Esoteric N-01XD
THIS IS… ‘Esoteric: N-01XD – NETWORK DAC’
“The Ultimate Network x DAC …only Esoteric could achieve”
Esoteric ตอกย้ำความเป็นผู้นำ ‘ยืนหนึ่ง’ ด้วย N-01XD – Network DAC เรือธง สร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นอีกครั้ง ด้านขุมพลังก็เป็นตัวใหม่ Platform เดียวกันกับ Grandioso K1X บน Chassis ของ N-01 Network Player เดิม… ด้วยชื่อชั้น มั่นใจว่าต้อง ‘ปัง’
‘สุด’ ในหมู่นักเล่นเครื่องเสียงในกลุ่ม Cost No Object เล่นใหญ่ด้วยเครื่องเสียง Ultra Hi-End แยกชิ้น Front End ระดับยานแม่ที่มาพร้อมฝูงบิน Bomber/Fighter ยานลำเลียงตามมาเป็นฝูง รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงบนชั้นวาง หนักร่วมครึ่งตันก็ยังมี ไหนจะค่าสายเพื่อการเชื่อมต่อก็เกินกำลังที่นักเล่นทั่วไปจะได้สัมผัส ถ้า mis-match สักจุดสองจุดก็อาจจะไปไม่ถึงฝั่งฝัน
ความก้าวล้ำของเทคโนโลยี Digital Audio ของวันนี้ ทำให้เกิดเป็นเครื่องเสียงระดับ Ultimate Network DAC เปรียบเสมือน Bomber/Fighter ความเร็ว Light Speed พร้อมขีปนาวุธติดหัวรบเต็มพิกัด พิษสงรอบตัวพอที่จะสู่สมรภูมิรบบน Hyperspace ได้
“สุดยอดเครื่องเสียง Network Audio ภายในติดตั้งด้วยอุปกรณ์ระดับ State of the Art ‘สุด’ ในทุกสิ่ง ไว้ในตัวเดียว ตั้งแต่ภาคจ่ายไฟ มาพร้อมกับ Power Unit ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ระดับ Master Sound Discrete DAC เป็นDAC ที่ดีที่สุด ควบคุมการทำงานด้วย Master Clock ระดับเอกอุก ผนวก Network Module ทันสมัยสุด ให้ทำงานสอดประสานกันอย่างสมบูรณ์ เสถียร ใช้งานง่าย จบในตัวเดียว สตรีมให้เสียงดีเยี่ยม ไม่ว่าไฟล์จะมาจากแหล่งใด”
ถูก Unbox มาอยู่ในห้อง Home Studio แถบชานเมืองในขณะนี้แล้ว น้านูญจะมาเล่าให้ฟังว่าเป็นอย่างไร
Begin with the End in mind
ปี 2016 Esoteric แห่งแดนอาทิตย์อุทัย สายแข็งแถวหน้าแห่งวงการ Digital Audio นำเสนอ Esoteric N-05 Network Audio Player ตัวแรกของค่ายออกมาเขย่าโลกไฮเอ็นด์อย่างไม่เร่งรีบ แต่มั่นคงกับคุณภาพเสียงสุดยอดเช่นเดียวกับทรานสปอร์ตของ Esoteric ที่ไร้คู่ต่อกรเป็นตัวอ้างอิง จับผนวกกับ external DAC อันเป็นจุดแข็งของ Esoteric ที่ไม่ต้องสืบ ถือเป็นการกำหนดมาตรฐานใหม่ของ Network Audio ฉีกกฎเกณฑ์เดิมออก มีแนวคิดต่างจากผู้ผลิตอื่นโดยสิ้นเชิง สร้างแรงกระเพรื่อมในแวดวง Digital Audio ที่มิอาจปรามาสได้
จากนั้นอีก 2 ปีถัดมา ตามมาด้วยรุ่นเรือธง Network Audio Player N-01 พี่ใหญ่ เพื่อเติมเต็มความต้องการของลูกค้าในกลุ่ม Cost No Object และล่าสุดขยับอีกครั้ง กับการมาถึงของ N-01XD ด้วยนิยามใหม่ว่า ‘NETWORK DAC’ มาตรฐานใหม่ของ Network Audio playback ที่ต้องจับตา
Pride and Mission of “Esoteric”
ความภาคภูมิใจที่บรรลุถึงพันธกิจ การ reproduce เสียง Master Sound ให้เกิดขึ้น “ให้ความสุขในระดับสูงสุดของความอิ่มเอมใจทางดนตรี” ปรัชญาองค์กรของ Esoteric เป็นรากฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเสียงอันยอดเยี่ยมอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ได้เสียงดนตรีเช่นเดียวกับต้นฉบับที่บรรเลงโดยนักดนตรีในสตูดิโอ หรือจากคอนเสิร์ตฮอลล์
The N-01XD is born.
ในปี 2019 Esoteric เปิดตัวซีรี่ส์ Grandioso เรือธงรุ่นที่ 2 ที่ต่อท้ายด้วยตัวอักษร “X” ได้สร้างความมั่นคงในการ ‘ยืนหนึ่ง’ ให้กับ Esoteric ในฐานะแถวหน้าของเครื่องเสียง Digital Audio ระดับ Ultra Hi-End สำหรับลูกค้าในกลุ่ม Cost No Object นั่นเอง Grandioso P1X, D1X และ K1X คือ ผลิตภัณฑ์กลุ่มแรกที่ถูกเปิดตัวสู่สาธารณชน
Esoteric Grandioso K1X: CD/SACD Player ได้ผนวกนวัตกรรมสำคัญ 2 ประการ คือ VRDS-ATLAS เทคโนโลยีของกลไก CD/SACD ทรานสปอร์ตที่มีความแม่นยำสูงอันไร้คู่ต่อกร มาจับคู่กับ Master Sound Discrete 64- bit DAC ซึ่งเป็น DAC Architecture ใหม่ วิจัยพัฒนาโดยวิศวกรของ Esoteric ซึ่งใช้เวลานานกว่า 2 ปี
เมื่อได้อุปกรณ์สำคัญที่เป็นหัวใจตัวใหม่ ซึ่งแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิงแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาสนุกกันล่ะ โดย Esoteric ได้ถ่ายทอด DNA สู่เครื่องเล่นที่ลงท้ายด้วยอักษร X ของ Grandioso และผลิตภัณฑ์อื่นที่ลงท้ายด้วยอักษร XD ทุกตัว รวมถึง N-01XD Network DAC ด้วย ซึ่งมีทีเด็ดที่ต้องขยาย
Passion for Excellence
Esoteric N-1XD Network DAC ตัวนี้ ทีมวิจัยพัฒนาได้วางเป้าหมายไว้สุดโต่ง และต้องยกนิ้วให้ว่า ‘นายแน่มาก’
เพื่อคำว่า ‘สุด’ ต้องมั่นใจว่า N-01XD จะให้เสียงดีที่สุด โดย D/A Converter ที่ติดตั้งใน N-01XD ต้องมีประสิทธิภาพเหนือกว่ารุ่น D-02X dual mono DAC ที่ยังคงใช้ 36-bit dual mono ในฐานะ Stand Alone DAC และต้องใกล้เคียง หรือดีเท่ากับ Grandioso K1X ที่จะผนวกรวมร่างเพื่อทำหน้าที่ Network Player ซึ่งก็ต้องเหนือกว่า N-01 ด้วย
