เก็บไฟล์เพลงอย่างไรให้ปลอดภัยและใช้งานสะดวก
นักเขียน : สมชัย สิทธิชัยศรีชาติ :
ผู้ที่ฟังเพลงจากไฟล์ มักเริ่มต้นด้วยการเก็บไฟล์เพลงในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฟังเพลงเป็นหลัก และถ้าต่ออยู่ในเน็ตเวิร์ก แล้วเปิดเครื่องทิ้งไว้ ก็สามารถฟังเพลงที่เก็บในคอมพิวเตอร์นี้จากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นไฟล์เพลงอื่นที่อยู่ในเน็ตเวิร์ก เดียวกันได้ โดยข้อมูลของไฟล์เพลงในคอมพิวเตอร์หลักจะถูกส่งผ่านเน็ตเวิร์กไปยังเครื่องที่เรียกใช้ อย่างไรก็ตาม การที่มีไฟล์เพลงเพียงชุดเดียวนั้นถือเป็นความเสี่ยงสูงที่ไฟล์เพลงอาจสูญหายได้ ซึ่งผมได้รับคำถาม จากเพื่อนๆ หลายครั้งว่า ถ้าจะเก็บไฟล์เพลงให้ปลอดภัย และใช้งานสะดวก ควรจะเก็บอย่างไร ควรมีไฟล์เพลงกี่ชุด ควรเก็บ ไว้ที่ไหน ฯลฯ จึงขอถือโอกาสนี้แสดงความเห็นเรื่องการจัดเก็บไฟล์เพลงที่ประหยัดและปลอดภัยว่าล่าสุดมีทางเลือกอะไรบ้าง
เทคโนโลยีการเก็บข้อมูล
ในแง่เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลที่นิยมใช้ใน ปัจจุบัน มีสองเทคโนโลยีที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ… 1) การใช้สารแม่เหล็กและความเป็นแม่เหล็กใน การเก็บข้อมูล โดยอุปกรณ์หลักที่ใช้เทคโนโลยีนี้ คือ ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้มานานแล้ว และยังใช้ได้ดี และ 2) ใช้การกักเก็บอิเล็กตรอน ในทรานซิสเตอร์เป็นตัวแทนการเก็บข้อมูล ซึ่งเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า แฟลช โดยอุปกรณ์หลักที่ใช้ เทคโนโลยีนี้คือ SSD (Solid State Drive) ซึ่งเป็น เทคโนโลยีใหม่ที่เริ่มมาทดแทนฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟว์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ได้ รับความนิยมสูงสุดมายาวนาน เพราะเก็บข้อมูลได้ มาก ราคาไม่แพง และมีการพัฒนาความจุให้เพิ่ม ขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ในคอมพิวเตอร์สำหรับการเก็บข้อมูล แต่ข้อเสีย หลักของฮาร์ดดิสก์ไดรฟว์ คือ อายุการใช้งานที่จำกัด เพราะฮาร์ดดิสก์ไดรฟว์ทำงานโดยมีแผ่นดิสก์ที่หมุน ด้วยมอเตอร์ความเร็วสูง และมีหัวอ่านขยับเพื่ออ่าน หรือบันทึกข้อมูลตลอดเวลา ทำให้เมื่อถึงจุดหนึ่ง อุปกรณ์ที่เคลื่อนไหวเหล่านี้จะชำรุดสึกหรอ เสื่อม สภาพและหยุดทำงาน ซึ่งหนึ่งในคำถามที่ทุกคน อยากทราบคือ ฮาร์ดดิสก์ใช้งานได้นานกี่ปีกว่าจะเสีย ซึ่งเป็นคำถามที่ตอบยาก เพราะอายุการใช้งาน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตั้งแต่ชนิดของฮาร์ดดิสก์ที่มี หลายแบบ ถ้าเป็นแบบราคาประหยัดที่ออกแบบให้ ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ไม่ได้เปิดใช้งานต่อเนื่อง ก็มีอายุสั้นกว่าแบบที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในศูนย์ข้อมูล