นักเขียน : ธรรมนูญ ประทีปจินดา :

PRE-AMPLIFIER WITH NETWORK PLAYER: EDGE NQ /POWER AMPLIFIER: EDGEW

Streaming… Network Audio คือ มาตรฐานใหม่ของไฮไฟวันนี้ที่ผู้ผลิตทุกค่าย มุ่งมาทางนี้กันหมด การเปิดแนวรุกตลาด เครื่องเสียง Network Audio/Streaming อันเป็นวิถีของสื่อดนตรีกระแสหลักของโลกที่ ต้องจับตามอง และดีลเลอร์จำเป็นต้องปรับตัว จริงอยู่ที่ต้องยอมรับว่าไม่ง่าย เนื่องจากดีลเลอร์ มิได้มีสินค้าอย่างเดียวเสียเมื่อไหร่ แต่ก็เถอะ เมื่อทุกแบรนด์หันหัวเรือมาทาง Streaming ยังไงซะพนักงานขายประจำร้านจำเป็น ต้องปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งก็ไม่ยาก มิฉะนั้น จะตกเทรนด์นะจะบอกให้

50 YEARS OF HERITAGE

ถามหน่อย… ควรฉลองวันเกิดปีที่ 50 ของคุณอย่างไร? ต้องเป็นที่จดจำด้วยนะ ในโลกแห่ง hi-fi ทำได้ โดยออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเสียงเพื่อให้เป็น ICONIC Product แต่ต้องดีจริง แน่นอนว่าอาจมีราคาสูงกว่าเครื่องเสียงรุ่นธรรมดา ของแบรนด์ตัวเอง และนั่นคือสิ่งที่ Cambridge Audio ได้ทำขึ้น โดยนำเสนอ เครื่องเสียงแยกชิ้นระดับเรือธงที่ชื่อว่า “Edge Series” มีเป้าหมายเพื่อเฉลิมฉลอง ครบรอบ 50 ปี นับตั้งแต่ผลิตภัณฑ์แรกของ Cambridge Audio ถือกำเนิดขึ้นมา นั่นคือ เครื่องขยายเสียงสเตริโอ P40 ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยศาสตราจารย์ Gordon Edge ทางแคมบริดจ์กล่าวว่า Edge series เป็นอุปกรณ์ hi-fi ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยทำมา การออกแบบเริ่มจากศูนย์ โดยปราศจากข้อจำกัดทั้งเงินและเวลา ประกอบด้วย 3 รุ่น คือ Integrated Amp: Edge A, Pre-Amplifier with Network Player: Edge NQ และ Power Amp: Edge W โดยได้วางตลาดกลางปี พ.ศ. 2561 ในอังกฤษ บ้านเกิด พร้อมทั้งเปิดตัวไปแล้วทั่วโลก สำหรับบ้านเรา บัดนี้สินค้าล็อตใหญ่ เข้ามาแล้ว ซึ่ง Pre-Amplifier with Network Player: Edge NQ และ Power Amp: Edge W ก็ถึงมือผมแล้ว จึงไม่รีรอจับเข้าประจำการชั่วคราวแทนเจ้าที่เก่า

NOTHING LOST, NOTHING ADDED’

สะดุดตาด้วยความหรูหราภายนอกนอกที่ต้องว้าวเมื่อแรกเห็น ทีม Cambridge Audio ต้องการออกแบบเครื่องเสียงรุ่นเรือธงใหม่หมดจดเพื่อให้เป็น Iconic Products ด้วยรูปทรงโค้งมน ด้านหน้าใส่วอลลุ่มคอนโทรลและเลือกอินพุตไว้ใน ปุ่มเดียวทำงานแบบ Multi Task ภายในเป็นมากยิ่งกว่า เพราะส่วนประกอบได้ รับการคัดสรรด้วยวิธีการที่ไม่มีข้อจำกัดของเงินงบประมาณ ให้ความสำคัญกับ ประสิทธิภาพของเสียงมากกว่าข้อกำหนดใดๆ การออกแบบให้ของหม้อแปลง toroidal จำนวนสองตัวมีความสมมาตร ซึ่งจะตัดการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ไม่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาระบบหม้อแปลง toroidal ที่ใหญ่กว่าที่ใช้ครั้งแรก ในอินทิเกรตแอมป์รุ่น P40

