รีวิว NOTTINGHAM ANALOGUE STUDIO ACE SPACEDECK
นพ.ไกรฤกษ์ สินธวานุรักษ์
ใช่ครับ We are an audiophile ถึงแม้ว่าจะห่างหายจากเครื่องเสียงไปบ้าง แต่ก็ต้องกลับมาเล่นเมื่อมีเวลาเสมอ ถึงผมจะห่างหายจากการรีวิวเครื่องเสียงไปบ้าง อะไรบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้หยุดในการเล่นเครื่องเสียงแนวอะนาล็อก ทั้งแผ่นเสียงและมาสเตอร์เทป รวมไปถึงซีดีธรรมดาๆ ด้วย เมื่อแอบหายไป นานก็ย่อมต้องโดนท่าน บก. ลงแส้ให้ทำการบ้านบ้างเป็นธรรมดา การบ้านที่ผมเลือกจะทำก่อนคือ เครื่องเล่นแผ่นเสียงตัวนี้แหละครับ Nottingham Analogue Studio: Ace Spacedeck
Nottingham Analogue Studio เป็นแบรนด์ที่ผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงอย่างเดียวมา ยาวนานไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี (เริ่มปี 1970) โดย Tom Fletcher ผมไม่แน่ใจว่าตัวของทอมมีความ ชื่นชอบดาราศาสตร์ หรืออวกาศ อย่างไร หรือเปล่า เพราะโลโก้เดิมเป็นรูปคล้ายดาวเสาร์ และชื่อเครื่องเล่นแผ่นเสียงแต่ละรุ่นสมัยก่อนก็ แนวอวกาศทั้งนั้น เช่น Horizon, Spacedeck, Hyperspace ผมรู้จักตัวเป็นๆ ของเทิร์นฯ ยี่ห้อนี้ น่าจะสิบกว่าปีมาแล้วที่ร้านสวนเสียง สมัยก่อน เทิร์นฯ อังกฤษ ที่โด่งดังก็มี Linn LP12, Rokzan, Avid, Rega แล้วก็ Nottingham Analogue นี่แหละครับ รุ่นเล็กสุดชื่อรุ่น Horizon (คุณวุฒิศักดิ์ เคยรีวิวไปแล้วใน Audiophile ฉบับที่ 257) ถัดมาก็คือรุ่นที่โด่งดังที่สุด สร้างชื่อให้กับ แบรนด์นี้ก็คือ รุ่น Spacedeck นี่เอง (ปัจจุบันนี้ ก่อนถึงรุ่น Spacedeck จะมีรุ่น Interspace Jr มาคั่น) และขณะนี้ก็ได้ออกรุ่นอัพเกรดมาเป็น รุ่น Ace Spacedeck ที่ผมเพิ่งได้มาทดสอบ นี่แหละครับ
ACE SPACEDECK
หน้าตาของ Ace Spacedeck นั้น ดูผิวเผิน แทบแยกไม่ออกกับ Spacedeck รุ่นปกติเลย ตัวเครื่องประกอบไปด้วยแท่น (น่าจะเป็น MDF) สี่เหลี่ยมเคลือบเงาอย่างดี รองรับตัวเทิร์นฯ สามขาแบบ plinthless design สิ่งที่แตกต่างไป จาก Spacedeck เดิมๆ คือ เปลี่ยนวัสดุ arm base และ motor housing จากอะลูมิเนียมมา เป็นเหล็กกันสนิม ทำให้มีมวลเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว (เคลมว่าทำให้การทำงานนิ่งขึ้น) และ main bearing ที่พัฒนาขึ้น ทำให้ตัวแท่นมี background silence ดีขึ้น ตรงนี้ต้องขออธิบาย นิดหนึ่ง Tom Fletcher เขาอธิบายไว้ว่า… เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ดี