ที่ต้องเปิดตลอด 24 ชั่วโมง จนถึงปริมาณการใช้งาน ถ้าใช้งานหนัก หัวอ่านมีการขยับตลอดเวลา ก็ย่อม มีอายุสั้นกว่าฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานน้อย แต่ในบทความนี้ ผมมีคำตอบที่น่าเชื่อถือเพื่อตอบคำถามสำคัญ ในเรื่องอายุใช้งานของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นคำตอบ จากทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้งาน
อายุฮาร์ดดิสก์
ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์จะระบุอายุใช้งานของ ฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่นไว้เป็นมาตรฐานมาพร้อมกับ รายละเอียดอื่นๆ เสมอ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคบังคับไว้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ตระกูล IronWolf ของ Seagate ซึ่งเป็นฮาร์ดดิสก์ ที่ออกแบบให้ใช้งานกับเครื่องจัดเก็บข้อมูลที่เรียกว่า NAS (Network Attached Storage) โดยเฉพาะ สามารถใช้งาน 24 ชั่วโมงติดต่อกันได้ มีค่า MTBF (Mean Time Between Failures) สูงถึง 1 ล้าน ชั่วโมง ซึ่งหมายถึงค่าเฉลี่ยของการใช้งานสามารถ ใช้ได้ 1 ล้านชั่วโมงก่อนจะเสีย โดยค่า MTBF เป็น ค่าทางสถิติที่ได้มาจากการทดสอบตามขั้นตอน มาตรฐานในห้องปฏิบัติการ คำถามก็คือ ค่า MTBF ที่ผู้ผลิตกำหนดไว้นี้ ใช้บอกอายุใช้งานของฮาร์ดดิสก์ ในการใช้งานจริงได้อย่างแม่นยำหรือไม่? คำตอบ คือ… ใช้ไม่ได้
ฮาร์ดดิสก์ตระกูล IronWolf ของ Seagate ที่ออกแบบให้ทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงสำหรับใช้กับ NAS โดยเฉพาะมีระบบประหยัดพลังงานที่จะทำงานช้าลงเมื่อไม่ใช้งานช่วยยืดอายุฮาร์ดดิสก์พร้อมเซนเซอร์วัดและลดความสั่นสะเทือนระหว่างทำงานที่ทำให้อ่านข้อมูลได้แม่นยำขึ้น
ค่า 1 ล้านชั่วโมงนี้ ถ้าให้ทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ก็จะใช้งานได้ถึง 41,667 วัน หรือ 114 ปี ก่อนจะหยุดทำงาน ซึ่งเป็นค่าที่เกินจริงไปมาก เพราะ ถ้าใช้ได้ตามนี้จริง ฮาร์ดดิสก์รุ่นนี้คงจะไม่เสียเลย ดังนั้น คงไม่มีประโยชน์ที่จะใช้ข้อมูลจากผู้ผลิต เพื่อตอบว่าฮาร์ดดิสก์ใช้เก็บข้อมูลได้นานแค่ไหน เพียงแต่ใช้ในเชิงเปรียบเทียบได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่มี ค่า MTBF 1 ล้านชั่วโมง ก็ควรจะใช้งานได้นานเป็น สองเท่าของรุ่นที่มีค่า MTBF ห้าแสนชั่วโมง
ข้อมูลอายุฮาร์ดดิสก์จากการใช้งาน