The story of innovations
N-01XD เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เรือธงจาก Esoteric ที่ถูกขนานนามใหม่ว่า Network DAC หรือ ‘สุดยอด DAC ที่เล่น Network ได้เก่ง’ คือรวม dual mono DAC คุณภาพสูงสุดเข้ากับ Network Player เพื่อให้เพลิดเพลินกับโลกแห่ง Master Sound Playback จากสื่อดิจิทัลแหล่งต่างๆ ตั้งแต่การเล่น Network Audio รวมไปจนถึงการเล่น “แผ่นฟิสิคัล” ผ่านทรานสปอร์ต โดยใช้ Master Sound Discrete DAC ของ Esoteric ที่ถูกวิจัยพัฒนามาอย่างหนักมาก
ตัวตั้งต้นเริ่มจาก Master Sound Discrete DAC เป็นระบบที่ออกแบบ และผ่านการทดสอบอย่างสมบูรณ์โดย Esoteric เพื่อให้ Grandioso มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการเล่นไฟล์ native เพื่อสามารถให้เสียงเป็นธรรมชาติเหมือนเครื่องดนตรีจริง เรียกว่า Network DAC ที่ดีที่สุด “มีเพียง Esoteric เท่านั้นที่สามารถให้ได้” จากการผนวก Network Module คุณภาพสูงตัวใหม่ที่พัฒนายกระดับขึ้นไปอีกขั้น อยู่ในระดับ Ultimate Cutting-Edge ของ Network Player และ D/A Converter
สรุป N-1XD ก็คือ DAC ที่เป็น Network Player ด้วย โดยควบรวมสุดยอดนวัตกรรมของ DAC และ Network ให้อยู่ในเครื่องเล่นนี้นั่นเอง และถ้าดูดีๆ ใน Product Line ของ Grandioso Series จะมีเฉพาะ Mono-block DAC เท่านั้น แต่ไม่มี dual mono DAC มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ดังนั้น การที่ Grandioso Master Sound Discrete DAC ถูกนำมาบรรจุไว้ในเครื่องเล่นตัวท็อป Grandioso K-1X และได้ถ่ายทอด DNA เดียวกันนี้มาสู่เครื่องเล่น K-01XD, K-03XD ลดหลั่นกันลงมา ก็ถือว่าถูกต้องแล้ว
GRANDIOSO‘s DNA
ขณะรีวิวส์ ผมเองเกิดความสงสัยว่า ตกลงแล้ว N-01XD ใช้แผงวงจรของตัวใดกันแน่ ซึ่ง “ทีมงานของ Esoteric ยืนยันมาว่า ทั้ง Digital PCB, Analog PCB ของ D/A Converter และ Clock ทั้งยวง เป็นแผงเดียวกันกับของ Grandioso K-1X CD/SACD Player ตัวท็อปนั่นเอง” ก็ถือว่า ‘สุด’ จริง
ดังนั้น N-01XD ย่อมต้องเหนือกว่า D-02X แน่ๆ ข้อสำคัญทำราคาค่าตัวไว้ดีมาก และถูกบรรจุให้อยู่ไว้ในหมวดผลิตภัณฑ์ D/A Converter ด้วย นอกจากนั้นที่แน่ๆ N-01 Network Player ก็ถูก discontinued ไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ในขณะที่ N-05 ซึ่งออกมาก่อนหน้านี้ยังคงอยู่ในสายการผลิต (เป็นข้อสังเกตุจากผู้เขียน)
Master Sound Discrete DAC ใช้ Platform เดียวกับ Grandioso K-1X ที่ทำงานประสานกับ Network Module กลายเป็นสุดยอด Digital Player แห่งยุค และยังมาพร้อมกับ ES-LINK ver.5 รองรับ PCM 44.1-768 kHz, 48-bit และ DSD 22.5MHz input สามารถต่อเชื่อมกับ CD/SACD Transport ได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย
วงจร DAC แต่ละแชนเนลแยกภาคจ่ายไฟอิสระจากกันแบบ dual mono และรวมถึง Digital Circuit และ Network Module เท่ากับว่า N-01XD ต้องใช้ toroidal power supply transformer รวม 4 ลูกเลยทีเดียว เป็น Solution เดียวกับที่ใช้ใน Grandioso P-1X และ D-1X หรือ K-1X เช่นกัน ทั้งหมดติดตั้งอยู่บนตัวเครื่องอะลูมินัมเกรดสูงที่หนาและหนัก ประกอบอย่างประณีต ทำให้ N-01XD มีตัวเครื่องหนักถึง 26.3 กิโลกรัม กว่าผมจะ Unbox และลากขึ้นวางบนแท่น เล่นเอาหอบกันเลยทีเดียว
Grandioso Custom VCXO* II
N-01XD ควบคุมด้วย Grandioso Custom VCXO* II precision clock (VCXO: Voltage-Controlled Crystal Oscillator) เวอร์ชั่นล่าสุด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ Digital Audio ซึ่งทำให้ phase noise ต่ำสุดๆ และมีความแม่นยำเที่ยงตรงถึง ±0.5ppm ทีเดียว ก็เป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในรุ่น Grandioso P-1X, D-1X และ K-1X ถือว่า ‘สุด’ อีกจุดที่สำคัญมาก และเท่านั้นยังไม่พอ เพราะยังสามารถ Upgrade ให้ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วยการเชื่อมต่อกับ 10MHz clock ภายนอกได้
Luxurious Materials and Powerful Current Output
ภาคจ่ายไฟสำหรับ D/A Converter แยกอิสระซ้ายและขวา มีตัวควบคุมแหล่งจ่ายไฟในแต่ละชุด จ่ายให้แก่วงจรแต่ละข้าง มีกำลังสำรองเหลือเฟือ จ่ายไฟที่สะอาดและเสถียร แยกวงจรดิจิทัลและวงจรอะนาล็อกให้ทำงานดีขึ้นกว่าแต่ก่อน นอกจากนี้ยังใช้ขั้นตอนการประมวลผลแบบ 64-Bits ซึ่งจะเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานน้อยมากหรือไม่มีเลย สามารถแปลงสัญญานดิจิทัลเป็นเสียงอะนาล็อกได้อย่างสมบูรณ์ และสงัดที่สุด
Esoteric – HCLD High Current Output Buffer Circuit
