“วีรบุรุษเจ้าถิ่น” Local Hero
คงไม่เป็นการเกินเลย ถ้าจะบอกว่า Local Hero (1983, UK, Bill Forsyth) มีส่วนสำคัญต่อการเกิด โรงหนังอาร์ตเฮาส์ในเมืองไทย เท่าๆ กับที่เป็นข้อยกเว้นของข้อยกเว้น ซึ่งมีหนังเพียงไม่กี่เรื่องที่จะทำได้ถึงระดับนี้
การเข้ามาของ Local Hero ก็คงมิได้ ต่างไปจากหนังเรื่องอื่นที่หากมีคอหนังใจร้อน อยากดูให้เร็วๆ ยุคหนึ่งก็ต้องหันไปพึ่งวิดีโอ ศูนย์เช่าแบบไร้ลิขสิทธิ์ ประกอบกับการที่เป็น หนังเล็กๆ ที่ไม่มีทางเข้าตาค่ายนำเข้าหนังในเวลา ที่ออกฉายใหม่ๆ แน่ แล้วอยู่มาวันหนึ่งเทศกาล หนังอังกฤษครั้งที่สองก็ออกโปรแกรม โดยจัดวาง เรื่องนี้ให้เป็นตัวหลัก ราวเดือนกันยายน, 2527 ซึ่งเรียกคนดูได้ท่วมท้นล้นหลามแน่นห้องประชุม เอยูเอ อีกสองปีถัดมาถึงค่อยออกวิดีโอ (คราวนี้ถูก ลิขสิทธิ์ซักที) เมื่อซีวีดีเริ่มทำสัญญากับ Thorn EMI วางแบบพากย์ไทยอย่างเดียว (ใช้ชื่อ ‘วีรบุรุษเจ้าถิ่น’) ราวช่วงหน้าร้อนปี 2529 อีก 3 – 4 ปีให้หลัง ทางบริติช เคาน์ซิล ซึ่งเป็นเจ้าภาพรายเดียวกับ เทศกาลหนังอังกฤษก็ได้นำกลับมาฉายในห้อง ประชุมในที่ทำการเดิมย่านสยามสแควร์ โดยเปิด
ฉายให้ดูกันฟรีๆ ถึงสี่รอบ ประมาณกรกฎา-สิงหา 2532 โดยฉายเป็นฟิล์ม 16 มม. ซึ่งก็มีคนอยากดูอีก ไม่น้อย แล้วจู่ๆ ก็เกิดเรื่องที่ไม่เชื่อสายตา เมื่อหน้า โฆษณาไทยรัฐ ลงโฆษณาหนังเรื่องๆ เดียวกันนี้โดยมีกำหนดฉายที่โรงๆ เดียวคือ เซ็นเตอร์ 2 (บนเนื้อที่บนชั้นฟู้ดคอร์ท, ชั้น 4 สยามเซ็นเตอร์, นำเข้าโดยค่ายโอเอที่อยู่ระหว่างรีแบรนด์ดิ้งตัวเอง ด้วยชื่อ P & S Media) ด้วยชื่อทับศัพท์ ‘โลคัลฮีโร’ ราวปี 2533 ซึ่งรวมศิรินับตั้งแต่กำหนดเปิดฉาย ครั้งแรกที่เมืองนอก (17 ก.พ. 1983) จนถึงวันที่ เข้าโรงเมืองไทยก็ตกราวเจ็ดปีกว่าๆ
ที่ว่าเป็นข้อยกเว้นก็คือ แทบไม่เคยเห็นหนัง เรื่องไหนที่ออกม้วนวิดีโอแล้ว ยังจะฉายโรงได้อีก
ซึ่ง Local Hero กลายเป็นข้อพิสูจน์ที่ชัด และที่น่าทึ่งไปกว่านั้นอีกก็คือ ยังมีคนไปดูในโรงกัน มิใช่น้อยๆ ซึ่งมีส่วนทำลายมายาคติของความเชื่อ
ดั้งเดิมที่ว่า ลองขึ้นชื่อว่าหนังเล็ก แถมเป็นหนัง อังกฤษด้วยแล้วจะไม่มีคนดู เวลาเดียวกันหนังก็ ค่อยๆ เพิ่มความแมสส์ขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่หลาย คนพบเข้ากับตัวว่า หนังเรื่องนี้ให้ความป็นมิตร เหมือนได้นั่งคุยกับคนที่เพิ่งรู้จัก แต่ถูกชะตาดีพิลึก
Local Hero คงเป็นตัวอย่างของการเป็น กระแส ทว่าเป็นแบบ ‘คลื่นใต้น้ำ’ คือมาแบบ เงียบๆ ไม่โฉ่งฉ่าง พอเอาเข้าจริงๆ มีคนรู้จักกันทั่ว (ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากอัลบั้มซาวด์แทร็กผลงาน Mark Knopfler ซึ่งวางช่วงแรกๆ ไม่กี่วันก็หมด) อย่างน้อยๆ ซีรีส์ทางทีวี ‘นายบ่าวเจ้าปัญหา’ ก็ยังเคยนำโครงเรื่องมาดัดแปลงเป็นตอนๆ หนึ่ง และต่อให้ตัวหนังยังไม่เข้ามาฉายโรงเต็มรูปแบบ หนังได้กลายมาเป็นคำแทนค่าของการเป็นหนัง อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปแล้วเรียบร้อย
