การเล่นลำโพงซับวูฟเฟอร์กับซิสเต็มฟังเพลงสเตริโอ มักเป็นประเด็นให้พูดถึงอยู่เสมอในกลุ่ม นักเล่นเครื่องเสียง ซึ่งอันที่จริงแล้ว แนวคิดการเพิ่มลำโพงสำหรับความถี่ต่ำเข้าไปในชุดฟังเพลงไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเกิดขึ้นในวงการไฮไฟ รวมถึงสตูดิโอบันทึกเสียง มานับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ก่อนที่กระแสมัลติแชนเนลโฮมเธียเตอร์จะเบ่งบานเสียอีก ยกตัวอย่างเช่น ลำโพงพาสซีฟ ซับวูฟเฟอร์ Rogers รุ่น AB1 ที่ออกแบบให้เป็นขาตั้งของลำโพงมอนิเตอร์ LS3/5A ไปในตัว

ข้อดีของการใช้ซับวูฟเฟอร์มีหลายประการ โดยเฉพาะกับการฟังเพลงในปัจจุบันที่มีแนวดนตรี หลากหลาย ดนตรีหลายประเภทมีการบันทึกเสียงเบสที่มีความหนักแน่น เช่น ป๊อป, ร็อก, ฮิปฮอป, R&B, EDM, แทรนซ์, เทคโน, เฮาส์ หรือมีช่วงความถี่ต่ำลึกระดับ deep bass ซึ่งก็มี อยู่ในหลายๆ อัลบั้ม ยกตัวอย่างที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดีอย่างเพลง Jennifer Warnes – “Joan of Arc” (Cohen) ก็มีช่วงเสียง deep bass ระดับ 27Hz  ที่แม้แต่ลำโพงตั้งพื้น ขนาดใหญ่ก็อาจมีปัญหาในการถ่ายทอด ความถี่ต่ำเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์

การเพิ่มซับวูฟเฟอร์ในชุดฟังเพลง ไม่ว่าจะ หนึ่งตัว (mono), สองตัว (stereo), หรือการซ้อน (Stack) เพื่อใช้ซับวูฟเฟอร์หลายตัวทำงานคนละย่านความถี่ ไม่เพียงช่วยขยายการตอบสนอง ความถี่ต่ำเท่านั้น แต่ช่วยเสริมประสบการณ์เสียงเบสที่สัมผัสได้ ทั้งการได้ยินและความรู้สึก (haptic effect) ช่วยเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลง เราจะรับรู้ได้เลยว่า คุณภาพของเสียงย่าน กลางแหลมจากลำโพงคู่หลักมีคุณภาพดีขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความรู้สึก เสมือนอยู่ในพื้นที่ขนาดใหญ่ เวลาฟังอัลบั้มที่บันทึกแบบการแสดงสดในโบสถ์ หรือคอนเสิร์ต ฮอลล์ ได้บรรยากาศที่แจ่มชัดมากขึ้น ในแบบที่การใช้ลำโพงคู่เดียวให้ไม่ได้ แต่การจะใช้ หรือไม่ใช้ซับวูฟเฟอร์ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนบุคคล สภาพห้องฟัง และลักษณะ ของระบบ เครื่องเสียง บางครั้งระบบที่ไม่มีซับวูฟเฟอร์อาจให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจกว่าสำหรับบางคน ในขณะที่บางระบบอาจได้ประโยชน์อย่างมากจากการเพิ่มซับวูฟเฟอร์ที่มีคุณภาพ และมีการ เซ็ตอัพอย่างเหมาะสม

ซับวูฟเฟอร์ในระบบไฮไฟ

ในระบบโฮมเธียเตอร์ การใช้ซับวูฟเฟอร์ต่างแบรนด์กับลำโพงแชนแนลอื่นอาจไม่ส่งผล กระทบมากนัก เนื่องจากผู้ชมมักจดจ่อกับภาพและเนื้อหาเป็นหลัก แต่สำหรับระบบ ไฮไฟที่เน้นการฟังเพลง การเลือกและเซ็ตอัพซับวูฟเฟอร์เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