หนึ่งในข้อมูลอายุการใช้งานฮาร์ดดิสก์ที่ให้ ประโยชน์ได้ดีกว่าค่า MTBF คือข้อมูลจากการใช้ งานจริง ซึ่งหนึ่งในบริษัทที่ใช้ฮาร์ดดิสก์จำนวนมาก และเปิดเผยอัตราเสียของฮาร์ดดิสก์คือ บริษัท Backblaze ซึ่ งเป็นผู้ให้บริ การเก็ บข้อมู ลบน Cloud ที่ให้บริการมาหลายปีแล้ว และเนื่องจากการให้ บริการเก็บข้อมูลต้องใช้ฮาร์ดดิสก์จำนวนมากและใช้ หลายยี่ห้อมายาวนาน ข้อมูลเกี่ยวกับความทนทาน ของฮาร์ดดิสก์จาก Backblaze จึงมีประโยชน์ในการหาอายุใช้งานของฮาร์ดดิสก์ โดยวิศวกรของ Backblaze ได้เปิดเผยข้อมูลว่ามีฮาร์ดดิสก์เสียหลัง จากใช้งานแล้วอย่างไร ซึ่งผลที่ได้ตามกราฟที่แสดง ไว้คือ ในปีแรก ฮาร์ดดิสก์จะเสียไปประมาณ 6% แล้วเสียเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามอายุใช้งาน โดยเสีย เป็นประมาณ 9% ในปีที่ 3 หลังจากนั้นอัตราการ เสียจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีอัตราเสียประมาณ 20% ในปีที่ 4 ซึ่งน่าเสียดายที่ขณะให้ข้อมูล บริษัท Backblaze เริ่มทำธุรกิจมาไม่นานจึงมีข้อมูลแค่ 4 ปี แต่ก็สามารถใช้ข้อมูลนี้ประมาณการต่อไปที่ทำให้ สรุปได้ว่า ในปีที่ 6 ฮาร์ดดิสก์จะเสียถึง 50% ซึ่งจาก ข้อมูลนี้พอจะใช้ตอบคำถามได้ว่า เมื่อใช้ฮาร์ดดิสก์ได้ ประมาณ 6 ปี ครึ่งหนึ่งของฮาร์ดดิสก์จะเสีย หรือถ้า ท่านมีฮาร์ดดิสก์ 2 ตัว เมื่อครบ 6 ปี คาดการณ์ได้ว่า ฮาร์ดดิสก์ของท่านจะเสียไปหนึ่งตัว
ข้อมูลข้อมูลอัตราเสียของฮาร์ดดิสก์จากบริษัท Backblaze ที่ใช้ฮาร์ดดิสก์จำนวนมาก และได้เปิดเผยข้อมูลอัตราการเสียของฮาร์ดดิสก์หลังจากใช้งานไปแล้ว 4 ปี ซึ่งพบว่าอัตราการเสียจะเพิ่มขึ้นมากเมื่อเลยปีที่ 3 และประมาณการว่าอัตราเสียจะเพิ่มถึง 50% เมื่อถึงปีที่ 6
จากข้อมูลที่ฮาร์ดดิสก์มีโอกาสเสียถึง 9% เมื่อ ใช้งานไป 2 ปี และโอกาสเสียสูงถึง 50% เมื่อใช้งาน ไปแล้ว 6 ปี ทำให้ทุกท่านที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะ ต้องตระหนักเสมอว่า ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อาจสูญหาย ได้ ถ้าเป็นข้อมูลสำคัญควรมีการสำรองข้อมูลเสมอ
ข้อเสียสำคัญอีกประการของฮาร์ดดิสก์คือ ความเสียหายจากการกระแทก เพราะถ้าฮาร์ดดิสก์ เจอแรงกระแทกสูง เช่น ทำหล่น จะเสียหายจนใช้ งานไม่ได้ และข้อมูลสูญหายทันที เพราะหัวอ่านจะ กระแทกกับแผ่นดิสก์ ทำให้แผ่นดิสก์เสียหาย ดังนั้น ผู้ที่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบพกพาในการเก็บข้อมูล และ ต้องพกพาอยู่เสมอ จะต้องระวังไม่ทำหล่น หรือไม่ก็ ให้ซื้อฮาร์ดดิสก์แบบพกพาที่ออกแบบมาให้รองรับ แรงกระแทกสูงๆ ได้ เช่น Rugged Mobile Storage ของ Lacie ที่ทนทานระดับ IP54 ที่ทนแรงกระแทก ได้ดี โดนน้ำโดนฝุ่นได้บ้าง โดยไม่ทำให้ข้อมูลสูญหาย
ฮาร์ดดิสก์รุ่น Rugged Mobile Storage ของ Lacie ที่ออกแบบสำหรับใช้ในงานสนามได้ดี ทนแรง กระแทกได้สูงกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วไป
สำรองข้อมูลอย่างไร
