รีวิว SONY DMP-Z1
ณัฏฐณิกษ์ เปรมบุญ
การเติบโตของวงการเครื่องเสียงไฮเอ็นด์แบบก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีมานี้… ส่วนใหญ่มาจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะฟากฝั่งการเล่นไฟล์ดิจิทัล ทั้งทางด้านเครื่องเสียงบ้าน และเครื่องเสียงแบบพกพาที่เราเรียกว่า Portable Audio Player ทาง SONY เองก็เช่นกัน ได้มีการออกแบบและผลิตสินค้าในกลุ่มนี้เพื่อการจำหน่าย อย่างต่อเนื่อง Mr. Mitsunori Tanaka ผู้วางแผนผลิตภัณฑ์ของทาง SONY เล็งเห็นความ สำคัญในสินค้ากลุ่มนี้ ก่อนหน้านี้เคยประสบความสำเร็จจากสินค้ากลุ่ม Signature Series ที่เริ่มออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาดโลกในปี 2016 จึงเป็นที่มาของ SONY DMP-Z1 ที่ปฏิวัติแนวคิด และการออกแบบใหม่ทั้งหมด เพื่อยกระดับเครื่องเล่นแบบพกพาที่กำลังได้รับความนิยม ในโลกปัจจุบัน
ผมรอคอย SONY DMP-Z1 มานาน กว่าจะได้ ทดสอบอย่างจริงจัง ก่อนหน้านี้ได้แค่เคยไปทดลองฟัง ตามที่ต่างๆ หรือตามงานเครื่องเสียง แต่ไม่เคยมี โอกาสได้นำกลับมาทดสอบที่ให้เวลาเจาะลึกแบบนี้ และยังได้หูฟัง SONY Z1R มาทดสอบร่วมอีกด้วย โชคสองต่อ ผมจะวางเซ็กชั่นการทดสอบไว้สองรูปแบบ คือ… ทดสอบแบบองค์รวม คือใช้ SONY DMP-Z1 ทดสอบร่วมกับ SONY Z1R และการทดสอบแบบเจาะลึก ที่จะร่วมทดสอบกับหูฟังระดับ Flagship หลากหลายยี่ห้อ เพื่อหาข้อดีแบบเจาะลึกลงไปถึง การใช้งานที่หลากหลาย
SONY DMP-Z1 เริ่มต้นถูกวางคอนเซ็ปต์ไว้ เพื่อการตอบสนองการใช้งานเครื่องเสียงระดับไฮเอ็นด์ แต่เป็นลักษณะการใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกง่ายๆ คือ การใช้หูฟังนั่นเอง เพราะเทรนด์ของโลกหมุนไปทางนั้น การเข้าถึงเสียงเพลงชั้นยอดไม่ได้ถูกจำกัด เพียงแค่ระบบเครื่องเสียงบ้านระดับไฮเอ็นด์เท่านั้น แต่ยังสามารถพกพาไปได้ทุกที่ ผนวกกับคุณภาพของ หูฟังมีการยกระดับคุณภาพอย่างก้าวกระโดดภายใน ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีให้หลัง
SONY DMP-Z1 ถูกจัดวางอยู่ในกลุ่มSignature Series และ SONY Z1R ก็อยู่ใน Signature Series เช่นกัน เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจที่ทั้งสองรุ่นจะเกิดมาเพื่อกันและกัน
SONY DMP-Z1 ได้ถูกออกแบบเพื่อความ ต้องการที่จะให้เป็นความสุดยอดทางด้านเสียง โดยวางไว้แล้วว่า ตัวภาคขยายหรือภาคเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์จะต้องเป็นอะนาล็อกเท่านั้น และจะต้องใช้แบตเตอรีเพื่อความสะอาดของสัญญาณเสียง เพราะสามารถลดการเกิดน้อยส์ได้อย่างเด็ดขาด ไม่เพียงแค่นั้น ตัวแบตเตอรีเองยังถูกแบ่งแยกเป็น สองชุด คือ แบตเตอรีลิเธียมไอออน 4 ก้อนสำหรับ ภาคแอมป์ และอีกหนึ่งก้อนสำหรับภาคดิจิทัล ผลลัพธ์ ที่ได้คือ การดึงกระแสจากการใช้งานที่แยกกัน ทำให้ มีการตอบสนองที่คงที่ ไม่มีการรบกวนซึ่งกันและกัน ภาคแอมป์ก็สะอาด สามารถสวิงไดนามิกเพื่อการตอบสนองได้อย่างฉับไว ไม่มีการขาดหายของกระแส ภาคดิจิทัลก็สามารถคงความนิ่งและความสะอาดไว้ได้ ไม่มีผลกระทบจากการกระชากของภาคแอมป์ ที่สวิงขึ้นลงจากการรับโหลด นับว่าเป็นการออกแบบ ที่ลึกซึ้ง… ต้องยอมรับตรงจุดนี้