นอกจากจะให้เสียงดนตรี ที่ดังได้แล้ว ในช่วงเบา หรือช่วงเงียบระหว่าง การเล่นดนตรีต้องสามารถทำได้ดีด้วย จังหวะ ที่ดนตรีลดระดับลงมาแผ่วเบาสุด และในเสี้ยว วินาทีต่อมาก็ดังขึ้นอย่างฉับพลัน เครื่องเล่น แผ่นเสียงที่ดีต้องทำให้ได้ ดังนั้น background silence จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และนี่คือที่มาของ การพัฒนา main bearing ให้มีความเงียบมากขึ้น เพื่อสามารถแสดง dynamic range ของเพลงได้ ดีกว่า Spacedeck รุ่นเดิมในอดีต
SETUP
การ setup เครื่องที่เป็นแบบ non suspension นั้นทำได้ไม่ยากนัก ใช้เวลาตั้งแต่เริ่มต้น แกะกล่องจนกระทั่งมีเสียงประมาณ 30 นาที เริ่มต้นในการ set ก็ต้องไล่ระดับตั้งแต่ฐานล่างของ แท่นขึ้นมา เริ่มต้นขายางล่างสุดของแท่น ผมใช้ Sound Damped Dteel Feet รองไว้ข้างล่างฐาน เพื่อป้องกันแรงสั่นสะเทือนจากด้านล่างที่จะขึ้นมา สู่แท่น (ข้อมูลของ SDS Feet ตามนี้ครับ https://soundeck.bigcartel.com/product/round-stainless-steel-black ปัจจุบันมีตัวแทนจำหน่าย ในบ้านเราแล้ว ลองเข้าชมได้ที่ soundeckthailand.com ครับ) เมื่อฐานล่างได้ระดับแล้ว ต่อมา ก็ตัวแท่นเครื่องเล่นแผ่นเสียง ซึ่งมีสามขา (ด้านหน้า, ด้านฐานอาร์มทางขวา และด้านมอเตอร์ทางซ้าย) เราสามารถปรับระดับของตัวแท่น และ platter ได้ โดยปรับความสูงต่ำของขาแท่นสองขา ตรงด้านหน้า หรือตรงฝั่งมอเตอร์ (ขาด้านฐานอาร์มจะ fix หมุนสูงต่ำไม่ได้) เมื่อได้ ระดับดีแล้วก็ใส่น้ำมัน oil bearing ปริมาณ ประมาณ 0.5 ซีซี แล้วค่อยหย่อน platter ให้มัน set ตัว ตัว platter ทำจากโลหะหนักมากพอ สมควร มีวัสดุยาง damping โดยรอบ และมี rubber ring อีกสองเส้นช่วย damp อีก
เครื่องที่ผมได้รับมาทดสอบติดตั้งอาร์ม 12 นิ้ว รุ่น Ace Space arm มาจากบริษัท ระยะ pivot to spindle distance อยู่ที่ 294 มิลลิเมตร เครื่องสามารถติดตั้งอาร์มที่สองได้ตรงจุดฝั่ง มอเตอร์ โดยเราต้องเปลี่ยนขาของแท่นจากแบบ fix มาเป็นแบบปรับความสูงได้ และวาง arm board adaptor ลงไป (ต้องซื้อเพิ่ม) และจะต้องเปลี่ยนตำแหน่งวางมอเตอร์จากจุด 11 นาฬิกา มาอยู่ที่ 8 นาฬิกา (สมมติว่า platter เป็นหน้าปัดนาฬิกานะครับ)