นอกจากการปรับแต่งพารามิเตอร์แล้ว การจับคู่โทนเสียง (timbre matching) ระหว่างลำโพง คู่หลักและซับวูฟเฟอร์ก็เป็นเรื่องสำคัญ ซับวูฟเฟอร์ในระบบไฮไฟควรมีบุคลิกเสียงที่กลมกลืน กับลำโพงหลักให้มากที่สุดเพื่อให้สมองรวมเสียงจากลำโพงต่างๆ เป็นภาพเสียงเดียวกันได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากที่สุด

อย่าลืมว่าซับวูฟเฟอร์แต่ละรุ่น ก็มีบุคลิกเสียงแตกต่างกัน แม้การใช้ DSP (Digital Signal Processing) จะช่วยปรับแต่งและประสานการทำงานระหว่างซับวูฟเฟอร์กับลำโพงคู่หลัก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลลัพธ์นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของ DSP และทักษะของ ผู้ปรับแต่งด้วย ดังนั้น การเลือกซับวูฟเฟอร์ที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับลำโพงหลักเอาไว้ก่อน ก็จะช่วยให้การเซ็ตอัพทำได้ง่ายขึ้น

แล้วจะรู้บุคลิกเสียงของซับวูฟเฟอร์แต่ละรุ่นได้อย่างไร? เพราะหากเปิดเฉพาะซับวูฟเฟอร์ เพื่อฟังเสียงทุ้มคงยากจะแยกแยะได้ วิธีง่ายๆ คือ เมื่อใส่ซับวูฟเฟอร์เข้าในซิสเต็ม แล้วฟังเสียง ของลำโพงหลักว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ซับวูฟเฟอร์ที่ดี (แบรนด์เดียวกัน หรือ ต่างแบรนด์ก็ได้) จะต้องไม่ทำให้บุคลิกเสียงจากลำโพงหลักแย่ลง เช่น สปีดของเสียงทุ้มที่ เท่าเทียมกับย่านกลางแหลม ไม่ใช่กลางแหลมไปทาง ทุ้มไปอีกทาง

KEF เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตลำโพงที่ใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม ที่พัฒนาและผลิตไดรเวอร์เองมาตลอด ด้วย know-how ในการออกแบบดอกลำโพงชั้นเลิศของ Raymond Cooke อดีตวิศวกรเสียงของ BBC ผู้ก่อตั้ง มาจนถึงเทคโนโลยีระดับสูงในปัจจุบัน ทำให้มีความยืดหยุ่นในการสร้างผลิตภัณฑ์ได้ตามต้องการ และไม่เพียงแต่มีนวัตกรรมสำหรับ ลำโพงคุณภาพสูงเท่านั้น แต่รวมถึงการพัฒนาซับวูฟเฟอร์เพื่อใช้งานกับการฟังเพลงอย่างจริงจัง ควบคู่กันไปด้วย

KEF KC92 กับการฟังเพลง

โจทย์ครั้งนี้คือการทดสอบซิสเต็มลำโพงฟังเพลง โดยนำลำโพงแอคทีฟซับวูฟเฟอร์รุ่น KC92 มาเซ็ตอัพร่วมกับลำโพงบุ๊คเชลฟ์รุ่น R3 Meta ในรูปแบบ 2.1 แชนเนล ซึ่งเป็นเซ็ตที่เหมาะกับ การใช้งานในห้องขนาดไซส์เล็กถึงปานกลางแบบสบายๆ

ข้อดีคือทั้งสองโมเดลถูกออกแบบโดยผู้ผลิตรายเดียวกัน มีเทคโนโลยีการผลิตร่วมกันตั้งแต่แรก  แน่นอนว่าตัวซับวูฟเฟอร์ถูกปรับจูนมาเพื่อใช้งานร่วมกันกับลำโพงของ KEF เองได้อย่างกลมกลืน จึงตัดปัญหาเรื่อง timbre matching ออกไปได้

KC92 เป็นรุ่นรองจาก Reference 8b ซับวูฟเฟอร์รุ่น flagship ของ KEF และใช้เทคโนโลยี  ร่วมกับ Reference ซีรี่ส์ จุดเด่นคือมีขนาดที่กะทัดรัด แต่ยังคงให้ประสิทธิภาพสูง ไม่แพ้ซับวูฟเฟอร์ขนาดใหญ่ ทั้งในด้านความลึกของเบสและรายละเอียดของเสียง

