รีวิว HEGEL Röst Music Systems
ปฤษณ กัญจา
ถ้าพูดถึงประเทศนอร์เวย์ คุณจะนึกถึงอะไร?
“พอนึกถึงนอร์เวย์ ก็ต้องนึกถึงดนตรีของ Edvard Grieg และภาพศิลปะของ Edvard Munch แต่มีอะไร หลายอย่างที่ผมได้ไปเห็นและศึกษามาจากการไปเที่ยวครั้งแรกนี้ ผลงานศิลปะที่ติดตาตรึงใจผมมากของ Gustav Vigeland ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน…” อาจารย์หมอดำรงค์ ธนะชานันท์ เขียนไว้ในคอลัมน์ “ชวนคิด ชวนฟัง” ฉบับนี้
สำหรับผม ผมนึกถึง “ฟยอร์ด – (อังกฤษ: fjord) เป็นอ่าวเล็กๆ บริเวณชายฝั่งทะเล ซึ่งถูกน้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่ง มีลักษณะแคบและยาว เว้าลึกเข้าไปในฝั่งระหว่างแผ่นดินสูงชัน หรือระหว่างหน้าผาสูงชันตามเชิงเขา ฟยอร์ดเกิดจาก การกัดเซาะของธารน้ำแข็ง สามารถพบได้มากในบริเวณชายฝั่งของประเทศนอร์เวย์ ซึ่งมีความยาวประมาณ 29,000 กิโลเมตร (18,000 ไมล์) และมีฟยอร์ดกว่า 1,190 แห่ง มีพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 2,500 กิโลเมตร (1,600 ไมล์) เท่านั้น ที่ไม่มีฟยอร์ด” (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย) ที่เคยเรียนจากวิชาภูมิศาสตร์สมัยมัธยม
ในส่วนของคนเล่นเครื่องเสียง ถ้าเป็นสมัยก่อนต้องนึกถึงยี่ห้อ “Tandberg” ที่ได้สร้างชื่อเสียงไว้อย่างมาก แม้แต่ทุกวันนี้ นักเล่นเครื่องเสียงสายวินเทจก็ยังตามเก็บเครื่องเสียงของ Tandberg อย่างพวกเครื่องเล่นเทป Open Reel หรือพวก Receiver ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่ถ้าใครที่ไม่ทันยุคของ Tandberg หมายถึงเพิ่งมาเริ่มเล่นเครื่องเสียงไม่นาน คิดว่าน่าจะเคยได้ยินชื่อ “Hegel” เพราะก็เป็นเครื่องเสียงที่ถือกำเนิดจากประเทศนอร์เวย์เช่นกัน
เมื่อย้อนกลับไปดูความเป็นมาของ Hegel จะพบว่า ที่มานั้นมีความ น่าสนใจทีเดียว…
“The story begins in 1988. Bent Holter – student at the Technical University in Trondheim (NTNU) decided to do a thesis under the original design of the amplifier transistor that would cure the problems of classical systems. Enemy number one – harmonic distortion. Holter somehow could not accept the fact that when we give a simple signal to the amplifier, you will get that signal plus something else – distortion produced by electronics. Fighting distortion usually meant the deterioration of other parameters, including damping factor. Holter decided to break out the classic schemes and developed a project that became the basis of what we know today as SoundEngine Technology. And where the name of the company came from? Well, after hours Bent played in a rock-metal band called The Hegel Band. When they needed amplifiers for concerts, Holter suggested building them himself. His ideas took on real shape, but it took lots of money to refine the technology. Help came from Telenor – one of the biggest players in the telecommunications industry.