การ setup alignment หัวเข็ม จะทำหลัง จากเราตั้งน้ำหนักแรงกดหัวเข็มตามสเปกของหัว (ผมตั้ง 1.9 กรัม สำหรับหัวเข็ม Benz Micro SL Wood) ทางเขามี protractor มาให้เราเซ็ต ทำได้ ง่ายๆ โดยการวางแผ่น setup โดยให้แนวลูกศร ชี้ตรงไปทาง pivot ของอาร์ม ผมใช้เชือกเส้นเล็กๆ ลากเป็นแนวจากปลายลูกศรไปยังแกนหมุนอาร์ม แล้วหมุนแผ่นให้เส้นแนวลูกศรขนานกับเชือกให้ มากที่สุด จากนั้นก็ fix ตัว platter ไม่ให้หมุน (ตรงนี้สำคัญมาก ถ้า platter ขยับตอนเซ็ตหัวเข็ม อาจทำให้ปลายเข็มเสียหายได้) แล้วก็ทำการปรับ overhang และ offset angle บนจุดและแนว ตารางที่ให้มา (ช่วงแรกใช้หัวเข็ม Benz Micro ใน การเซ็ต)
ขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลาสักหน่อย เนื่องจาก ตัวอาร์มไม่มีหูเกี่ยวยกหัวเข็มขึ้นลงเหมือนอาร์ม ยี่ห้ออื่น และตัว arm cue ก็ไม่ได้มี silicone damp การขึ้นลงของอาร์มให้นิ่มนวล ต้องค่อยๆ ประคองอาร์มวางขึ้นลงเองด้วยมือ เมื่อตั้งเสร็จ แล้วก็มาเช็คระดับความสูงอาร์ม และปรับระดับ VTA ให้เริ่มต้นที่จุดอาร์มขนานก่อน การปรับก็ทำได้ด้วยการคลายสกรูหกเหลี่ยมที่ฐานอาร์ม แล้วหมุนปรับสกรูอีกตัวที่ค้ำยันอาร์มให้ตัวอาร์ม ขึ้นสูงลงต่ำตัวกลไก antiskating ก็เป็นแบบก้านง่ายๆ ถ้าตั้งแรงกดหัวเข็มสูงก็ต้องตั้งค่า antiskating ให้สูงตามด้วย ทั้งนี้ต้องเช็คด้วยการฟังแผ่นเสียงที่คุ้นหูเอาเอง
ซิสเต็มที่ผมใช้ทดสอบร่วมด้วยมีหัวเข็ม Mc Low output สองหัวคือ Benz Micro SL Wood ในช่วงแรก และ Audio Technical ART9 ในช่วง หลัง สัญญาณจากโทนอาร์มจะไปยัง step up transformer ของ P&C Audio รุ่น 618B แล้ว เข้า MM phono stage ของปรมาจารย์สาธร หรือ พี่แปะ เมืองนนท์ ของน้องๆ จากนั้นไปเข้าไลน์ ปรีแอมป์และเพาเวอร์แอมป์ของพี่แปะเช่นกัน ขับชุดลำโพง Western Electric Horn สัญญาณ จากภาคโฟโน บางส่วนจะต่อเข้าเครื่อง Tascam DV RA1000HD เพื่อริปเป็นดิจิทัลไฟล์ที่ความละเอียด 16 bit/44.1 kHz เพื่อทำการ upload ขึ้น soundcloud สำหรับให้ผู้อ่านได้ฟังแนวเสียง (เลือกริปที่ 16/44.1 เพื่อให้สะดวกในการ upload และยังมีคุณภาพเสียงที่ดีพอรับได้เป็น มาตรฐานเท่ากับซีดี)
แผ่นเสียงที่ใช้ทดสอบมีหลากหลายมาก เช่น แผ่นเสียงชุดใหม่ของ Jacintha ชุด Fire and Rain (Groovenote GRV 1099), The Brothers Four sing Lennon & McCartney (Columbia CS 9302), Break-through: An Introduction to Studio Two Stereo (EMI STWO1), Mixer’s Lab checking disc by music (Stereo Sound SSAR 0009-011)