ออกแบบเป็นระบบตู้ปิด ติดตั้งไดรเวอร์กรวยไฮบริดอะลูมิเนียม/กระดาษขนาด 2×9 นิ้ว หันท้ายชนแบบ force-cancelling เพื่อหักล้างแรงกระทำต่อกัน และให้เอาต์พุตสูงสุดถึง 110dB ขอบยาง P-Flex ขยับตัวได้อย่างแม่นยำ เมื่อต้องรับมือกับไดนามิกความถี่ต่ำที่รุนแรง พร้อมแอมป์คลาส D กำลัง 500 วัตต์ แยกขับดอกลำโพงแต่ละตัว ตอบสนองความถี่ต่ำได้ถึง 11  Hz (-3dB) และใช้ Music Integrity Engine (MIE) ชุดอัลกอริธึ่ม DSP คัสต้อมเมดของ KEF ควบคุมการทำงานทุกองค์ประกอบภายในซับวูฟเฟอร์ให้สอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์

ส่วน KEF R3 Meta ที่ทางบริษัทส่งมาให้ใช้งานร่วมกัน เป็นลำโพงบุ๊คเชลฟ์สามทาง จุดเด่นคือ ใช้เทคโนโลยี Uni-Q Driver Array เจเนอเรชั่น 12 ประกอบด้วยทวีตเตอร์อะลูมิเนียมโดมขนาด 25 มม. และมิดเรนจ์อะลูมิเนียมโคนขนาด 125 มม. พร้อมนวัตกรรม MAT ตัวดูดซับเสียง ประสิทธิภาพสูง เสริมมุมกระจายเสียงด้วย Tangerine Waveguide ร่วมกับขอบเวฟไกด์ Shadow Flare วูฟเฟอร์ขนาด 6.5 นิ้ว กรวยไฮบริดอะลูมิเนียมลักษณะเดียวกับ KC92 ซึ่งมีทั้ง ความแข็งแรง น้ำหนักเบา ขยับตัวได้อย่างแม่นยำ ตอบสนองความถี่ได้ 58Hz – 28kHz (±3dB)

การเชื่อมต่อและปรับแต่ง

แม้จะมีขนาดกะทัดรัด แต่แผงหลังของ KC92 อัดแน่นด้วยช่องเชื่อมต่อ และปุ่มปรับ พารามิเตอร์ที่ให้มาแบบจัดเต็มมากที่สุดแบรนด์นึงในระดับราคานี้ ซึ่งถือว่าครอบคลุม การใช้งานทุกรูปแบบ แต่ละส่วนมีอักษรย่อกำกับ เรียงแถวซ้ายไปขวาจากบนลงล่างได้ตามนี้

(P) – ช่องต่ออุปกรณ์เสริมไวร์เลส KEF KW1

(E) – ช่องอัพเดตเฟิร์มแวร์

(SY) – ปุ่มเซ็ตระบบ

(W) – ช่องต่อสาย 12V Trigger

(CO) – ปุ่มปรับ Low-Pass filter (40Hz-140Hz / LFE)

(VO) – ปุ่มปรับระดับความดัง

(PH) – ปุ่มปรับเฟส (0°/180°)

(EQ) –ปรับโหมด EQ (Room / Wall / Corner / Cabinet / Apartment)

(MO) – ปุ่มเลือกโหมดทำงาน (Always on / Auto wake up / 12V)

(GL) – ปุ่ม Ground lift

(K) – ช่อง Speaker Input

(L) – ช่อง Line Input (LR / LFE)

