NAT AUDIO Symmetrical New Pre-Amplifier
วิศัลย์ เอกธรรมกุล
ฉบับนี้ ผมมีบททดสอบปรีแอมป์ของ NAT Audio ที่จัดว่าเป็นรุ่น Entry Level ของค่าย การทดสอบครั้งนี้ค่อนข้างมีความพิเศษแตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา กล่าวคือ WJ ไม่ได้เป็นผู้ทำการเซ็ตอัพซิสเต็มครับ งานนี้ทางคุณโจ้ Sound Box ได้นำอุปกรณ์ปรับจูนอะคูสติก สายไฟ สายสัญญาณ และสายลำโพงของ Tellurium Q มาจับคู่กับลำโพง Steinhiem Alumina 5 จาก Swiss มาให้ WJ ทดลองฟังดู พร้อมกับการเซ็ตอัพ ดังนั้น อุปกรณ์ประกอบร่วมการทดสอบที่ประจำซิสเต็มของ WJ ก็จะมี Ayre C5Xe MP, Turntable Oracle, Phono stage ASR และก็ Amplifier Constellation Centaur ครับ ที่เป็นตัวยืนพื้น ดังนั้นในช่วงแรกผมยังใช้สายสัญญาณของ Nordost, สายลำโพง JPS Aluminata และลำโพง Magico Q3 โดยเอาปรี Audiovalve Conductor ออก เปลี่ยนเอาปรี NAT Audio รุ่น Symmetrical แทนเข้าไป ก็จะสามารถระบุคาแร็กเตอร์เสียงที่แตกต่างออกไปให้ฟังได้ ส่วนการอัพเลเวลที่กล่าวมา ค่อยเล่าให้ฟังเพิ่มเติมครับ
สำหรับสาระความเป็นมาของ NAT Audio และข้อมูลทางเทคนิคของ NAT Audio Symmetrical พอจะกล่าวให้ฟังโดยสังเขป ดังนี้
NAT Audio: Symmetrical New Pre-Amplifier
บริษัท NAT Audio (Nikic Audio Team) นี่ก่อตั้งเมื่อปี 1993 มีแหล่งกำเนิดจากประเทศเซอร์เบีย อันว่าประเทศเซอร์เบียนั้นมีประวัติศาสตร์และสงครามยาวนานพอสมควรครับ ทั้งสงครามประกาศอิสรภาพ และสงครามกลางเมือง ความแตกต่างทางด้านศาสนาและสังคม เซอร์เบียเป็นอิสระจากยูโกสลาเวียเมื่อปี พ.ศ. 2534 ใช้ภาษาเซอร์เบียเป็นภาษาหลัก ตั้งอยู่ในแถบยุโรปตะวันออก ห้อมล้อมไปด้วยประเทศฮังการี โรมาเนีย บัลแกเรีย แอลบาเนีย โครเอเชีย บอสเนีย ประชากรน้อยกว่ากรุงเทพฯ ครับ คือไม่ถึง 10 ล้านคน นี่ผมต้องไปสืบเสาะภูมิประเทศของเซอร์เบียซะก่อน เผื่อว่าจะพอเข้าใจวัฒนธรรมของคนที่นั่น ว่าจะมีการปลูกจิตวิญญาณเสรีชนลงในเครื่องเสียงที่ส่งมาทดสอบด้วยรึเปล่า
