FIDELIZER NIMITRA COMPUTER AUDIO SERVER
นักเขียน : ปฤษณ กัญจา :
ทุกๆ เพลงที่ฟัง ผมไม่รู้สึกว่ามีความเครียดใดๆ เลย แม้ใช้เวลาฟังนานครึ่งค่อนวันก็ตาม เสียงที่ออกมาเปิดเต็ม ไม่มีการบีบอัด
สำหรับคนที่คิดว่า การเล่นไฟล์เพลงเป็นยาขม เพราะมีความยุ่งยากในการเล่น ไม่ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเล่นหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ออกแบบมาให้เล่นไฟล์เพลงได้ก็ตามวันนี้… ผมมีหนทางที่สดใสมาบอกเล่าครับ เพราะแม้แต่ผมเองที่ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวเกี่ยวกับการเล่นไฟล์เพลงอะไรนัก ก็ยังนึกรักทันทีที่ได้ใช้งานเลยครับ
ก่อนจะพูดถึงโพรดักต์ตัวนี้ ผมขอเล่าที่มาที่ไปเกี่ยวกับแบรนด์ Fidelizer สั้นๆ พอให้เห็นภาพครับ ว่ากว่าจะมาเป็น Nimitra ตัวนี้ มันเกิดอะไรขึ้นก่อนบ้าง
เจ้าของแบรนด์ Fidelizer คือ “คุณคีตะกวี พันธุ์เพ็ง”คนหนุ่มวัยแรง เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย แท้ๆ นี่ล่ะครับอันที่จริงถ้าเรียกชื่อจริงอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันนัก แต่ถ้าเอ่ยชื่อ “Windows X” เชื่อว่าน่าจะพอรู้จักกัน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในแวดวง Computer Audiophile เพราะคุณ Windows X โลดแล่นอยู่ในวงการนี้มาอย่างโชกโชน ฟันฝ่าความคิดเห็นที่มีความแตกต่างกันอย่างมากมาย จนบ่มเพาะความกล้าแกร่งมาจนถึงทุกวันนี้
แรกเริ่มเดิมที คุณคีตะกวี ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า “Fidelizer” เพื่อให้คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ Windows OS ได้มีโปรแกรมฟังเพลงที่มีคุณภาพสูงในราคาที่เป็นมิตรซึ่ง Fidelizer ก็ได้เป็นที่ยอมรับในหมู่คนใช้ Windowsฟังเพลงอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก แม้แต่สื่อต่างประเทศในแวดวงเครือ่ งเสยีงก็นำไปใช้งาน-ทดสอบ และใหร้างวัลการันตีความยอดเยี่ยมมาแล้ว
อ้อ… ขอบอกตั้งแต่เนิ่นๆ นะครับ ว่าบทความนี้ผมสนับสนุน คุณคีตะกวี เต็มที่ ทั้งในฐานะที่เป็นคนออกแบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ที่มีฝีมือยอดเยี่ยมมากๆรวมถึงคุณภาพของโพรดักต์ที่โดดเด่นไม่เป็นรองใคร ฉะนั้นถ้าเนื้อหาจะออกไปทางชมมากก็เป็นที่เข้าใจได้นะครับ
ทีนี้ แม้ว่าคุณภาพของซอฟต์แวร์ Fidelizer จะดีมากจนขึ้นชั้นระดับโลกไปแล้วก็ตาม ทว่ากับบางคนที่ไม่สันทัดกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานเพื่อฟังเพลงก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ดี คุณคีตะกวีเห็นปัญหาตรงนี้ก็เลยออกแบบเครื่องเล่นไฟล์เพลงขึ้นมา มีชื่อรุ่นว่า “Nimitra” เพื่อให้ใครก็ได้มีความสุขกับการฟังเพลงจากไฟล์ได้ทัดเทียมกันซึ่งในที่นี้ย่อมหมายรวมถึงผมคนหนึ่งด้วยครับ