วงจรขยายสัญญาณ Class XA จะเปลี่ยนจุดครอสโอเวอร์นอกช่วงเสียงที่ มนุษย์ได้ยิน ทำให้เสียงสะอาด อีกทั้งต้องการให้ทางเดินของสัญญาณสั้นที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดโอกาสของการเจือสีหรือความผิดเพี้ยนที่เพิ่มเข้าไป ในเสียง ตัวเก็บประจุถูกถอดออกจากเส้นทางสัญญาณ และ DC coupled topology ถูกนำมาใช้กับการออกแบบวงจร เคมบริดจ์อ้างว่า นี่เป็นอะไรที่รัดกุม และให้เสียง ที่มีความสะอาดอย่างไม่น่าเชื่อ มีคอมโพเนนต์เพียง 14 ชิ้น ส่วนในเส้นทางสัญญาณ ของเครื่องขยายเสียงซึ่งปกติแล้วอาจมี 30 ถึง 40 จุด ความคิดก็คือ การทำให้ เส้นทางสัญญาณสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลดความเป็นไปได้ที่สัญญาณจะเสียหาย ซึ่งเป็นหัวใจหลักของปรัชญา “ปราศจากอะไรที่หายไป, ไม่มีอะไรเพิ่ม” นั่นเอง

เมื่อโลกไฮไฟไปในทิศทาง Streaming ก็เข้าทาง เมื่อ Cambridge Audio มี Stream Magic Platform อยู่แล้ว เปิดโอกาสให้ทีมงานเสริมเขี้ยวเล็บเข้าไป ใน Edge อย่างง่ายดาย ด้วยการอัพเกรดเวอร์ชั่นของฮาร์ดแวร์ จนปัจจุบันเป็น Gen 3 จากนั้นก็อัพ Firmware ได้อีกเรื่อยๆ เมื่อต้องการ

PRE-AMPLIFIER WITH NETWORK PLAYER: EDGE NQ

PRE-AMPLIFIER WITH NETWORK PLAYER: EDGE NQ

ตัวเครื่องของ Edge NQ มีสัณฐานที่กว้างและลึกและโค้งมน ทำจากอะลูมินัม นอกจากสวยแล้วยังมีคุณสมบัติทำหน้าทีชีลด์ในอีกทางหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับแอมป์ ทั้งสองตัวในตระกูล Edge จะบางเบากว่า

Edge NQ เป็น Pre-Amplifier และ Network Streamer ในตัวเดียว มีความสามารถเล่นเพลงจากที่ใดก็ได้ในเครือข่ายภายในบ้าน พร้อมพกพา ฟีเจอร์ทันสมัยอย่าง Google ChromeCast ที่สามารถเชื่อมต่อโดยตรงแบบ ไม่ลดทอนคุณภาพกับแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ได้ นอกจากนั้นก็มี Spotify Connect, Apple AirPlay, Bluetooth aptX HD, Internet Radio และการเล่น Universal Plug and Play (UPnP) สำหรับฟังเพลงแบบ Multi-room ใน Home Network ได้สบายๆ

Edge NQ ยังคงใช้ระบบควบคุมระดับเสียงแบบ solid-state เพื่อให้แน่ใจ ว่าช่องสัญญาณจะถูกปรับความสมดุลอย่างสมบูรณ์แบบ เคมบริดจ์ตระหนัก ถึงการทำงานประสิทธิภาพสูง โดยไม่จำกัดถึงแหล่งที่มาที่ใช้ ดังนั้น Edge NQ จึงสามารถจัดการกับไฟล์ดิจิทัลได้ถึง 32-bit/384kHz และ DSD256 ผ่านทาง USB Audio Class 2.0 หรือ 24-bit/192kHz ผ่าน S/PDIF อีกทั้งความ สามารถในการจัดการ DSD256 ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา แพลตฟอร์มของ StreamMagic ของแคมบริดจ์เอง การพัฒนาครั้งล่าสุด Gen 3 มีชื่อว่า ‘Black Marlin’ ชิพเซ็ตใหม่ที่ทำงานเร็วขึ้น ขณะนี้แพลตฟอร์มนี้ ยังมีความสามารถในการใช้ ChromeCast สำหรับบริการสตรีมมิ่งเหมาจ่าย เช่น Tidal, Deezer และ Qobuz เพิ่มไปยัง Spotify Connect, AirPlay และวิทยุอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่แล้ว เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล เช่น CXN V2 และ Azur 851N นั่นเอง

