DS AUDIO DS 002 OPTICAL PHONO CARTRIDGE
นักเขียน : นพ. ไกรฤกษ์ สินธวานุรักษ์ :
ร้านสวนเสียงของพี่พิทักษ์ เป็นร้านที่ผมไปนั่งพักผ่อนหย่อนกายเป็นประจำระหว่างรอ ไปทำงานพิเศษ วันหนึ่ง คุณคริส แห่งบริษัท IAV ก็ได้ถือหัวเข็มยี่ห้อใหม่มาให้ลองฟังที่ร้าน เพื่อลองเสียง และ setup ก่อนไปออกงานเครื่องเสียงที่ผ่านมา ผมเลยได้อานิสงส์ได้รับฟังเป็น คนแรกๆ เลย มันคือหัวเข็มที่เป็นที่กล่าวขานกันมากมายในกระแสนักเล่นเครื่องเสียงต่างประเทศ ถือเป็นของแปลกใหม่ในวงการ เท่าที่ทราบ ในท้องตลาดบริษัทที่ทำหัวเข็มแผ่นเสียงแบบมีไฟส่อง จะมีของ Soundsmith รุ่น Strain Gauage แล้วก็ของ DS Audio นี่แหละครับ โดยปกติทั้งสอง ยี่ห้อที่ทำออกมาราคาก็เกินเอื้อมทั้งคู่ จนกระทั่งมาถึงรุ่น DS 002 ที่มีราคาพอจะจับต้องกันได้ ผมเลยถือโอกาสขอทางบริษัท IAV มารีวิว
COMPANY PROFILE
คุณ Tetsuaki Aoyagi หรือ พวกเราชอบเรียกแกสั้นๆ ว่า Aki เป็น CEO หนุ่มฟ้อของบริษัท DS Audio (ตอนแรกผมนึกว่าแก เป็น Sale Manager แต่ไม่ใช่ฮะ) แกได้เล่าโปรไฟล์ของบริษัท ดังนี้ DS Audio นั้น คำว่า DS ย่อมา จาก Digital Stream Corporation ธุรกิจหลักของบริษัทเขาจะทำเกี่ยวกับ Laser Optical System เช่นพวก Microsoft Mouse, ทำระบบ Quality Control พวก Laser Drive Mechanism ต่างๆ ด้วย knowhow พื้นฐานเหล่านี้ที่มี ความชำนาญในระบบ optical เลยทำให้ Aki สนใจที่จะมาทำหัวเข็มแผ่นเสียงระบบ optical นี้ จริงๆ หัวเข็มระบบ optical มีการทำมาก่อนหน้านี้แล้วถึง 40 ปี แต่มีปัญหาต่างๆ ทำให้ไม่ได้รับ ความนิยม (ดังจะกล่าวต่อไป) ทาง Aki ได้ประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่ของระบบ LED และพัฒนาต่อ ทำให้กลายมาเป็นหัวเข็มแผ่นเสียง DS Audio
DIGITAL OR ANALOG CART
คำถามแรกที่ผู้คนสงสัยคือ หัวเข็ม optical นี่มันเป็น digital หรือ analog คำตอบคือ มันเป็น analog 100% ครับ มันยังใช้ปลายเข็ม stylus และก้านเข็มในการรับแรงสั่นสะเทือนจากร่องแผ่นเสียง เพียงแต่เปลี่ยนระบบเหนี่ยวนำจากแรงสั่นสะเทือน ไปเป็นกระแสไฟฟ้า ด้วยการใช้ขดลวดเคลื่อน ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก (MC) หรือกลับกัน (MM) มาเป็นการเปลี่ยนแปลงความเข้มแสงที่ตกกระทบ ต่อ photo detector และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า (เหมือนกับ solar cell ตามบ้าน)
HISTORY OF OPTICAL CART
Optical Cartridge ไม่ใช่ของใหม่ครับ มันมี มาเมื่อเกือบสี่สิบปีก่อนมาแล้ว โดยบริษัท Toshiba หลักการทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม คือ มีแหล่ง กำเนิดแสงส่องไปยัง photo detector sensor โดยที่มีแผ่น screen บางๆ กั้นอยู่ระหว่าง light source กับ photo detector ตัวแผ่นกั้นนี้จะติด อยู่กับก้านเข็ม ตามภาพ