คนที่หลงใหลถึงขั้นรักหนังเรื่องนี้ก็มีอดีตผู้สมัครชิงตำแหน่ง ปธน. สหรัฐฯ ก่อนหน้าจะ หันมารณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อน Al Gore, ส่วน ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ (ขณะยังไม่ดำรงตำแหน่ง) เอง ก็ยังเคยเสียดสีเยาะเย้ยกระแสโลกร้อนบ้างว่าเป็น เรื่องเลอะเทอะ ว่าแล้วก็แต่งคอสเพลย์เป็นตัว ละครในเรื่อง, Felix Happer มหาเศรษฐีนักลงทุน ชาวอเมริกัน (เบิร์ต แลงคาสเตอร์) ด้วยเข้าใจ ว่าตัวละครบทนี้เป็นตัวแทนของการย่ำยีสภาวะ แวดล้อม (environmental bullying) โดยหารู้ ไม่ว่าคนอย่าง Happer แท้จริงมีแง่มุมหลากหลาย ให้เลือกมองมากกว่าที่ (ทรัมป์) คิดไว้เยอะเลย
อย่างแรกทรัมป์คงเข้าใจว่า Happer เป็น คนสั่งให้กว้านซื้อที่ดินตลอดแนวชายฝั่งหมู่บ้าน ติดทะเลในสก็อตแลนด์ ทำเป็นฐานขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งผิด! คือถ้าดูตั้งแต่แรกคงพบว่า นักบริหารอย่าง Happer แทบจะไม่สนใจธุรก่ง-ธุรกิจอะไร (ขนาด บอร์ดผู้บริหารประชุมกัน Happer ก็นั่งหลับ) ที่มา ได้ถึงขั้นนี้ก็แค่รับตกทอดมาจากรุ่นพ่อ ขณะที่ หัวใจของ Happer หันเหไปอยู่เรื่องดาราศาสตร์ ซะมากกว่า ถึงขนาดพอปลอดคน ห้องทำงานของ Happer ก็พร้อมที่จะแปลงสภาพไปเป็นหอดูดาว ส่วนตัวได้สบายๆ เวลาเดียวกัน Happer เองก็ รู้ตัวว่าที่ตนเองกำลังเป็นๆ อยู่นี้ มันย้อนแย้งในตัว ถึงได้อาศัยนักจิตวิทยา, ดร. Moritz มาทำการ บำบัดกันแบบส่วนตัว ทว่า วิธีที่หมอ Moritz นำมา ใช้รักษานี่ อยู่ๆ ไปก็ยิ่งดูเหมือนว่าตัวหมอจะ เพี้ยนซะเอง
ตัวละครแบบ(อีตา)หมอ Moritz นี่ อาจดู เหมือนส่วนที่ไม่สำคัญ ทว่า ในทางภาพยนตร์กลับ มองว่าเป็นองค์ประกอบที่มองข้ามไม่ได้ (motif) สืบเนื่องจากที่ Happer เรียกใช้หมอ Moritz เพียงเพราะ Happer เชื่อว่าตนเองยังมีข้อบกพร่อง ที่ยังไม่มีใครกล้าพูดแบบตรงๆ (ซึ่งตัวเองก็ไม่รู้ ด้วยว่า มันคืออะไร อาจจะด้วยการอยู่ในตำแหน่ง top of the food chain ของบริษัท) ซึ่งคนอย่าง ดร. Moritz อาจยังไม่ใช่ และคนที่จะเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีกว่า จริงๆ แล้วยัง ‘มี’ เพียงแค่ Happer อาจยังไม่เจอก็ได้
สังคมมักมอง Local Hero ว่าเป็นหนัง รักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งก็ถูกต้องแล้ว เพราะชายหาด หมู่บ้านสมมติในเรื่อง (ใช้ชื่อ Ferness) สวยจริง จนน่าไปเยือนให้เห็นกับตา จนจุดพิกัดที่เคย ถูกใช้เป็นโลเคชัน ขนาดของเดิมไม่มีตู้โทรศัพท์ สาธารณะแดงๆ ชาวเมือง (สถานที่จริงชื่อ Pennan) ต้องลงทุนติดตั้งขึ้นกันใหม่ทีหลัง เพราะมีแฟนหนัง ตามรอยมาถึงสถานที่ถ่ายทำเพราะเชื่อใน ความงดงามว่ายังมีให้เห็นอยู่จริง (ว่ายังไม่โดน กว้านซื้อไปทำฐานขุดเจาะน้ำมัน), มั่นใจว่า แสงเหนือก็มีให้เห็นบริเวณนั้น โดยไม่ต้องไปไกล ถึงนอร์เวย์, ศรัทธาในน้ำจิตน้ำใจของชาวเมือง โดยเฉพาะเวลาเข้าไปนั่งในผับ หรือไม่ก็อินจัดขนาด กลับไปแล้วยังมีการโทรกลับมาเข้าเครื่องในตู้แดง กันต่อ และบนความรักโลก, หวงแหนสิ่งแวดล้อม ก็ยังคงมีแง่มุมอื่นให้เลือกดูเลือกชมได้สารพัด