ด้านหน้าเครื่องติดตั้งด้วยหน้าจอสี ซึ่งแสดงผลของการตั้งค่าทั้งหมด รวมถึงปกอัลบั้มในระหว่างการเล่น นอกจากนี้ยังมีปุ่มวอลลุ่มและซีเล็กเตอร์ ที่มีคอมโพเนนต์มากกว่า 30 ชิ้น ออกแบบโดยทีมงาน F1 เชียวนา ซึ่งเป็น ความพยายามอย่างมากของแคมบริดจ์ ผลที่ได้คือ แถบด้านในสำหรับการสลับ ระหว่างอินพุต และปุ่มหมุนด้านนอกเพื่อควบคุมการทำงาน ซึ่งน่าอัศจรรย์มาก ที่สร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบเช่นนี้ ทำให้ตื่นตาตื่นใจ และรู้สึกอยากเล่น โดยเฉพาะกับคนสมาธิสั้นแบบผมนี่… ฮา

สำหรับเอาต์พุตหูฟังและปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง เมื่อถึงจุดที่สิ้นเปลือง พลังงาน แคมบริดจ์ได้ตั้งค่าให้กลับไปอยู่ในโหมด Standby หากไม่ได้ใช้งาน นานกว่า 20 นาที และสามารถสั่งงานผ่านทางแอพพลิเคชั่นระยะไกลของ Cambridge Edge โดยเฉพาะ

ด้านหลังเครื่องเป็นช่องเชื่อมต่อของ Edge NQ รวมทั้งความสามารถ ในการสตรีมมิ่งแบบ built-in ของตัวเครื่อง มีอินพุต Balanced (XLR) และ Unbalanced อีกหลายช่อง ส่วนดิจิทัลก็มี Coaxial และ S/PDIF, USB และ HDMI สำหรับทีวี

ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สาย นี่คือที่ที่คุณจะต้องติดตั้งเสาอากาศ Bluetooth และสาย LAN สำหรับ Ethernet หรือ USB Wi-Fi Dongle ที่รวมอยู่ในกล่อง เพื่อทำให้เป็นช่องทางติดต่อจากโลกภายนอกได้ ทั้งการ อัพเกรดและเล่นเพลง ด้วยระบบ DLNA หรือผ่าน Cloud Services รวมถึง Internet Radio ด้วยไง

คิดดูสิว่าต้องใช้เวลาและเงินมากเท่าไหร่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระดับ high-end ที่น่าอัศจรรย์ ทว่าบ่อยครั้งบริษัทอื่นๆ กลับให้มาแค่รีโมตราคา ถูกน่าเกลียด แต่ไม่ใช่ Cambridge Audio แน่ๆ น่าเสียดายที่ไม่ได้ใช้มันเท่านั้น ผมชอบใช้ Edge NQ กับ app ควบคุมของมันเองมากกว่า

POWER AMPLIFIER: EDGE W

คู่หูที่มาด้วยกันคือ Cambridge Audio: Edge W รูปทรงโค้งมน ตัวถัง อะลูมินั่มเช่นกัน มีครีบของ Heat Sink แฝงอยู่อย่างกลมกลืนทั้งสองข้าง ของตัวเครื่อง ทำให้ลุคดุขึ้นอย่างน่าเกรงขาม เพื่อให้ได้รายละเอียดชิ้นดนตรี มากขึ้น Cambridge Audio เป็นผู้บุกเบิกการใช้หม้อแปลง toroidal ในเครื่องขยายเสียง ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

ใน Edge นั้น เพิ่มคุณภาพไปอีกระดับหนึ่ง โดยใช้หม้อแปลง toroidal คู่แฝดที่วางแบบ symmetry แน่นอนว่าทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโขทีเดียว การทำเช่นนี้จะขจัดการรบกวนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการหักล้างของ ขั้วแม่เหล็ก ในขณะที่ให้พลังที่ยอดเยี่ยม และรักษาระดับความสมดุลเสียง ที่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะมีเสียงดังเท่าไหร่ก็ตามก็จ่ายพลังงานได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีเพี้ยน การใช้ภาคขยาย Class A ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับ Cambridge Audio: Edge W พวกเขาเพิ่มแรงดันไฟฟ้าแบบ Bias Voltage และเปลี่ยนจุด Crossover Frequency ลดความผิดเพี้ยนไป ถึงระดับที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินได้ และยังก่อให้เกิดความร้อนน้อยลง ทำให้ระบบทั้งหมดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