เมื่อมีแรงสั่นสะเทือนที่ stylus ก็จะทำให้มี การเคลื่อนไหวของ cantilever และทำให้แผ่น screen เคลื่อนตัวตัดผ่านแสง ความเข้มแสงที่ ตกกระทบก็เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ตัว sensor แปลงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แตกต่างกัน และไปแปลผลที่ภาค phono ของเขาเอง ปัญหาที่เกิดขึ้นใน สมัยนั้น คือ ตัว light source ยังไม่ดีเหมือนปัจจุบัน เมื่อเล่นๆ ไปก็จะเกิดความร้อนในระบบ ทำให้ตัวยาง ที่รองรับ suspension ของก้านเข็มมีความร้อนไป ด้วย เสียงจะแปรเปลี่ยนไป ถ้าจะขยับ light source ให้ห่างจากตัว suspension rubber (เพื่อให้ความร้อน ตกกระทบลดลง) ก็จะทำให้ signal noise ratio แย่ลง
ทางบริษัท Toshiba ก็ได้พยายามหาวิธีแก้ปัญหา นี้อีกครับ ด้วยการใช้ light source ส่องไปทางอื่น ทำbody ให้เป็นเหมือน velodome ทรง parabola สะท้อนแสงรวมโฟกัสลงมาที่ตัว screen และ photo detector แทน วิธีนี้จะช่วยให้สามารถวาง light source ได้ห่าง แก้เรื่อง heat problem และไม่ทำให้ S/N ratio ลดลง แต่ก็ยังไปไม่รอด สุดท้ายก็เลิกทำไป
แต่เมื่อมาถึงยุคนี้ เทคโนโลยีด้าน optical ได้ ก้าวหน้าไปมากกว่าเมื่อสี่สิบปีก่อนมาก สามารถทำlight source ที่ดี และไม่มีความร้อน รวมถึงตัว sensor ที่ดี เลยเป็นช่องทางให้ทาง DS Audio ที่มีความสนามแม่เหล็กเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ optical และ laser มาพัฒนาแนวคิดของ Toshiba นี้ต่อ
BENEFIT OF OPTICAL CART
ในระบบของ magnet – coil system ของหัวเข็ม ไม่ว่าจะเป็น moving magnet หรือ moving coil จะอาศัยหลักการของการเคลื่อนไหวของขดลวดตัวผ่าน(หรือกลับกัน) เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดแรง ดันไฟฟ้าบริมาณน้อยๆ แล้วค่อยไปขยายต่อที่ภาคโฟโน การตอบสนองความถี่ หรือ dynamic contrast ของ หัวเข็มระบบนั้น จะดีมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นกับ moving parts ว่าจะตอบสนองได้ไวแค่ไหน ดังนั้น เรามักจะเห็น ได้ว่า หัวเข็ม MC ให้เสียงได้ดีกว่า ให้ความแตกต่างของ รายละเอียดได้ดีกว่าหัว MM เนื่องจาก moving part คือ coil มีน้ำหนักเบากว่า magnet หัวเข็มราคาสูงๆ พวก low mc output จะมีการพันรอบ coil น้อยๆ ทำให้ฝั่งปลายเข็มมีน้ำหนักเบา สามารถสั่นไหวตอบสนอง ได้ดี (แต่ก็ต้องอาศัยภาคโฟโนที่ดีด้วยนะครับ)
แต่ปัญหาด้านฟิสิกส์ของระบบนี้คือ ยังไงๆ มัน ก็ยังมีการเหนี่ยวนำการดูดผลักของสนามแม่เหล็กอยู่ การเคลื่อนไหวของก้านเข็มก็ยังมีข้อจำกัด คือ ยัง มี resistance ของการเคลื่อนไหว อันเนื่องมาจาก สนามแม่เหล็ก นอกจากนี้ ความแรงของสัญญาณยัง ถูกบดบังด้วยความถี่ที่บันทึกมาบนร่องแผ่นเสียงด้วย