จุดแข็งของ N-01XD อยู่ที่ไดนามิกที่อยู่ในตัวโน้ตของเสียงดนตรี ให้ความสมจริงมาก เกิดจากการส่งข้อมูลปริมาณมาก ด้วยความเร็วสูง โดยวงจรบัฟเฟอร์ “Esoteric-HCLD” ในวงจร Analog Output เปลี่ยนไปใช้ตัวเดียวกับที่ใช้ใน Grandioso K-1X นั่นเอง ใช้ส่วนประกอบประเภท Hi-Speed ที่มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลสูงที่ Slew Rate 2,000 V/μs ซึ่งหมายถึงความเร็วในการตอบสนองมีวงจรสองวงจรต่อช่องสัญานเสียง ในกรณีที่เอาต์พุต XLR จะมีการส่งค่า Differential (Differential) และในกรณีของเอาต์พุต RCA จะมีการขับเคลื่อนแบบขนาน (ขนาน) เพื่อเพิ่มความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าทันที นอกจากนี้ยังต้องใช้ EDLC (Super Capacitor Array) ยังใช้เป็นแหล่งพลังงานของวงจรบัฟเฟอร์ ด้วยความจุรวม 250,000 μF ต่อช่อง ซึ่งสูงกว่า N-01 ตัวเดิมถึง 2 เท่าทีเดียว เพื่อการเล่นแบบ low-pass โดยไม่ถูกลดทอนลง รองรับไดนามิกอย่างฉับไวได้สบายๆ ไม่มีอั้น
Signal Path…. DIGITAL PCB
ภายในยกชุด DIGITAL PCB และ ANALOG PCB ของ Grandioso K-1X มาทั้งยวง เปลี่ยนเล็กน้อยจาก Transport กลายเป็น Network Player Module แทน
Digital inputs: ES-Link, USB (I/F MQA Decoder), SPDIF (RCA, OPT), AES/EBU, Network Player (Ethernet & USB Drive ทั้งหน้าและหลังเครื่อง), CLX Out 10MHz in โดยทั้งหมดจะผ่านวงจรควบคุมหลักของ DIGITAL FPGA ที่ทำงานในหน้าที่ PCM Up-Converter, PCM to DSD, DoP
เชื่อมโดย Master Clock ANALOG PCB (L/R)
ทางเข้าจะเจอ Isolator ค่อยมาถึง Master Sound Discrete 64-bits FPGA DAC ออกแบบแยกวงจร Converter 32-element/Channel และด้วยวงจร Delta-Sigma (ΔΣ) modulator รองรับ 64-bits/512Fs โดย Discrete DAC ทั้ง 32-element/Channel ถูกสั่งการด้วย FPGA เป็นศูนย์สั่งการในแต่ละ Channel เช่นกัน
FPGA: Field-Programmable Gate Array –> DAC –> Analog LPF Filter –> Esoteric – HCLD High Current Output Buffer Circuit –> ES-Link 5 Analog (XLR/RCA) Output ซึ่งเป็นทางออก
แม้ดูซับซ้อน เนื่องจากออกแบบเป็น Module แยกอิสระจากอะนาล็อกและดิจิทัล ใช้ภาคจ่ายไฟอันทรงพลังแยกอิสระถึงสี่ชุด ใช้อุปกรณ์เกรดสูงสุดเฉกเช่นชุดวงจร Audio อันมีชื่อเสียงของ Esoteric Grandioso ที่เป็นรุ่นสูงสุดของแบรนด์
Module เสียงและอุปกรณ์การเล่นที่ล้ำสมัยนี้ถูกติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่องที่ทำจากอะลูมินัมเกรดสูง วางแผงวงจรซ้อนกันสองชั้นเพื่อย่นระยะทางของ Signal Path ให้สั้น แยก Module เพื่อตัดการรบกวนซึ่งกันและกันโดยสิ้นเชิง ส่งผลต่อ background noise ให้ความสงัด ได้คุณภาพเสียง Full body เป็นสามมิติ สุดยอดปรารถนาของนักเล่นเครื่องเสียง และเมื่อวงจรถูกเปลี่ยนจากเดิมไปโดยสิ้นเชิง ก็เป็น ‘เหตุผลสำคัญว่า ทำไม N-01 ไม่สามารถอัพเกรดเป็น N-01XDได้’ ไงล่ะครับ
Key Features
1. Esoteric N-01XD ออกแบบได้ลึกล้ำ สนองตอบการใช้งานได้หลากหลายอย่าง เช่น…ยกไว้เป็นแกนหลักด้วยจุดแข็งของ Dual Mono DAC ขั้นเทพชุดเดียวของ Grandioso K-1X ทำให้ Esoteric N-01XD รองรับไฟล์ได้สุดติ่ง เช่น PCM, DSD, (768kHz/32-bits PCM, DSD22.5 (8x DSD64) on CAS) และ MQA ซึ่งจะถูก Full Unfold จะพับมากี่ทบ ก็คลี่ได้หมดจด ออกมาได้เหมือนต้นฉบับ เช่นที่ศิลปินถ่ายทอดมาจากสตูดิโอกันเลยทีเดียว
2. Network Player อาจถือเป็นภารกิจหลักก็จริง แต่สำหรับ N-01XD Network DAC ถือเป็นพระรองไปเฉยเลย ฟังก์ชั่นนี้เป็นตัวช่วยให้จินตนาการถึงการเลือกเล่นเพลงโปรดด้วยคุณภาพเสียงที่ยอดเยี่ยมจากห้องสมุดดนตรี โดยไม่ต้องลุกจากที่นั่งฟัง Esoteric N-01XD เป็น Network Audio Player ที่เสียงดี เก่ง ฉลาด ใช้งานง่าย ด้วย Network Interface ชั้นยอด ทำงานสอดประสานกับ Digital Audio Receiver และMaster Class 64-bits DAC อย่างไหลลื่น
เปิดประสบการณ์ทางดนตรีที่สดใสของไฟล์ DSD จากต้นฉบับ สามารถเข้าถึงคลังแสงดนตรีดิจิทัลของคุณได้อย่างรวดเร็ว และหางานเพลงใหม่ๆ จากบริการสตรีมมิ่ง สวมวิญญานนักล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าที่มีเพลงคุณภาพสูงนับล้านอัลบั้มให้เลือกฟัง ให้ปฎิสัมพันธ์กับเครื่องดนตรีใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
N-01XD ต่อพ่วงง่ายๆ กับคอมโพเนนต์เดิมภายในห้องฟัง แล้วคุณยังสามารถใช้งานร่วมกับ LAN และระบบไร้สายภายในบ้าน WLAN/Wi-Fi เชื่อมต่อกับ Smart Devices ยังสามารถรวมอุปกรณ์ NAS (Network Attached Storage) หรือ USB Storage รวบมาไว้ในคลังเพลงทั้งหมดในแอพเดียว
Music Server Function มี USB 2 port ด้านหน้าและด้านหลัง N-01XD จะทำหน้าที่เป็น Music Server ไปใน ณ บัดเดี๋ยวนี้ เลือกผ่านปลายนิ้วโดย SOUND STREAM app ทำงานร่วมกัน มันง่ายมาก!