ผมขออนุญาตนำพารากราฟนี้มาลงเพื่อจะบอกว่า… Hegel “Röst” ที่จะเขียนถึงครั้งนี้นั้น ก็มีที่มาจากจุดเริ่มต้นที่ต้องการจะเอาชนะในเรื่อง ของ Distortion และเมื่อผ่านกาลเวลาในการออกแบบมาหลายเจเนอเรชั่น วันนี้ Hegel ก็สามารถบรรลุถึงการออกแบบให้แอมป์สามารถถ่ายทอดเสียง ที่เรียกว่า “Organic Sound” ได้อย่างสมบูรณ์
แต่ก่อนอื่นผมจะขออ้างอิงถึงเรื่อง “SoundEngine” ที่ถือเป็นหัวใจของ ภาคขยายของแอมป์ของ Hegel ทุกรุ่นก่อนเป็นเบื้องต้น เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็น ภาพการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจว่า ในท้ายที่สุด ทำไม? คุณภาพเสียงของ Röst ถึงออกมาในลักษณะนั้น โดยผมได้ไปขอให้ คุณกิตติคุณ ปริณายก, ผู้บริหารของ Discover HiFi ช่วยอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของ SoundEngine เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครับ อ้อ! สำหรับ SoundEngine ที่ใช้ใน Röst นี้เป็น SoundEngine2 แล้วครับ
คุณกิตติคุณ อธิบายว่า “SoundEngine เป็นวงจรที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ Hegel วิธีการทำงานก็คือ เมื่อมีสัญญาณขาเข้ามาที่เครื่องก็จะผ่าน SoundEngine ก่อน จากนั้นสัญญาณจึงเดินทางไปที่วงจรภาคขยายสำหรับ SoundEngine เปรียบไปแล้วก็คล้ายกับวงจร Negative Feedback ของแอมป์ทั่วๆ ไป ปกติแอมป์ทุกตัวจะมี Negatve Feedback โดยเอาสัญญาณ จากเอาต์พุตย้อนกลับมาตรวจสอบเพื่อลด distortion แต่จะเป็นลักษณะที่ย้อนกลับ ซึ่ง Negative Feedback ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ของ Hegel จะใช้ SoundEngine ซึ่งทำงานตรงกันข้ามกับ Negative Feedback โดยจะส่งสัญญาณจากอินพุตไปแก้ไขที่เอาต์พุต เป็นลักษณะ Feed Forward คือส่งสัญญาณไปแก้ไขล่วงหน้า หมายถึงว่า ถ้าเครื่องจับสัญญาณที่เข้ามาเป็นแบบไหน สัญญาณที่ส่งไปที่เอาต์พุตก็เป็นแบบนั้น โดยที่ SoundEngine ไม่ได้ทำให้คุณภาพเสียงแย่ลง ในทางตรงกันข้ามเป็นการปรับปรุงให้คุณภาพ เสียงดีเหมือนต้นฉบับ แล้วข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ แอมป์ของ Hegel ในปัจจุบัน มีค่า damping factor สูงมาก ปกติค่า damping factor ของแอมป์โซลิด สเตททั่วๆ ไปอยู่ที่ 100-200 แต่ของ Hegel อยู่ที่ 4000 ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ค่า damping factor สูงมากเช่นนี้ เพราะ SoundEngine ทำหน้าที่ตรวจสอบสัญญาณ แล้วส่งไปแก้ไขล่วงหน้า ทำให้ภาคเอาต์พุตทำงานด้วยความเที่ยงตรงมากๆ สามารถจ่ายกระแสได้สูง และควบคุมการทำงานของไดรเวอร์ ลำโพงให้ได้คงเส้นคงวา ทำให้เวลาที่วัดค่า damping factor จะพบว่าแอมป์ ของ Hegel มีค่า damping factor ที่สูง…”