(HP) – ปุ่ม dip switch ปรับ Hi-Pass filter

(L) – ช่อง Line output

(IO) – สวิตช์ปิด-เปิด

(AC) – ช่องเสียบสายไฟเอซี

การปรับโหมด EQ จะส่งผลกับปริมาณความถี่ต่ำเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการจัดวาง ซับวูฟเฟอร์ในลักษณะต่างๆ “Room” สำหรับการจัดวางใกล้ผนังหลังระหว่างลำโพงคู่หลัก “Wall” สำหรับวางใกล้ผนังด้านข้าง “Corner” เมื่อวางเข้ามุม ส่วน “Cabinet” เหมาะสำหรับ การวางบนชั้นวาง และ “Apartment” เป็นการลดระดับความถี่ต่ำกว่า 40Hz ลงเพื่อไม่ให้ รบกวนเพื่อนบ้าน

ช่อง Line Input รองรับทั้งการต่อแบบสเตอริโอ และแชนเนล LFE จากภาคปรีโปรเซสเซอร์ ซึ่งเมื่อหมุนปุ่มปรับ Low-Pass filter ไปทางซ้ายจนสุดจะเป็นการบายพาสครอสโอเวอร์ในตัว KC92 ออก ที่พิเศษคือมีฟังก์ชั่น Smart connect คอยตรวจจับโดยอัตโนมัติว่ามีการใช้สาย หนึ่งหรือสองเส้น และจะปรับ gain ให้เหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Y อะแดปเตอร์

ส่วนช่อง Line output จะทำงานร่วมกับปุ่ม dip switch ปรับ Hi-Pass filter เพื่อจำกัดย่าน ความถี่ต่ำ ที่ส่งไปยังลำโพงคู่หลัก เหมาะสำหรับใช้งานกับลำโพงบุ๊คเชลฟ์ตัวเล็กๆ หรือลำโพง แซทเทิลไลต์ที่ตอบสนองความถี่ต่ำลึกได้จำกัด อีกกรณีคือ ใช้สำหรับการต่อพ่วงซับวูฟเฟอร์อีกตัว และตัดแบ่งความถี่การทำงานคนละย่าน

เซ็ตอัพ

ในการเสริมซับวูฟเฟอร์สำหรับฟังเพลง หากลำโพงคู่หลักไม่ใช่ลำโพงเล็กแบบแซทเทิลไลท์ ที่ตอบสนองความถี่ต่ำได้ไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อแบบ Hi-pass / Low-pass แต่ควรให้ ลำโพงทำงานตามปกติแบบฟูลเรนจ์จะให้คุณภาพเสียงออกมาดีกว่า

ผมเลือกวางลำโพงซับวูฟเฟอร์ระหว่างลำโพงคู่หลัก ในระนาบใกล้เคียงกัน ค่อนมาทางลำโพง ข้างซ้าย วางตรงกลางไม่ได้ เนื่องจากติดชั้นวาง และห่างผนังด้านหน้าออกมาประมาณ 60-70 ซม. เป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดในห้องฟัง เลือก EQ ไปที่ “Room” และปรับเฟสไว้ที่ “0°”

KC9 สามารถเชื่อมต่อกับซิสเต็มฟังเพลงได้สองรูปแบบ คือต่อแบบ “Line level” จากช่อง สัญญาณ Pre-out ของปรีแอมป์หรืออินทิเกรตแอมป์มาเข้าที่ช่อง Line Input (LR) ของ KC92 แต่หากอุปกรณ์ไม่มีช่อง Pre-out ก็สามารถใช้วิธีต่อแบบ “Speaker level” จากขั้วต่อสายลำโพง ของเพาเวอร์แอมป์หรืออินทิเกรตแอมป์ มายังช่อง Speaker Input ของ KC92 แทนได้

ท่านไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับภาคขยายแต่อย่างใด เนื่องจากตัว MIE DSP จะดึง สัญญาณมาใช้ในระดับต่ำๆ เพียงเท่านั้น ซึ่งทั้งสองวิธีให้คุณภาพเสียงออกมาใกล้เคียงกัน ถือว่า MIE DSP ในตัว KC92 จัดการกับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมเลือกต่อแบบ Line Level เนื่องจากที่ปรีแอมป์มีช่อง Pre-out สองชุดพอดี