หนัง Local Hero ผ่านการตีความมาแล้ว อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงเวลา อย่าง ยุคที่เครื่องมือสื่อสารเริ่มจะบูมจนคนแทบจะ ไม่เคยเข้ามาสัมผัสกันแบบตรงถึงตัว (ห้องสอง ห้องที่มีกระจกกั้นกลาง แต่เรา: ตัวละครในเรื่อง ก็ยังใช้โทรศัพท์คุยกัน), ฟังก์ชันปลุกเตือนเวลา เข้าประชุมบนนาฬิกาข้อมือที่ดังขัดจังหวะเป็น ระยะ ที่ต่อให้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติก็ยังตามมา หลอนและหอนเห่าไม่เลิก เสียงจากเครื่องบิน เอฟ-16 หรือเสียงแว้นๆ จากมอเตอร์ไซค์ทะลวง ท่อต่างหากที่สมควรรับคำตำหนิ ที่ต่างก็เป็น ผลพวงทางอ้อมจากผลิตภัณฑ์น้ำมัน (เครื่องยนต์ กับการรบ หากเกิดกรณีแย่งชิงผลประโยชน์ เหนือสัมปทาน) เหล่านี้อาจดูเป็นสิ่งที่มองได้เห็น ชัดจนเกือบจะเป็นเรื่องเชย ถ้ามีใครเอาเรื่องนี้ มาพูดถึง, เขียนถึง ขณะที่สิ่งซึ่งอยู่ยั้งยืนยงกว่า ก็ยังเป็นเรื่องที่จิตใจสัมผัสได้อย่างดนตรี (ของ Knopfler), ความสะอาดตาของคลื่นและโขดหิน ตลอดจนปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างแสงเหนือ ซึ่งสยบทุกความขัดแย้งในเรื่อง จนกระทั่งกลาย มาเป็นพระเอกตัวจริงและอยู่คงกระพันตลอดกาล เพราะมีให้เห็นเป็นประจำถ้าไปให้ถูกเวลา
บริษัทน้ำมัน Knox Oil and Gas เล็งเห็น ผลประโยชน์เหนือหาดทรายและชายฝั่ง เกิด จากการย่ามใจ หลังประสบความสำเร็จจากบ่อ ที่เวเนซูเอลามาหมาดๆ เพราะถ้าแปลงเป็นนิคม อุตสาหกรรม หมู่บ้าน Ferness ในเรื่องก็คงไม่ต่างอะไรกับมาบตาพุดหรือเกาะสีชัง ธรรมชาติ หายไป แต่สิ่งที่ได้กลับคืนมาคงหนีไม่พ้นห้าง, รีสอร์ต ตามติดมาด้วยบรรดาเจ้าพ่อมาเฟียและ อาชญากรรม เช่นเดียวกันกับที่เมืองฮิวส์ตัน, ที่ตั้งของตัวบริษัท Knox Oil ที่คงไม่มีใครนึกภาพ ออกว่า ครั้งหนึ่งวันที่ธรรมชาติเองก็เคยโอบล้อม (ณ จุดที่เคยเป็นที่ตั้งของ) เมืองฮิวส์ตัน ว่ามี ความน่าอยู่แค่ไหน ซึ่งสุ ดท้ายภาพๆ นั้นก็ หายไป แล้วถูกแทนที่อย่างที่เห็นๆ กัน เมื่อทรัพยากรยัง ต้ องอยู่ ภายใต้ วงจร ‘หามา-ใช้ ไป-หมดแล้ ว-หาใหม่ ‘ไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด แคมเปญรักษ์โลกสุดท้ายก็ คงไม่ต่างอะไรกับการยืดเวลาของวันที่ธรรมชาติ ยังไม่ถูกย่ำยี แล้วถูกแทนที่โดยระบบการผลิต ภายใต้สังคมอุตสาหกรรม ซึ่งวิธีที่จะรักษาให้อยู่ ในสภาพสมบูรณ์ตามเดิมครบร้อยเปอร์เซ็นต์ได้ จริงก็คือ ที่ตรงนั้นต้องไม่ถูกค้นพบ
นั่นคือที่เราออกมาเรียกร้องเรื่องภาวะ โลกร้อนจนกลายเป็นวาทกรรมร่วมสมัยที่ใครๆ ก็พูดได้ สุดท้ายเราหาคำตอบให้ตัวเองพบแล้ว หรือยังว่า แท้จริงเราต้องการอะไรแน่ ระหว่าง…
ก. ธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย ขณะเดียวกัน เราเองก็ยังต้องกิน, ต้องใช้, ต้องบริโภคไปกับ ทรัพยากรที่บางครั้งก็ได้มาด้วยการแก่งแย่ง หรือ…