ที่ลึกซึ้งไปกว่านั้นคือ SONY DMP-Z1 ยังสามารถสลับโหมดพลังได้โดยอัตโนมัติ แน่นอนว่า ต่อให้ใช้แบตเตอรี แต่ก็ยังคงต้องการการชาร์จไฟ จากอะแดปเตอร์เอซีอยู่ดี เพื่อเติมเต็มแบตเตอรี คือถ้าคุณเลือกตั้งค่าเป็นโหมดการใช้งานจากแบตเตอรี เพื่อคาดหวังคุณภาพสูงสุด และเมื่อแบตเตอรี หลงเหลือความจุน้อยลง จนต้องการการชาร์จไฟ ระบบชาร์จไฟจะทำงานอัตโนมัติ ซึ่งถือว่าออกแบบ ยาก ซับซ้อน และต้องการการควบคุมที่แม่นยำแต่ทางวิศวกรของ SONY ทำได้ดีมากๆ
หลายๆ คนคงมีข้อกังขาเหมือนกับผม เมื่อ SONY DMP-Z1 เกิดมาเพื่อใช้งานร่วมกับหูฟัง หรือใช้พกพา แต่ทำไมถึงมีขนาดใหญ่ถึงเพียงนี้ นั่นเป็นเพราะภาคเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้รูปแบบอะนาล็อก นั่นเอง อะนาล็อกแอมป์มักมีขนาดใหญ่โต เนื่องจาก ปริมาณและขนาดของอะไหล่เป็นตัวกำหนดนั่นเอง บวกกับทาง SONY ยังได้มีการออกแบบแผงบอร์ด PCB แบบแยกส่วนสองบอร์ด ระหว่างบอร์ดแอมป์ และบอร์ดภาคดิจิทัลอีกด้วย เลยมีการออกแบบ โครงสร้างของตัวบอดี้ในรูปตัว H เพื่อการซ้อนบอร์ด ที่แข็งแรงมั่นคงและยังพอมีพื้นที่เหลือสำหรับแบตเตอรีขนาดใหญ่อีกด้วย รูปทรงหน้าตาแข็งแรง บึกบึน แต่สวยงามและเนี้ยบในทุกๆ จุด โครงสร้าง รูปตัว H ที่แข็งแกร่งมาจากการใช้อะลูมินั่มก้อน แล้วกลึงขึ้นรูปด้วยเครื่องกลึง CNC เพื่อยึดอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน และกำหนดการเชื่อมต่อของ แผงวงจรในแต่ละจุดให้มีระยะห่างที่ใกล้กันที่สุด เพื่อความคงที่ของการถ่ายทอดสัญญาณ
ทาง SONY ยังใส่ใจแม้กระทั่งจุดเล็กๆ ภายใน เครื่องที่หลายๆ คนคงไม่เคยทราบ เช่น ใช้สายจากทาง KIMBER KABLE เดินจากแผงวงจรของภาคเพาเวอร์ แอมป์ไปยังขั้วเสียบของสายหูฟัง หรือแม้แต่ใช้ Sorbothane ที่เป็นวัสดุทางการแพทย์ หรือใช้ทำพื้น รองเท้าระดับสูง เพื่อทำเป็นจุดรองเครื่องป้องกันการ ลื่นไถลและรับแรงสั่นสะเทือนถึงสามชั้น
อีกจุดที่โดดเด่นของ SONY DMP-Z1 มองเห็นได้อย่างชัดเจนจากทางหน้าปัดทางด้านบนตัวเครื่อง นอกจากฝาครอบเครื่อง Glass Finish ที่เงางามและหน้าปัดควบคุมการทำงานแบบระบบสัมผัสแล้ว ยังเปิดเผย โดยเว้นที่ว่างให้กระจกใส เพื่อเปิดเผยของดีที่ถูกซุกซ่อนไว้ด้านใน ซึ่งก็คือ ตัวปรับสัญญาณ เสียงหรือโวลุ่มแบบอะนาล็อกที่มีขนาดใหญ่โต เพื่อความเที่ยงตรงในการควบคุมเสียงเอาท์พุต ทาง SONY เลือกใช้ Alps Electric RK501 รุ่นยอด นิยม ราคาแพงมาก และใหญ่มากๆ แต่ทาง SONY ยังคงต้องการรีดประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นไปอีก โดยได้ ถูกปรับปรุงและทดสอบเพิ่มเติมโดยทาง SONY เอง ด้วยการใช้วัสดุทองเหลืองชุบผิวด้วยทองคำเพื่อปรับปรุงให้ประสิทธิภาพของ RK501 ให้ดียิ่งขึ้น ไปอีกขั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ในการปรับปรุง ลองผิด ลองถูกกันมามากมาย ทดสอบกับวัสดุหลากหลายชนิด ด้วยคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทางผู้ผลิต โวลุ่ม Alps ยังต้องยอมรับจนยอมผลิตให้จำนวนมาก เพื่อการผลิต SONY DMP-Z1