ค่าความชันของ KC92 อยู่ที่ 24 dB/Octave ถือว่ามีค่าความชันสูง จึงไม่ควรตัด Low-Pass filter ลงต่ำกว่าสเปคของลำโพงหลักมากเกินไป จะทำให้เสียงทุ้มกลางไปหาทุ้มลึกขาด ความต่อเนื่อง กรณีของลำโพง KEF R3 Meta ถ้าดูสเปคสามารถตอบสนองความถี่ต่ำได้ 58Hz ที่ –3dB ให้เอาตรงนี้เป็นจุดอ้างอิง จากนั้นปรับจุดตัดของปุ่ม Low-Pass filter ไปใกล้กับ 58Hz (สูงหรือต่ำกว่านี้ได้เล็กน้อย) โดยฟังให้ได้ยินเสียงทุ้มที่ราบรื่น ไม่รู้สึกว่าโด่งหรือวูบบางช่วง จนเกินไป

จากนั้นมาปรับปุ่มระดับความดัง โดยเลือกเพลงที่คุ้นเคย ซึ่งมีครบทุกย่านเสียงที่สมดุล กันทั้งทุ้มกลางแหลม จากนั้นหรี่โลวุ่มที่ปรีแอมป์หรืออินทิเกรตแอมป์ลงให้เบาที่สุด แต่ยังคง ได้ยินเสียงเพลงอยู่ แล้วลองสังเกตเสียงทุ้มว่าเบาไปหรือมากเกินไป จากนั้นค่อยๆ ปรับระดับ ความดังของซับวูฟเฟอร์จนได้ปริมาณที่สมดุลกันทั้งสามย่าน

เสียง

ว่ากันที่เสียงเดิมๆ ของลำโพงหลักอย่าง KEF R3 Meta มีความเป็นกลาง และรักษาโทนัลบาลานซ์ ได้อย่างยอดเยี่ยมทั้งย่านทุ้มกลางแหลม ฐานเสียงย่านกลางต่ำก็อุดมสมบูรณ์แบบไม่เกินเลย ทำให้เล่นกับแนวเพลงที่หลากหลายได้ดีมาก ที่สำคัญคือไดนามิกคอนทราสต์มีความโดดเด่น สามารถแสดงความแตกต่างระหว่างเสียงเบาและดังได้อย่างชัดเจน ย่านทุ้มมีลักษณะของ ลำโพงแบบตู้เปิดผสานกับตู้ปิดอย่างละครึ่ง คือมีความเป็นกลาง กระชับแน่น สะอาด และควบคุม ได้อย่างเด็ดขาด มวลเสียงทุ้มมีความพอดี ไม่อวบหนาหรือใหญ่เกินจริง

ลำพัง R3 Meta เดี่ยวๆ ก็ถือว่าเป็นลำโพงบุ๊คเชลฟ์ที่ให้เสียงได้ ครบเครื่องในย่าน ความถี่ที่ ทำได้อยู่แล้ว การเสริมซับวูฟเฟอร์ KC92 จะเป็นเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองความถี่ต่ำ ให้กว้างยิ่งขึ้น ตั้งแต่ประมาณ 58Hz – 11Hz ซึ่งไม่เพียงครอบคลุมย่านความถี่ต่ำสุดที่หูได้ยินคือ 20Hz แต่เป็นระดับซับโซนิคที่รับรู้ได้ผ่านการสั่นสะเทือนในร่างกาย

เมื่อปรับแต่งซับฯ ให้เข้ากับลำโพงคู่หลักได้อย่างกลมกลืน มันไม่ใช่การไป “เพิ่ม” ปริมาณเสียง ทุ้มของให้มากขึ้นจนกลบย่านความถี่กลางแหลมเดิม หรืออิ่มหนาขึ้นจนบุคลิกดั้งเดิมของ ลำโพงให้ผิดพี้ยนไป เสียงที่ได้ยินยังคงเป็นบุคลิกของ R3 Meta ทุกประการ แต่ทั้งหมดถูก “ส่งเสริม” ให้ทุกๆ ย่านความถี่เสียงมีความสมบูรณ์แบบมากขึ้นไปอีก ทั้งเรื่องของฮาร์โมนิก และมวลบรรยากาศรายล้อมภายในเวทีเสียง เมื่อปรับจุดตัดแบ่งความถี่ลงตัว ย่านเสียง กลางแหลมจะลอยตัวเป็นสามมิติมากขึ้นทันที ซึ่งลำโพง R3 Meta เดิมๆ ไม่สามารถถ่ายทอด โครงสร้างของย่านกลางแหลมในลักษณะนี้ได้อย่างเด่นชัด