Edge W สร้างขึ้นมาเพื่อให้เล่นได้ดังมากพอ มีกำลังขับพอเพียงที่ จะขับลำโพงใดๆ ก็ได้ในระดับที่ดัง แต่ไม่มีอาการเพี้ยนหรือแตกพร่าเลย ให้เสียงมีไดนามิก แน่นกระชับ ฉับไว โอบกระชับรัดรึง ฟังได้นานๆ ไม่เบื่อ

Edge W มี Signal Path ที่สั้น ให้เสียงสะอาดที่สุด สมกับเป็น เครื่องเสียงที่ให้เสียงแบบ British sound ที่เกิดจากปรัชญา Nothing Added, Nothing Taken away เช่นเดียวกันกับ Edge NQ โดย Edge W ใช้อุปกรณ์เพียง 14 ชิ้นในเส้นทางเดินสัญญาณ และใช้การขยายสัญญาณ แบบ Class XA (100W RMS ที่ 8 Ohms; 200W RMS ที่ 4 Ohms) ให้คุณภาพภาพเสียงแบบ Class A แต่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

POWER AMPLIFIER: EDGE W

Edge W ออกแบบมาให้ทำงานร่วมกันกับ Edge NQ ซึ่งจะสามารถ สร้างผลงานได้ดีที่สุด เป็นหุ้นส่วนที่น่าคบหายิ่ง เพื่อประสบความสำเร็จ ร่วมกันจริงๆ

Edge W ให้เสียงที่มีรายละเอียดอันน่าทึ่ง มีความสมดุลของเสียง ที่ประณีต มีความลึกและความคมชัดของดนตรีที่มาพร้อมกับทุกโน้ต แคมบริดจ์ได้ทดสอบด้วยการฟังอย่างละเอียด และสร้างด้วยส่วนประกอบ ที่ดีที่สุด ด้วยเหตุนี้ Edge W จึงให้การ Reproduce ที่แม่นยำเที่ยงตรง ให้เสียงเป็นสามมิติที่มีรายละเอียดน่าประทับใจ มีเวทีเสียงกว้างโอบล้อม และมีโฟกัสที่โดดเด่นมาก

CHECK IN

หลังการเชื่อมต่อระหว่าง Edge NQ และ Edge W ด้วยสาย XLR เมื่อเปิด เครื่องก็ใช้เวลาสักครู่ในการทำความคุ้นเคย การตั้งค่าเป็นไปอย่างสะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก และจะเชื่อมต่อ NAS ของเราได้ทันทีด้วย MinimServer ทีนี้ก็พร้อม ใช้ล่ะ แต่ถ้าไม่มี NAS ก็เสียบ Thumb Drive เข้าไปตรงๆ เลย ไหนๆ ก็จะเล่น Streamer แล้ว ขอไม่ลงรายละเอียดในเรื่องของการเล่นแบบ CAS (Computer As Source) แม้ว่าจะก็เล่นได้ก็ตาม เพราะสามารถใช้ Amarra, Audirvana+, JRiver ได้หมด ถ้าเล่นบน Windows ก็ต้องลง Driver ตามระเบียบก่อนนะ ส่วน Tidal, Qobuz หรือ Spotify ที่เล่นบน Smartphones ก็เล่นผ่าน ChromeCast ทั้งสิ้น ChromeCast ใช้ได้ครอบคลุมทั้ง Tidal, Qobuz เสียงดีกว่าผ่าน AirPlay เยอะ ผมใช้สาย LAN เพื่อความเสถียรของอินเทอร์เน็ต ข้อพึงปฏิบัติสำหรับเครื่องเล่น สมัยนี้ก็คือต้องเช็คถึง Firmware ล่าสุดเข้าไว้ ใช้เวลาไม่นานในการอัพเดต Firmware ใหม่ๆ จะสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้ ได้ข่าวว่าจะสามารถรองรับ Roon ด้วยนะครับ