Nimitra มีชื่อเรียกเต็มๆ อย่างเป็นทางการว่า ComputerAudio Server ชื่อแบบนี้เห็นแล้วก็รู้สึกขยาด เพราะพอมีคำว่า Server มาเกี่ยวข้อง ดูเหมือนความยุ่งยากซับซ้อนก็ลอยมาในหัวทันที …แต่ในความเป็นจริง ช่างมันเหอะครับแม้ Nimitra จะมีคุณสมบัติในการทำงานได้มากมาย แต่ผมมองว่า นั่นเอาไว้สำหรับคนที่พร้อมจะเล่นลึกมากขึ้นไปอีกสเต็ปหนึ่ง ส่วนชาวบ้านๆ อย่างผมที่แค่ขอให้ได้ฟังเพลงจากไฟล์ด้วยวิธีง่ายๆ ก็เลือกให้ Nimitra ทำงานด้วยวิธีพื้นๆแค่ต่อสาย, เชื่อมสัญญาณ Wi-Fi, ลง app ในโทรศัพท์มือถือแล้วก็สตรีมเพลงมาฟัง แค่นี้ก็เป็นสุขแล้วครับ
Simply Nimitra
ตัวเครื่องของ Nimitra มีสีดำ ขนาดกะทัดรัด ด้านหน้ามีปุ่มกดเพื่อเปิด-ปิดการทำงานของเครื่อง เมื่อกดปุ่มเปิดจะมีแสงสีฟ้าปรากฏขึ้นมาให้ทราบว่าเครื่องอยู่ในสถานะพร้อมใช้งานแล้ว ด้านหลังเครื่องมีช่องสำหรับเชื่อมต่อการทำงาน (ดูภาพประกอบ) และมีเสาเพื่อรับสัญญาณ Wi-Fi 2 ต้นสำหรับภาคจ่ายไฟแยกออกมาจากตัวเครื่อง ถ้าเป็นเครื่องมาตรฐานภาคจ่ายไฟจะเป็นอะแด็ปเตอร์ปกติ แต่ถ้าต้องการคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นคุณคีตะกวีได้ออกแบบภาคจ่ายไฟแบบ Linear Power Supply ที่มีชื่อว่า Nikola เป็นอ็อปชั่นพิเศษ
คุณคีตะกวี เล่าให้ผมฟังว่า ภายในเครื่อง Nimitra และ Nikola ถูกออกแบบและคัดสรรอุปกรณ์มาใช้งานอย่างพิถีพิถัน คือโดยส่วนตัวคุณคีตะกวีก็เป็นนักเล่นเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ เพราะฉะนั้นจึงมีชุดเครื่องเสียงไว้อ้างอิงเกี่ยวกับคุณภาพเสียง ขณะที่ออกแบบทั้ง Nimitra และ Nikola ว่ากันง่ายๆ ก็คือ จูนฟังไปด้วยเพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดี โดยไม่มีข้อจำกัดว่า Nimitra มีพื้นฐานมาจากคอมพิวเตอร์
อย่างที่บอกไว้ในตอนต้น การใช้งาน Nimitra ของผมในครั้งนี้จะทำแบบง่ายที่สุดเพื่อให้เข้ากับแนวคิดที่ว่า การเล่นไฟล์เพลงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น ผมจะบอกเล่าในส่วนที่ผมลองเล่น 2 แบบ คือ…
• เอา external harddisk ที่มีไฟล์เพลง PCM 16-bit/44.1kHz จนถึง 24-bit/192kHz (ใน HD นี้มีไฟล์ DSD ด้วย แต่เนื่องจาก DAC ที่ผมใช้งานรองรับสูงสุดได้ถึง PCM 24-bit/192kHz ดังนั้นในบทความนี้จึงไม่ได้พูดถึงคุณภาพเสียงจากไฟล์ DSD) ต่อตรงเข้ากับ Nimitra แล้วต่อเอาต์พุตไปเข้า DAC ของ Meridian Director และควบคุมโดย app LINN Kazoo
• สตรีมมิ่ง TIDAL มาฟังผ่าน Nimitra โดยใช้ app BubbleUPnP และยังใช้ DAC ตัวเดิม
ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า ผมใหม่มากกับการดาวน์โหลด app ลงบนมือถือเพือ่ นำ มาสั่งการในการฟัง เพลง ตอนแรกจงึ มะงมุ มะงาหราพอสมควรอย่างไรก็ตามในความเป็นจริง มันก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลยครับ แค่เข้าไปที่ Play Store (ผมใช้โทรศัพท์ระบบ Android) แล้วดาวน์โหลด app ทั้งสองตัวมาไว้ในโทรศัพท์มือถือ จากนั้นก็ติดตั้ง app ให้อยู่ในเครื่องก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