โดยปกติ ความแรงเบาของสัญญาณจากหัวเข็ม ขึ้นกับการกัดร่องแผ่นเสียง ถ้าช่วงที่มีสัญญาณเบา ร่องแผ่นเสียงจะกัดไม่ลึกมาก แต่ถ้าช่วงสัญญาณแรงๆ ร่องแผ่นเสียงจะกัดร่องกว้างและคดโค้งไปมามาก (ใครมีแผ่น 1812 Overture ของสังกัด Telarc ลอง สังเกตร่องแผ่นเสียงตอนท้ายช่วงยิงปืนใหญ่ดูนะครับ) ดังนั้น ตอนบันทึก ระบบ RIAA จะกดความดังของย่าน ความถี่ต่ำลง เพื่อให้สามารถตัดร่องแผ่นเสียง และเล่น กลับได้ง่าย แล้วค่อยไปชดเชยในภาคโฟโนเอา ส่วนย่าน ความถี่สูงก็จะกลับกัน คือ บูสต์เพิ่มขึ้นตอนบันทึก และ ค่อยไปกดลงในภาคโฟโน
ทีนี้ในระบบ coil magnet system นั้น แรงดัน สัญญาณขาออกจะขึ้นกับความถี่ที่ตัดผ่านสนาม- แม่เหล็กด้วย ถ้าเราสั่นก้านเข็มให้ขยับเท่าเดิม แต่แปร เปลี่ยนความถี่ ที่ความถี่สูงจะได้ความแรงสัญญาณ ขาออกมากกว่าที่ความถี่ต่ำอันนี้คนที่ทำภาคโฟโนดีๆ ก็จะต้องคิดเผื่อตรงนี้อีก เพื่อให้การแปลผลผ่านภาคโฟโนถูกต้องที่สุด เมื่อเทียบกับสัญญาณขาเข้าที่บันทึกมาบนร่องแผ่นเสียง แต่ระบบของ optical system จะไม่มีปัจจัยนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากไม่ได้ใช้ระบบขดลวดกับแม่เหล็กเช่นหัวเข็มทั่วไป
ระบบของ DS Audio จะไม่มีเรื่องของ coil กับแม่เหล็กเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น movement part จึงเบามาก การตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงจะไวกว่า ไม่มีความหน่วงหรือแรงต้านของสนามแม่เหล็กเข้ามาเกี่ยว light source เป็น LED ไม่มีความร้อน สามารถวางได้ใกล้กับ screen ทำให้ signal noise ratio สูง ตัว photo detector นั้น จริงๆ มีแยกสองข้างซ้ายขวาตามภาพข้างล่าง ดังนั้น การแจกแจง stereo image ซ้ายขวาจึงทำได้อย่างดี
ดังนั้น ระบบของ DS Audio จึงเป็น full analog cartridge phono system เพียงแต่ว่า การเปลี่ยนพลังงานกลจากการแทร็กของปลายเข็มในร่องแผ่นเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้านั้น ไม่ได้ใช้การเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็ก แต่ใช้การเปลี่ยนแปลงความเข้มแสงจากแผ่น screen เล็กๆ ที่ขวาง LED และ photo sensor แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ทุกอย่างยังเหมือนเดิม เราสามารถเล่นได้บนอาร์มและสายโทนอาร์มปกติที่เราใช้งาน แต่ต้องใช้กับ phono ของเขาด้วยกัน
ตัว phono amplifier จะทำหน้าที่ 1) จ่ายไฟไปเลี้ยงหัวเข็ม 002 โดยไฟจะวิ่งไปทางสายกราวด์ทั้งสองแชนเนล คือสีน้ำเงิน กับเขียว (ผมลองต่อสลับเขียวกับนำเงิน บนสาย headshell ไฟบนหัวก็ไม่ติด) ส่วนสัญญาณจาก photo sensor ก็จะวิ่งกลับมาแปลผลที่ตัวโฟโนผ่านทางสายอาร์มสีแดง (แชนเนลขวา) กับขาว (แชนเนลซ้าย) นั่นเอง ความแรงของสัญญาณขาออกมาภาคโฟโนนั้น 500 mV ทีเดียว 2) แปลผลและชดเชยค่า RIAA equalization ที่มาจากการตัดแผ่นเสียง เราไม่สามารถเอาหัวเข็มระบบเดิมๆ ไปเล่นกับโฟโนเขาได้ หัวเข็มของเราจะพังทันที เนื่องจาก DS phono ปล่อยกระแสไฟผ่านสาย tonearm ไปยังหัวเข็ม coil ของเราคงจะไหม้แน่นอน หรือเอาหัวเข็มของเขาไปเล่นกับโฟโนปกติของเราได้ (แน่นอนอยู่แล้ว เพราะไม่มีไฟไปเลี้ยงหัวเข็ม) แต่เราสามารถเล่นสลับไปมาระหว่างหัวเข็มและโฟโนแต่ละรุ่นของค่าย DS กันเองได้ ภายในเครื่องไม่มีส่วนใดให้ต้องปรับ ไม่ต้องมีการปรับค่า gain, load resistance หรือ capacitance แบบโฟโนปกติทั่วไป