นาย Nikic ผู้ออกแบบและเจ้าของ NAT เริ่มทำแอมป์หลอดตัวแรกของเขาในปี 1988 เมื่อยังทำงานอยู่ในกองทัพบก ผมว่ายูโกฯ กับรัสเซีย นี่มีอะไรดองๆ กันเยอะแยะครับ นาย Nikic เลยน่าจะตุนหลอดรัสเซีย NOS ไว้มากโข ต้องเข้าใจกันก่อนว่าในสมัยก่อน หลอดระดับ Military grade นั้น จัดเป็นประเภทยุทธภัณฑ์ประเภทหนึ่ง เพราะใช้กับอุปกรณ์สื่อสารทางทหารยุคก่อนหน้าทรานซิสเตอร์ รวมไปถึงการใช้หลอดสำหรับวงจรควบคุมต่างๆ ภายในดาวเทียมในยุคแรกๆ ด้วยครับ ดังนั้น ถ้าตกไปในมือของฝ่ายตรงข้ามก็อาจจะมีการลอกเลียนแบบเทคโนโลยีกันได้ จึงไม่แปลกที่วิศวกรที่ทำเครื่องเสียงรุ่นใหญ่ๆ มีพื้นฐานมาจากการรับราชการทหาร โดยเฉพาะทหารสื่อสาร แล้วก็หันเหตัวเองมาเอาดีทางการทำเครื่องเสียงหลอดกันซะมาก
ปรีแอมป์ของค่ายที่เป็นรุ่นปัจจุบันมีอยู่ 3 รุ่น รุ่นใหญ่สุด คือ MAGNETOSTAT (ใช้แบตเตอรี่เป็นเพาเวอร์ซัพพลาย) รองลงมาคือ MAGNETIC แยกเพาเวอร์ซัพพลายออกมาเป็นกล่องเล็กๆ และรุ่นที่อยู่ในบททดสอบ คือ SYMMITRICAL ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างทั้งสามรุ่น คือ ความพิเศษของหม้อแปลง และเบอร์ของหลอด ส่วนหลักๆ ก็ใช้คอนเซ็ปต์การออกแบบวงจรแบบ Dual Mono และก็เน้นเรื่อง Zero Feedback ราคาก็แน่นอนว่าแตกต่างกันตามล?ำดับชั้นครับ ส่วนรุ่นสั่งทำพิเศษ เห็นว่าชื่อรุ่น UTOPIA (รัชดาพระราม 9? โอ้ว ไม่นะ) ก็แยกซัพพลายเป็นสองตัวถัง อลังการทั้งงานสร้างและราคา
NAT SYMMITRICAL ออกแบบให้เป็นวงจรฟูลลี่บาลานซ์แบบดูอัลโมโน ใช้หลอด 6 หลอดต่อข้าง ทำงานในโหมดไตรโอด คลาส A เบอร์หลอดที่ใช้ได้แก่ OA 2, PY88, 6N1P-EV, 6N2P-EV และ 6N6P-I หลอดทั้งหมดเป็นหลอด NOS (New Old Stock หลอดใหม่สต๊อกเก่า) เกรดทหารซะด้วย ซึ่งทาง NAT บอกว่าหากใช้งานต่อเนื่องทุกวันก็ควรจะเปลี่ยนสักห้าปีครั้งหนึ่ง หรือเมื่อฟังเสียงมันเริ่มฟัง บ่ ม่วน ทาง NAT เขาเคลมว่าเก็บหลอดไว้เยอะ ไม่ต้องกังวลไป หม้อแปลงทอรอยดัลเกรดพิเศษสองตัวแยกแชนเนลซ้ายขวาประกบอยู่ที่แผงข้างเครื่อง อุปกรณ์คอนเดนเซอร์เกรดพิเศษ (เกรดเครื่องเสียง) ก็จัดมาครบครัน
