พงศ์ทิพจักร์
ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์ 

หลังจากปีที่แล้ว ผมได้ทดสอบโปรเจกเตอร์ 4K HDR ของ BenQ ไปในรุ่น W11000H ตอนนี้ BenQ ได้เปิดตัว DLP โปรเจกเตอร์แบบ 4K HDR Wide Color Gamut รุ่นเรือธงตัวใหม่ล่าสุดออกมา ในราคาเปิดตัว 199,900 บาท ซึ่งทาง BenQ ได้ส่งให้ผมได้ทดสอบจริง ก่อนที่จะ วางจำหน่ายในประเทศไทย และหลังจากได้ทดลองใช้ และทดสอบอย่างละเอียดเป็นเวลาหลายอาทิตย์ พบว่า โปรเจกเตอร์ตัวใหม่นี้มีจุดเด่นและจุดน่าสนใจหลาย ประการ วันนี้จึงจะเอามาเล่าให้ฟังกันว่ามีอะไรบ้าง 

พูดถึงรูปร่างหน้าตาภายนอกนั้นเหมือนกับรุ่น W11000H ที่ทดสอบ ไปเป๊ะ ถ้าไม่นับสีทองตรงขอบรอบเลนส์กับโลโก้ที่ติดอยู่บนตัวเครื่องเท่านั้น ที่ต่างกัน แต่ทาง BenQ ได้กระซิบบอกมาว่า ถึงแม้ข้างนอกดูเหมือนกัน แต่ข้างในเรียกได้ว่าเปลี่ยนยกเครื่องหลายอย่าง เท่าที่ยกเครื่องขึ้นมา ดูก็น่าจะจริง เพราะน้ำหนักตัวใหม่นี้หนักถึง 18.5 กิโลกรัม หนักกว่า ตัว W11000H ถึงสี่กิโลกรัม สำหรับตำแหน่งช่องต่อ, ตำแหน่งปุ่มปรับ, การ Zoom, การ Focus ทุกอย่างเหมือนกับรุ่นเดิม แต่สิ่งที่ต่างไปจาก รุ่นก่อนหน้านี้ก็คือ การใช้เทคโนโลยี HDR-PRO™ ที่รองรับระบบ HDR ทั้งระบบ HDR10 และ Hybrid Log Gamma (HLG) มีการใช้เทคโนโลยี BenQ CinematicColor ที่ครอบคลุมสเปกตรัมของสีในระดับเดียวกับ โรงภาพยนตร์ดิจิทัล DCI-P3 ทำให้สีที่ออกมากว้างกว่ามาตรฐานเดิม Rec.709 ถึง 26% เมื่อเอามารวมเข้ากับเทคโนโลยี Color Spark HLD LED ทำให้ภาพที่ออกมามีความสว่างสูง ให้สีที่แม่นยำถูกต้องตามที่ ผู้กำกับหรือคนทำหนังตั้งใจ นอกจากนี้ยังรองรับการใช้งานร่วมกับเลนส์ Panamorph Paladin Anamorphic เพื่อให้สามารถแสดงอัตราส่วนภาพ 2.4:1 เช่นเดียวกับในโรงภาพยนตร์ทั่วไป ทำให้ได้พิกเซลกลับมาจากการที่ จะต้องไปเป็นแถบดำบนล่างของภาพอีกกว่า 2 ล้านพิกเซล เพิ่มความสว่าง และรายละเอียดของภาพ ทำให้ได้สัมผัสประสบการณ์การชมภาพยนตร์ ภายในบ้านแบบเต็มจอ 2.4:1 เหมือนในโรงภาพยนตร์จริงๆ 

ระบบ CinemaMaster™ ที่จะทำให้ห้องภายในบ้าน กลายเป็นโรงภาพยนตร์ระดับ World-Class 
BenQ เป็นเจ้าแรกที่นำระบบ DLP 4K UHD LED
โปรเจกเตอร์ ออกมาสู่ตลาดผู้บริโภค 