ด้านหลังเครื่องมี output ให้เลือกสองช่อง ต่อได้ทีละช่องนะครับ ไม่สามารถต่อออกได้พร้อมกัน เหมือนกับว่าเป็นการเลือกระดับของการตัดระดับความถี่ต่ำ(ผมได้ลองทั้งสองแบบแล้ว ชอบเสียงของ output 1 มากกว่า เลยใช้แต่ช่องนี้ตลอดการรีวิว)
ตัว DS Audio: DS 002 นี้เป็นรุ่นล่าสุดที่ทำออกมา ในราคาที่ย่อมเยากว่ารุ่นพี่ๆ ตัว body เป็นอะลูมินั่ม ก้านเข็มเป็นอะลูมินั่มเช่นกัน ปลายเข็มเป็นชนิด shibata ค่า tracking force 1.6 – 1.8 gram ตัวหัวเข็มน้ำหนักประมาณ 8.1 กรัม นับว่าอยู่ในระดับกลางๆ ไม่หนักหรือเบาเกินไป ค่า dynamic compliance ของหัวเข็มไม่ได้บอกไว้
SETUP AND PLAY
หัวเข็มมาในกล่องแบบว่าหรูหรามากครับ เป็นกล่องอะลูมิเนียมตันทั้งอัน ตัวหัวเข็มดูเรียบง่าย หน้าตาคล้ายกับ Denon DL 102 มากๆ ตัวบอดี้หัวเข็มเป็นอะลูมิเนียมขัด ลื่นมือมากครับ เวลาหยิบจับต้องระวัง และใช้สมาธิมากๆ ไม่งั้นจะดิ้นหลุดมือเอาง่ายๆ ช่องใส่สกรูน็อต headshell เป็นแบบเกลียว thread screw ทำให้ติดตั้งได้ง่ายหน่อย เมื่อเทียบกับหัวเข็มพวก unthread screw ที่จะต้องมีแหวน washer รองรับอีกอัน
เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ใช้ทดสอบคือ EMT930 ติดตั้งบน suspension frame เหล็กของ EMT ติดอาร์ม EMT 929 และมี extra arm board เกาะกับเฟรมเหล็ก ติดตั้งอาร์ม 12 นิ้ว Jelco 750L สายโทนอาร์มใช้ Oyaide ไปยัง phono amplifier ของ DS Audio และใช้ช่อง output 1 ต่อไปยังปรีแอมป์หลอด DHT (ใช้หลอด Telefunken RE084 ของอาจารย์แปะ สาธร) และเพาเวอร์แอมป์ Accuphase P300X ไปยังชุดลำโพงฮอร์นหลักที่บ้าน
ผมพยายามที่จะทดสอบหัวเข็ม DS 002 กับทั้งสองอาร์มของผมบนแท่น EMT 930 แต่มีปัญหาว่า หัว DS 002 ไม่สามารถติดตั้งบน blank EMT J shell ได้ เพราะติดสันขอบด้านข้างของ J shell
หัวเข็มยี่ห้ออื่นที่ไม่ใช่ของ EMT จะลง J shell ได้นั้นมีไม่กี่ยี่ห้อครับ มันต้องเป็นหัวเข็มที่มี body สั้น (เพราะ space ด้านหลังมีน้อยมาก) และผอม (คือไม่มีการป่องของ body ด้านข้าง หรือท้ายอ้วน) เพราะ J shell มีกรอบผนังข้างขึ้นมาอีก ตัว DS 002 นั้น ไม่ยาวนัก แต่ว่าด้านกว้างลงไม่ได้ ติดสันด้านข้างของ shell ทำให้ไม่สามารถวางด้านหลังของหัวเข็มแนบ กับ headshell ได้ เลยต้องทดสอบบนอาร์ม Jelco ได้อย่างเดียว นอกจากนี้ หัวเข็ม DS 002 ยังมีความสูง ที่ “เตี้ย” กว่าหัวเข็มทั่วไปนิดหนึ่ง เวลาเอาลงอาร์ม Jelco จึงต้องปรับระยะความสูงอาร์มใหม่