ข. เราตอบตัวเองได้หรือเปล่าว่า เราต้องการ อะไรมากกว่า ระหว่างวันเก่าๆ ดีๆ เมื่อธรรมชาติ, ท้องทะเล, ชายหาด ยังอยู่ในสภาพที่ยังไม่ถูก ทำลาย หรือป้องกันมิให้อะไรที่มีอยู่แล้วจะ ร่อยหรอลง นั่นก็แปลว่าเรากำลังถวิลหาภาพ ในอดีตมากกว่าเรื่องของการระวังรักษาทรัพยากร
ในหนังมีการใส่รายละเอียดที่เสี่ยงต่อการ ถูกมองข้ามอย่างตัว ‘กระต่ายป่า’ ที่โดนรถชน โดยบังเอิญระหว่างหมอกลงจัดจนมองไม่เห็นทาง เรียกได้ว่าเป็นการต้อนรับจากธรรมชาติถึง นายแม็ค แม็คอินไทร์ (Peter Riegert), พนักงาน สำรวจของบริษัท Knox เข้าสู่หมู่บ้าน Ferness ขั้นแรกแม็คอินไทร์รับไว้เลี้ยงดูจนกว่าจะหาย แถมมีการตั้งชื่อให้เสร็จ คือนั่งมากันสองคน เป็นตัวแทนของสาขาที่อาร์เบอร์ดีน ชื่อ แดนนี่ โอลเซน (Peter Capaldi) โดยแม็คตั้งให้ชื่อ (แฮร์รี่), โอลเซนตั้งให้อีกชื่อ (ทรูดี้) จนกระทั่ง เช้าวันหนึ่งแม็คถึงค่อยพบว่า มื้อเช้าที่มีชื่อเป็น คำฝรั่งเศสว่า Escragot de Lapin นั้น ข้างในคือ กระต่ายป่าเคราะห์ร้ายตัวนั้น
กระต่ายป่าบอกอะไรให้เราทราบทางอ้อม ได้บ้าง สมมติ กระต่าย คือสิ่ง (มีชีวิต) ที่อยู่กับ ธรรมชาติดีๆ วันหนึ่งคุณไปรุกรานเขา (บังเอิญ ขับรถชน) คุณเข้าไปโอบอุ้มเขาด้วยความ ทะนุถนอม จนกระทั่งวันหนึ่งคุณถึงค่อยมาพบ ทีหลังว่า ธรรมชาติที่คุณเฝ้าหวงแหน คุณก็ต้อง บริโภคมันเข้าไป ทั้งที่รู้ตัว แล้วก็ไม่รู้ตัว แถมคน นำไปปรุงแล้วเสิร์ฟวางใส่จานก็ไม่มีความผิดด้วยซึ่งแรกๆ เราอาจสงสารน้องแฮร์รี่ | ทรูดี้ โดยคน ที่จับมาปรุง หนังก็ไม่ได้ให้ร้าย, แม็คอินไทร์เอง ก็ไม่ถือโทษ (หนำซ้ำอยู่ไปนานๆ ยังมีท่าที แอบชอบในใจเสียด้วยซ้ำ)
แค่นี้ Knox Oil ก็ไม่ผิด, แม็คอินไทร์เอง ก็มิใช่อาชญากร ขณะที่คนซึ่งจับกระต่ายป่ามาทำเป็นอาหาร (สเตลลา) ในเรื่องก็อยู่ภาคประชาชน สิ่งที่ทำให้ Local Hero มีเสน่ห์จนเป็นที่รักใคร่ ของใครหลายคนจึงอยู่ที่การไม่กล่าวโทษฝ่ายไหน ว่าเป็นตัวการทำร้ายธรรมชาติ เมื่อคนทุกคนดูมี ความเป็นมิตรจนทำให้หนังเรื่องนี้ไม่มีผู้ร้าย แม้แต่ Happer หนังก็แยกคาแร็กเตอร์ออกจากวังวน cliche ของการเป็นตัวโกง ด้วยการสวมหัวใจ ของนักดาราศาสตร์ใส่เข้าไปในร่างของนักลงทุน แทน ขณะที่คนซึ่งดูจะมีความเป็นนักธุรกิจเสียยิ่ง กว่า Happer กลายเป็นตัว Gordon Urquhart (Dennis Lawson) ที่คนเดียวเหมาทำมันซะ เกือบหมดจนดูเป็นการผูกขาด (เปิดบ้านทำเป็น โฮมสเตย์, พ่อครัว, นักธุรกิจตัวแทนชาวบ้านที่ แม็คอินไทร์ต้องเข้าไปเจรจา) คือถ้าจะหาคนที่ หิวเงินมากเกินกว่าใครก็คงพอเห็นตัวกันแล้ว แต่สุดท้ายด้วยความรอบด้านที่ Urquhart มีอยู่ กลับดูแล้วน่าทึ่งมากกว่าที่จะขึ้งโกรธ ขณะที่ดาวร้าย ซึ่งสร้างความรำคาญให้คนดูเป็นระยะๆ กลับเป็น สิ่งไม่มีชีวิต (แม้จะมีคนขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง) อย่างมอเตอร์ไซค์แว้นกับเครื่องบินเอฟ-16