จากคำอธิบายเบื้องต้น ผมขอย่อยให้ง่ายลงมาอีกว่า เมื่อสัญญาณที่ส่ง จากเครื่องเล่นต้นทางมาเข้าที่ Röst ก็จะผ่านวงจร SoundEngine กับอีกสอง สามอย่างที่เป็นเทคโนโลยีของ Hegel ไม่ว่าจะเป็น DualAmp, DualPower หรือ SynchroDAC แล้วท้ายที่สุด เมื่อสัญญาณถูกส่งออกไปที่ลำโพง ทาง Hegel เคลมว่า… สัญญาณที่ออกมานั้นมีความเหมือนกันกับสัญญาณ จากต้นฉบับ ซึ่งว่า Organic Sound ก็จะมาจากเหตุผลนี้ (The organic sound of Hegel means that all parts of a dynamic recording are reproduced exactly like the original. The quality of the sound coming out of your speakers are only limited by what happened in the recording studio. Nothing added, nothing taken out – no artificial ingredients) ในวงเล็บนี้ ทาง Hegel ระบุไว้ครับ
เล่นเพลงโดยใช้แอพพลิเคชัน mconnectHD จาก iPad และโทรศัพท์มือถือ
โอเคครับ, พูดถึงพื้นฐานการทำงานภายในของ Röst คร่าวๆ ไปแล้ว ต่อไปจะมาดูเรื่องการ ออกแบบหน้าตาของเครื่อง กับฟังก์ชั่นการทำงาน ว่ามีอะไรบ้าง (ผมทำคลิปวิดีโอในส่วนนี้ไว้ ติดตามชมได้ที่ https://www.youtube.com/ watch?v=sFZI2jlsNnM)
เรื่องการออกแบบ Hegel Röst เรียกว่าเป็น “สแกนดิเนเวียน ดีไซน์” ที่เรียบง่าย มีความ สวยงาม ไม่ได้หรูหราเว่อร์วัง หากมีรสนิยม โดยส่วนตัว ผมชอบดีไซน์ลักษณะนี้ ด้านหน้ามีปุ่ม อยู่สองปุ่ม สำหรับเลือกอินพุตและปรับโวลุ่ม มีช่องต่อสำหรับใช้งานกับเฮดโฟนแบบแจ็คใหญ่ อยู่หนึ่งรู ด้านหลังมีขั้วต่ออินพุตอะนาล็อก 1 x balanced (XLR), 2 x unbalanced (RCA) ส่วน อินพุตดิจิทัลมีให้ใช้งานครบถ้วนครับ ได้แก่… 1 x coaxial S/PDIF, 3 x optical S/PDIF, 1 x USB, 1 x Network (ภาค DAC ของ Optical และ Coaxial (S/PDIF) กับ Network (RJ45) รองรับ Resolutions 24-bit/192kHz ส่วน USB รองรับ 24-bit/96kHz) สำหรับอะนาล็อกเอาต์พุตมีแบบ RCA อยู่หนึ่งชุด เอาไว้ต่อกับเพาเวอร์แอมป์ ภายนอก ด้านใต้เครื่องมีขารอง 3 จุด ออกแบบมา เพื่อรองรับการสั่นสะเทือนได้ดี ภาพรวมของเครื่อง ทางกายภาพที่เห็นด้วยตาก็มีประมาณนี้ครับ ไม่มีอะไรมาก แต่ดูดีจริงๆ ครับ
ในการทดลองฟังเสียง ผมต่อผ่านทางอะนาล็อกอินพุตแบบ RCA เพื่อฟังเพลงจาก เครื่องเล่นซีดี และหอบหิ้วไปที่ร้าน Discovery HiFi เพื่อทดลองฟังกับหูฟัง และต่อใช้งานในระบบ Network (ชมคลิปวิดีโอการเชื่อมต่อระบบ Network ที่ https://www.youtube.com/ watch?v=i2YIh5F_juM&t=51s)
เมื่อพูดถึงการต่อใช้งานในระบบ Network ตอนแรกผมก็คิดว่ามันคงยุ่งยากน่าดู อาจจะต้อง เซ็ตโน่นเซ็ตนี่ แต่เอาเข้าจริงๆ ไม่ต้องเซ็ตอะไร เลยครับ แค่เอาสาย LAN (Ethernet) มาต่อเข้า ทางช่อง LAN (RJ45) ด้านหลังเครื่อง แล้วเลือก ซีเล็กเตอร์ไปที่อินพุต Network จากนั้นรอ แป๊บเดียว จะมีตัวหนังสือ DLNA พร้อมเครื่องหมาย ถูกปรากฏขึ้นใต้คำว่า Network โดยอัตโนมัติ ก็ถือว่าการเชื่อมต่อสำเร็จแล้ว … มันง่ายแบบนี้ จริงๆ ครับ ไม่ต้องไปเซ็ตอะไรเลย
ต่อมาเมื่อจะเล่นเพลง คุณกิตตคุณ ก็ใช้ app ที่เป็น Thirdrd Party นั่นคือ… mconnectHD เป็นตัวเล่น ซึ่งสามารถลง app นี้ได้ทั้ง Android และ iOS ครับ แล้วก็เลือกเพลงจาก TIDAL มาฟัง (ดูจากรูปประกอบ) เป็นอะไรที่เหลือเชื่อครับ ว่ามันใช้งานได้ไม่ยากเลย กรณี Hegel Röst ท?ำให้ ผมรู้สึกเป็นมิตรกับการฟังเพลงในระบบ Network มากขึ้น 555