ว่าด้วยการเชื่อมต่อ NAT SYMMITRICAL รับอินพุตทั้งบาลานซ์และอันบาลานซ์ 5 ชุด เอาต์พุต 2 ชุด ซึ่งตรงกับการใช้งานระดับมืออาชีพ ส่วนแผงควบคุมด้านหน้าก็เก๋ไก๋ดี สวิตช์เปิดปิดแบบโยก ต้องดึงออกมาก่อนจึงจะสับสวิตช์ได้ ถัดมาเป็นปุ่มวอลลุ่มปรับความดัง โดยมีแถบไฟสีฟ้าสว่างขึ้นเพื่อบอกระดับความดังที่ด้านล่าง ถัดมาเป็นปุ่มเลือกอินพุต และสุดท้ายเป็นสวิตช์แบบโยกเลือกอินพุตแบบบาลานซ์หรืออันบาลานซ์ ตัวถังเครื่องขึ้นรูปจากแผ่นอะลูมินัมหนาด้วย CNC แผงด้านข้างที่ติดตั้งซัพพลายและหม้อแปลงทอรอยดัลขึ้นรูปเป็นฮีตซิงก์เพื่อระบายความร้อนไปในตัว ฝาบนเจาะรูระบายความร้อน ผมว่างานตัวถังมันออกไปทางราบเรียบอนุรักษนิยมแบบเครื่องเสียงปี 1980 อ่ะ ออกไปทางบึกบึนแบบรถถัง การปรับเกนของวอลลุ่มดีไซน์แบบไฮเอ็นด์เลยครับ ใช้รีเลย์สวิตช์หน้าสัมผัสเงิน 56 ระดับ และใช้ตัวต้านทานของ Vishay ตัวเดียวเป็นตัวคั่นสัญญาณ (เขาว่างั้นนะ) สิ่งที่ดูพิถีพิถันกับการควบคุมคุณภาพ เห็นว่าต้องมีการเบิร์นอินทุกเครื่องเป็นเวลา100 ชั่วโมง ก่อนจะแพ็คลงลัง และแน่นอนทุกเครื่องประกอบด้วยมือ อันนี้ดีมากครับ ดูแพงขึ้นมาทันทีเลยล่ะ
Overture
การทดสอบขั้นพื้นฐาน คือ การเอาปรีแอมป์ Audiovalve Conductor ออก แล้วเอาNAT SYMMITRICAL ใส่แทนที่ ทุกอย่างยังคงเดิม สิ่งที่สัมผัสได้อย่างแรกที่ต้องบอกว่าประทับใจก็คือ ความเงียบครับ เมื่อเทียบกับ Audiovalve Conductor ที่ใช้แบตเตอรี่ซัพพลายแยกตัวถัง ผมว่าSYMMITRICAL เงียบในระดับที่ผมพอใจมากเลย แหม! เจอปรีเงียบๆ ผมงี้ตื่นเต้นทุกทีไปสิน่าผมพบว่าSheffield Lab 2 ให้เสียงที่มีพลังอัดฉีดขึ้นมาอย่างน่าประหลาด โดยเฉพาะเบส และ “พลัง” ของเสียงกลาง มีการขยับลำโพง Magico Q3 พอสมควร ซึ่งแปลว่ามันมีความ “แตกต่างมาก” จนต้องใช้อะคูสติกของห้องมาช่วยไฟน์จูน เมื่อพอจะเข้าที่เข้าทางแล้ว ผมพบว่า SYMMITRICAL ให้เสียงที่มีสเกลที่ใหญ่ อิ่ม แอมเบียนต์และฮาร์โมนิกส์ที่อุดมสมบูรณ์ ไดนามิกส์ดุดัน ผมว่าเก่งมากนะที่เขาสามารถดึงจุดเด่นของหลอด และจุดเด่นของโซลิดสเตท มาร่วมกันได้ ผลก็คือ มิวสิคัลสูงมากครับ ในแง่นี้ท?ำเอาปรี Reference ของผมถึงกับขี้เหร่ไปเลย (เข้าทำนองกลิ่นเก่า-กลิ่นใหม่)