BenQ X12000H เครื่องนี้ใช้ชิพกำเนิดภาพแบบ Single Chip XPR DLP ที่มี Native Resolution อยู่ที่ 2,716 x 1,528 แล้วใช้เทคนิค pixels shifted เพื่อให้สามารถแสดงภาพที่ระดับความละเอียดระดับ UHD 8.3 ล้านพิกเซล แต่สิ่งที่เป็นจุดเด่นหลักก็คือ เรื่องของแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้จากหลอด LED ของ Philips ColorSpark HLD อย่างที่บางคนน่าจะพอรู้มาบ้างว่า หลอด LED เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 20,000 ชั่วโมง มีความร้อนออกมาจากเครื่องน้อยกว่าแบบหลอดทั่วไป ที่ผ่านมาจึงไม่ค่อยได้เอามาใช้เป็นหลอดในโปรเจกเตอร์ เนื่องจากความสว่างของแสงที่น้อยกว่าหลอดไฟแบบไส้ของโปรเจกเตอร์ทั่วไป แต่จากการพัฒนาในปัจจุบันทำให้ผลิตหลอด LED ความสว่างสูงที่สามารถนำมาใช้เป็นหลอดในเครื่องโปรเจกเตอร์สำหรับ Home Theater ได้สบาย อย่างในเครื่องนี้สามารถสร้างแสงสว่างได้สูงถึง 2,200 Lumen กันเลย และสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นจุดเด่นหลักของ LED Light Engine ก็คือ การที่เครื่องที่ใช้ชิพแบบ DLP ไม่จำเป็นต้องพึ่ง Color Wheel อีกต่อไป เนื่องจาก หลอด LED สามารถผลิตแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน จากตัว LED ได้ โดยตรง ก่อนส่งไปยังชิพ DLP ทำให้ไม่ต้องใช้แผ่นวงล้อหมุนเพื่อกำเนิดแสงสีต่างๆ จึงไม่ทำให้เกิดปรากฏการณ์การรั่วของสีรุ้งที่เรียกว่า Rainbow Effect หรืออาการปวดตาเมื่อดูภาพจากชิพ DLP ที่ใช้ Color Wheel โดยอาการนี้จะพบบ้างในคนส่วนน้อยที่โชคดี ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในผู้โชคดี นั้นไปด้วย ฮ่า ฮ่า ฮ่า… จำได้ว่าในอดีตเคยชอบภาพที่มาจาก DLP Chip เพราะให้ภาพที่สดใส สีสันเป็นธรรมชาติไม่หลอกตา แต่ด้วยเวลาดูภาพจาก Single Chip DLP ทีไรจะดูได้ไม่นาน เนื่องจากเห็นแสงรุ้งรั่ว และมีอาการ ปวดกระบอกตาตามมา ทำให้ไม่ค่อยได้ใช้งานโปรเจกเตอร์จากเทคโนโลยีนี้ เท่าไหร่ แต่ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับ ความเร็วของวงล้อ Color Wheel, การใช้ Color Wheel ที่มีสีหลายสี ในวงล้อ ก็ล้วนแต่ทำให้ Rainbow Effect ของเครื่อง DLP ลดลงมาก จนทำให้ผมดูได้โดยไม่มีปัญหาอะไร ยิ่งมาเจอกับเครื่องที่เป็นเทคโนโลยี LED ตัวนี้ที่ไม่ต้องพึ่ง Color Wheel อีก เรียกได้ว่าดูภาพจาก Single Chip DLP ได้แบบสบายตากันไปเลย 

เมื่อได้เครื่องมา ผมก็ได้ยกขึ้นแท่นเพื่อเบิร์นอินเครื่องก่อนทำการ Set up & Calibration อุปกรณ์ที่ใช้ก็ได้แก่… แหล่งกำเนิดภาพจาก Pioneer UDP-LX800, Oppo UDP-203, Apple TV4K จอภาพใช้จอของ Stewart รุ่น FireHawk สัดส่วน 16:9 ขนาด 121 นิ้ว สำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดภาพ และปรับภาพก็มี Meter หรือ Probe คือ Klein K10 (Colorimeter) และ JETI Spectraval1511 (Spectroradiometer), Pattern Generatorของ Murideo Six-G, Video Processorใช้ Lumagen Radiance Pro 4K สำหรับโปรแกรมที่ใช้วัดภาพใช้อยู่ 3 โปรแกรม ได้แก่… LightSpace HTP, CalMAN for Business และ ChromaPure Professional แผ่นที่ใช้ทดสอบ Full HD rec.709 ใช้แผ่น Blu-ray THX Calibrator Disc ส่วนแผ่นที่ใช้ทดสอบ 4K HDR จะใช้แผ่น HDR-10 UHD Test Pattern ของ Diversified Video Solution และ Spears & Munsil 4K UHD HDR Benchmark Calibration Disc 