การสำรองข้อมูล คือการเก็บข้อมูลเพิ่มอีก อย่างน้อย 1 ชุด ซึ่งยิ่งเก็บหลายชุดก็ยิ่งปลอดภัย แต่โดยทั่วไปมักเก็บเพิ่มอีก 1 หรือ 2 ชุดเป็น อย่างมาก โดยถ้าเก็บเพิ่มอีก 2 ชุด รวมกับต้นฉบับ เป็น 3 ชุด ถือว่าปลอดภัยมาก แทบไม่มีโอกาส สูญหายเลย การสำรองข้อมูลก็ทำได้ง่ายๆ ด้วยการ เก็บข้อมูลอีกชุดไว้ในฮาร์ดดิสก์ภายนอก หรือเก็บไว้บน NAS ที่ต่อเข้ากับเน็ตเวิร์ก การเก็บข้อมูลบน NAS จะเพิ่มความสะดวกในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย เพราะทุกเครื่องที่ต่ออยู่ในเน็ตเวิร์กสามารถเรียกใช้ ข้อมูลบน NAS พร้อมๆ กันได้ รวมไปถึง NAS ที่มีช่อง ใส่ฮาร์ดดิสก์มากกว่า 1 ช่อง เช่น มีช่องใส่ฮาร์ดดิสก์ 2 ช่อง สามารถกำหนดให้มีระบบสำรองข้อมูลแบบ อัตโนมัติที่ข้อมูลจะถูกเก็บในฮาร์ดดิสก์ทั้งสองตัว เหมือนกัน ทำให้เมื่อฮาร์ดดิสก์เสียไปหนึ่งตัว ข้อมูล ยังคงอยู่ในฮาร์ดดิสก์อีกตัว และเมื่อนำฮาร์ดดิสก์มา เปลี่ยน NAS จะย้ายข้อมูลมาเก็บในตัวใหม่ให้มีข้อมูล สองชุดเหมือนเดิมโดยอัตโนมัติ
NAS รุ่น T- 451+ ของ Qnap ที่มีช่องใส่ฮาร์ดดิสก์ 4 ช่อง สามารถใส่ฮาร์ดดิสก์เพิ่มเพื่อขยายความจุได้ หรือสามารถกำหนดให้มีการสำรองข้อมูลที่เมื่อฮาร์ดดิสก์เสียไปหนึ่งตัวก็ยังเรียกใช้ข้อมูลจากตัวอื่นได้
ควรใช้ NAS แบบไหน
NAS เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ต่อเชื่อมกับ เน็ตเวิร์กและทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ในเน็ตเวิร์กสามารถ เรียกใช้ข้อมูลจาก NAS พร้อมๆ กันได้ โดยหนึ่งใน ผู้ผลิต NAS คุณภาพสูง คือ QNAP ที่ผลิต NAS ออกมาหลายรุ่น ให้เลือกใช้ได้ตามความจุและลักษณะ งานที่ต้องการ โดยรุ่นที่แนะนำให้นักฟังเพลงใช้ คือ QNAP HS-251+ เพราะเป็นรุ่นที่ใช้โลหะด้านบนใน การระบายความร้อนแทนการใช้พัดลม ตัวเครื่องจึง ถูกออกแบบให้แบนราบ เพื่อให้มีพื้นที่สัมผัสอากาศ มาก การไม่ใช้พัดลมทำให้ไม่มีเสียงรบกวนขณะ ใช้งาน และรุ่นนี้มีช่องใส่ฮาร์ดดิสก์สองช่องที่ช่วย เรื่องการสำรองข้อมูลโดยอัตโนมัติ หรือจะใช้เพื่อ ขยายความจุข้อมูลให้เป็นสองเท่าก็ได้
NAS รุ่น HS-251+ ของ Qnap ที่ออกแบบสำหรับนักฟัง เพลงโดยเฉพาะ เพราะขณะทำงานจะเงียบกริบ เนื่องจากไม่ได้ใช้พัดลมในการระบายความร้อน และมีช่องใส่อาร์ดดิสก์ 2 ช่องที่จะสำรองข้อมูลกันเองโดยอัตโนมัติ
ภาพแสดงด้านหลังของ QNAP HS-251+ ที่นอกจากมีช่องต่อเน็ตเวิร์ก 2 ช่องแล้ว ยังมีช่องต่อ HDMI เพื่อต่อเข้ากับทีวีโดยตรงได้ด้วย เพราะ NAS รุ่นนี้ สามารถลงโปรแกรม เช่น Plex เพื่อเล่นไฟล์วีดีโอได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ภายนอก พร้อมรีโมตคอนโทรลสำหรับควบคุมการทำงาน
ประเภทฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ Barracuda ที่ Seagate ออกแบบสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ไม่เหมาะในการนำมาใช้กับ NAS ที่ต้องทำงานติดต่อกัน 24 ชั่วโมง