คุณภาพเสียง
ตอนฟังที่ห้องฟังของ Audiophile ผมฟังจากลำโพงที่ใช้ไดรเวอร์ฟูลเรนจ์ขนาดประมาณ 3 นิ้ว เสียงที่ได้ยินมีความสะอาดเป็นพื้นฐาน ฟังแล้วรู้สึก สบายๆ ฟังนานๆ ฟังดังๆ ก็ไม่เครียด อธิบายแบบ คนเครื่องเสียงก็ต้องบอกว่ามี Distortion กับ Noise ต่ำมาก แล้วมันเหมือนไม่มีบุคลิกครับ ฟังเพลงแนวไหนก็มีความเป็นแนวเพลงหรือดนตรี ประเภทนั้นๆ ไม่มีความขัด หรือรู้สึกว่าไม่ลงรอย กับแนวเพลงที่ฟังแต่อย่างใด
ทีนี้ เมื่อยกเครื่องมาลองฟังที่ร้าน Discovery HiFi กับลำโพง EgglestonWorks รุ่น Ivy Signature ตัวสูงใหญ่ท่วมหัว แม้ Hegel Röst จะขับลำโพงได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่ก็ถือว่า ฟังได้เพลินๆ แบบไม่น่าเกลียด หรือเกิดอาการที่ ฟังไม่ได้นั้น ไม่รู้สึกเลยครับ ก็เหมือนฟังเพลง เพราะๆ เสียงสะอาด Distortion กับ Noise ต่ำเช่นเดียวกับฟังที่ออฟฟิศ แต่เพิ่มเติมคือขนาดของ เสียงที่ใหญ่ตามขนาดของลำโพงครับ
ถ้าถามความเห็นส่วนตัว เอาตามรสนิยมของ ผมนะครับ ผมว่า Hegel Röst ไม่มีอะไรที่ต้องติ ผมฟังแจ๊ส ฟังคลาสสิก เพลงร้อง เพลงบรรเลง มันก็ทำงานได้ดี ยิ่งเมื่อต่อใช้งานในระบบ Network ผมคิดว่า ยิ่งไม่ต้องคิดมากครับ ถ้าผม เป็นเจ้าของ Hegel Röst ผมจะหาเครื่องเล่นซีดี Hegel มาเข้าชุด เพราะปลื้มกับแนวเสียงของ Hegel กับหาเครื่องเล่นแผ่นเสียงและโฟโนสเตจ มาเล่นแผ่นเสียง สามอย่างนี้… เล่นผ่าน Network, เล่นกับเครื่องเล่นซีดี, เล่นแผ่นเสียง ก็ครอบคลุม การฟังเพลงที่ผมชอบแล้ว และเชื่อว่า ซิสเต็มง่ายๆ นี้ จะทำให้ผมมีความสุขกับการฟังเพลงมากมาย อ้อ! ลืมไปครับ หาเฮดโฟนดีๆ สักตัว ขับไม่ต้อง ยากมาก ก็ไม่น่าจะมีอะไรเรื่องเพลงที่รอดหูรอดตา ไปได้แล้วครับ
ผมเพิ่งเคยฟังเสียงของแอมป์ Hegel เป็น ครั้งแรก ก่อนหน้านี้ถึงไม่เคยฟัง แต่ก็ไม่ค่อยชอบใจ ตรงที่ติดตั้ง DAC มากับแอมป์ทุกรุ่น เพราะคิดว่า ยังไงก็ไม่ได้ใช้ แถมยังจะมากวนการทำงานของเครื่องอีก ทว่า พอได้ลองฟัง Hegel Röst อคติ ที่ว่านี้กลับมลายไปสิ้นครับ แถมยังคิดว่าไม่จำเป็น ต้องมีเครื่องเล่นซีดีก็ยังได้ 555 คนเราหนอคนเรา
สุดท้าย… ถ้าไม่เขียนลงไปในบทความ ต้องถือว่าพลาดอย่างแรงครับ นั่นคือ… ที่มาของ ชื่อ “Röst” ครับ
“Röst” คือชื่อของเกาะที่สวยงามที่สุดแห่ง หนึ่งของประเทศนอร์เวย์ อยู่ขึ้นไปทางเหนือ ในหมู่เกาะ Lofoten “หมู่เกาะที่ส่วนใหญ่เป็น หมู่บ้านชาวประมง แต่รายล้อมด้วยแลนด์สเคป ระดับโลกจนแทบจะทำให้คุณตะลึง เรียกได้ว่า ทุกตารางนิ้วของที่นี่มีแต่ความสวยงามทั้งนั้น” ในวงเล็บนี้ ผมเอามาจากโพสต์ใน Pantip ของคน ที่เคยไปเที่ยวมาแล้วนะครับ นอกจากนั้น “Röst” ในภาษานอร์เวย์ ยังแปลว่า “Voice – เสียง” ซึ่ง Hegel เขานิยามว่า Röst is truly the “voice of Hegel” … เข้าใจตรงกันนะครับ. ADP
ราคา 99,000 บาท
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย Discovery HiFi
โทร. 0-2102-2610, 0-2747-6710, 085-517-8292
นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 270
No Comments