ในวันนั้น ทางซาวด์บ๊อกซ์เริ่มมีการถอดอุปกรณ์เสริมบางอย่างออกไป พร้อมๆ กับเอาอุปกรณ์ปรับอะคูสติกเข้ามาเพิ่มเติม ยิ่งทำให้ซิสเต็มที่ใช้อยู่ให้เสียงที่มีชีวิตชีวามากขึ้นไปอีก สัปดาห์ถัดมาไคลแมกซ์เลยครับพี่น้อง เปลี่ยนลำโพง Magico Q3 ออก เอาลำโพง Steinhiem Alumina 5 มาแทนที่ สายสัญญาณและสายไฟเอาTellurium Q เข้ามาแทน ทีนี้ไปใหญ่เลย ฟังไม่ได้ เพราะยังไม่ได้เบิร์น เป็นซะงั้นไป สุดท้ายคนเซ็ตจะเป็นลม ไม่ทราบว่าเพราะผลุบขึ้นผลุบลง หรือตกลงเมาเบียร์กันแน่ เลยตกลงกันว่าเบิร์นสักสัปดาห์หนึ่ง แล้วกลับมาเซ็ตใหม่
ต่อไปนี้จะบรรยายถึงกาลเวลาผ่านไปอีกหนึ่งสัปดาห์ และทางคุณโจ้กลับมาเซ็ตอัพให้อีกครั้งนะครับ พร้อมๆ กับการรันอินเพิ่มเติมเข้าไป มาดูกันว่าผมรู้สึกกับ NAT SYMMITRICAL อย่างไรบ้าง
I’ve Got The Music In Me, Thelma Houston & Pressure Cooker, Sheffield lab 2 ให้โน้ตที่มีอิสระมาก คล้ายๆ กับผู้เล่นขยับตัวเวลากำลังเล่นดนตรียังไงยังงั้น รูปวงสวยอยู่ลึกลงไปและแผ่กว้าง เสียงร้องของ Thelma ไม่รู้เอาพลังเสียงมาจากไหน ไดนามิกส์เสียงกลางนี่สุดเพดานจริงๆ (ความเสมือนว่าเธอมาร้องอยู่ในห้องนี่ เฉียบขาดสุดๆ) ถึงตรงนี้ ผมคงต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ของ Audiovalve Conductor ซะแล้ว ข้องใจจริงๆ ทำไมเรี่ยวแรงหายไปหมด ราวกับนักร้องไม่ได้พวงมาลัย
ในเพลง To Know You is To Love You เจ้า NAT กำลังบ่งบอกฝีมือการ arrange ดนตรีที่ไพเราะ สอดประสานและโดดเด่นทุกชิ้นดนตรี ทั้งในแง่สเกลและลีลาสอดรับ ทั้งโทนและสีสัน คือฟังแล้วไม่ได้คิดว่าฟังเครื่องเสียงครับท่าน เหมือนกำลังฟังมินิคอนเสิร์ตยังไงยังงั้น ขนลุกพรึ่บพรั่บไปหมด เสียงร้องมันมีเนื้อหนังแบบอบอุ่น มิใช่อบอุ่นแบบหลอด มันอบอุ่นแบบมนุษย์มีเลือดเนื้อ มีวิญญาณครับ
ในเพลง Pressure Cooker ที่สาดอารมณ์สุดขีดคลั่ง ทั้งเครื่องเป่าอันเผ็ดร้อน และสวิงสุดๆ ไดนามิกส์ไม่มีอั้นจริงๆ เสียงเปียโนให้จังหวะที่ รู้สึกได้ถึงน้ำหนักมือและจังหวะที่จงใจ “คร่อม” เสียงกีตาร์แบบแจ๊สที่ใส่ เอฟเฟ็กต์พองาม มิให้บดบังฝีมือผู้เล่นแบบดนตรีร็อก สามารถติดตามลูก นิ้วที่ไล่ไปตามคอกีตาร์ ลูกหยุด ลูกโยก ลูกขยี้ คงพอจะบอกได้ว่าเจ้าNAT SYMMITRICAL ทำหน้าที่เป็น “หน้าต่าง” ของระบบได้กว้างมากขนาดไหน!