เมื่อเริ่มต้นใช้งานก็เปิดเครื่อง Nimitra จากนั้นก็เข้าไปที่การเชื่อมต่อWi-Fi ของโทรศัพท์มือถือ ก็จะปรากฏรายการเครือข่าย Wi-Fi ให้เลือกว่าจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ ในกรณีของ Nimitra เนื่องจากมีการปล่อยสัญญาณ Wi-Fi มาให้โดยตรง ผมก็เชื่อมต่อ Wi-Fi กับ Nimitra เมื่อเรียบร้อยก็เข้าไปเปิด app LINN Kazoo เพื่อดึงเพลงจาก HD มาไว้ใน app ซึ่งระยะเวลาในการรอก็ขึ้นอยู่กับว่าใน HD มีเพลงมากเท่าไหร่ ถ้ามากก็นานหน่อย แต่ถ้าไม่มากเช่นกรณี HD ของผมก็ใช้เวลาไม่นาน จากนั้น
ในหน้าจอก็จะเห็นรายการต่างๆ อาทิ โฟลเดอร์อัลบั้มโฟลเดอร์ชื่อเพลง โฟลเดอร์ศิลปิน ฯลฯ ทีนีก็เลือกเอาตามสะดวกว่าจะเลือกเพลงด้วยวิธีการแบบไหนซึ่งทั้งนี้อย่างโฟลเดอร์อัลบั้มก็จะมีปกขึ้นมาให้เลือกด้วย แต่นั่นหมายถึงว่าใน HD ที่เก็บไฟล์เพลงของเราต้องมีปกของอัลบั้มนั้นอยู่ด้วยนะครับนี่ก็เป็นการใช้งานแบบคร่าวๆ และง่ายมากสำหรับการดึงไฟล์เพลงจาก HD มาฟังผ่าน Nimitra
ส่วนถ้าจะฟังเพลงจาก TIDAL ที่เป็น Streaming Service ที่ให้บริการเช่าเพลงมาฟัง โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปีนั้น ก็ใช้วิธีการใช้งานแบบเดิม คือเข้าไปเลือกเครือข่าย Wi-Fi ก่อนแต่ครั้งนี้แทนที่จะเลือก Nimitra ผมก็เลือกเป็นเครือข่าย Wi-Fi ที่ทางออดิโอไฟล์ใช้งาน เนื่องจากต้อง
ติดต่อกับโลกภายนอก โดยในตอนแรก คุณคีตะกวีได้เข้ามาเซ็ตให้ Nimitra สามารถเชื่อมต่อกับ Wi-Fi ที่ออดิโอไฟล์ใช้งานอยู่ (สำหรับลูกค้าทั่วไป ยังไงก็ลองสอบถามโดยตรงที่ตัวแทนจะหน่ายนะครับ) หลังจากเชื่อมต่อเครือข่าย Wi-Fi แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เปิด app BubbleUPnP โดยเริ่มต้นให้เข้าไปเซ็ตอัพที่เมนูหลักแล้วเลือก Renderer ให้เป็น JPlayStreamer เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วก็เข้าไปไปเปิด app ของTIDAL จากนั้นก็เลือกเล่นเพลงได้ตามที่ต้องการ
จากที่อธิบายมาจะเห็นว่ามีขั้นตอนการสั่งงานแค่สองสามอย่างเท่านั้น ถือว่าง่ายมากครับ สำหรับคนที่ไม่มีพื้นการเล่นไฟล์ผ่านระบบการสตรีมมิ่งในลักษณะนี้
คุณภาพเสียง
ผมฟังเพลงจากไฟล์ตั้งแต่ 16/44.1 ไปจนถึง24/192 จาก HD และสตรีมจาก TIDAL ซึ่งเป็นไฟล์ 16/44.1 เหมือนกัน นอกจากนั้นยังสตรีมไฟล์ที่เป็นมาสเตอร์จาก TIDAL มาฟังด้วย แต่เนื่องจาก DAC ไม่รองรับ MQA ดังนั้นความละเอียดของไฟล์จึงไม่ได้เต็มพิกัดของต้นทาง
จากแนวเพลงที่เลือกมาฟังทั้งพ็อพ, แจ๊ส, คลาสสิก,โฟล์ก สิ่งหนึ่งที่แสดงความเป็น Nimitra ออกมาก็คือ รายละเอียดของเสียงที่ถ่ายทอดได้ดี ไม่ว่าจะฟังเพลงอะไร ความโดดเด่นนี้ก็มีให้ได้ยินตลอด ผมนั่งฟังและสังเกตไปเรื่อยๆ พบว่าที่มาของคุณสมบัติข้อนี้น่าจะมาจากพื้นเสียงที่สะอาด ประมาณว่า background noise ต่ำมาก ทำให้เปรียบเหมือนมองเห็นภาพของเสียงที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน ตรงนี้ผมเชื่อว่ามีผลจากการทำงานของภาคซัพพลายที่ชื่อ Nikola ที่ออกแบบได้เยี่ยม ส่งผลให้ระบบไฟของ Nimitra ทำงานได้ดีและสะท้อนออกมาทางคุณภาพเสียง