3. Digital Hub/Music Center ไหนๆ ก็เป็นเครื่องเล่น Network DAC กันทั้งที Esoteric N-01XD ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม D/A Converter ก็เลยจัด Digital inputs มาให้ครบ เริ่มตั้งแต่… ES-Link ที่ไปได้ไกลสุดๆ, ส่วนที่ฮอตก็ต้องเป็น USB และ Ethernet, ส่วนขั้วต่อมาตรฐานก็ครบ SPDIF (RCA, OPT), AES/EBU อาจกล่าวได้ว่า Esoteric N-01XD สามารถทำตัวเป็น Digital Hub/Music Center ชั้นดีให้กับห้องฟังได้อย่างไม่ขัดเขิน อาทิ เล่นแผ่นหมุนก็เพียงใช้ CD/SACD Transport, หรือเล่นเกมผ่านเกมคอนโซล, หรือจะเป็นเครื่องเล่นในแบบ Roon Core หรือ Digital Source อื่นๆ ก็นำมาต่อพ่วงจาก N-01XD ได้หมด สำหรับการติดตั้งแอพ Esoteric HR Audio Player ต้องลง Driver เพราะจะทำให้ไปทะลุดวงดาวที่ DSD22.5M กันเลยทีเดียว เพียงแต่สงสัยว่าจะมีไฟล์เล่นมั้ย หรือจะเอา Music Server ตัวอื่นมาเสียบก็ไม่ขัด โดยแต่ละ Input สามารถรองรับสัญญาณดิจิทัลตามด้านล่างนี้ เพื่อจะได้เลือกใช้ให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด
Digital Inputs Signal Formats
ES-LINK: Linear PCM 44.1–768 kHz, 48-bits, DSD 2.8MHz, 5.6MHz, 11.2MHz, 22.5MHz
XLR: Linear PCM 32–192 kHz, 24-bits, DSD 2.8MHz
RCA: Linear PCM 32–192 kHz, 24-bits, DSD 2.8MHz
OPTICAL: Linear PCM 32–192 kHz, 24-bits, DSD 2.8MHz
USB: Linear PCM 44.1–384 kHz, 32-bits, DSD 2.8MHz, 5.6MHz, 11.2MHz, 22.5MHz
ETHERNET: Linear PCM 44.1–384 kHz, 32-bits, DSD 2.8MHz, 5.6MHz, 11.2MHz, 22.5MHz
4. Streaming Service: Spotify, TIDAL, QOBUZ, ROON, Internet Radio รวมถึงเชื่อมต่อกับ iDevices ไร้สายด้วย AirPlay และ Spotify connect
นาทีนี้เป็นฟีเจอร์ที่ Network Audio Player ชั้นดีต้องมี ก็ประมาณว่าฟังเพลงออนไลน์คุณภาพสูงระบบเหมาจ่ายรายเดือน ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้านับล้านอัลบั้มรออยู่ ก็แค่เปิดประตูเข้าสู่ห้องสมุดเพลงบน Cloud Services เช่น จิ๊บๆ อย่าง Spotify ที่มีเพลงไทย และ AI ฉลาดมาก, TIDAL ก็เยี่ยมมีบริการ TIDAL Master ด้วยไฟล์ MQA ซึ่ง N-01XD คลี่ได้หมดจด, ส่วน QOBUZ น่าเสียดายที่ไม่มีให้บริการในเมืองไทย TIDAL Master (MQA) มีเพลงHi-Res Audio ให้เลือกฟังนับไม่ถ้วน ถ้าสงสัยอย่างไร แวะไปพูดคุยกันกับพรรคพวกใน TIDAL Thailand กลุ่มพูดคุยบน Facebook ตามหา TIDAL Master รวมถึงกลุ่ม SPOTIFY 2020 ที่มีแจก Playlist กันจนฟังกันไม่ทันนะครับ
AUDIRVANA Plus ชุดปฎิบัติการที่ผนวกเอา Music Server/Streaming Service ไว้ด้วยกัน หรือ เช่น ROON ที่เทพมาก ทำให้เข้าสู่ระบบที่มี Meta File แต่ละศิลปิน อัลบั้ม แนวดนตรีได้ลึก ลึกกว่าที่ได้จาก Liner Note บวกกับ Wiki ให้เสียอีก โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง Network Bridge, DLNA และ AirPlay
5. Up-Convert | D/A Converter Operation Mode | Filter
Esoteric N-01XD หน้าเครื่องมีปุ่ม Function Keys เพื่อเปลี่ยนฟังก์ชั่น A/D Conversion Function และ Digital Filter หลากหลาย นอกเหนือจากการเล่นที่ Sampling Rate ดั้งเดิมแล้ว ยังสามารถสลับเปลี่ยนแปลงสัญญาณ PCM ได้เร็วขึ้น 2x, 4x, 8x และ 16x (สูงสุด 768kHz) รวมถึงการแปลงข้ามรูปแบบของ PCM และ fixed ที่ 22.5MHz ของสัญญาณ DSD ใช้อัลกอริธึ่มที่เป็นลิขสิทธิ์ของ Esoteric เอง จะข้ามระหว่าง PCM–>DSD ก็ยังได้ ทีเด็ดอยู่ตรงการตั้งค่าของ D/A Converter Operation Mode ที่ตั้งค่าได้ 3 ค่า ส่วนอีกตัวคือ Digital Filter ของ DSD อีก 3 ตัว รวม Default อีกตัว รวมเป็น 4 แต่ถ้ารวม 2 กระบวนการนี้แล้วจะกลายเป็นว่า N-01XD ตัวนี้มีเสียงให้เลือกใน 7 คุณลักษณะ สามารถปรับเปลี่ยน, เปิดหรือปิดใช้งานได้ตามต้องการ ขอบอกว่าต้องลองเองว่าชอบตัวไหน มาเปิดประสบการณ์ใหม่ร่วมกัน เพียงแค่ Click ง่ายเหมือนมือโปรเลยนะ
5.1 D/A Converter Operation Setting: PCM
ขณะเล่นไฟล์ PCM สามารถปรับ D/A Converter Operation Mode ได้ โดยมีให้เลือก 3 ค่า คือ… M1, M2, M3 ก็จะไปเปลี่ยนการตั้งค่าความถี่และพารามิเตอร์ของ Algorithm ใน ΔΣ Modulator โดย M1 เป็นค่า Default ซึ่งจะทำให้โทนเสียงเปลี่ยนไป ก็แล้วแต่ว่าจะชอบ M1, M2 หรือ M3
5.2 DSD Filter Setting: DSDF
ขณะเล่นไฟล์ DSD สามารถปรับค่า Filter เพื่อเปลี่ยน Frequency Response ได้ 3 ค่า คือ… F1, F2, F3 และ Default ก็แปลว่ามี 4 เสียง เมื่อเล่น DSD
Esoteric Sound Stream
อย่างที่บอก Esoteric N-01XD มาแต่ตัวกับหัวใจที่พองโต โดยไม่มีรีโมตให้มาด้วย แต่จะสามารถควบคุมแทนจากรีโมตของ P-05X SACD Transport ซึ่งเป็นปกติไปแล้วของเครื่องเสียงแนวนี้ เพราะเครื่องเล่นสมัยใหม่มักใช้เครื่องมือบนจอทัชสกรีนของ Smart Devices ทำหน้าที่เหนือกว่ารีโมต
Esoteric Sound Stream เป็นแอพสุด Cool ทำงานบน Smart Devices (iOS / Android application) จะบนมือถือก็ได้ บางท่านอาจเลือก iPad ที่จอใหญ่เต็มตา โดย Sound Stream ทำหน้าที่จัดการเพื่อการ… ตั้งค่า, ควบคุม, สั่งการ (ไม่รวม Inputs Selector รวมถึงลูกเล่นพวก Up Convert, D/A Converter Algorithm หรือ Filter ที่ต้องสั่งงานที่หน้าเครื่อง) แต่ก็ทำอะไรได้เยอะมากแล้ว ที่จะทำให้ N-01XD เล่นง่ายและไหลลื่น ค้นหาเพลง ทำเพลย์ลิสต์ แล้วปล่อยให้มันเล่นเพลินๆ บางทีก็อาจไม่จำเป็นต้องพึ่ง Media Server ตัวอื่นอีกเลยด้วยซ้ำ
Firmware versions (F/W ver.)