แผ่นที่ใช้ในการทดสอบบางส่วน 

เมื่อได้เครื่องมา ผมก็ได้ยกขึ้นแท่นเพื่อเบิร์นอินเครื่องก่อนทำการ Set up & Calibration อุปกรณ์ที่ใช้ก็ได้แก่… แหล่งกำเนิดภาพจาก Pioneer UDP-LX800, Oppo UDP-203, Apple TV4K จอภาพใช้จอของ Stewart รุ่น FireHawk สัดส่วน 16:9 ขนาด 121 นิ้ว สำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดภาพ และปรับภาพก็มี Meter หรือ Probe คือ Klein K10 (Colorimeter) และ JETI Spectraval1511 (Spectroradiometer), Pattern Generatorของ Murideo Six-G, Video Processorใช้ Lumagen Radiance Pro 4K สำหรับโปรแกรมที่ใช้วัดภาพใช้อยู่ 3 โปรแกรม ได้แก่… LightSpace HTP, CalMAN for Business และ ChromaPure Professional แผ่นที่ใช้ทดสอบ Full HD rec.709 ใช้แผ่น Blu-ray THX Calibrator Disc ส่วนแผ่นที่ใช้ทดสอบ 4K HDR จะใช้แผ่น HDR-10 UHD Test Pattern ของ Diversified Video Solution และ Spears & Munsil 4K UHD HDR Benchmark Calibration Disc ตามค่า Hue Saturation และ Gain ไว้ดังนี้… สีแดง 229-192-153, สีเขียว 109-172-166, สีน้ำเงิน 144-205-171, สีฟ้าอ่อน 242-136-196, สีม่วง 118-162-177 และสีเหลือง 149-170-201 สำหรับการปรับค่าใน Cinema Master ทั้ง Color Enhancer, Flesh Tone, Pixel Enhancer 4K, DCTI/DLTI ตั้งไว้ที่ 0 หมดได้เลย ส่วน Light mode ถ้าต้องการให้ ความสว่างตามมาตรฐานของภาพ Full HD rec.709 ที่ประมาณ 14-16fL ก็ตั้งไว้ที่ Eco mode แต่ถ้าใครชอบภาพที่สว่างมากกว่านั้นก็สามารถตั้งไว้ ที่ Normal แบบปกติ หรือ SmartEco ที่จะเป็นการปรับความสว่างของ ภาพอัตโนมัติตามความสว่างของภาพในฉากนั้นๆ ให้มีค่า Contrast ของ ภาพเพิ่มมากขึ้นลักษณะคล้ายๆ กับการตั้งค่า Dynamic Iris ก็ได้ 

สำหรับการปรับค่าภาพ 4K HDR ที่เครื่องโปรเจกเตอร์จะสวิตช์ไป โหมด HDR10 อัตโนมัติ เมื่อตรวจพบสัญญาณ 4K HDR10 เข้ามา หรือ โหมด HLG อัตโนมัติ เมื่อมีสัญญาณภาพ HDR แบบ Hybrid Log Gamma เข้ามา ซึ่งในโหมด HDR เหล่านี้ ผมแนะนำว่า การปรับไม่ควรจะปรับค่าต่างๆ ให้เพี้ยนไปจากค่าที่ตั้งมาให้มากเกินไป เพราะการปรับค่าภาพ ใน HDR มันไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับค่า Tone Mapping ที่อยู่ในเครื่อง โปรเจกเตอร์ด้วย การปรับที่มากเกินไปทำให้ Tone Mapping ที่ออกแบบ มาเฉพาะสำหรับเครื่องรุ่นนั้นๆ เสียไป ทำให้ภาพเพี้ยนจากภาพที่ควร จะเป็น ซึ่งเท่าที่ปรับดูในสภาพห้องของผมนั้น ค่า Brightness, Contrast ที่เหมาะสมคือ 48 จากค่ากลางที่ตั้งไว้คือ 50, Color Temperature เลือกเป็น Normal แต่ก็จะพบว่าภาพติดสีฟ้าเล็กน้อยจึงลดค่า Blue Gain ลงมาเป็น 97 ส่วนสีแดง สีเขียว ทั้ง RGB Gain และ RGB Offset ตั้งไว้ที่ 100/256 เหมือนเดิมไม่ต้องไปปรับอะไร, ค่า HDR Brightness ถ้าเป็นภาพยนตร์ที่มีความสว่างปกติก็ตั้งไว้ที่ 0 แต่ถ้าดูแล้วภาพโดยรวม ดูมืดหรือดูสว่างไปในหนังบางเรื่อง ก็สามารถปรับลด ปรับขึ้นได้ตามสภาพ ความสว่างของหนังแต่ละเรื่องได้เลย, Color Management ผมไม่ได้ปรับ อะไร ทั้ง Hue, Saturation, Gain ตั้งตามเดิม ส่วน Color Gamut เป็น BT.2020 สำหรับการปรับในส่วน Advanced ใน Cinema Master ค่า Color Enhancer ตั้งไว้ที่ 0, ค่า Flesh Tone ปรับไว้ที่ 1 เพราะเท่าที่ลองดู ปรับมากกว่านี้จะทำให้ผิวสีเนื้อของคนออกโทนแดงมากเกินไป, Pixel Enhanced 4K ค่าที่ตั้งมาจากโรงงานเป็น 3 แต่ผมดูจาก Pattern มาตรฐานต่างๆ แล้ว ถ้าตั้งไว้ 3 รายละเอียดต่างๆ มันจะขึ้นมาเยอะเกินจริง ดูไม่ธรรมชาติ จึงตั้งไว้ที่ 1 เพื่อให้ภาพดูสมจริงมากขึ้น ส่วน DCTI, DLTI ตั้งไว้ที่ off ทั้งสองค่า, Light mode เลือกเป็น SmartEco เพื่อช่วยเพิ่ม Contrast และความสว่างของภาพตามความสว่างของภาพแต่ละเฟรม 

