination แค่นี้ 10-15 นาที คอมพิวเตอร์ก็คำนวณ LUT ออกมา เสร็จแล้ว LightSpace ก็สามารถ ตรวจสอบได้เลยว่า LUT ที่คำนวณออกมา 1D LUT กราฟออกมาเป็นยังไง ในส่วนของ 3D LUT ก็แสดงออกมาในรูปแบบของ 3D Cube และตารางของ LUT อยู่ด้านข้าง แต่ถ้ายังไม่แน่ใจก็สามารถดูจากรูปภาพที่เราเลือกไว้ได้เลยว่า ถ้าใส่ 3D LUT ตัวที่ เพิ่งคำนวณออกมานี้ ภาพหลังจากที่ใส่แล้วออกมาจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน ซึ่งตรงนี้แหละที่ทำให้ LightSpace เหนือกว่าโปรแกรมอื่นที่ไม่มีการ Fix Workflowให้ต้องทำตาม อยากทำแบบไหน ปรับแบบไหน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้หมด เสร็จแล้วก็สามารถตรวจสอบจาก ภาพจริ งๆ ได้อีกว่า พอใจกั บภาพ ที่ออกมาไหม ถ้าไม่พอใจก็กลับ ไปทำซ้ำใหม่ โดยไม่ต้องไปเก็บ ข้อมูล Profile ใหม่อีกรอบให้เสีย เวลา เอาจนได้ LUT ที่เหมาะสม กับจอภาพของเรามากที่สุดเท่าที่ผมได้ใช้งานการปรับแบบ 3D LUT ทั้งสามโปรแกรม พบว่า… ถ้าเป็นการปรับภาพแบบมาตรฐาน Rec.709 SDR โดยทั่วไปนั้น ไม่ว่าจะ ใช้โปรแกรมไหน ถ้ามีการปรับวิธีที่ถูกต้องก็ได้ผลใกล้เคียงกันมาก เนื่องจาก การปรับภาพแบบ Rec.709 SDR นั้น ค่อนข้างตรงไปตรงมา ไม่มีอะไร ซับซ้อน แต่ถ้าเป็นการปรับภาพ 3D LUT สำหรับภาพแบบ 4K HDR นั้น ไม่ง่ายเหมือน Rec.709 เนื่องจากว่า จอภาพในปัจจุบันยังไม่สามารถ

เท่าที่ผมได้ใช้งานการปรับแบบ 3D LUT ทั้งสามโปรแกรม พบว่า… ถ้าเป็นการปรับภาพแบบมาตรฐาน Rec.709 SDR โดยทั่วไปนั้น ไม่ว่าจะ ใช้โปรแกรมไหน ถ้ามีการปรับวิธีที่ถูกต้องก็ได้ผลใกล้เคียงกันมาก เนื่องจาก การปรับภาพแบบ Rec.709 SDR นั้น ค่อนข้างตรงไปตรงมา ไม่มีอะไร ซับซ้อน แต่ถ้าเป็นการปรับภาพ 3D LUT สำหรับภาพแบบ 4K HDR นั้น ไม่ง่ายเหมือน Rec.709 เนื่องจากว่า จอภาพในปัจจุบันยังไม่สามารถทำความสว่างสูงสุดได้มากเท่ากับมาตรฐาน HDR ที่กำหนดไว้ ทำให้ต้องมี การใส่ Tone Mapping ลงไปในจอภาพแบบ HDR เพื่อให้สามารถแสดง ภาพจาก Metadata ที่มีค่าความสว่างสูงกว่าจอภาพที่จะทำได้ ซึ่งเจ้าตัว Tone Mapping นี่แหละที่ในจอทีวีหรือจอโปรเจกเตอร์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ก็ต่างกัน ทำให้การทำ 3D LUT มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ถ้ามีการแก้ไขค่าสี ต่างๆ เกินกว่า หรือผิดปกติไปจาก Tone Mapping ของจอภาพ ดังนั้น การที่จะทำ 3D LUT บนจอภาพแบบ HDR นั้น ถ้าจะให้ผลลัพธ์ออกมา ดีที่สุด วิธีหนึ่งที่นิยมกันในตอนนี้ก็คือ ต้องยกเลิก Tone Mapping ที่อยู่ ในจอภาพนั้นๆ ก่อน ให้สัญญาณออกมาเป็น SDR เพื่อตัด Metadata ของ HDR ออกไป (ข้อมูลสี ความสว่างทุกอย่างของภาพยังอยู่เหมือนเดิม ยกเว้นไม่มี Metadata) ซึ่งบางทีก็ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเพื่อแปลงข้อมูล HDR เป็น SDR แล้วค่อยปรับ 3D LUT ในข้อมูลแบบ SDR อีกที หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ยกเลิก Tone Mapping ของจอภาพ แล้วมาทำ Tone Mapping เอง แบบ Manual ซึ่ งรายละเอี ยดในการทำ 3D LUT แบบนี้ ยั งจะต้ องมี ขั้ นตอน ย่อยเพื่อแปลง Tone Mapping ของ PQ EOTF เป็น Gamma ปกติ และย่อ Color Space จาก Rec2020 เพื่อให้เข้ากับ Profile ของจอภาพ ซึ่งก็มีหลายวิธีให้เลือกทำ ก็ต้องลองทำดู เพราะเท่าที่ผมเคยลองทำมา หลายๆ วิธีในหลายๆ จอภาพ พบว่าวิธีหนึ่งอาจจะใช้ได้กับจอภาพแบบหนึ่ง แต่กลับไม่ Work ในจอภาพที่ต่างรุ่นต่างแบบกันไป