นอกจากนี้ยังมีแผ่นอื่นๆ อีกดังจะกล่าว ต่อไป แต่แผ่นที่แสดงภาพดังกล่าวจะมีเพลง ตัวอย่างที่เล่นผ่านเครื่องเล่นแผ่นเสียงนี้ และริป ออกมาเป็นไฟล์เพลง ฝากไว้บน soundcloud (https://soundcloud.com/emt930/sets/nottingham-analogue-ace) ให้ผู้อ่านได้ทดลอง เปิดในซสเต็มของท่าน อันจะเสมือนกับว่า ผมยก Turntable, หัวเข็ม และ Phono Stage ไปเล่น ในชุดของท่านเลยทีเดียว
ทดลองฟัง
เวลาที่เราจะบรรยายถึงลักษณะเสียงของ อะไรสักอย่างหนึ่ง ผมมักเปรียบเทียบกับ หยินหยาง คือ… เสียงออกหยาง คือไปทางสด สว่าง รายละเอียดระยิบระยับที่สุดปลายขอบของ ฝั่งนี้คือ เสียงแข็ง บาง จัด ขึ้นขอบกับอีกฝั่งหนึ่ง ที่เป็นหยิน คือออกไปทางหนา อวบอ้วนเจ้าเนื้อ สุดปลายขอบด้านนี้คือ ทึบ มัว ไม่มีรายละเอียด ย่านกลางแหลม ตอนแรกผมใช้หัวเข็ม Benz Micro SL Wood ซึ่งค่อนข้างมีเนื้อหนังดี เมื่อเล่น กับเทิร์นฯ Ace Spacedeck แล้ว ผมรู้สึกว่าเสียง มันค่อนข้าง “เจ้าเนื้อ” เกินไปหน่อย คือออกจะอวบอ้วน หนาไปสักนิด ลองพยายามปรับค่า arm parameter อื่นๆ ช่วย ก็ยังรู้สึกว่าเสียงมันยัง หนาไป เมื่อเทียบกับ EMT930 แผ่นแรกๆ ที่ผมใช้ set เสมอๆ คือ แผ่นเสียงโมโนที่ผมคุ้นหู ผมเลือกแผ่นของ Barbara Lea แผ่นสังกัด Prestige รีอิชชู่ใหม่ที่ญี่ปุ่น (แผ่นนี้ผมเอาเพลงขึ้น soundcloud ไม่ได้ครับ เนื่องจากติดลิขสิทธิ์) เป็นแผ่นเช็คเสมอ เนื่องจากแผ่นเสียงโมโนจะช่วย เราหลายอย่าง เช่น พวก channel balance หรือ ฟังเสียง distortion ผิดปกติใน channel ข้างใด ข้างหนึ่ง อันเนื่องมาจากการปรับค่า anti skating ไม่ดี เนื่องจากเสียงโดยรวมอย่างที่เรียนให้ทราบ คือ ค่อนข้างอวบใหญ่ไปนิด ผมเลยคิดว่าเทิร์นฯ ตัวนี้น่าจะให้น?้ำเสียงที่อิ่มหนาทีเดียว เมื่อไปเล่นกับหัวเข็มที่เสียงหนาๆ อย่าง Benz Micro เลยไป กันใหญ่ จึงจัดการเปลี่ยนหัวเข็มเป็น Audio Technical Art 9 ซึ่งชื่อชั้นถือว่าเป็นหัวเข็ม Mc Low รุ่นรองท็อปของค่ายนี้ (ตัวท็อปคือรุ่น Art 1000 ราคาหลักแสน) ซึ่งมีเนื้อเสียงที่บางกว่า เมื่อเทียบกับ Benz Micro Sl Wood แต่ว่า รายละเอียดต่างๆ ดีมาก (consumer review ทุกสถาบันยืนยันว่า Art9 เป็นหัวเข็มที่ดีมาก เมื่อเทียบกับระดับค่าตัวมัน แต่ต้อง burn in นานสักหน่อยกว่าจะเข้าที่)