ธรรมชาติสองอย่างที่เชื่อมร้อยหมู่บ้าน (ซึ่งสมควรเรียกชื่อใหม่ว่าเป็น ‘หมู่บ้าน Utopia’ มากกว่า) เข้าไว้ด้วยกันจะมี ‘ท้องทะเล’ แล้วก็ ‘หมู่ดาว’ ซึ่งก็ไม่แน่ใจนะครับ ว่าเป็นความบังเอิญ หรือเป็นเรื่องจงใจที่หญิงสาวผู้ซึ่งเป็นเหมือนแรง ผลักทาง sexual drive ของหมู่บ้านมีด้วยกัน สองคนคือ คนแรกเป็นนักสมุทรศาสตร์ประจำสถานีวิจัยเครือข่ายของ Knox Oil ชื่อ ‘มารีน่า’ (Alice Kreig) ซึ่งแค่เปิดตัวช็อตแรกเท่านั้นก็หยุด หัวใจสองหนุ่มผู้มาเยือนด้วยชุดว่ายน้ำวันพีซ ที่แม้ ไม่เน้นสัดส่วน ทว่าสะกดสายตาด้วยความใสกิ๊ง กับอีกสาวที่เริ่มต้นจะตรงข้ามกับมารีน่าอยู่หน่อย ก็ตรงที่เธอมีคนข้างกายแล้ว (คือเจ้า Urquhart) ซึ่งในอีกแง่มุม คุณสมบัติตรงนี้กลายเป็นข้อ ได้เปรียบ และยังมีส่วนกระตุ้นจินตนาการให้มโน ไปไกลถึงความเร่าร้อนถึงประสบการณ์ในที่ลับตา ก็คือ ‘สเตลลา’ ซึ่งชื่อของสองคนนี้มีความหมาย ตรงกับเอกลักษณ์ในถิ่นที่เธออยู่พอดีคือ ‘marina’ (ท้องทะเล) กับ ‘stella’ (หมู่ดาว)
สาวสองคนจะว่าเป็นสาวเรียบๆ พื้นๆ ก็คง ไม่ผิด แต่ในอีกด้านหนึ่งการใส่บทสองคนนี้เข้า มากลับมีส่วนขับเคลื่อนให้หนังดูไปไกลเกินกว่า การเป็นหนังโลกสวยก็ตรงที่ยิ่งดูไปๆ มารีนาก ลับมีแง่มุมที่ลึกลับ เพราะเธอมักอยู่กับผืนน้ำมากกว่าบนบก (ถามบ้านช่องอยู่ไหน เธอก็ตอบ ไม่ได้) และในซีนที่เจ้าโอลเซนนั่งจีบมารีน่าก็พลัน เห็นนิ้วเท้ามีพังผืด พอเธอดำดิ่งลงไปใต้ท้องทะเล เราก็ไม่เห็นมารีน่าขึ้นมาอีกเลย แต่โครงการสร้าง ศูนย์วิจัยทางมหาสมุทรกลับผุดขึ้นมาแทน
ท้องเรื่องเค้าจับมารีนาเข้าคู่กับโอลเซน แล้ว ให้สเตลลาคู่กับแม็คอินไทร์ เพราะอยู่ไปเรื่อยๆ คนที่มาจากภาคธุรกิจอย่างแม็คอินไทร์เริ่มจะ ปล่อยตัว, หนวดเคราเริ่มขี้เกียจโกน ปล่อยให้ขึ้น เองหรอมแหรม, ทำตัวกลมกลืนกับชาวบ้านมากขึ้น ส่วน Urquahart ซะอีกที่ดูจะกระตือรือล้นเรื่อง เงินๆ ทองๆ และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จาก บ่อน้ำมัน หลังไล่ที่สำเร็จ (เป็นเปอร์เซ็นต์จาก ผลประกอบการ ซึ่งพูดตามตรง นี่ก็โลกสวยและ หาความเป็นไปได้ยาก เพราะหลักการเจรจา หลังจากทุ่มเงินก้อนเสร็จ ทุกอย่างก็จบ) กลาย เป็นว่าคนที่ขนาบข้างสเตลลาจะเริ่มสลับที่กัน
ที่ Knox Oil เจาะจงเลือกแม็คอินไทร์เป็น ตัวแทนมาเจรจา มาจากเหตุผลง่ายๆ แฝงมายา คติ แค่ดูที่นามสกุลว่า ถ้าเห็นใครมีคำว่า ‘แม็คๆ’ ก็ต้องแปลว่าต้องมีเชื้อสาย สก็อต ซึ่งไม่แน่เสมอไป เพราะแม็คเองยังบอกว่าพ่อ เค้าเป็นคนตั้งขึ้นมา หลัง อพยพจากฮังการี เพียงเพราะ มันฟังดูเป็นอเมริกันๆ ดี ขณะ ที่ Happer เองก็แทบมิได้มี ส่วนเกี่ยวข้องในทางตรงกับ Knox Oil มาแต่เก่าก่อน แค่ มีพ่ อไปเซ้ งกิ จการเค้ามาอี กที ส่วนเรื่องที่ว่า Knox Oil จะ ได้มาตั้งฐานขุดเจาะน้ำมันกันที่แนวชายหาดหรือเปล่า ขึ้นอยู่กับคนเพียงคน เดียวจริงๆ คือ ตาเฒ่าเบ็น