เพลงจูบของคุณพิทยานี่ ลึกล้ำขึ้นไปอีก ระดับเสียงที่สั่นระรัวทอดหายไปในลำคอของเธอ “จูบเบาๆ เท่านั้น ยังทำฉันสั่น… ดังฟ้าสะเทือน” เล่นเอาต้องนึกภาพตามกันเลยทีเดียว เสียงหวานๆ แทบจะขาดหายไปกับลมหายใจ คล้ายๆ กับสาวเจ้ากำลังโดนชายหนุ่มไซ้ซอกคอทำเอาจะเป็นลม หรือขาดใจซะให้ได้ด้วยความสยิว พูดไปก็ขอให้พิจารณาภาพปกของอัลบั้มเป็นภาพปลากรอบก็แล้วกัน
NAT SYMMITRICAL นี่ เข้าทำนองถ่ายทอดอารมณ์ของนักร้องออก มาได้อย่างหมดเปลือก คือถ้านักร้องฝีมือไม่ถึงก็คงจะรู้ว่าหล่อนคงร้องไป ยังงั้นแหละ เล่นลูกคอไปตามเรื่อง แต่นี่คุณพิทยาเธอร้องได้สยิวเหลือเกิน น้ำเสียงมันจะขาดรอนๆ ซะให้ได้ คนที่เป่าคลาริเน็ตนี่ก็เหลือเกิน เล่นลม โหยหวนซะ หวีดหวิวกรีดลึกเข้าไปถึงโสตประสาท คงจะต้องบอกฟังแผ่นนี้ผ่านซิสเต็มนี้เป็นประสบการณ์ชวนหลอนมากที่สุดครั้งหนึ่งเลยครับ
จะฟังไดนามิกส์เร้นจ์กว้างๆ ไดนามิกส์ทรานเชี้ยนต์โหดๆ ไดนามิกส์คอนทราสต์ สลับซับซ้อนก็ต้อง Requeim ของ Mozart ด้วยอัลบั้ม Amadeus ครับท่าน
NAT SYMMITRICAL ให้ความ “ลื่น” ของการฟังเพลงคลาสสิกได้ยอดเยี่ยม อ่อนช้อยสวยงามมาก แต่เมื่อถึงคราวนรก เรียกที่ต้องการความเฉียบขาด ดุดัน น่าสะพรึงกลัวของไฟนรกด้วยเชลโล เบส และทิมปานี แทรกด้วยคอรัสและไวโอลินและเครื่องเป่ามันทำให้เราอยู่ในภวังค์ของบทประพันธ์ และยอมรับในการอ?ำนวยวงและการตีความของ Mozart ของ Sir Neville ว่าถึงจริงๆ ต่อด้วย REX ครับ ช่วงที่คอรัสเป็นร้อยทั้ง ชายหญิง มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ประสานเสียง NAT SYMMITRICAL แยกแยะออกมาได้ชัด แต่สามารถผสานความกลมกลืนให้เห็นพัฒนาการของโน้ตที่สลับขึ้นสูงและต่ำสวยงามจริงๆ ในลีลาConfutatis แค่สองนาทีกว่าๆ นี่โชว์พลิ้วเลยครับ รายละเอียดชิ้นดนตรีเล็กๆ น้อยๆ ที่ซ่อนอยู่ เสียงคลอที่แผ่กว้างและลึก บ่งบอกถึงความมืดกำลังจะปกคลุมเจ้าชะตาและปิดท้ายด้วย Lacrymosa ที่ส่งเจ้าชะตาไปสู่พระเจ้าคือโทนไม่ต้องไปนรกครับ ดูราวกับไปสู่แดนสุขาวดี มีระคนความเศร้าเมื่อรู้ว่าจะต้องพลัดพรากจากผู้เป็นที่รัก คุณอาจจะงงว่านี่ WJ กำลังเขียนวรรณกรรมอะไรของมันฟะ ความจริงก็คือเครื่ องเสี ยงใน ซิสเต็มสามารถบรรลุถึงการเสพย์ศิลปะในดนตรี แทนที่จะมานั่งฟังเครื่องเสียงนั่นเอง!!!