คราวนี้เมื่อเอาหัว Art9 ลงแทนแล้ว ผมดำเนินการ setup อย่างเอาจริงเอาจัง ค่า offset angle และ overhang ตั้งแบบให้ได้ 100% ตั้งค่า VTF อยู่ที่ 1.85 gram และ VTA ที่ขนานกับระนาบ platter ไว้ก่อน จากนั้นก็เริ่ม ฟังแผ่นต่างๆ สิ่งที่ผมคาดการณ์นั้นถูกเป๊ะกันพอดี เลย มันแม็ตช์กันมากระหว่างลักษณะเสียงของหัวเข็มและเครื่องเล่นแผ่นเสียงตัวนี้ ทั้งคู่ชดเชย และส่งเสริมซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี มาครบหมด ทั้งรายละเอียด เนื้อหนัง เสียงเบสที่ทิ้งตัว และสนามเสียงที่กว้างซ้ายจรดขวา เพลง Spanish Harlem จากแผ่นเสียงรวมเพลง EMI studio 2 (Studio 2 เป็นห้องบันทึกเสียงอีกห้องหนึ่งของค่าย EMI มีการอัดแผ่นเพลงคลาสสิกและพ็อพที่ดีๆ ออกมามากมายจากห้องอัดนี้ เรียกว่า Studio 2 series) มันให้เนื้อเสียง รายละเอียดของเครื่องสาย เครื่องเคาะต่างๆ ซ้ายขวาหน้าหลังดีมากทุกชิ้น ดนตรีมีขอบเขตของตัวเองอย่างชัดเจน (https://soundcloud.com/emt930/spanish-harlem-1) เพลงนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมากของการบันทึก เสียงแบบอะนาล็อกแท้ๆ ลงมาสเตอร์เทป เป็นแทร็กที่ดีมากในการ demo ลักษณะเสียง ขอให้ไปลองฟังบน soundcloud ดูนะครับ
จากนั้น ผมก็ทดสอบเสียงร้องผู้ชาย การแยกแยะเสียงร้องของนักร้องที่สี่คนของวง Brothers Four ว่า Ace Spacedeck สามารถ ทำได้ดีเพียงไหน และแน่นอนว่า มันทำได้ยอด เยี่ยมมากครับ กับเพลง I’ll follow the sun ของ วง Beatles (https://soundcloud.com/emt930/ill-follow-the-sun) ให้สปีดการหมุน รอบที่แม่นยำไม่มีอาการผิดเพี้ยน หรือ wow flutter ให้ผมได้ยินตลอดการทดสอบ
แผ่นต่อไปที่ผมโยนขึ้นไป challenge แท่น Ace Spacedeck คือแผ่นนี้ครับ Chet Baker – Chet แผ่น re-issue ยุคแรกของค่าย Analogue Production ด้วยฝีมือมาสเตอร์ริ่งของ Doug Sax ผู้ล่วงลับ ด้วยเครื่องหลอดของเขา เสียงที่ได้ ผมจำเป็นต้องบรรยายเป็นตัวหนังสือ ไม่สามารถ upload ให้ท่านฟังได้บน soundcloud เนื่องจาก ติดลิขสิทธิ์ ผมเลือกเพลงแรกเลยครับ Alone Together เป็นเพลงโปรด ผมจะฟังอารมณ์เพลง ที่อ้อยสร้อยเชื่องช้า Doug Sax รีมาสเตอร์แผ่นนี้ ได้อย่างยอดเยี่ยม เสียง ambient ของทรัมเป็ต ของ Chet ที่เป่าอยู่ทางซ้าย แต่มีเสียง ambient เป็น echo หางเสียงที่ฝั่งลำโพงขวา ชัดเจนไม่ต้อง เพ่ง เราจะได้ยิน ambient รอบๆ เสียงเครื่องเป่า อย่างทรัมเป็ต แซ็ก หรือฟลู้ต ขณะที่เบสเดิน ทิ้งตัวอยู่ทางสุดลำโพงขวา Ace Spacedeck ร่วมกับ Art 9 รายงานเสียงต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน
แผ่นนี้บังเอิญเพิ่งออกจำหน่ายตอนที่กำลัง รีวิวพอดี เป็นงานล่าสุดของนักร้องหญิงที่ชาว Audiophile คุ้นเคยกันดีคือ Jacintha กับสังกัด เดิมคือ Groovenote ของ Ying Tan เป็นแผ่น เสียงแผ่นคู่สปีด 45 ที่บันทึกด้วยกระบวนการ ทาง analog ทั้งหมด เนื่องจากเป็นแผ่นสปีด 45 จึงต้องคล้องสายพานที่ pulley สปีด 45 และขยับ แนวรัด platter ขึ้นมาด้วย
ถ้าหากว่า แนวสายพานตรง pulley กับ platter ไม่ตรงกัน เราจะเห็นอาการสายพานสั่น สะบัดตัว ก็ต้องพยายามขยับสายพานให้ได้ระนาบ อีกประเด็นหนึ่งคือ เนื่องจาก Ace Spacedeck เป็นเครื่องที่ไม่จำเป็นต้องมีปุ่ม on off การทำงาน และการหยุด ทำได้โดยการปั่นหมุน platter และการหยุดก็เอามือจับ platter ให้หยุดเพื่อเปลี่ยนแผ่น ตรงนี้มีประเด็นคือว่า การผลักให้ platter หมุนต้องมีความแรงและเร็วพอควร ถ้าผลักเบาไป มันอาจจะถึงรอบที่ต้องการช้าไป สักหน่อย ถ้าท่านเล่นกับมันสัก 15 นาทีก็จะ คุ้นชินเองครับ ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรใหญ่โต
Fire and Rain เป็นงานเพลงของ Jacintha ที่เอาผลงานของ James Taylor มาร้อง ไม่ได้แค่ เอาเพลงนะครับ แต่นักดนตรีแบ็กอัพแต่ละคน ล้วนแต่เป็นมืออาชีพที่เคยเล่นให้กับ JT และ ศิลปินดังๆ อีกมากมาย คุณภาพเสียงของแผ่นนี้ก็ แน่นอนว่า highest standard ตามนโยบายของ Ying Tan แนวเสียงผ่อนคลาย ลื่นไหล และ รายละเอียดดี แนวเพลงแบบนี้ยิ่งเข้ากันได้ดีกับ Ace Spacedeck ครับ เชิญรับฟังกันได้ที่ https://soundcloud.com/emt930/dont-let-me-be-lonely-tonight
สุดท้าย ผมก็เขย่าห้องฟังเพลงด้วยแผ่นเสียง ชุดนี้ครับ เป็นแผ่นของค่ายหนังสือ Stereo Sound อันโด่งดังของญี่ปุ่น เป็นการร่วมมือกับ ค่ายห้องอัด Mixer’s Lab ของญี่ปุ่น (เป็นห้องอัด ให้งานของค่าย Warner Japan) ออกแผ่นเสียง ทดสอบสำหรับการ setup เครื่องเล่นแผ่นเสียง และหัวเข็ม รายละเอียดของกล่องนี้ (มีสามแผ่น อยู่ข้างใน) มีอะไรบ้างเดี๋ยวจะเล่าแยกเป็น อีกบทความหนึ่งนะครับ ในแผ่นนี้มีเพลงทดสอบ สามเพลง คือ Scheherazade เพลงหนึ่ง และ เพลง Big Band ของวง Kenichi Tsunoda ที่ผม ชื่นชอบมากอีกสองเพลง ผมเลือกที่จะริปสอง เพลงนี้ด้วยแท่น Ace Spacedeck ให้ท่านฟังคือ เพลง All of Me และ Apple Honey