อีกเรื่องสำคัญ เมื่อซื้อฮาร์ดดิสก์มาใช้งานคือ การซื้อฮาร์ดดิสก์ให้ถูกประเภท เพราะเมื่อดูจาก ภายนอกแล้ว ฮาร์ดดิสก์จะเหมือนๆ กัน แต่ผู้ผลิตได้ ผลิตฮาร์ดดิสก์ให้แตกต่างกันสำหรับงานแต่ละแบบ เช่น Seagate ผลิตฮาร์ดดิสก์ตระกูล Barracuda สำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีราคาประหยัด และได้ผลิตฮาร์ดดิสก์ตระกูล IronWolf สำหรับ ใช้กับ NAS โดยเฉพาะ ซึ่งราคาจะสูงขึ้นบ้างแต่สามารถใช้งานติดต่อกัน 24 ชั่วโมงได้ โดยมี ระบบประหยัดพลังงานที่จะลดการใช้พลังงานเมื่อ ใช้งานน้อย ช่วยยืดอายุฮาร์ดดิสก์ให้ใช้งานได้ยาวขึ้น และจะกลับมาทำงานเต็มที่โดยอัตโนมัติเมื่อมี การเรียกใช้ พร้อมการออกแบบที่เน้นความสมดุล ที่ช่วยลดการสั่นสะเทือนจากมอเตอร์ขณะทำงาน เต็มที่ มีเซ็นเซอร์วัดระดับการสั่นสะเทือนที่มี ประโยชน์มากเมื่อมีฮาร์ดดิสก์หลายตัวใน NAS เพราะช่วยปรับการทำงานเพื่อลดการสั่นของ NAS โดยรวมลงได้ ทำให้ NAS สามารถอ่านข้อมูลได้ ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้น เมื่อซื้อฮาร์ดดิสก์ สำหรับใช้กับ NAS อย่าลืมระบุว่าต้องการฮาร์ดดิสก์ ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้กับ NAS โดยเฉพาะ เช่น ตระกูล IronWolf ในกรณีที่เป็นยี่ห้อ Seagate
กราฟแสดงอัตราเสียของฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อต่างๆ ที่เปิดเผยโดยบริษัท Backblaze ซึ่งแสดงให้เห็นว่าฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อ HGST มีอัตราเสียต่ำสุด ตามมาด้วย Seagate และ Toshiba ที่มีอัตราเสียต่ำกว่า 4%
ฮาร์ดดิสก์แบบ Enterprise ของ Seagate ที่ใช้งานได้ยาวนานขึ้น แต่ก็ราคาสูงนิยมใช้กันเฉพาะใน data center
ฮาร์ดดิสก์ยี่ห้ออะไรดีที่สุด
นอกเหนือจากการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเสีย ของฮาร์ดดิสก์แล้ว Backblaze ซึ่งมีประสบการณ์ ในการใช้ฮาร์ดดิสก์จำนวนมากและหลายยี่ห้อ เพื่อให้บริการ Cloud Storage ได้เปิดเผยข้อมูล สำคัญที่ขอถือโอกาสนำมาแสดงไว้ในที่นี้ด้วย คือ อัตราการเสียของฮาร์ดดิสก์แต่ละยี่ห้อ โดยเป็นการ รวบรวมข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เองจำนวนมากนาน 45 เดือน (จากเดือน 4 ปี ค.ศ. 2013 จนถึงเดือน 12 ปี ค.ศ. 2015) โดยเป็นข้อมูลแสดงอัตราการเสีย ของฮาร์ดดิสก์แต่ละยี่ห้อ ซึ่งยี่ห้อที่มีอัตราเสีย ต่ำสุดคือ HGST โดยมีอัตราเสียสูงกว่า 1% เล็กน้อย ถือเป็นฮาร์ดดิสก์คุณภาพสูง แต่อาจหาซื้อยากหน่อย ในประเทศไทย เพราะเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับใช้ใน data center โดยเฉพาะ และมีราคาสูง ถัดมาก็ เป็นฮาร์ดดิสก์ทั่วไปที่มีราคาประหยัดของ Seagate และ Toshiba ซึ่งมีอัตราเสียที่สูงขึ้น แต่ก็ต่ำกว่า 4% ตลอดระยะเวลา 45 เดือน โดย Seagate ก็ ผลิตฮาร์ดดิสก์สำหรับใช้ใน data center ที่ใช้งาน ได้นานเช่นกัน แต่เนื่องจากราคาเพิ่มขึ้นมากจึงไม่ได้ รับความนิยมในการใช้กับ NAS ในบ้าน