ฟังก์ชั่นการทำงานอันซับซ้อนทั้งหลายทั้งปวงจะถูกกำกับด้วย firmware หลายตัว เรียกว่าตรึมกันเลยทีเดียว สามารถตรวจสอบได้ ดังนี้ “F/W ver.” มีหลายตัวแยกกัน แค่อัพก็มึนแล้ว บางตัวทำผ่านออนไลน์ได้ บางตัวก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เช่น I/F Firmware ซึ่งไม่หมู ยังไงก็เรียกตัวแทนจำหน่ายส่งคนมาจัดการให้ดีที่สุด เพราะไม่ได้อัพบ่อยนักหรอก
1. I/F **** (I/F firmware), 2. NET **** (Network firmware), 3. M ***** (MQA/USB firmware), 4. DIG **** (Digital FPGA firmware), 5. DAC L**R** (DAC FPGA firmware)
CHECK IN
อาจจะเป็นเหตุผลนี้มั้งที่ค่าสินสอดแทบไม่ต่างจากเดิม น่าจะเกรงใจลูกค้าที่เพิ่งถอย N-01 ไป N-01XD ยังคงใช้ Chassis เหมือน N-01 ภายใต้ตัวเครื่องที่หน้าตาและสัณฐานคงเดิมไม่ผิดเพี้ยนทุกกระเบียดนิ้ว ดูเรียบหรู สุขุม หน้าเครื่อง Esoteric มีชื่อรุ่นเป็นตัวอักษรเล็กๆ N-01XD อยู่ใต้จอดิสเพลย์ขนาดใหญ่ ตัวอักษรสีน้ำเงินตัวโตอ่านได้ชัด ตั้งค่าความสว่างได้ ด้านซ้ายล่างเป็นปุ่ม On/Off Sw และช่อง USB เผื่อไว้เสียบ Thumb Drive/HDD ด้านขวาบนคือ Input Selector Sw วนจาก ES-LINK -> XLR -> NET -> USB (USB input for computers) -> RCA1 -> RCA2 -> OPT (Optical Digital Input), อีกปุ่มเป็น MENU และปุ่ม <-/-> เพื่อเลือกและตั้งค่า Up Convert/Filter ซึ่งต้องมากำหนดที่หน้าเครื่องอย่างเดียว
หลังเครื่องมี Digital inputs (ES-LINK, USB, SPDIF, AES/EBU, Ethernet) ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานไปแล้ว ส่วนAnalog Output มีทั้ง Balance XLR 5Vrms / Unbalanced RCA 2.5Vrms อีกช่องคือ Clock Out BNC 75 Ohm (44.1, 48 kHz) เผื่อไว้สำหรับอุปกรณ์ตัวอื่นที่ต่อพ่วง เช่น CD/SACD Transport และยังมี Clock Sync In 10M 50 Ohm (BNC) แม้ว่า Clock ที่ติดตั้งมาดีมากอยู่แล้ว แต่ถ้าใครมีที่เหนือกว่าก็จัดไว้ให้แล้ว ส่วนบนของฝาหลังเครื่องติดตั้งไว้ด้วยแผ่นอะลูมินัมหนายึดติดแบบกึ่งแขวนลอย โดยไม่ได้ยึดด้วยสกรูแต่อย่างใด เรียบหรู งามเชียว ว่ากันว่าจะส่งผลต่อคุณภาพเสียง ทำให้เสียงเปิด และเป็นเสียงที่ “แพง” ทีเดียว ต้องฟังกับหูกันล่ะคร้าบ
Hook-up / Set up
การติดตั้งง่ายมาก เสียบสาย 4-5 เส้นก็เล่นได้แล้ว จะง่ายไปไหน แต่ต้อง 5 เส้นด้วยเหรอ น้อยกว่าก็ได้ ก็สายไฟเข้าเครื่อง, สายอะนาล็อก XLR หนึ่งคู่ เชื่อมกับ Vitus RI100 Integrated Amplifier เจ้าถิ่น ขับกับลำโพงManger ZeroBox109IIeLE + ซับวูฟเฟอร์ REL S/5 SHO ต่อแบบ 2.2 เพื่อความกระชับไง, สาย LAN อีก 1 เส้น เสียบเข้าไป, อีกเส้นเป็น USB จะใช้ก็ได้ เผื่ออยากลองเล่น Music Server ตัวอื่น หรือ CAS (Computer As Source) ผ่าน Esoteric N-01XD ตัวนี้ ทางบริษัท IAV ไม่ได้ส่ง Transport มาให้ เลยไม่ได้ลองฟังผ่าน ES-Link ที่ต่อผ่าน HDMI Cable ที่ว่ามันเด็ดนัก
อีกอย่างไม่ลืมก็ต้องพก Smart Devices จะเป็น iOS/Android สมาร์ทโฟนจอเล็ก หรือ Tablet จอใหญ่ได้ทั้งสิ้น
โหลดแอพมาติดตั้งเสียก่อน จะพบว่ามีเมนูในการตั้งค่าบนหน้าเครื่องที่ใช้งานไม่ยาก มี 3 Settings มีหัวใจอยู่นิดหน่อย ก็ต้องแอบเปิดคู่มือเอานิดหนึ่ง
Settings 1
UPC > CLK > PCMG > AOUT > DIMMER > DPa OFF > APS >
Settings 2
PCMM > DSDF > LanLED > NETin > REMOTE> F/W ver.