รายละเอียดชิ้นดนตรี ชัดเจน คมชัด
แต่ไม่ติดขอบจนกร้าว ความถี่ต่ำกระชับ
และมีมวลที่สามารถ ตอบสนองลงไปที่ ความถี่ต่ำสุดได้ อย่างครบถ้วน…
คุณภาพเสียง
SONY DMP-Z1 ทดสอบร่วมกับ SONY Z1R สมแล้วที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Signature Series เพราะเสียงที่ผมได้ยิน คือแนวเสียงที่ทาง SONY ทำรูปแบบเสียงแบบนี้มาโดยตลอด คือจะมีคาแรกเตอร์ ที่อิ่มหนา รายละเอียดชิ้นดนตรีชัดเจน คมชัด แต่ไม่ติดขอบจนกร้าว ความถี่ต่ำกระชับและมีมวลที่สามารถตอบสนองลงไปที่ความถี่ต่ำสุดได้อย่างครบถ้วน… ผมเลือกปรับ Output เป็นแบบ Low gain เพื่อลดอาการ Aggressive ของการสวิงทางด้านไดนามิก ผลลัพธ์คือฟังสบายขึ้น ปล่อยอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น มี Airy ที่ผ่อนคลายมากขึ้น แต่ถ้าคนที่ชอบชัดก็สามารถปรับเป็นไฮเกนได้ครับ ไม่ได้ผิดอะไร แล้วแต่รสนิยมของแต่ละท่าน
สำหรับคนที่รักเสียงแบบวินเทจนิดๆ ยังสามารถเลือกปรับไปใช้ฟังก์ชั่น Vinyl Processor เพื่อเพิ่ม ความเป็นอะนาล็อกอย่างเต็มขั้น หรือเลือกปรับใช้ฟังก์ชั่น DSEE HX ที่เราชอบเรียกกันว่า Upscaling กันนั่นแหละครับ เช่น ทำให้ไฟล์ต้นฉบับมีการอัพ แซมปลิ้งไปเป็นไฟล์ไฮเรส เมื่อทดสอบแล้ว ผมจับเสียง ได้ว่ามีความนวลเนียนมากยิ่งขึ้น มวลเสียงค่อยๆ ทอดตัวและสมูธมากยิ่งขึ้น แล้วแต่ว่าแต่ละคนชอบคาแรกเตอร์แบบไหน
SONY เลือกใช้ DAC จากทางผู้ผลิต Asahi Kasei Microdevices รุ่น AK4497EQ ซึ่งเป็นรุ่นสูงสุด ให้น้ำเสียงที่สดใส รายละเอียดเป็นเยี่ยม แต่คงยังไม่พอ เมื่อทาง SONY ต้องการรีดประสิทธิภาพให้อยู่ ในระดับสูงสุด จึงเลือกใช้ชิพแดค รุ่น AK4497EQ ถึงสองตัว เพื่อสร้างวงจรแบบบาลานซ์ที่สมบูรณ์แบบ โดยสามารถออกแบบและผลิตแผงวงจรแบบสมมาตรได้เพื่อให้เสียงที่ดียิ่งขึ้น และยังช่วยเรื่องลดการรบกวน ของอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กโทรนิกส์ที่อยู่ใกล้กันเกินไป จากการใช้ชิพแดคเพียงแค่ตัวเดียว อีกหนึ่งสาเหตุที่ ทำให้ SONY DMP-Z1 มีขนาดที่ใหญ่โต เพื่อรองรับ การออกแบบที่ไม่ยอมลดคุณภาพแม้แต่เพียงนิดเดียว
นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่น DAC Filtering Selection ให้เลือกปรับดิจิทัลฟิลเตอร์เพื่อความเหมาะสม กับความต้องการหรือแนวเพลงอีกด้วย โดยมีให้เลือก ปรับมากถึง 6 รูปแบบ
1. Shot Delay Sharp โดยจะให้เสียงที่มี คาแรกเตอร์ Post Echo Enhance Bass Sound เหมาะกับเพลงที่เหมาะกับการเพิ่มเสียงเบสเล็กน้อย แบบ Acoustic Sound *** ขอบของรูปคลื่นสัญญาณ คมชัดเจน
2. Shot Delay Slow โดยจะให้เสียงที่มี คาแรกเตอร์ Minimal Echo Reproduce Original Sound ให้เสียงที่มีเอคโค่น้อยที่สุดเพื่อความใกล้เคียงต้นฉบับ *** ขอบของรูปคลื่นสัญญาณคมชัดเจน