ลืมบอกไปว่า ตลอดการทดสอบนี้ได้ใช้ disc clamp และ mat ของ Soundeck ที่สามารถช่วยตัด แรงสั่นสะเทือนจากระบบขับเคลื่อนของเทิร์นฯ แบบ ลูกยางได้เด็ดขาดมาก ตัวอาร์ม Jelco ใช้ geometry แบบ Loefgren A เลยใช้ตัว Dennisen Soundtrackter มาใช้ในการตั้ง alignment เพราะสะดวก และง่ายดีมาก ตัว DS 002 นี้มีปลายเข็มแบบ Shibata ที่ให้รายละเอียด ได้ดีมาก เมื่อเทียบกับปลายเข็มแบบปกติ แต่นั่นต้อง แลกมาด้วยกับการตั้งหัวเข็มอย่างละเอียดรอบคอบ จริงๆ จะเรียกว่าปลายเข็มแบบ Shibata มันขี้ฟ้อง ก็ได้ครับ เซ็ต alignment ไม่ดีนี่มีเสียงแตก หรือไม่ ก็เสียงขึ้นขอบเอาได้ง่ายๆ ผมต้องเซ็ต-ฟัง-ปรับ อยู่ หลายรอบกว่าจะเข้าที่
สิ่งที่ผมคาดหวังสำหรับ optical phono system นี้ คืออะไรบ้าง? ผมคาดว่า มันน่าจะ… 1) ให้รายละเอียด ได้ดีกว่าระบบหัวเข็มเดิมๆ เนื่องจาก moving parts มวลเบากว่า magnet หรือ coil มาก ร่ วมกับปลายเข็ม แบบ Shibata 2) dynamic ควรดีกว่าระบบเดิม ถ้าเทคโนโลยีของเขาดีจริง 3) Channel separation การแยกแชนเนลซ้ายขวา ว่าทำได้ดีกว่าระบบ coil system หรือไม่ 4) Tonal balance ตรงนี้มีปัจจัย ของภาคโฟโนของเขาด้วยว่าจะมีน้ำเสียงถูกใจถูกหูเรา หรือไม่ เพราะภาคโฟโนมีผลต่อเสียงมากพอควร อีกทั้งเราไม่สามารถปรับเปลี่ยน load impedance ของ หัวเข็มได้แบบภาคโฟโน MC ทั่วไป ด้วยเวลาอันจำกัด ผมได้คัดเลือกแผ่นเสียงที่แนวเพลงหลากหลาย นำมา เล่นผ่าน DS 002 แล้วบันทึก direct เขาเครื่อง Tascam CD RW 901 Mark2 แล้วนำเพลงที่ได้ผ่านการเปลี่ยน จาก A to D เป็นไฟล์ upload ขึ้น soundcloud ให้ คุณผู้อ่านได้ลองไปฟัง วิธีนี้กระทั่ง Micheal Fremer ก็ทำเช่นเดียวกัน โดยเขาใช้ audio interface ของ Lynx รุ่น Hilo (https://www.lynxstudio.com/ products/hilo/) ในการทำแทร็กตัวอย่าง หรือการ เปรียบเทียบเสียง AB test ระหว่าง analog hardware แต่ละตัว ส่วนตัวผมขณะนี้ชอบแบบการบันทึกแบบdirect CD 1:1 นี้มากกว่า เนื่องจากว่า signal path สั้นที่สุด ไม่มีเรื่องของ software และเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือสาย usb เข้ามาเกี่ยวข้อง ถึงแม้ว่า resolution จะแค่ redbook cd แต่เป็นการริปเนื้อเสียงใกล้เคียงกับไวนิลมากที่สุด และภาค A to D ของ Tascam ก็เสียงดีมาก
ผมได้ริปแผ่นเสียงผ่านหัว DS 002 นี้จำนวน 14 แทร็ก จาก 8 – 9 อัลบั้ม และได้ upload เพลงประมาณ 6 เพลงขึ้น soundcloud ให้ผู้อ่านได้ฟัง หรือ download ไปฟังได้ (ยกเว้นเพลงไทยจะ D/L ไม่ได้) สามารถเข้าไปลองฟังที่ playlist นี้ได้ครับ https://soundcloud.com/emt930/sets/ds-audio-002-review แผ่นแรกที่ผมลองฟังคือ งานใหม่ล่าสุดของ Lori Lieberman ที่ออกกับ Analogue Production ชุด Ready for the Storm เพลง A piece of me (https://soundcloud.com/emt930/a-piece-of-me) แผ่นนี้ที่จะให้ฟังคือ tonal balance และรายละเอียดของเสียงครับ ถ้าใครฟังชุดนี้แล้วเสียงบาง แห้ง ไม่มีเนื้อ นี่แสดงว่าต้องมีความผิดพลาดของระบบอย่างใหญ่หลวงแล้วครับ เสียงร้องของ Lori จะดู “ตัวใหญ่” กว่าปกติหน่อยนะครับ แผ่นนี้ DS002 ถ่ายทอดความอิ่ม ฉ่ำของเสียง รายละเอียดของเสียงหายใจ เสียง plugging string ต่างๆ (กีตาร์, แมนโดลิน) ได้อรรถรสครบถ้วน เบสไม่ได้ลงลึกถึงก้นบึ้งหัวใจ ท่านใดที่ชอบเบสหนาๆ แบบหัวเข็มMM อาจจะไม่ใช่แนวนะครับ สิ่งที่น่าทึ่งคือ มันให้รายละเอียดในแนวลึก ตื้น ได้ด้วย สามารถฟังได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเพ่ง
เสียงแซ็กโซโฟนของ Ben Webster ในแผ่นเสียงของค่าย STS ชุด Old Betsy เพราะมากครับ ผมเลือกแทร็กเพลง Where and When (https://soundcloud.com/emt930/where-and-when) เพราะชอบเสียง Hammond Organ มากๆ เสียงแซ็กเต็มอิ่มดีจริงๆ ผลัดกับเสียง Hammond Organ ที่ดีดดิ้นอยู่ทางซ้ายของ soundstage ฟังดีมากครับ
อีกอัลบั้มหนึ่งที่เคยแนะนำกันไปแล้วคือ ชุด Conversations ของนักเปียโน Anne Bisson กับมือเชลโล Vincent Belanger ผมเลือกแทร็กที่ดีที่สุดของแผ่นนี้ คือ เพลง Comme Un Tango แทร็กนี้ทดสอบเรื่องของ bass definition, ไดนามิก และบรรยากาศได้ดี เสียงหัวโน้ต และ decay ของ double bass ตอนต้นเพลงน่าทึ่งมาก เสียงสายdouble bass และสาย cello ที่ดีดกระแทก fingerboard เสียงสะใจอย่างยิ่ง การเปลี่ยนไดนามิกของเสียงในเพลงแนวแทงโก้เป็นสิ่งที่ท้าทายระบบ analog ซึ่ง optical cartridge ตัวนี้ทำได้ดีกว่าหัวเข็มในระบบธรรมดาที่ผมเคยเล่นมา
และสุดท้าย ผมขออนุญาต คุณโจ โปสเตอร์ ในการนำเพลงไทยชุดเพลงอภิรมย์1 มาเป็นแทร็กทดสอบด้วย ในเพลง “เหงา” (https://soundcloud.com/emt930/lonesome) เนื่องจากเป็นแผ่นเสียงที่บันทึกเสียงร้องของ คุณคีตญา สุระ ได้ดีมากๆ เสียงร้องเสียงลูกคอ การออกอักขระถ่ายทอดได้อย่างชัดเจน ไม่หนาไป ไม่บางไป กำลังพอดีๆ ทำให้ผมคิดว่า ถ้าหากว่าเอาภาค phono amplifier ของ DS Audio รุ่นใหญ่อย่าง Master 1 น่าจะให้เสียงที่ดีขึ้นไปกว่านี้อีก
กล่าวโดยสรุป ถ้าถามผมว่า ระบบหัวเข็มแบบ optical system นี้มีข้อกังขาไหม ผมขอตอบได้เลยว่า… ไม่มี มันเป็น analog cartridge + phono ที่ไม่ได้ใช้ระบบขดลวดกับแม่เหล็ก ราคาอาจจะค่อนข้างสูง แต่ต้องไม่ลืมว่าราคานี้รวมภาคโฟโนมาด้วยแล้ว สิ่งที่เหนือกว่าระบบหัวเข็มเดิมที่จับได้ชัดคือ รายละเอียดที่ทำได้ดีกว่า และไดนามิกคอนทราสต์ที่เหนือชั้นกว่าหัวเข็มในระดับราคาเดียวกันที่เป็น moving coil สิ่งที่เหลือคือ ต้องหาโอกาสนั่งฟังด้วยตัวของท่านเองว่า ท่านชอบน้ำเสียงของมันหรือไม่ เท่าที่ทราบมีตัวเดโมอยู่ที่ ร้านสวนเสียงครับ เอาแผ่นเสียงที่คุ้นหูลองไปเปิดฟังที่ร้านได้ เจ้าของร้านเขาใจดียินดีต้อนรับนักเล่นทุกท่านอยู่แล้วครับ. ADP
นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 248
No Comments