CHECK IN

หลังการเชื่อมต่อระหว่าง Edge NQ และ Edge W ด้วยสาย XLR เมื่อเปิด เครื่องก็ใช้เวลาสักครู่ในการทำความคุ้นเคย การตั้งค่าเป็นไปอย่างสะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก และจะเชื่อมต่อ NAS ของเราได้ทันทีด้วย MinimServer ทีนี้ก็พร้อม ใช้ล่ะ แต่ถ้าไม่มี NAS ก็เสียบ Thumb Drive เข้าไปตรงๆ เลย ไหนๆ ก็จะเล่น Streamer แล้ว ขอไม่ลงรายละเอียดในเรื่องของการเล่นแบบ CAS (Computer As Source) แม้ว่าจะก็เล่นได้ก็ตาม เพราะสามารถใช้ Amarra, Audirvana+, JRiver ได้หมด ถ้าเล่นบน Windows ก็ต้องลง Driver ตามระเบียบก่อนนะ ส่วน Tidal, Qobuz หรือ Spotify ที่เล่นบน Smartphones ก็เล่นผ่าน ChromeCast ทั้งสิ้น ChromeCast ใช้ได้ครอบคลุมทั้ง Tidal, Qobuz เสียงดีกว่าผ่าน AirPlay เยอะ ผมใช้สาย LAN เพื่อความเสถียรของอินเทอร์เน็ต ข้อพึงปฏิบัติสำหรับเครื่องเล่น สมัยนี้ก็คือต้องเช็คถึง Firmware ล่าสุดเข้าไว้ ใช้เวลาไม่นานในการอัพเดต Firmware ใหม่ๆ จะสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้ ได้ข่าวว่าจะสามารถรองรับ Roon ด้วยนะครับ

SHOWTIME

อัลบั้มที่รีลีสใหม่ช่วงนี้ล้วนเป็น MQA อย่าง The Carpenters with the Royal Philharmonic Orchestra, The Beatle White Album, The Eagles LEGACY นอกเหนือจากนั้นก็เป็นไฟล์ Hi-Res จาก NAS ใช้เวลาฟังค่อนข้างมาก ฟังกันแบบลึกซึ้งไปเลย

Edge ให้เสียงน่าประทับใจ โดดเด่นที่ความ สะอาด ทำให้เกิดมีช่องว่างระหว่างตัวโน้ต สัมผัสได้ถึง บรรยากาศ เสียงมี Airy โดยมาจากองค์ประกอบของ วงจรที่จัดการอย่างดี ไม่ใช่เรื่องฟลุคที่จะเกิดขึ้นง่ายๆ สำหรับสินค้าระดับนี้ ทีมงานมีความกระตือรือร้นที่จะ สร้างสรรค์อย่างประณีตบรรจง ก้าวข้ามอุปสรรคที่ยาก ได้สำเร็จ และส่งผลดีอย่างยิ่ง

เสียงมีความสมดุลมาก ไม่มีอั้น โดยเฉพาะกับ ปลายเสียงแหลมที่ไม่แข็งกร้าวหรือดุดันหรือรุกเร้า เกินไป ฟังสบายตามสไตล์เครื่องเสียงอังกฤษ การตอบ สนองต่อเสียงเบสยังเป็นไม้เด็ดที่ Edge NQ ทำได้ดี ไม่กลัวที่จะเจาะลึกเข้าไปในคลื่นความถี่ต่ำมีรายละเอียด รู้สึกถึงจังหวะจะโคนที่เยี่ยมยอดของโทนเสียงที่ดี

Edge W เป็นฐานที่มั่นคงสำหรับเสียงที่เต็ม ไปด้วยรายละเอียด เสียงอิ่มแบบ full body ของ Edge NQ สมบูรณ์แบบอย่างไร้ที่ติ มี timbre ที่มีรายละเอียด น่าประทับใจยิ่ง ขณะที่เสียงเสียงแหลมหรือเสียงกลาง ถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ ตลอดเวลา

โดยทั่วไป ปัญหาของบริษัทเครื่องเสียงทั่วไปในขณะนี้คือ การดิ้นรนต่อสู้ การเล่นเพลงในระบบสตรีมมิ่งที่มาแรงฉุดไม่อยู่ เหนื่อยหน่อยสำหรับบางค่าย ส่วน Cambridge นั้น ประสบความสำเร็จอย่างดีจาก Stream Magic มาแล้ว จึงก้าวข้ามอุปสรรคทั้งหมดโดยง่าย ผลิตภัณฑ์อย่าง Edge NQ คือทิศทางแห่ง อนาคต สามารถก้าวไปข้างหน้าเพื่อเป็นผู้นำได้เลย