3. Sharp โดยจะให้เสียงที่มีคาแรกเตอร์ Pre And Post Echo Make Powerful Sound ให้เสียง ที่มีการปรับแต่งในรูปแบบที่นิยมดั้งเดิมเพื่อเสียงที่ทรงพลัง *** ขอบของรูปคลื่นสัญญาณติดช้า
4. Slow โดยจะให้เสียงที่มีคาแรกเตอร์ Minimal Echo Reproduce Original Sound ให้เสียงที่มีการทำขึ้นมาใหม่ แต่ยังคงมีเอคโค่น้อยที่สุด เพื่อความใกล้เคียงต้นฉบับ *** ขอบของรูปคลื่น สัญญาณคมปานกลาง
5. Low Dispersion Shot Delay โดยจะให้ เสียงที่มีคาแรกเตอร์ Shot Echo Reproduce Original Sound ให้เสียง Harmonic Sound ที่ทอดตัวเล็กน้อย *** ขอบของรายละเอียดคม ปานกลาง
6. Super Slow โดยจะให้เสียงที่มีคาแรกเตอร์ No Echo Reproduce Natural Sound ไม่มีการเพิ่มเอคโค่ เพื่อความเป็นธรรมชาติของเสียง ให้เสียง Natural Sound ไร้การปรุงแต่ง *** ขอบของรูปคลื่น สัญญาณคมที่สุด
คุณจะมีความสุขกับการปรับแต่งที่หลากหลาย… ตรงใจสำหรับการฟังส่วนบุคคล ที่เลือกได้ด้วยปลายนิ้ว
ด้วยรายละเอียดและการคอนโทรลโทนัล บาลานซ์ที่ยอดเยี่ยม บวกกับไดนามิกที่ดีตามแบบฉบับของ SONY ทำให้ผมกังขาว่า เสียงที่ผมได้ยินจากคู่ทดสอบ SONY DMP-Z1 ทดสอบร่วมกับ SONY ZR1 อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ผมเพิ่มหูฟังในระดับ Flagship หรือรุ่นสูงสุดราคาเกินหนึ่งแสนบาท เข้าไปร่วมทดสอบกับ SONY DMP-Z1 แล้วก็เป็นอย่างที่ ผมคิด เนื่องจากหูฟัง SONY Z1R ราคา 69,990 บาท อาจจะโดนจำกัดเรื่องโครงสร้างด้านราคาที่ไม่แพงมากนัก แล้วถ้าผมเลือกที่จะหาหูฟังที่ “ เงินไม่ใช่ ปัญหา“ มาร่วมทดสอบกับ SONY DMP-Z1 ซึ่งก็ถูก จัดอยู่ในกลุ่มเงินไม่ใช่ปัญหาเช่นกัน อะไรจะเกิดขึ้น
1. MEZE Empyrean ราคา 139,000 บาท เทพเจ้าสายดาร์ก เสียงสวรรค์ ความดีที่ถูกซุกซ่อน ก็ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างหมดสิ้น… รายละเอียดที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การแยกชั้นเลเยอร์ของเวทีเสียง ความมั่นคงของตำแหน่งชิ้นดนตรี การตอบสนองของไดนามิกที่สามารตอบสนองต่อการผกผัน ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างฉับพลัน
2. Focal Utopia ราคา 169,000 บาท เทพเจ้าสายสว่าง เวทีเสียงที่เปิดโปร่งและแม่นยำการตอบสนองความถี่สูงที่ยอดเยี่ยม และยังคงรักษารายละเอียดของฮาร์โมนิกไว้ได้อย่างครบถ้วน กลางสวย อวบอิ่มกำลังงามและความเร็วสูง
เครื่องเล่น SONY DMP-Z1 และหูฟัง SONY Z1R แม้จะถูกออกแบบมาเพื่อให้อยู่ในซีรีส์เดียวกัน แต่ด้วย SONY DMP-Z1 ราคา 269,990 บาท ถ้าจะ ขยับงบอีกสักนิด เพิ่มงบของหูฟังไปหลักแสนบาทอัพ ท่านจะรับรู้ได้อย่างเต็มที่ว่า SONY DMP-Z1 คุ้มค่า อย่างเต็มที่ในวงเงินที่จ่ายไป. ADP
SONY DMP-Z1 ราคา 269,990 บาท
SONY Z1R ราคา 69,990 บาท
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด
โทร. 0-2715-6100
นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 268
No Comments