Settings 3
AUD_UPDATE > Volume adjustment settingV_CTRL
1. ตรวจดูว่า Firmware อัพเดตแล้วหรือไม่ ปัจจุบันเป็น I/F Firmware V 1.20 ซึ่งอัพเดตสดๆ ร้อนๆ มาจากโรงงานแล้ว
2. VOL control จะใช้หรือไม่ ถ้าใช้ต้องเข้าไปเปิดใน Setting 3 ส่วนผมไม่ใช้ก็ไม่ต้องทำอะไร ดูบนแอพก็ยังได้ ซึ่งจะปรับวอลลู่มไม่ได้ เพราะใช้อินทิเกรตแอมป์ก็เลยเสียบดื้อๆ ได้เลย
3. Dim ไฟหน้าจอซักนิด จะให้แสดงผลค้างไว้ หรือปล่อยให้แสดงผลแว้บเดียวแล้วให้ดับก็ยังได้
4. ลงทะเบียน TIDAL ใครมีอยู่แล้วก็ลงไปได้เลย ผมก็ใช้ของผมเอง อยากฟังอะไรก็ Search เอา ส่วนถ้าใครจะลงทะเบียนเพิ่มกับ QOBUZ ก็มุดดินไป ส่วน Spotify ทันทีที่แตะจะวิ่งไปหน้าแอพ Spotify ก็แสดงว่าเป็น Spotify connect สิ ทีนี้ก็ง่ายเลย
5. ใครก็ตามที่มีคลังแสงของตัวเองก็คือ Import เพลงใน NAS ให้ปรากฎใน Music Library โดยที่ Sound Stream คุ้นเคยกับ Minim Server ใครไม่ใช้ NAS ก็ใช้ External HDD FAT32 มาเสียบก็ทำได้เช่นกัน บังเอิญของผมมีเล่น Sound Stream อยู่แล้ว ก็มีอัพเดตเพลงใหม่ใน Minim Server บ้าง ก็เพียง Re-scan กับ 6,000 อัลบั้ม ใช้เวลาไม่นาน
6. ม่วนกับการทดลองตั้งค่า Up Convert | D/A Converter Mode | Filter ซึ่งต้องทำที่หน้าเครื่อง โดยมี Sequence ดังนี้… Dimmer –> UPC –> FIX –> DSDF –> CLK –> OUT –> DISP –> DPaOFF –> APS –> DIMMER
ส่วนการตั้งค่า Up Convert (UPC) ต้องเปิดโผหน่อยล่ะ ผมตั้ง UPC ไว้ที่ FIX แล้วมาตั้ง FIX ไว้ที่ DSD22M อีกครั้ง ส่วน Mode ของ D/A Converter และ DSD Filter ซึ่งส่วนใหญ่ก็เลือกที่ Default คือ M1 และ F0 จะเหมือนไม่เปิดการใช้งาน เพราะอยากปล่อยให้มันเป็นอิสระที่สุด อาจมีลองเปลี่ยนสลับมาฟังบ้างก็แล้วแต่อารมณ์ว่าวันนี้อยากปรับอารมณ์ดนตรีหรือไม่ มีเวลาค่อยลองไปเรื่อยๆ
Vol. จะถูกปิดไว้เป็นค่า Default บนแอพ Esoteric Sound Stream Volume จะ Fixed ตาม Default ของเครื่องเล่นไปด้วย ก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะผมใช้ Integrated amp แต่ถ้าจะเปิดการใช้งานใน Setting 3 ต้องระวัง ทดลองให้ดีก่อน อย่าเพิ่งเปิดเพาเวอร์แอมป์นะ
Party Start
เมื่อเปิดเครื่อง N-01XD บู้ตเครื่องเร็ว ชั่วอึดใจก็พร้อมเล่น ตัวหนังสือ Ready จะปรากฏบนหน้าจอ จากนั้นเลือก Input ที่จะเล่น เอาอะไรก่อนดี แนว Streaming นี่ล่ะ จริงๆ ก็แทบจะติดอยู่ที่ NET IN นี่ล่ะ ทันทีที่ถูกเลือก หน้าจอจะแสดงผลว่า Ready กระพริบวาบ วาบ จากนั้นก็หันไปหยิบไอแพด เปิดแอพ Esoteric Sound Stream ขึ้นมา ก็พร้อมเล่นแล้ว แอพมีพื้นฐานการทำงานง่าย โดยทุกหน้าบน iPad ของแอพถูกติดตั้งไว้ด้วย icon อันเป็นตัวแทนของสัญลักษณ์ที่ออกแบบขึ้นตามความต้องการใช้ได้ง่ายตามสัญชาติญาณ เพราะมี Logic ดีมาก ไม่เก่งภาษา หรือแม้ไม่เคยใช้ก็ใช้เป็น ที่จะช่วยค้นหาเพลงอัลบั้มหรือจากรายชื่อศิลปิน หรือจะสร้าง Playlist ส่วนตัว ปกอัลบั้มก็จะขึ้นมาให้เห็นบนแอพ จะเลือกว่าจาก NAS หรืออยากทราบว่ามีบน TIDAL หรือเปล่า ก็กดตามลิงก์เข้าไปเล่นได้เลย ขณะเล่นจะแสดงปกอัลบั้ม บอกว่าเป็นไฟล์อะไร Bit-rate เท่าไหร่
การค้นหาเพลงทำได้ง่าย จะเข้าถึง Folder ในคลังแสงส่วนตัวบน NAS, External HDD ที่เสียบอยู่หลังเครื่อง หรือแม้แต่เพลงอีกนับล้านอัลบั้มจาก TIDAL, QOBUZ ขุมทรัพย์ดนตรีสุดขอบฟ้าอันไกลพ้น หาอัลบั้มที่อยากฟังได้ฉับไว ไม่ต้องเสียเวลามะงุมมะงาหราหาแผ่นบนผนังห้องฟัง กว่าจะหาไม่เจอ เล่นเอาหมดอารมณ์ พาลรมณ์เสีย ถ้าหาไม่เจอ เพราะดันไปซุกไว้ที่ไหนก็ไม่รู้ ดีไม่ดีเปิดกล่องมา ขึ้นราเสียแล้ว สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลย เคยมีพรรคพวกที่ไม่เคยเล่น Streaming แอบทดสอบว่าจะมีบ้างมั้ยว่า ผมจะหาเพลงให้ฟังไม่ได้ ยิ่งคอเดียวกัน โอกาสหน้าแตกแทบไม่มีเลย ไม่มีไฟล์ก็ต้องมีบน TIDAL หรือ Spotify จะรอดไปได้ไง ยิ่งถ้าเปิดตอนนี้กับ N-01XD ต้องอ้าปากค้าง เพราะคุณภาพเสียงที่จะได้จาก N-01XD นั้น สุดจริงๆ… ที่มั่นใจก็เพราะน้อยมากที่พวกเขาจะมีโอกาสได้ฟังจากชุดเรื่องเสียงที่ลงตัวทั้งการ Set Up ตั้งแต่หัวขบวนยันท้ายขบวน รวมถึงอะคูสติกส์ที่ลงตัว ได้ความสงัดที่จะทำให้ดนตรีเป็นสามมิติได้ไม่ยาก
