ชุมพล

นักเขียน : ดร.ชุมพล  มุสิกานนท์

 ห่างเหินกันไปนานกับอุปกรณ์เสริมจาก AKIKO AUDIO ที่จริงบริษัทเขาก็ทำอะไรออกมาขายอยู่เรื่อยๆ แหละครับ เพียงแต่ผมไม่ค่อยได้รับอะไรมาทดสอบก็เลยบ่นไปเรื่อยเปื่อย …แฮ่!!! จนกระทั่งได้รับตัว PHONO BOOSTER มา แกะดูทีแรกนึกว่าเป็นกล่อง GROUND เหมือนกับ ENTREQ หรือของ CLEF แต่พอเข้าไปศึกษาข้อมูลจริงๆ กลับกลายเป็นว่า วัตถุประสงค์ของเจ้าตัวเล็กนี้คือใช้ต่อเข้ากับขั้ว GROUND ของ PHONO หรือไม่ก็ สายกราวด์ของเครื่องเล่นแผ่นเสียงเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเสียง

 รูปลักษณ์ภายนอกของ AKIKO PHONO BOOSTER เป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำขนาด 98 x 65 x 39 มิลลิเมตร ตัวถังทำจากอะลูมิเนียมสีดำด้านหน้ามีโลโก้ AKIKO AUDIO แปะติดอยู่ ส่วนที่บั้นท้ายมีแจ็คเสียบยี่ห้อ HIRSCHMANN ชุบทอง 1 ช่อง ด้านล่างมีปุ่มยางสีดำรองอยู่ที่มุมกล่องทั้ง 4 ด้าน เพื่อกันลื่น และยังซับแรงสั่นสะเทือนด้วย อุปกรณ์เสริมชิ้นนี้จัดว่าเป็นอุปกรณ์ชนิด PASSIVE คือไม่ต้องเสียบไฟฟ้า แค่ต่อสายกราวด์จากโฟโนสเตจหรือตัวเครื่องเล่นแผ่นเสียงมาเข้าที่ SOCKET ก็ทำงานแล้ว ด้านในกล่องเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการช่วย DRAIN กราวด์ออกไป แต่จะเป็นอะไรนั้น ทางบริษัทไม่ได้บอกมา และถ้าใครซนแกะกล่องออกมา คุณจะเห็นแต่เรซิ่นดำๆ ที่เขาปิดไว้ไม่ให้เห็นว่าเขาใส่อะไรเอาไว้ เอาเถอะคิดว่ามันเป็นความลับทางการค้าซะก็แล้วกันครับ อย่างไรก็ตาม AKIKO PHONO BOOSTER ก็ทำให้เสียงเปลี่ยนไปได้จริง

ในการทดสอบ ผมนำสายไฟที่ให้มาในชุดปลายด้านหนึ่งเป็นขั้วต่อ BANANA เสียบเข้ากับกล่อง PHONO BOOSTER ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นขั้วหางปลาขนาดเล็กคล้องเข้ากับขั้วกราวด์ที่ปรีแอมป์ซึ่งมีภาค PHONO built-in อยู่ด้วย (TS 45 ฝีมืออาแปะซิจ๋อ), เพาเวอร์แอมป์ AURA PA-100 (อัพเกรด), ลำโพง REFERENCE 3A EPISODE, เครื่องเล่นแผ่นเสียง LINN LP12 ผ่าน SUT ของ EAR รุ่น MC-4, สายลำโพง ZONOTONE 6NSP 5500 (BI-WIRE)