ผมก็ไม่รู้จะบรรยายเสียงมันออกมาเพื่ออะไร ในเมื่อเราจดจ่อกับดนตรี ศิลปะในการประพันธ์ และการ บรรเลง และที่สุดคือ เข้าถึงความหมายของบทประพันธ์
ขอตามใจตัวเองด้วยบทเพลงของ Morita Kensaku speed 45 ครับ ดนตรีที่มีเครื่องดนตรีที่สุดแสนจะ พื้นมาก และบ้านนอกสุดๆ ซาวด์แทร็กจากทีวีซีรี่ส์เคนโด้ (เช็ครุ่นกันหน่อยเร็ว) เสียงเมาต์ออร์แกน เสียงกีตาร์ เครื่องสายเบส เครื่องเป่าดูมีชีวิตชีวาเหมือนกับเพิ่ง จะเล่นและบันทึกกันสดๆ เมื่อวานนี้ (อัลบั้มนี้ บันทึกกัน แถวๆ 1971 – 72 ครับ) สุ้มเสียงสดและมีพลังมากครับ NAT SYMMITRICAL สามารถที่จะทำให้คุณ “เลือก” ฟังนักดนตรีในวงว่าเล่นอะไร เล่นยังไง ช่วงหยุด ช่วงเน้น ความตั้งใจการเล่นให้เฟดเข้าหรือเฟดออก ยิ่งไปเจออัลบั้มที่มีการ arrange ดนตรีดีๆ มีเครื่องดนตรีเยอะๆ นี่ ยิ่งจะแสดงความสามารถของ NAT SYMMITRICAL ได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น สรุปคือ ผมฟังเพลงแล้วมีความสุขมาก ฟังแล้วมันอิ่มเอิบอิ่มใจบอกไม่ถูก ดีครับ ฟังดนตรีมันชื่นใจจริงๆ
สรุปความ
นี่เป็นปรีแอมป์ที่ เอ่อ! จะพูดยังไงดี ผมไม่ลังเลที่จะบอกว่าสามารถเอามาแทนปรีฯ ที่ผมใช้อยู่ได้เลยครับ คือ แบบอัพเกรดซิสเต็มน่ะ ใครที่เล่น เครื่องเสียงมาระดับหนึ่งจะเข้าใจได้เลยว่าปรีแอมป์เป็นสิ่งที่จะต้องอัพเกรด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะจะมีผลกับซิสเต็มใหญ่มาก สำหรับ NAT SYMMITRICAL ผมว่าควรจะจับกับเพาเวอร์แอมป์ซิงเกิ้ลเอ็นด์ของเขาจะ เพอร์เฟ็กต์แม็ตชิ่งมากที่สุด มันให้ความเป็นดนตรี ความน่าฟัง และปลอดเสียง วิทยาศาสตร์มากที่สุดเท่าที่ผมเคยฟังมานะ คือ ฟังแล้วไม่ค่อยเกิดอารมณ์ร่วม หรือสร้างภาพแบบ “เฉพาะเจาะจง” ในเรื่องของคุณภาพในด้านเสียง รายละเอียด ความใส โทนเสียง สมดุล ความอิ่ม ความหนักแน่นเด็ดขาด หรือการจัดวางซาวด์สเตจอะไรแบบนั้น ไม่ใช่ว่าไม่ดีหรือไม่มีนะครับ เพียงแต่ มันเลยจุดที่ว่ามาแล้ว มันนำเสนอให้เราดำดิ่งไปถึงการวิเคราะห์ฝีมือนักดนตรี อารมณ์ของศิลปิน สาระของดนตรี การ arrange ดนตรี จังหวะการนำเสนอของบทเพลง และภาวะการกำเนิดเสียงจากเครื่องดนตรี เหล่านั้นหล่อหลอม ให้กลายมาเป็นดนตรีสดมาให้เราฟังในห้อง นักดนตรีแต่ละคน เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่สร้างภาพการเชื่อมโยงด้วยการจำลองบรรยากาศที่คลุกเคล้านั้นๆ ให้เราได้สัมผัส มันไม่ง่ายเลยสำหรับเครื่องเสียงราคาเท่านี้ และมันไม่ยากที่ผมจะบอกว่านี่เป็นเครื่องเสียงที่ออกแบบมาให้เป็น State of the Art ในราคาที่จับต้องได้ ต่อไปนี้คือความเห็นของ WJ ครับ… ADP
นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 241
No Comments