ในหนังสือชีวประวัติ David Puttnum, โปรดิวเซอร์คนสำคัญที่ตัวเขากับหนังเรื่องนี้กลาย เป็นสิ่งที่แทบจะแยกกันไม่ออกได้บันทึกเบื้องหลัง ถึงวันที่หนังเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นได้ก็ด้วย คนๆ เดียวที่ถึงกับยกขึ้นมาเป็นตัวนำอันดับแรก สุดก็คือ ตัวนักแสดงบท เฒ่าเบ็น, Fulton McKay (‘แม็ค’ ที่เห็นในนามสกุลอันนี้ของแท้กว่า) และที่ ยิ่งกว่านั้นคือ เฒ่าเบ็นเองก็ดันมีนามสกุล Knox (หรือ Ben Knox) ตรงตามชื่อบริษัทน้ำมันซะอีก แต่ต่างกันที่เฒ่าเบ็นกลับปฏิเสธ Knox ขณะที่ คนอื่นเค้ายอมกันไปเกือบหมดแล้ว และสคริปต์ (ก็ของ Forsyth อีกเช่นกัน) ที่วางแบ็กกราวด์ ให้เฒ่าเบ็นมีหัวใจของนักดาราศาสตร์เข้าให้อีก ซึ่งก็ยิ่งมีความใกล้เคียงกับ Happer จนเวลาที่พบ กันจริงๆ ถึงได้ดูเหมือนกับได้มาเจอคนประเภท เดียวกัน ทว่าอยู่กันคนละฝั่งทะเล
เฒ่าเบ็นคือคำตอบให้กับ Happer เส้ นเรื่อง ถึงได้กำจัด ดร. Moritz ทิ้ง แล้วสร้างคาแร็กเตอร์ เฒ่าเบ็นเข้ามาแทนที่ อย่างน้อยๆ ก็เป็นคนที่ ทำให้ Happer รู้ว่าส่วนที่ขาดหายไปของชีวิต กับสิ่งที่กำลังตามหาอยู่คืออะไร ข้างหนึ่ง (บอร์ด ผู้บริหาร) อาจมองว่ามันคือบ่อน้ำมัน ทว่าเฒ่าเบ็น เสียอีกที่เข้ามาเพื่อเปิดโลกให้ Happer ตาสว่าง เห็นลู่ทางที่จะเข้ามาทำประโยชน์บนแผ่นดิน ผืนเดียวกันของชายหาดเลียบฝั่งทะเลตลอดแนว ในหมู่บ้าน Ferness อันเงียบสงบว่ามิใช่จำกัดอยู่ แค่ฐานขุดเจาะน้ำมัน และตัวกลางที่เข้ามามีส่วน เชื่อมร้อยผู้เฒ่าสองสถานะที่อยู่กันคนละทวีปได้ สนิมสนมกลมเกลียวก็คือ ปรากฏการณ์แสงเหนือ (aurora) หรือที่มีคำเรียกเป็นชื่อเทศกาลประจำหมู่บ้านก็คือ celidh
ที่น่าแปลกก็คือ นานๆ เข้าชาวบ้านส่วนหนึ่ง เริ่มที่จะมีอาการ ‘หิวเงิน’ ไปตามวาทศิลป์หว่านล้อม โดย Urquhart เพราะแทนที่จะต่อต้าน Knox Oil ก็หันไปเปิดบ้านรอรับการเข้ามาบุกรุกของ ทุนสามานย์จากภายนอก เหมือนเห็น Knox Oil เป็นฟ้ามาโปรด ในทางกลับกันก็หันไปมองคน พื้นที่อย่างเฒ่าเบ็น จนชาวบ้านรวมตัวจนเกือบจะ เป็นม็อบไล่ที่ (ซึ่งน่าขำก็ตรงถิ่นที่อยู่ของเฒ่าเบ็น มีแค่กระต๊อบเล็กๆ ทว่ามีผลกระทบกับข้อสัญญา จนที่ดินอาจไม่มีความเป็นหนึ่งเดียว)
เฒ่าเบ็นดูราวกับว่าจะเอาตัวเองเข้ามา รองรับแรงกดดันจากคนเกือบทั้งหมู่บ้านแทน Happer คือ ถ้า Forsyth ทำให้ดาร์คกว่าที่เป็นอยู่ รูปการณ์จะออกมากลายเป็นเรื่องของการ bully ที่ภาคประชาชนกระทำต่อกัน (คนทั้งหมู่บ้านก่อ ม็อบไล่คนเพียงคนเดียว เพื่อรักษาผลประโยชน์ ที่ไม่รู้ว่าจะมาถึงจริงเมื่อไหร่ โดยที่เจ้าของทุน นั่งเฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร) ซึ่งถ้าทำจริง หนังอาจ ไม่เป็นที่รักของใครต่อใครถึงขั้นนี้ สุดท้ายก็ ต้องหาทางออกด้วยวิธีเหมือนกับให้เทพซักองค์ มาแทรกแซง (divine intervention)