อันนี้ยังไม่นับความยากของการทำ 3D LUT บนจอภาพแบบ OLED ที่ในปัจจุบันจอภาพในท้องตลาดจะใช้ Sub-pixel แบบ WRGB เพื่อเพิ่ม ความสว่าง ไม่เหมือนกับจอภาพของ Mastering Monitor ที่ส่วนมาก เป็นแบบ pure RGB ดังนั้น เวลาปรับสีขาวที่ 100IRE จอภาพ WRGB จะปิดการทำงานของ Sub-pixel RGB และเปิดการทำงานของ Sub-pixel สีขาวเต็มที่ ไม่เหมือนกับ Sub-pixel แบบ RGB ที่จะเปิด pixel RGB เต็มที่ ทำให้สีรวมกัน และเกิดเป็นสีขาวขึ้น และเวลาไล่ความเข้มของสีขาวลง

โปรแกรม LightSpace เมื่อทำ3D LUT เสร็จแล้วก็สามารถตรวจสอบได้จากคอมพิวเตอร์เลยว่า พอใจกับภาพที่ออกมาไหม

ขั้นตอนในการทำ 3D LUT ของภาพ 4K HDR แบบต่างๆ ที่มีความยุ่งยากมากกว่าภาพแบบ Full HD SDR

มาเป็นสีเทาก็จะค่อยลดความสว่างของ RGB ลงมาเท่าๆ กัน แต่ในขณะที่ WRGB มีการลดความสว่างไม่ได้เป็น Linear เหมือน RGB ทำให้การใช้ 3D LUT มีการคำนวณที่ยุ่งยาก มากขึ้น และมี error สูง อีกทั้งจอภาพแบบ OLED เมื่ออุณหภูมิ ของเครื่องเปลี่ยนไป พบว่าทำให้ความสว่างและสีของภาพ ต่างกันออกไป ดังนั้น การปรับภาพ 3D LUT บนจอทีวีแบบ OLED จึงยากมาก ซึ่งต้องใช้เทคนิคในการทำที่ซับซ้อนขึ้นไปอีก

แต่ถ้าสามารถปรับภาพแบบ 3D LUT ได้ถูกต้องแล้วนั้น ภาพที่ออกมาเรียกได้ว่าเป็นภาพที่ให้ค่าสีของภาพใกล้เคียง มาตรฐานที่สุด เมื่อเทียบกับการปรับภาพแบบอื่น โทนของภาพ ที่บางทีดูในการปรับแบบพื้นฐานว่าตรงแล้ว พอใส่ 3D LUT เข้าไป โทนของภาพก็ถูกต้องมากขึ้นแบบดูออกอย่างชัดเจนเลย แต่จะแตกต่างมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับจอภาพนั้นๆ ด้วย ว่าจอนั้นมีพื้นฐานของความเป็น Linearity ว่ามากน้อยอย่างไร

ในปัจจุบันจอภาพที่แสดงผลมีการพัฒนาขึ้นไปอย่าง รวดเร็ว ทั้งจอมีขนาดใหญ่มากขึ้น สว่างมากขึ้น มีรายละเอียด ของภาพสูงขึ้น คุณภาพสีสันของภาพที่สามารถแสดงสีได้กว้าง และแม่นยำมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาในด้านการปรับภาพ เพื่อให้แสดงผลมีความถูกต้องเป็นมาตรฐานก็ต้องมีการพัฒนา ตามกันไปให้ทัน ซึ่งถ้าใครสนใจหรือให้ความสำคัญในเรื่องภาพ ก็คงต้องมีการ Update ความรู้เรื่องการปรับภาพอยู่เรื่อยๆ เพื่อทำให้จอภาพที่ใช้อยู่แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ไม่ผิดเพี้ยน ส่งผลให้สามารถดูภาพอย่างมีความสุขสนุกสนานได้เป็น เวลานาน ไม่เมื่อยล้าต่อสายตา และเป็นการถนอมจอภาพให้ สามารถใช้ได้ยาวนานมากขึ้นอีกด้วย (เนื้อหาและภาพบางส่วน ได้นำมาจาก White Paper ของทางเว็บไซต์ LightIllusion และ ChromaPure ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ). VDP

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 262