ช่วงแรกที่ฟังเสียง การเปลี่ยนแปลงระหว่างใช้กับไม่ใช้มีผลไม่มากนัก แต่พอผ่านไปสัก 10 ชั่วโมง คราวนี้มันต่างมากขึ้น สิ่งที่ดีขึ้นมากๆ คือ MICRO DYNAMIC และความสงัดของฉากหลัง อิมเมจมีความเป็นตัวเป็นตนมากขึ้น ดุลน้ำเสียงยังคงที่ ไม่ได้ลดหรือเพิ่มเสียงใดเสียงหนึ่งเป็นพิเศษ ทั้งนี้ในย่านเสียงแหลมบนๆ จะถูกเกลาให้เรียบและเนียนขึ้น พอนอยส์ฟลอร์ต่ำลง คุณจะได้ยินรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ฮาร์โมนิกของเครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีอะคูสติกมีความเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น มีหัวเสียงหางเสียงที่เกิดขึ้นคงอยู่และค่อยๆ จากหายไปแบบที่ควรจะเป็น ไม่สั้นห้วนหรือจบเร็วแบบเสียงดิจิทัลทั้งหลาย พูดถึงเสียงดิจิทัลแล้ว ผมได้ทดลองใช้ AKIKO PHONO BOOSTER กับ DAC ของ FX AUDIO รุ่นใหญ่ ปกติเสียงของ DAC ตัวนี้จะห้วนๆ และติดแห้ง ไม่ค่อยน่าฟัง ผมเอาขั้วต่อหางปลาของ AKIKO ไปคล้องไว้กับน็อตปิดฝาตัวถังของ DAC เปิดฟังโดยปล่อยสัญญาณจากเครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นราคาถูกของ SAMSUNG พบว่ามีความเปลี่ยนแปลงของน้ำเสียง กล่าวคือ มีความสงัดมากขึ้น หัวเสียงที่เคยเล็กเรียวมีเศษละอองฟุ้งออกรอบๆ ตัว กลับรวมตัวกันเป็นรูปเป็นร่างได้มากขึ้น ย้ำหนักเบาได้ดีกว่าเดิม ปริมาณเสียงทุ้ม-กลาง-แหลม ไม่เปลี่ยนครับ ยังอยู่ครบเท่าเดิมกับตอนที่ไม่ได้นำAKIKO PHONO BOOSTER เข้ามาใช้

หากจะถามว่าใช้กับอะไรแล้วได้ผลต่างชัดเจนดีกว่า คำตอบคือ… ใช้กับโฟโนครับ จะเป็นกับตัวกล่องโฟโนแยก หรือคล้องมันเข้าไปที่ขั้วกราวด์ของโฟโนในปรีแอมป์ก็ได้ ในคาบหลังผมยก AKIKO PHONO BOOSTER ไปเสียบใช้กับ PHONO STAGE ของ REALITY ที่อยู่อีกบ้านหนึ่ง คราวนี้ยิ่งแสดงผล ต่างออกมาชัดมาก อาจจะเป็นเพราะว่าโฟโนตัวนี้รับสัญญาณที่เบามาก จากหัวเข็ม MC VERY LOW จึงมีเกนขยายที่สูง พอทำให้แบ็กกราวด์ สงัดลงจึงได้ยินรายละเอียดต่างๆ ชัดถ้อยชัดคำมากขึ้น โดยเฉพาะ ไดนามิกคอนทราสต์นี่ดีขึ้นมาก ผมคิดว่าอุปกรณ์เสริมชิ้นนี้เหมาะกับ ผู้รักแผ่นเสียงที่ต้องการต่อยอดความเป็นที่สุดในซิสเต็มของคุณ โดยที่มัน จะไม่ไปยุ่งกับดุลน้ำเสียงแต่ประการใด. ADP

FURUTECH NCF BOOSTER

ฟูรุเทค เจ้าพ่ออุปกรณ์เสริมออกตัวยกสายเคเบิ้ลให้ลอย เหนือพื้น หน้าตาสละสลวย ชื่อว่า Booster ผมเห็นเจ้านี่ครั้งแรกใน แม็กกาซีน ACCESSORIES ของญี่ปุ่นฉบับต้นปี 2018 โดยที่เจ้า BOOSTER นี่ ได้รับรางวัลอุปกรณ์เสริมดีเด่นแห่งปีด้วย ความพิเศษ ของมันคือ นำเทคโนโลยี NANO CRYSTAL FORMULA (NCF) มาใส่ไว้ในวัสดุของ BOOSTER ด้วย