พอมีฐานเสียงย่านต่ำลึกที่แม่นยำเสริมเข้ามา ไดนามิกเรนจ์ก็จะดีขึ้นเป็นเงาตามตัว สามารถเร่ง ระดับโวลุ่มที่ปรีแอมป์หรืออินทิเกรตแอมป์ได้สูงมากขึ้น โดยไม่รู้สึกว่าเสียงเจี๊ยวจ๊าว หรือ น่ารำคาญเลยแม้แต่น้อย เสมือนกับแอมป์ที่ใช้มีพละกำลังสำรองที่มากขึ้นไปอีก ในแง่ไดนามิก คอนทราสต์ เพลงที่มีการเปลี่ยนแปลงไดนามิกอย่างฉับพลันอย่างฉับพลัน เช่น ร็อค แจ๊ส อิเล็กทรอนิกส์  หรือดนตรีที่ต้องการความละเอียดอ่อน เช่น คลาสสิค ก็สามารถรับรู้ความ แตกต่างระหว่างเสียงเบาและดังได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ย่านทุ้มกลางต่อเนื่องลงมาถึงทุ้มต่ำๆ แนบเนียนไร้รอยต่อ ไม่รู้สึกว่ามีซับวูฟเฟอร์อยู่ภายในห้อง KC92 สามารถถ่ายทอดเสียงเบสได้อย่างลึกและชัดเจน โดยไม่สูญเสียรายละเอียด แม้ในย่าน ดีฟเบส ซึ่งเป็นระดับที่รับรู้ได้ผ่านความรู้สึกมากกว่าการได้ยิน เสียงกลองใหญ่ในวงออร์เคสตร้า หรือเสียงเบสซินธ์ในดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ มีพลังและความหนักแน่นที่สัมผัสได้ โดยไม่บดบัง รายละเอียดของเครื่องดนตรีอื่นๆ

เวทีเสียงให้ความรู้สึกที่เป็นโถงลึกและมีความโอ่อ่ามากขึ้นอย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะอัลบั้ม live recording ทั้งแนวดนตรีแสดงสดที่มีดนตรีหลายชิ้น หรือแม้แต่การโซโล่เสียงร้อง หรือเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียว อิมเมจเสียงมีตำแหน่งที่แน่นอนและแยกแยะได้ง่ายขึ้น ทำให้การฟังเพลงมีความสมจริงมากขึ้น เสมือนนักดนตรีกำลังเล่นอยู่ตรงหน้า ได้อารมณ์เหมือน เราเข้าไปอยู่ในพิ้นที่การแสดงได้อย่างน่าประทับใจ พอลองปิดสวิตช์ซับวูฟเฟอร์ บรรยากาศและ ความรู้สึกเหล่านี้ก็อันตรธานหายไปหมด

สรุป

KEF KC92 ถือเป็นซับวูฟเฟอร์ที่เหมาะสมกับการฟังเพลงอย่างยิ่ง สามารถปรับตัวและทำงานได้ อย่างยอดเยี่ยมในทุกสถานการณ์ ไม่เพียงแต่ปรับปรุงการตอบสนองความถี่ต่ำเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้คุณภาพเสียงโดยรวมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เสียงกลางและเสียงแหลมมีความ โปร่งใส และลอยตัวมากขึ้น ทำให้การฟังเพลงจากลำโพง KEF R3 Meta ร่วมกับ KC92 นั้นถูกยกระดับขึ้นอย่างน่าประทับใจ นับเป็นประสบการณ์ทางเสียงในแบบที่การใช้ลำโพง คู่เดียวตามปกติไม่อาจให้ได้จริงๆ. ADP

KEF KC92 Subwoofer ราคา 89,900 บาท
KEF R3 Meta ราคา 85,900 บาท
KEF S3 Floor Stand for R3 ราคา 32,900 บาท

นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย
Vgadz Corporation Co., Ltd.
โทร. 02-692-5216