ไหนๆ ก็เล่น Network Audio ด้วย Esoteric N-01XD Network DAC ทั้งที ก็ต้องฟังเพลงจากไฟล์ Hi-Res PCM หรือ DSD เป็นหลักไว้ก่อน อัลบั้มคุ้นเคยของผมแนวคลาสสิกร็อกอย่าง Pink Floyd, Black Sabbath, Yes, Dream Theater หรือเด็กเกรียน Avenged Sevenfold ลากยาวไปถึง Dire Strait (DSD) ยกกรุ เฮ้ย! นี่ไม่ใช่ที่เคยได้ยินแบบนี้มาก่อนในหลายเครื่องเลยนะ เนื้อหนังแน่น มาครบ ฟังสนุกกว่าที่เคยได้ยิน ยิ่งอัลบั้มออดิโอไฟล์ของ Linn Records อย่าง Barb Jungr หรือค่ายอื่นอย่าง Norah Jones หรือตัวแม่อย่าง Patricia Barber เวอร์ชั่น DSD หลายชุดที่เป็น Vocal หรืออัลบั้ม Jazz ขึ้นหิ้งอย่าง Jazz At the Pawn Shop สังกัด Naxos (DXD 24/352.8) ที่มีเพอร์คัสชั่นสนุกๆ บรรยากาศโรงจำนำ เอ๊ย… แจ๊สผับมาเต็มๆ ส่วนไฟล์ Sampler จาก 2L เป็น DSD256 ก็แสดงผลเป็น DSD11.2 เล่นได้เนียนกริ๊บ เสียดายที่ Bit-rate สูงกว่านั้นไม่มีให้ลอง แฮะ
ด้วยอานิสงส์ของภาคจ่ายไฟที่มีกำลังสำรองเหลือเฟือ ให้ความสงัดดีจึงส่งผลได้ชัดกับไดนามิก ดนตรีเบาก็ยังได้ยินรายละเอียดเล็กๆ หรือเวลาดนตรีโหมกระพือดังๆ พลังทะลุทะลวงและมีอิมแพ็คดีมาก ไม่ล้นหรือบวม ซึ่งก็ขึ้นกับแอมป์และอะคูสติกส์ห้องฟังประกอบกันด้วย ที่ให้เสียงอิ่ม เนื้อเสียงมีมวล มีรายละเอียดให้บรรยากาศโอบล้อมเป็นธรรมชาติมาก ชิ้นดนตรีนวลเนียน รายละเอียดระยิบระยับ ทำให้ดนตรีมีไดนามิกดุดัน เนื้อเสียงแน่น เวทีเสียงกว้าง รูปวงเป็นสามมิติ สมคุณค่าอัลบั้มที่เก็บไว้ ก็เพราะจากการประมวลผลของ Master Sound Discrete 64-bits DAC ที่ใช้ processing algorithm ใหม่ ด้วย HCLD High Current Output Buffer Circuit มีกำลังสำรองสูงกว่าเดิมเป็น 2 เท่าด้วยวงจร EDLC (Super Capacitor Array) ยังใช้เป็นแหล่งพลังงานของวงจรบัฟเฟอร์ความจุรวม 250,000 μF ต่อข้าง ส่งผลต่อเสียงอย่างมาก
ยิ่งได้ยิน TIDAL Master รีลีสอัลบั้มใหม่ๆ ออกมาถี่รัวๆ ขนาดนี้ ข่าวว่าจะมาเป็นล้านแทร็กกันเลยทีเดียว จะไม่ฟังได้ไง เจ้า N-01XD MQA Full Unfold ประมาณว่ากิโมโนมีกี่ชั้นก็คลี่ได้หมดจดดีแท้ ต้นฉบับมายังไงปล่อยออกมาแบบนั้นกันเลยทีเดียว อย่างของ Jackson Browne ก็กรุแตก น้าจัดมาให้ฟังเทียบกันหลาย Bit-rate กันเลยทีเดียว หรือค่าย ECM ที่ยกกรุมาฟังกันจนเพลิน โดยเฉพาะของ 2L จัดเต็มมาให้ ทำการ Decode ก็จะเป็นการ Unfolded คลี่เป็นไฟล์ 352.8K/24 อัลบั้มใหม่ของเซอร์ Paul McCartney (McCartney III – MQA 24/96) บอกเลยว่าอึ้ง.. ปู่ยังมีพลังเหลือล้น ถือว่าน่าฟังเลยล่ะ
ซื้อเครื่องเสียงแนว Network Audio Player อย่ารอช้า ลงทะเบียน TIDAL หรือ QOBUZ โลด คุ้มที่สุด อย่าได้คลางแคลงใจ ศิลปินที่อยากฟัง ลอง Search ดู Al Stewart, Scorpions, Pink Floyd, Enya, Eva Cassidy, Tracy Chapman, Jackson Browne, … โอย! มาแบบยกกรุ ส่วนบน QOBUZ จากต้นทางก็มาเป็น Hi-Res Audio ให้เสียงรายละเอียดระยิบระยับแบบไม่เคยฟังมาก่อนจากซีดี ก็ฟังเพลินไปสิ เมื่อมีให้เลือก จะฟังตัวไหนก็เลือกฟังเอา แนะนำให้เล่นทั้งสองค่าย TIDAL และ QOBUZ เพราะแต่ละค่ายมีจุดเด่นต่างกัน แล้วแต่ความชอบ ความสามารถ และกำลังซื้อ
“ของมันต้องลอง คำเตือน… อาจหมกมุ่นได้” ฟังก์ชั่น Up Sampling หรือจะ Up Convert ปรับข้ามฟอร์แมต และปรับ PCMM Mode M1-M2-M3 รวมถึงยังไม่รวม Up Sampling บนฝั่ง PCM อีกหลายสเต็ป แถมยังเลือก Filter ของ DSDF มีให้ 3 ค่า… คือ F1, F2 และ F3 รวม Default ด้วยก็กลายเป็น 4 อารมณ์เพลง สรุปแล้วรวมเป็น 7 แบบเลยนะ แน่นอนว่าให้เสียงที่มีคาแร็กเตอร์ต่างกัน ถ้ามีเวลาก็ค่อยๆ ฟังว่าเหมาะกับแนวดนตรี หรืออัลบั้มอะไร แอบคิดว่า ถ้าไฟล์ต้นฉบับดีอยู่แล้วจะออกไปในทางที่ดีขึ้นจากเดิมแทบทั้งสิ้น ส่วนตัวเคยชอบบริสุทธิ์นิยมยังแอบลองของเล่นใหม่ แปลกไปอีกแบบ ใหม่สดขึ้น แต่คงไม่แนะนำให้อัพกับไฟล์บ้านๆ ที่บันทึกมาแย่ เกรงว่าจะเละ ลองค่อยๆ ปรับไป ฟังไป เพราะยิ่งซิสเต็มขี้ฟ้องก็อาจจะไม่ปลื้ม จริงๆ ก็แล้วแต่ความชอบ ลองใช้เวลาอยู่กับมัน ฟังหลายๆ แนว ลองปรับดูอาจถูกใจตัวใดตัวหนึ่งก็ได้นะ สนุกดีครับ เสียแต่ว่าแต่ต้องทำที่หน้าเครื่องซะงั้น จะดีมากถ้าสามารถควบคุมด้วย Esoteric Sound Stream app (iOS/Android) เหมือนผมจะต้องการเยอะไปหรือเปล่า แค่นี้ก็สามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวางมากพอควรแล้ว
Digital Hub functions
ในเมื่อมีสุดยอด DAC กันแล้ว ก็ลองเล่นฟังก์ชั่นที่ใช้ Digital inputs อื่นๆ อย่างน้อยก็ใช้ Transport ของ Pioneer LX500 Universal Player หรือ Music Server ภายนอก หรือง่ายสุดก็ CAS ไง ซึ่งก็เป็นทางถนัดอยู่แล้ว ลองดูหน่อยก็ได้ ผมใช้ Audirvana+, Amarra4 Luxe, Roon กับ Esoteric HR Audio Player ที่ให้มา จะเป็น DLNA ก็ยังได้ ในฐานะ Digital Hub ก็ทำหน้าที่ได้ดี ต้องยอมรับว่าแต่ละแบบย่อมมีประสิทธิภาพ ให้คุณภาพเสียงต่างกันอยู่แล้ว แต่ก็เถอะนะ เมื่อมี Sound Stream application อยู่แล้ว รักความสะดวกสบายจะเล่นทำไม จะซับซ้อนไปไหน เว้นแต่ถ้ามี Digital Source อื่นหลายตัวมาต่อพ่วงก็ ไฉนเลยไม่ทำเป็น Digital Hub ที่สุด Cool เสียเลย