เพลง Apple Honey เป็นเพลงที่อยู่ใน series บิ๊กแบนด์ของวงนี้ที่ออกกับสังกัด Warner Japan เป็นแผ่น hybrid sacd มี 4 แผ่น 4 สี ทาง Stereo Sound เอาสองเพลงนี้ (แผ่นปกแดง Big Band Sound) เอา 46 multi-track digital master เดิม มา remix ใหม่ที่ 32 bit/384 MHz แล้วตัดแผ่นเสียงแบบ direct metal master คุณภาพเสียงนั้นอยู่ในขั้นดี มากเท่าที่ผมเคยได้ฟัง แผ่นวง Big Band มา (ตรงนี้ ผมอยากจะเรียนให้ ทราบว่า ปัจจัยเรื่องของ Digital หรือ Analog Master นั้นเป็นปัจจัยหนึ่งในหลากหลายปัจจัย มากๆ ที่จะทำให้เสียงสุดท้าย ไม่ว่าจะบนซีดี ไฟล์ หรือแผ่นเสียง ออกมาดี) ผมบอกได้ว่า sound engineer ของ Mixer’s Lab นั้น เก่งมาก การ mix เสียงต่างๆ ของวง Big Band ไม่ต่ำกว่า 20 ชิ้น
เครื่องดนตรีทำได้อย่างดีเยี่ยม พูดไปก็หาว่าผมโม้ ลองฟังกันเองนะครับ ที่นี่ https://soundcloud.com/emt930/apple-honey ผมว่าแท่น Ace Spacedeck สามารถแสดงศักยภาพของแผ่นเสียง ชุดนี้ได้อย่างเต็มร้อย มวลเสียงเครื่องเป่า การแยกแยะต่ำแหน่งหน้าหลังต่างๆ ความอิ่มของ เนื้อเสียงทำได้ไม่แพ้ EMT930 เลยทีเดียว
บทสรุป
อย่าลืมไปฟัง และเกือบทุกเพลงสามารถ download ไฟล์ 16/44.1 เพื่อประกอบการรีวิวของบทความนี้นะครับได้ที่ https://soundcloud.com/emt930/sets/nottingham-analogue-ace หรือ QR code นี้เลยครับ
• Concept ของเครื่องนี้คือ เรียบง่าย simplicity ง่ายทั้งการเซ็ต และการทำงานของ เครื่อง simple ขนาดที่ว่าไม่มีปุ่มสวิตช์ on off กันเลย และเป็นเครื่องที่มีกลไกการทำงานที่ background silence มากที่สุดตัวหนึ่ง
• ตัวเครื่องสามารถอัพเกรดได้ เช่น การเพิ่มอาร์มบอร์ดสำหรับติดอาร์มที่สองเพิ่ม และมี graphite mat ขายเพิ่มแทน felt mat ของเดิม
• สิ่งที่ผมยังไม่ค่อยถนัดนักกับเทิร์นฯ ตัวนี้ ก็คือ การเปลี่ยนรอบสายพานจาก 33 เป็น 45 นั้น มักจะคล้องตรงด้านโอบรอบ platter ไม่ได้ระดับ เสียที ต้องใช้เวลานิดหนึ่ง (ถ้าคล้องไม่ได้ระดับเรา จะเห็นสายพานมันสะบัด) และอีกอย่างคือ การหมุนขึ้นรอบของ platter จะต้องออกแรงหมุนให้เร็วพอควรสักนิดหนึ่ง ไม่งั้นรอบจะไม่ได้ครับ
ในเครื่องเล่นแผ่นเสียงระดับกลาง แสนต้นๆ Nottingham Analogue Studio: Ace Spacedeck เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และไม่ควรมองข้าม ชื่อชั้นที่โด่งดังมายาวนานของรุ่นนี้ แท่นอังกฤษทั้งตัว ให้เนื้อเสียงที่เต็มอิ่ม อะนาล็อกแท้ๆ ถ้าท่านชอบต้องไปลองฟังครับ. ADP
Ace Spacedeck + 12”Ace Space tone-arm ราคา 148,000 บาท
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย Sound Box โทร. 0-2642-1448
คุณโจ้ : 089-920-8297
คุณธงชัย : 092-890-4660
คุณโมทย์ : 094-124-2732
นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 259
No Comments