จุดที่สองที่ทำให้ผมประทับใจ Nimitra ก็คือ เรื่องของจังหวะดนตรี ตอนที่ผมเปิดเพลง Drowning In The Sea Of Love ของ Eva Cassidy จากอัลบั้ม American Tune เสียงดนตรีทำให้ผมคึกคัก และมีความรู้สึกอยากร่ายรำตามบทเพลงทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็ฟังเพลงนี้มาหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้มีอาการเช่นครั้งนี้และไม่เฉพาะเพลงนี้ กับเพลงอื่นๆ Nimitra ก็ให้จังหวะของดนตรีที่ฟังแล้วมีอารมณ์ร่วม ไม่ว่าจะสนุกหรือ Cool หรือ เหงา ก็ตาม
ในแทร็ก Cool Struttin’ ของ Sonny Clark ซึ่งถ้าเป็นแผ่นเสียง mono 1st pressing แผ่นนี้ราคาก็หลักหลายแสน เมื่อมาเป็นไฟล์ดิจิทัล แม้ความอิ่มข้นสด ไม่สามารถเทียบเท่าแผ่นเสียง แต่กลิ่นอายและคุณภาพการบันทึกเสียง โดยฝีมือของ Rudy Van Gelder ก็ยังจำลองความยอดเยี่ยมออกมาให้ได้สัมผัส เสียงเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมีความชัด มีเนื้อ ไม่แบนบาง การวางตำแหน่งของเครื่องดนตรีก็มีความอิสระ ไม่อึดอัด ฟังแล้วผ่อนคลาย สบายๆ
พูดถึงความโปร่ง ไม่อึดอัด นี่ก็เป็นคุณสมบัติข้อที่สามของ Nimitra ที่ผมชื่นชม ทุกๆเพลงที่ฟัง ผมไม่รู้สึกว่ามีความเครียดใดๆ เลยแม้ใช้เวลาฟังนานครึ่งค่อนวันก็ตาม เสียงที่ออกมาเปิดเต็ม ไม่มีการบีบอัด เค้น หากกระจายแผ่เต็มไปทั้งผืนเวที ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพการบันทึกเสียงของแต่ละอัลบั้มแล้วว่าทำมาได้แค่ไหนเพราะเมื่อเสียงหลุดพ้นลำโพงออกมา มันจะปรากฏให้เห็นเป็นตัวตนของแต่ละอัลบั้ม อย่างเพลงของ Bob Dylan เวทีเสียงก็ไม่กว้างมาก ฟังกันสบายๆ เหมือนฟังเพื่อนเล่นกีตาร์ หรือถ้าเป็นวงเชมเบอร์ ความลื่นไหลของเครื่องเสียงก็พาให้เคลิบเคลิ้มไป ไม่มีอารมณ์สะดุดแม้แต่น้อย
แล้วถ้าไม่พูดถึงความถี่ต่ำก็คงมีหลายคนอาจรู้สึกยังไม่สุด ผมใช้ลำโพง Duevel รุ่น Planets ที่ใช้วูฟเฟอร์ตัวเล็กๆ เวลาฟังเพลงที่มีจังหวะ หรือมีความถี่ต่ำ ผมรับประกันว่าจะไม่เกิดความหงุดหงิดกับพละกำลังที่คอยสนองตอบความถี่ต่ำแน่ๆ ยกเว้นเบสลึกๆ ที่เป็นฐานเท่านั้นที่ไม่มีจากลำโพงคู่นี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีจาก Nimitra นะครับ ผมมั่นใจว่า ถ้าใช้ลำโพงใหญ่กว่านี้ Nimitra ก็สามารถถ่ายทอดความถี่ต่ำลึกๆ ออกมาได้ ทำไม?ผมถึงมั่นใจ ตอบ… เพราะคุณคีตะกวี ใช้ ลำโพง Rockport ตั้งพื้นในการจูนเสียงครับ และถ้า Nimitra ไม่ให้ความถี่ต่ำออกมาได้ดี ผมว่าคุณคีตะกวี คงไม่ปล่อยผ่านแน่ๆ เพราะคนนี้คือมนุษย์ที่บ้าคุณภาพครับ
ซ.ต.พ.
ถึงผมจะเชียร์ Nimitra และ Nikola เต็มตัว แต่ผมก็ไม่ได้อยากให้ผู้อ่านเชื่อตามที่ผมเขียน เพราะเป็นกฎของความจริงว่า “ซื้อเครื่องเสียงต้องลองฟัง” ผมคิดว่า ถ้าใคนสนใจ ตัวแทนจำหน่ายก็พร้อมยินดีจะสาธิตคุณภาพให้ได้สัมผัสกัน ยังไงก็ลองสอบถามกันดูนะครับ
ในมุมมองของผม Nimitra ตอบโจทย์คนที่อยากฟังเพลงจากไฟล์แต่ไม่อยากยุ่งยากได้ 100% ครับ
ในมุมมองของคนฟังเพลง Nimitra ตอบโจทย์ทั้งเรื่องคุณภาพเสียงและอารมณ์เพลงได้ 100% เช่นกันครับ Nimitra เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของคนที่ต้องการฟังเพลงด้วยไฟล์ครับ. ADP
นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 244
No Comments