ผมเองไม่ซีเรียสกับเพลงที่เป็นอัลบั้มอ้างอิงของการทดสอบนักที่ต้องเป็นเพลงโอ้ฟาย เพราะถ้าเพลงไม่เพราะ การฟังเป็นเวลานานหลายชั่วโมงคงไม่ใช่แน่ ในส่วนสมรรถนะของเอาต์พุตสำหรับหูฟังก็ดีเยี่ยม ขับหูฟังอ้างอิงได้ฉลุย ผมค่อนข้างพอใจกับการใช้ Edge NQ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องเสียงบ้านในชุดอ้างอิงได้อย่างไม่ขัดเขิน

PERFECT PARTNERS

Edge Series ออกแบบมาให้ทำงานคู่กันได้อย่างลงตัวเพื่อความสมบูรณ์แบบ เมื่อจับคู่ Edge W กับ Edge NQ ที่มีฟีเจอร์หลากหลายมาก ทำมาเพื่อระบบ Hi-Fi อันคุ้มค่า ให้ความแตกต่างจากชุดอื่นๆ ขอปรบมือรัวๆ ให้กับความสำเร็จของทีมออกแบบ Cambridge Audio สำหรับ Edge Series ที่จะกลายเป็นเป็น ICONIC Products เลื่อนชั้นสู่คำว่า Hi-End เพื่ออธิบายคุณลักษณ์เครื่องเสียงชาติตระกูลดีที่ให้เสียงสไตล์ British Sound ชั้นดีได้เป็นอย่างดี

Edge NQ เอง มีประสิทธิภาพเป็นอะนาล็อกปรีแอมป์แยกชิ้นมูลค่าประมาณเป็นแสนอยู่แล้ว ส่วนฟังก์ชั่นที่เป็น External DAC และ Streamerก็มีมูลค่าเป็นแสนเช่นกัน อีกทั้งการออกแบบตัวถังอะลูมินัมให้มีรูปทรงโค้งมนสวยงาม ก็จะทำให้ผู้เป็นเจ้าของเหมือนได้รับรางวัลก้อนโตเชียวนา นี่ยังไม่รวมถึงภาคแอมป์ขับหูฟังชั้นดีที่ให้เสียงอันน่าประทับใจ

ถ้ามีงบประมาณต่ำกว่าสองแสนบาทสำหรับ Pre-amp และ Streamer การซื้อEdge NQ ก็เป็นทางเลือกที่ดี และในกรณีที่ต้องการใช้งานร่วมกับอินทิเกรตแอมป์ชั้นดีของคุณ ก็มีฟังก์ชั่นตัดการทำงานของภาคปรีแอมป์ออกไปได้ หรือถ้าบังเอิญไม่มีเพาเวอร์แอมป์คู่ควร ก็ลงทุนเพิ่มอีกนิดเพื่อจับคู่กับเพาเวอร์แอมป์ Edge Wด้วยงบประมาณสามแสนกลางๆ ก็จะดีงามยิ่ง ได้ความสมบูรณ์แบบของเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ยุคใหม่ที่ใช้กันยาวๆ

เครื่องเสียงไฮเอ็นด์เป็นศาสตร์กับศิลปะที่ไม่ใช่ว่าใครก็จะทำกันง่ายๆ ต้องเข้าใจในศิลปะ มี Passion กับดนตรีจริงๆ ในขณะที่Cambridge Audio ได้เขียนกฎของ Hi-Fi ขึ้นใหม่ ‘Cambridge Edge’เครื่องเสียงไฮเอ็นด์ยุคใหม่ในราคาที่เอื้อมได้ไม่ยาก ให้เสียงยอดเยี่ยมอย่างแท้จริงสำหรับเงินที่จ่ายไป แม้มีราคาสูงกว่าเครื่องเสียงรุ่นธรรมดาในแบรนด์เดียวกัน แต่ก็ยังมี Value For Money อยู่ดี

Cambridge Audio EDGE Series เครื่องเสียงยุโรปมาตรฐานสูงที่ยังคงรักษามนต์ขลังของ British Sound เอาไว้ได้อย่างไม่เสื่อมคลายครับ. ADP

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่  263