การใช้ “แฟลช” ในการเก็บข้อมูล
จากที่กล่าวข้างต้นว่า นอกเหนือจากฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้สารแม่เหล็กในการเก็บข้อมูลแล้ว มีการพัฒนา เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบอื่นที่แก้ข้อบกพร่อง ของฮาร์ดดิสก์ และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งต่อมาเรียกอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบนี้ว่า SSD (Solid State Drive) โดยพื้นฐานของ SSD มาจาก เทคโนโลยี “แฟลช” ที่คิดค้นโดยบริษัท Toshiba และแนะนำสู่ตลาดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1984 โดย Toshiba ได้ออกแบบทรานซิสเตอร์ชนิดพิเศษ เพื่อให้สามารถเก็บอิเล็กตรอนในตัวได้ แม้จะหยุด จ่ายไฟไปแล้ว และใช้การมีอยู่ของอิเล็กตรอนในการ ระบุสถานะการเก็บข้อมูลว่าเป็น 1 (มีอิเล็กตรอน) หรือ 0 (ไม่มีอิเล็กตรอน) จึงเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เก็บ ข้อมูลแทนฮาร์ดดิสก์ได้ดี
ช่วงแรกที่ Toshiba แนะนำแฟลชเข้าสู่ตลาด เนื่องจากข้อจำกัดด้านความจุที่ทำได้น้อย ความเร็วต่ำและราคาที่สูง เนื่องจากผลิตน้อย ทำให้มีการใช้งาน แฟลชอย่างจำกัด แต่ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความจุเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะการ ผลิตแฟลชใช้กระบวนการเดียวกันกับการผลิต IC (Integrated Circuit) ที่มีการพัฒนาให้มีความจุเพิ่ม ขึ้นตลอดเวลา แต่ก็ยังคงมีการใช้งานแฟลชในการ เก็บข้อมูลทั่วไปน้อย เพราะฮาร์ดดิสก์ก็พัฒนาความจุ ให้เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ทำให้ราคาต่อความจุของแฟลช ยังคงสูงกว่าฮาร์ดดิสก์มาก จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปี ที่ผ่านมาที่สมาร์ทโฟนได้รับความนิยมไปทั่วโลก ทำให้ความต้องการแฟลชเพิ่มขึ้นมากจากข้อจำกัด ด้านขนาดที่เล็กและบางของสมาร์ทโฟนที่ต้อง ใช้แฟลชในการเก็บข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถใช้ ฮาร์ดดิสก์ได้ และสมาร์ทโฟนก็เพิ่มหน่วยความจำมาตรฐานขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการเร่งพัฒนาแฟลชให้มี ความจุสูงขึ้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน ต้นทุนการผลิตแฟลชจึงลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง ปัจจุบัน SSD เริ่มทดแทนฮาร์ดดิสก์ในงานที่ต้องการ ความเร็วสูง เช่น การใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ server ในศูนย์ข้อมูลที่ SSD เริ่มมีราคาต่ำกว่าฮาร์ดดิสก์ แบบความเร็วสูง และใช้ในงานที่พื้นที่จำกัด เช่น ให้กับคอมพิวเตอร์บางมากที่เรียกว่า Ultrabook
ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์มีการพัฒนาจนถึงจุดอิ่มตัว ไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากเหมือนในอดีตแฟลชยังคงสามารถพัฒนาให้มีความจุและความเร็ว เพิ่มขึ้นได้ ทำให้ต้นทุน SSD ยังคงลดลงทุกปี ซึ่งนอกจากการใช้ SSD ในคอมพิวเตอร์แบบ Server แล้ว เริ่มมีการใช้ SSD แทนฮาร์ดดิสก์ในคอมพิวเตอร์ ที่ต้องการความเร็วสูงๆ เช่น คอมพิวเตอร์สำหรับ งานออกแบบ หรือคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม และ เชื่อว่าจะมีการนำSSD มาใช้แทนฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ซึ่งการนำSSD มาใช้เก็บไฟล์เพลงนั้น เริ่มคุ้มค่าขึ้น และเชื่อว่าจะเป็นทางเลือกหลักของ นักฟังเพลงในไม่ช้า
ภาพอธิบายการทำงานของ flash จาก blog ของนาย ICanHasPhD ที่แสดงการทำงานของ flash ว่าทำงานโดยการใช้การมีอยู่ของอิเล็กตรอนเป็นตัวระบุข้อมูลว่ามีค่าเป็น 1 โดยเมื่อต้องการบันทึกข้อมูลให้เป็น 1 จะต้องย้ายอิเล็กตรอนมาเก็บไว้ที่ Electrodeที่เนื่องจากมีฉนวนกั้น (สีฟ้า) ถึงแม้จะเลิกจ่ายไฟไปแล้ว อิเล็กตรอนก็จะค้างอยู่ที่ Electrode ไปตลอดจนกว่าจะลบออก
อายุการใช้งานของ SSD
ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ทำงานโดยมีมอเตอร์ หมุนแผ่นดิสก์ตลอดเวลาแล้วขยับหัวอ่านไปยังจุด ที่ต้องการข้อมูล ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิด การชำรุดสึกหรอ และทำให้อายุใช้งานสั้นลง ส่วน แฟลชทำงานด้วยการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนใน ทรานซิสเตอร์ที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของอุปกรณ์ เหมือนที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ อายุการใช้งานของ SSD จึงยืนยาวกว่าฮาร์ดดิสก์มาก อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการย้ายอิเล็กตรอนเมื่อมีการบันทึก ข้อมูลนั้น ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของฉนวนภายใน ทรานซิสเตอร์ได้เช่นกัน แต่เป็นการเสื่อมสภาพที่มี ระยะเวลาค่อนข้างแน่ชัด และสามารถออกแบบให้ ฉนวนมีความคงทนเพิ่มขึ้นตามต้องการได้ (ถ้าต้อง เลือกใช้ฉนวนที่มีความคงทนมากขึ้น ราคาก็จะสูง ขึ้น) ซึ่งแฟลชแต่ละแบบมีอายุใช้งานที่ชัดเจน ว่าได้ ถูกออกแบบมาให้บันทึกข้อมูลได้กี่ครั้ง โดยการระบุ อายุของแฟลชมีอยู่ 2 วิธีที่ผู้ผลิตสามารถเลือกได้ว่า จะแจ้งแบบไหน ระหว่าง 1) DWPD – Drive Writes Per Day หรือ 2) TBW – Terabytes Written
SSD แบบ internal ขนาด 2.5” แบบ SATA รุ่น 850 EVO ของ Samsung ที่มีความจุให้เลือกตั้งแต่ 250GB, 500GB,1TB, 2TB และ 4TB โดยราคารุ่น 1TB อยู่ที่ประมาณ 12,600 บาท