“NCF คือ สารขจัดเรโซแนนต์ส่วนเกิน ซึ่งมี คุณสมบัติพิเศษมากๆ คือ ส่งประจุไฟฟ้า (ION) ลบ ที่ช่วยกำจัดไฟฟ้าสถิตย์ และเปลี่ยนพลังงานความ ร้อนให้กลายเป็นอินฟาเรด ซึ่งในกระบวนการผลิต ทางฟูรุเทคใช้ NANO-SIZED เซรามิคและผงคาร์บอน ผสมกันเพื่อเพิ่มกระแส PiEZO ส่วนผสมทั้งหมด จะถูกหลอมรวมกับวัสดุเรซิ่นสีดำดังนั้น หากมีของ ปลอมทำออกมาขายก็อย่าหวังว่าจะได้คุณภาพเสียง หรือภาพออกมาใกล้เคียงกับตัวรอง NCF BOOSTER ของจริงครับ ที่ผมชอบคือ… เจ้านี่มันปรับระดับ สูงต่ำได้ ด้วยการเลื่อนตัวรองไปตามแกนเสา ซึ่งถ้า หากคุณต้องการใช้ความสูงมากๆ ก็สามารถซื้อเสา มาต่อเพิ่มความสูงได้ด้วย”

ผมถาม คุณกัมปนาท แห่ง CLEF AUDIO ว่า NCF BOOSTER ใช้รองอะไรเห็นผลมากที่สุด ก็ได้รับคำตอบว่าใช้รองสายลำโพง ส่วนเจ้าตัวที่ เว้าเหมือนพระจันทร์เสี้ยวและมีตัวครอบด้านบน นั้นใช้กับหัวปลั๊กตัวเมียหรือตัวผู้ที่มีน้ำหนักมาก ประเภทหัวปลั๊กที่ปลอกทำด้วยโลหะหนักทั้ง หลาย ซึ่งหากไม่มีตัวรองใต้ปลั๊กแล้วไซร้ นานๆ ไปแรงดึงดูดของโลกจะทำให้หัวปลั๊กดังกล่าว มีอาการงัดกับเบ้า IEC ส่งผลให้ขั้วสัมผัสไม่แน่น มีการสปาร์ค (SPARK) ทางไฟฟ้าอ่อนๆ และอาจ จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตัวรองปลั๊กนี้มีราคาแพงกว่า NCF BOOSTER ธรรมดา เนื่องจากมันมีส่วน ประกบด้านบนมาด้วยเพื่อให้การกันคลื่นรบกวน สมบูรณ์ กันได้รอบตัว และในกล่องมียางซิลิโคน สีดำแถมมาให้สองเส้นเพื่อเกี่ยวกับตัวหมุนปรับ ระดับสูงต่ำให้สายติดอยู่กับตัว BOOSTER ได้ แนบสนิท ซึ่งจะช่วยแดมป์การสั่นสะเทือนได้อีก ระดับหนึ่ง