เพราะต้องกักตัวหลบ COVID-19 อยู่บ้าน แทบไม่ได้ออกจากบ้านไปที่ไหน ได้เล่น Esoteric N-01XD ครั้งนี้แบบเต็มเวลา IAV ฝากมาให้ช่วยเผากันยาวๆ ค่อยละเมียดฟังแบบไม่เร่งร้อน ทุกครั้งที่ได้ฟัง ยิ่งเริ่มใกล้ระยะ Break Through เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทุกวันอย่างฟังได้ชัด
เมื่อเลือกความเป็นที่สุดกันทั้งทีแล้ว เพื่อหยุดการแสวงหาไม่ใช่เหรอ สนุกกับการค้นหาในห้องสมุดดนตรีที่ใหญ่ ตามล่าหาขุมทรัพย์ให้สนุกกว่ามั้ย ถึงตรงนั้นเชื่อว่าจะฟังเพลินจนลืมไปเลยว่าฟังฟอร์แมตอะไร ไม่สนใจว่ามาจากส่วนไหนของโลกด้วยซ้ำ จะ PCM / DSD / MQA จาก TIDAL Master หรือแม้ MP3 ของ Spotify ไม่ใช่เรื่องที่ต้องสนใจอีกต่อไป อัลบั้ม LIVE ไหนโดน แต่บันทึกห่วยแค่ไหน เพิ่งรีลีสก็เยอะ รุ่นใหญ่โชว์ดีก็ตื่นตาตื่นใจ ฟังสนุกไปหมด ทุกปลายสัปดาห์ต้องมาลุ้นในกลุ่ม TIDAL Thailand ว่าจะมีสมาชิกนำเสนออัลบั้มและเพลย์ลิสต์อะไร ติดหัวใจไว้จนแทบฟังไม่ทัน ไล่ตามฟังลืมเวลากันเลยทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การแสวงหาคงจะต้องยุติตรงนี้อีกนาน
Raise Up the BAR
Esoteric N-01XD Network DAC นั้น อัพเลเวลสูงขึ้นกว่ามาตรฐานไปไกล ฉีกแนวคิดเดิมๆ ของนิยามว่า Network Player สูงขึ้นไปหลายสเต็ป ด้วยจรรยาบรรณของรีวิวเวอร์คงไม่ต้องเทียบกับเครื่องเล่นแบรนด์อื่นตัวไหนหรอก เทียบกับ N-01 Network Player ตัวเดิมนี่ล่ะ เพราะ N-01 เดิมก็ถือว่าท็อปฟอร์มเจ๋งสุดแล้ว เสียงยังติดหู เมื่อเจอ N-01XD เข้าไปนี่ ต้องยอมเลย นิยาม Network DAC นั้นควรมีความหมายว่า “DAC ที่เล่น Network ได้และเก่งด้วย” นั้น เหมาะสมแล้ว
Only Esoteric!!!
Esoteric ตอกย้ำความเป็นผู้นำ ‘ยืนหนึ่ง’ ด้วย N-01XD NETWORK DAC เรือธง สร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นอีกครั้ง จัดเต็มแบบ ‘ไม่หวงเครื่อง’ ที่ Esoteric เท่านั้นที่ให้ได้ ด้วยขุมพลังใหม่ Platform เดียวกับ Grandioso K-1X บน Chassis เดิมนั้น บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ไม่ใจร้ายวางขุมพลังใหม่บน Chassis ตัวใหม่ ขยับเลื่อนชั้นแล้วเพิ่มค่าสินสอดก็ต้องยอมใจเลย
กำหนดค่าสินสอดแบบถ่อมตัว เพราะเกรงใจลูกค้า N-01 แม้รูปลักษณ์ภายนอกประมาณว่าไม่ต่างจาก N-01 ตัวเดิมเลย ถ้าไม่สังเกตชื่อรุ่น XD ซึ่งตัวเล็กนิดเดียว หรือขั้วต่อท้ายเครื่องที่มี ES-Link เพิ่มขึ้นมา และมาพร้อมกับ DAC Architecture ใหม่ที่เรียกว่า Master Sound Discrete 64–bits DAC พร้อมติดตั้ง Power Unit ขุมพลังตัวใหม่ที่วางลงไปในตัว Chassis เดิม โปรดอย่าเคืองที่ Esoteric เปลี่ยน Power Unit ไวจัง ทำไงได้.. ก็เมื่อ Network Audio ปังปุริเย่ซะขนาดนี้ การแข่งขันเข้มข้นมาก จำเป็นต้องส่ง N-01XD NETWORK DAC ขึ้น ‘ยืนหนึ่ง’ ไปท้าชนไว้ก่อน
‘ก็ใช่ว่า N-01 Network Audio Player จะตกรุ่น แต่บังเอิญว่า N-01XD เป็น NETWORK DAC ที่มี Power Unit ของ Grandioso K-1X ซึ่งแรงและทันสมัยกว่าเท่านั้น’
ถ้าอยากรู้ว่า เครื่องเสียงที่มีระดับชื่อชั้นอย่าง Esoteric ที่บรรจุด้วย Master Sound Discrete 64-bit Dual Mono DAC + Network Transport เทพๆ นั้น จะต้องใช้งบลงทุนเท่าไหร่ ก็ลองสอบถามราคาของ Esoteric D-02X หรือ Grandioso K-1X ไว้เพื่ออ้างอิง หรือ จะลองสอบถามราคาของ ‘DAC ชั้นดีที่เล่น Network ได้’ จากค่ายอื่น ‘ในระดับ Master Class เดียวกัน’ ก็ยิ่งจะเห็นความคุ้มค่ายิ่งขึ้น เพราะ ‘คุณก็รู้ว่า’ ในเรื่องเพอร์ฟอร์มานซ์นั้น N-01XD มั่นใจว่าสู้ได้แน่ๆ ที่ N-01XD น่าจะเป็นรองก็เรื่อง ‘ค่าสินสอด’ นี่ล่ะที่สู้ไม่ได้
‘สุด’ ของ NETWORK DAC นั้น คืออย่างไร? อยากชวนให้มาลองสัมผัสสักครั้ง เชื่อเหลือเกินว่าคงอดใจยาก ต้องรีบสอยมาประจำการในห้องฟังสักตัว แค่ตัวเดียวก็ทำหน้าที่ได้ครบ
Esoteric N-01XD NETWORK DAC ตัวเลือกที่ต้องแนะนำอย่างยิ่ง รับประกันว่าจะเพลินไปกับมันจนลืมเครื่องเล่นที่รายรอบอยู่เดิม รวมถึงคอลเล็กชั่นแผ่นฟิสิคัลบนข้างฝาที่จะกลายเป็นวอลเปเปอร์ไปเลย… นี่คือคำเตือน. ADP
ราคา 865,000 บาท
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย Inventive AV โทร. 02-238-4078-9
No Comments