ที่ฮามากคือมีการให้ Happer พูดว่า “นี่ไม่ต้องมาตั้งแถวรอรับฉันขนาดนี้ก็ได้” ซึ่งพอ มาถึงซีนนี้ปุ๊บก็รู้สึกได้ว่าทำไมเค้าถึงวางโจทย์ เรื่องแสงหนง-แสงเหนือ, เพราะอะไรที่เค้าถึงให้ มหาเศรษฐี Happer มีใจให้กับดาราศาสตร์และ ปรากฏการณ์ธรรมชาติมากกว่าธุรกิจขุดเจาะ น้ำมันและวางท่อก๊าซธรรมชาติและการเข้ามา ของ Happer (ตัวเป็นๆ) ก็เป็นไปเพื่อให้ทุกอย่าง จบลงด้วยดี เพราะไม่ว่าจะดีหรือร้าย สุดท้ายโลก ก็ยังต้องขับเคลื่อนต่อ แม้จะด้วยพระเจ้าเงินตรา ทว่าเป็นทางออกที่ได้กันทุกฝ่าย, วิน-วินด้วยกัน ทั้งชาวบ้าน (ก็ไม่รับผลกระทบ) และ Happer (ถ้าอยากเสียเงินลงทุนก็ได้ลงสมความตั้งใจ แต่ จะเพื่อการไหนนั้นอีกเรื่อง)
ล่าสุด Local Hero ได้ถูกนำมาดัดแปลง เป็นละครเพลง ซึ่งได้รับคำชมท่วมท้นไม่น้อยไป กว่าเวอร์ชันหนัง ซึ่งก็มีส่วนต่อยอดให้เรื่องราว และหัวใจของเรื่องยังไม่ถูกลืม เหมือนกับพอดู ละครก็อยากหาฉบับหนังมาเปิด เทียบ, เพลงที่อยู่บนเวทีก็น่าจะ เพิ่มความโดดเด่นไปกับการถูกนำมาใช้อย่างมีศักดิ์ศรี (โดยเฉพาะ That’s the Way We Always Start กับ Going Home, ผลงาน ของ Knopfler ที่พอเพลงขึ้นที ก็แทบยืนตัวตรงกันเลยทีเดียว) ขณะที่ความเป็นจริงภายนอก โลกและธรรมชาติก็ยังโดนทำลาย ต่อไปเรื่อยๆ เหลือไว้แต่ ‘ภาพจำ’ ซึ่งอยู่ในรูปของสื่อบันเทิง. VDP
ค่ายหนังแผ่นคุณภาพ Criterion Collection ทยอยออกบลูเรย์หนังคลาสสิกและระดับขึ้นหิ้ง อย่างเช่น Fists in the Pocket (1965), The Cloud-Capped Star (1960), Cluny Brown (1946), Polyester (1981), The Circus (1928) และ Local Hero (1983) เรื่องหลังนี้เป็นหนังเล็กๆ อัดแน่นด้วยคุณภาพคับจอ เป็นที่ชื่นชอบของ “คอมูฟวี่เลิฟเวอร์” มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อต้าน นายทุนที่ต้องการซื้อที่ดินของหมู่บ้านชาวประมง เล็กๆ พื้นที่ชายฝั่งทะเลแห่งหนึ่งที่มีแหล่งน้ำมัน ในประเทศสก็อตแลนด์ เพื่อสร้างแท่นขุนเจาะ น้ำมัน ท่าเรือ และโรงกลั่น หนังนำเสนอเนื้อหา สาระได้อย่างยอดเยี่ยม สร้างความประทับใจ ผลงานของผู้อำนวยการสร้างมือทอง เดวิด พัตนัม (Melody, Stardust, Bugsy Malone, Midnight Express, Chariots of Fire, The Killing Fields, Cal, The Mission ฯลฯ) ปัจจุบันได้รับบรรดาศักดิ์ เป็นท่านลอร์ด
เดวิด พัตนัม อยู่ในวงการภาพยนตร์มาเป็น เวลานาน ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 60 เรื่องแรก Melody หนังรักวัยรุ่น Puppy love เมื่อปี 1971 กำกับโดย Alan Parker ซาวด์แทร็ก ไพเราะมากเป็นผลงานของ Bee Gees เขาสร้าง หนังเรื่อยมาจนเกษียณ และได้หันไปร่วมรณรงค์ เพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้งเรื่องการศึกษาสื่อ ภาพยนตร์, อุตสาหกรรม และการอนุรักษ์สภาพ แวดล้อม เหมือนในเรื่อง Local Hero เคยมาเยือน กลุ่มประเทศในอาเซียน ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และ พม่า ในฐานะผู้แทนการค้าของอังกฤษ
ลอร์ด เดวิด พัตนัม เชื่อในพลังของ ภาพยนตร์ที่จะสอนและสร้างแรงบันดาลใจนั่นเอง