ผมได้รับ NCF BOOSTER มาทดสอบสองตัว เป็นตัวที่ใช้รองสาย 1 ตัว และตัวรองปลั๊กไฟฟ้า 1 ตัว เอาล่ะสิ แล้วผมจะรองสายลำโพงยังไง ล่ะเนี่ย? ในที่สุดผมก็ใช้เจ้าตัวแบนมารองสาย สัญญาณจากปรีแอมป์ไปเข้าเพาเวอร์แอมป์ และ เจ้าตัวรองปลั๊กไฟใช้รองปลั๊กตัวเมียที่เสียบเข้ากับ ด้านท้ายของปรีแอมป์ (ปลั๊ก FURUTECH FI 50) ผลต่างทางเสียงชัดเจน และน่าพอใจมาก สมราคา ค่าตัวที่ไม่ถูกนัก ตอนที่ CLEF AUDIO ผู้จัด จำหน่ายฟูรุเทคอย่างถูกต้องในประเทศไทยเปิดตัว NFC BOOSTER ผมได้ไปร่วมงานด้วย ในการสาธิตประสิทธิภาพ ของสินค้า มี การทยอยนำNFC BOOST­ER ไปรองใต้สายทีละชิ้น ทีละจุด จากสายลำโพง ไปสายไฟ สายสัญญาณ และสายดิจิทัล (HDMI) ได้ผลต่างทางเสียงชัดเจนมากครับ ระหว่างการ ใช้งานกับไม่ใช้ โดยเฉพาะกับ RESOLUTION และรายละเอียดต่างๆ บางคนบอกว่า AIRY ปรากฏชัดเจน ทำให้เวทีแผ่ขยายกว้างทะลุห้องฟัง ออกไปเลย ยิ่งตอนที่ถอด NCF BOOSTER ออกไป จากซิสเต็ม เสียงดรอปลงไปชัดเจนมาก

ผลที่ได้รับจากการใช้งาน NFC BOOSTER ไปรองสายสัญญาณ จะช่วยเน้นหัวโน้ตให้มีความ ชัดเจนและเพิ่มมวลเสียงในทุกย่านขึ้นเล็กน้อย ที่สำคัญคือ การเติมมวลเสียงเข้าไปนี่แหละ เพราะมันทำให้รู้สึกว่าเสียงมีความอิ่มเนื้อ ย้ำหนักเบาได้ดีขึ้น แอมเบี้ยนต์ที่ปรากฎก็ชัดเจน โดยเฉพาะในเพลงที่บันทึกสดจะยิ่งรับรู้ถึง ความแตกต่างจากเพลงที่อัดทีละชิ้น แล้วมามิกซ์ รวมกันทีหลัง NFC BOOSTER จะไม่เพิ่มหรือลด ความถี่เสียงย่านใด โดยเฉพาะครับ บอกได้เลย ว่าใช้แล้วมีแต่ได้ไม่มีเสีย ไอ้ที่จะต้องจากเราไป เห็นจะมีแค่สะตุ้งสตางค์นี่แหละครับ

นอกจากคุณสมบัติที่บรรยายมาแล้ว สิ่งที่ ถูกยกระดับขึ้นไปคือ ความเป็นตัวตนของอิมเมจ และความสงัดของฉากหลังเวทีเสียงครับ ซึ่งความ เก่งกาจของมันคือ สงัดจริง แต่โดยที่ไดนามิกยังคง สวิงกว้างอย่างเป็นอิสระ ไร้อาการอั้นตื้อส่วนตัว NFC BOOSTER ที่รองใต้หัวปลั๊กนั้น หลังจากที่ปรับระดับความสูงให้พอดีกับระดับของ ปลั๊กที่เสียบเข้ากับเบ้า IEC แล้ว สองสิ่งที่เตะหู ก่อนเลยคือ เบสชัดและเด้งตัวดีขึ้น สองคือ… มีการเว้นช่องว่างช่องไฟระหว่างชิ้นดนตรีได้ กว้างขวางเป็นอิสระมาก ความสงัดนั้นเป็น ของตายที่อุปกรณ์เสริมประเภทนี้สมควรจะให้ได้ อยู่แล้วครับ ที่สำคัญคือ ไม่ไปลดทอนความ “ฉ่ำ” ของปลายแหลมย่านบน TIMBRE ยังคงถูกต้อง ใกล้เคียงความเป็นธรรมชาติมากๆ สรุปว่า NCF BOOSTER เป็นอุปกรณ์เสริมของฟูรุเทคที่ควรมีไว้ ประจำห้องดูหนังฟังเพลงเป็นอย่างยิ่งครับ. ADP

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 263