DWPD หมายถึงจำนวนเท่าของความจุ SSD ที่ สามารถบันทึกข้อมูลได้สูงสุดภายใต้อายุรับประกันเช่น ถ้า SSD นี้รับประกัน 3 ปี มีความจุ 1TB และ มีค่า DWPD เท่ากับ 2 จะหมายถึงสามารถบันทึก ข้อมูลได้วันละ 2TB ทุกวันตลอดระยะเวลารับ ประกัน 3 ปี ซึ่งผู้ผลิตจะออกแบบให้ SSD นี้สามารถ ทำงานได้ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว และถ้า SSD เสีย ก่อนอายุรับประกัน ถือเป็นความบกพร่องของ การผลิตที่ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนสินค้าให้ผู้ใช้
TBW หมายถึงจำนวน Terabyte ที่สามารถ บันทึกข้อมูลได้ ซึ่งเมื่อครบแล้ว ผู้ผลิตไม่รับประกัน ว่าจะใช้งานต่อได้ เช่น ถ้า SSD มีค่า TBW เท่ากับ200 จะหมายถึงสามารถบันทึกข้อมูลได้ 200TB ซึ่งเมื่อครบ 200TB แล้ว ผู้ผลิตจะไม่รับประกันว่า SSD นั้นจะทำงานต่อไปได้ (ในการใช้งานจริงอาจยัง สามารถใช้งานต่อได้ เพียงแต่ผู้ผลิตไม่รับประกันการ ทำงาน) ซึ่งตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี เพราะแสดงว่าสามารถ บันทึกข้อมูลลงไปได้มาก กว่าจะหมดอายุใช้งาน
การอ่านข้อมูลจากแฟลชทำได้ด้วยการตรวจ สอบอิเล็กตรอนว่ามีอยู่ในทรานซิสเตอร์หรือไม่ โดย ขั้นตอนการอ่านข้อมูลไม่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพแต่ อย่างใด ทำให้โดยทฤษฎีแล้วสามารถอ่านข้อมูลจาก SSD ได้ โดยไม่ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ SSD เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่เหมาะสำหรับใช้ในการ เก็บไฟล์เพลงมาก เพราะเป็นงานที่บันทึกน้อยครั้ง แต่เรียกฟังหลายๆ ครั้ง ทำให้สามารถใช้ SSD ในการเก็บข้อมูลได้ยาวนาน
สองรูปแบบของ SSD
SSD แบบExternal ของ Samsung ตระกูล T3 ที่เชื่อมต่อแบบ USB 3.1 และมีความจุให้เลือกตั้งแต่ 250GB,500GB, 1TB และ 2TB โดยรุ่น 1TB มีราคาขายปลีกที่ 14,900 บาท
แฟลชถูกนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญของ อุปกรณ์เก็บข้อมูลหลายรูปแบบ แต่สองรูปแบบ สำคัญที่เหมาะกับงานฟังเพลง และการเก็บข้อมูล คือ แบบ internal ที่ใช้มาตรฐาน SATA สามารถ นำไปใส่ในคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ หรือนำไปใส่ใน NAS แทนฮาร์ดดิสก์ได้ และแบบ external ที่เชื่อม ต่อผ่าน USB คล้ายกับ USB Drive ที่ใช้ถ่ายข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์ เพียงแต่แบบที่ใช้ SSD นี้มี ความจุสูงกว่าและทำงานได้เร็วกว่ามาก
โดยสรุปแล้ว SSD ถือเป็นเทคโนโลยีการเก็บ ข้อมูลที่เหมาะสำหรับใช้เก็บไฟล์เพลง เพราะมีอายุ การใช้งานที่ยาวนาน ไม่มีเสียงรบกวนระหว่าง ใช้งาน เพราะไม่มีส่วนเคลื่อนไหว แข็งแรงทนทาน รับแรงกระแทกได้ดี โดยมีให้เลือก 2 แบบ คือ แบบ External ที่ต่อเชื่อมด้วย USB 3.1 และแบบ internal ที่ใช้แทนฮาร์ดดิสก์ สามารถนำมาใช้คู่กับ NAS ของ Qnap รุ่น HS-251+ ที่ออกแบบสำหรับ ใช้กับงานฟังเพลงโดยเฉพาะ เพราะทั้ง SSD และ HS-251+ ทำงานเงียบกริบทั้งคู่. ADP
นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 243
No Comments