Local Hero กำกับโดย Bill Forsyth นำแสดงโดย ปีเตอร์ ไรเกิร์ต, เดนิส ลอว์สัน, เบิร์ต แลงแคสเตอร์ และฟุลตัน แม็กเคย์ ผมเคยดู ครั้งแรกตั้งแต่สมัยที่เป็นม้วนวิดีโอ VHS ช่วงที่หนัง เข้ามาฉายที่ AUA (สมาคมนักเรียนเก่าอเมริกา) ไม่ได้ไปดู ซึ่งคุณมโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ ขยาย ความให้อ่านกันไปแล้วในช่วงแรก
คราวนี้มาว่ากันในส่วนของผมที่ชื่นชอบเป็น พิเศษคือ งานดนตรีประกอบ (Soundtrack) โดย ฝีมือของ Mark Knopfler อย่างที่บอกไว้ ผมชอบ ผลงานดนตรีที่เป็น Soundtrack หนังมากกว่า งานในนามของวง Dire Straits หรือโซโล่อัลบั้ม เสียอีก อาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยชอบเสียงร้องของ มาร์ค นอฟเลอร์ เหมือนกับเสียงคนบ่นมากกว่า ร้องเพลง และที่สำคัญผมเป็นคนที่ชอบดูหนังด้วย ผลงานดนตรีประกอบหนังแบบนี้เข้าทาง สกอร์ธีม ดนตรีที่ใช้เครื่องสายแบบไอริชเป็นเอกลักษณ์เป็น แนวถนัดของ มาร์ค นอฟเลอร์ อยู่แล้ว
งานดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่องแรกของ มาร์ค นอฟเลอร์ ที่หันมาทำเพลงประกอบหนัง บ้าง ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง ทำได้อย่างยอดเยี่ยม มาร์ค นอฟเลอร์ ใช้บทสรุปของหนังด้วยเพลงบรรเลง อันไพเราะ Going Home เป็นเพลงที่หลายๆ คนชื่นชอบกันรวมทั้งผมด้วย หลังจากนั้นก็ตาม มาติดใจเรื่อง Cal (1984), Comfort and Joy (1984), The Princess Bride (1987), Last Exit to Brooklyn (1989), Wag the Dog (1998), Metroland (1999) ,A Shot at Glory (2002) และ Altamira (2016) ร่วมกับ Evelyn Glennie เรียกว่า มาร์ค นอฟเลอร์ เอาดีทางนี้ได้เลย ต้องบอกก่อนว่า สำหรับค่าย The Criterion นั้น เลือกเน้นหนังฝั่งยุโรปหรือญี่ปุ่น ระดับคุณภาพ คับจอเป็นหลัก ไม่ใช่พวกหนังบล็อกบัสเตอร์ที่ หาดูที่ไหนก็ได้
ค่าย Criterion Collection รีมาสเตอร์ บลูเรย์มาจาก 2K โดย Chris Menges ได้อย่าง น่าประทับใจ โดยเฉพาะแสงและสีนั้น ค่อนข้าง โดดเด่นมาก การชมภาพยนตร์ในแบบคุณภาพ ความละเอียดสูง หลังจากหลายปีที่ผ่านมาจึงเป็น เรื่องที่น่าดีใจมาก ภาพนั้นมีความลึก รายละเอียด ชัดเจนภาพ เคลื่อนไหวลื่นไหลยังเป็นสิ่งที่ต้องการ หากดูบนหน้าจอโปรเจ็กเตอร์ขนาดใหญ่ขึ้น เรียกว่า ไม่มีร่องรอยในการปรับภาพแบบดิจิทัล จึงมีความ โดดเด่น ไม่มีร่องรอยขีดข่วน คราบจุด หรือภาพ ไม่สมบูรณ์ให้เห็น นับเป็นภาพยนตร์คุณภาพ สำหรับคอโฮมเธียเตอร์ประเภทดูหนังเพื่อเน้น เรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 หรือ Dolby Atmos อะไรแบบนี้คงไม่ถูกใจกับเสียงโมโน LPCM Mono ดั้งเดิมตามสไตล์ของค่าย Criterion ที่ยังคงรักษา ระบบเสียงต้นฉบับให้เหมือนของเดิมมากที่สุด แต่ยังดีที่มีค่าย Spirit Entertainment จากอังกฤษ ออกบลูเรย์แผ่นโซน Region B มาด้วย ให้ระบบ เสียง LPCM 2.0 (48kHz, 24-bit) และ DTS-HD Master Audio 5.1 (48kHz, 24-bit) คุณภาพของ ภาพใกล้เคียงกันเป็นทางเลือกแฮะ. VDP
No Comments