ใน HDR10 mode พบว่า Grayscale ติดสีฟ้าเล็กน้อย 
ส่วนค่า EOTF ให้กราฟที่ดีตามมาตรฐาน ST.2084 

ปรับค่าต่างๆ เสร็จแล้วก็เริ่มทำการวัดค่าทั่วไปก่อน ความสว่างของ เครื่องที่แจ้งไว้คือ 2,200 Lumen วัดค่าจริงๆ ใน Lamp Mode Normal ที่ IRE 100 ได้ความสว่างสูงสุดประมาณ 90nits คิดเป็น Foot Lamberts ได้ 26fL แต่ถ้าปรับ Lamp Mode เป็น SmartEco ค่าที่ได้ก็จะน้อยหรือ มากกว่านี้เล็กน้อยขึ้นอยู่กับว่าฉากนั้นสว่างมากหรือน้อยขนาดไหน ซึ่งความสว่างขนาดนี้เรียกได้ว่าสามารถเปิดภาพ 4K HDR ได้สบายๆ ไม่มี ปัญหาเรื่องความสว่างที่ไม่เพียงพอ สำหรับ input lag 4K วัดได้ 50ms ก็ถือว่า ถ้าใครจะเอาโปรเจกเตอร์ตัวนี้ไปเล่นเกม การตอบสนองของภาพ ก็ยังได้อยู่ ไม่หน่วงภาพมากเกินไป เนื่องจากเป็นหลอด LED ความร้อน จากเครื่องจึงน้อยกว่าหลอดโปรเจกเตอร์ปกติ ทำให้พัดลมไม่ต้องทำงานหนักมาก เสียงของเครื่องจึงเงียบ ผมเคยเปิดเครื่องต่อเนื่องกันมากกว่า เจ็ดชั่วโมง เสียงของพัดลมก็ไม่ได้ดังขึ้น ความร้อนจากเครื่องก็ไม่ได้มาก เท่าไหร่ และเมื่อปิดเครื่องนั้นใช้เวลาปิดเครื่องแค่ 5 วินาทีเท่านั้น เหล่านี้ ก็เป็นข้อดีของการใช้หลอดภาพแบบ LED นอกจากข้อดีของหลอดที่มี การเสื่อมของหลอดช้า อายุการใช้งานของหลอดมากกว่า 20,000 ชั่วโมง 

เลนส์แก้วระดับคุณภาพสำหรับภาพ 4K โดยเฉพาะของ BenQ 

คราวนี้มาถึงภาพที่ออกมาจริงๆ หลังจากทำการ Calibration & Set up แล้ว ทั้งภาพในระบบ 1080p และระบบ 4K HDR พบว่า ความเที่ยงตรง ของภาพ ของสีสัน ทำได้ดีมากตามแบบฉบับ BenQ ที่เน้นเรื่องความถูกต้อง ของภาพและสีให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยภาพในส่วนที่สว่างทำได้สวยงามสดใสตามแนวภาพแบบชิพ DLP ในส่วนมืดถึงแม้ภาพไม่ได้ให้ ความดำของภาพสุดๆ แต่ก็ถือว่ามีความดำที่มากกว่ารุ่นเดิมที่ผมเคยทดสอบไป การไล่ระดับความดำของภาพ rec.709 ทำได้ดีที่ค่า Gamma2.2 ส่วนความ Smooth ของภาพทำได้ระดับดีเหมือนรุ่นก่อน แต่ในบางสถานการณ์โหดๆ เช่น มีการแพนกล้องเร็วๆ จากซ้ายไปขวา หรือจากบนลงล่างเร็วๆ ในภาพที่ละเอียดก็อาจจะเจอกับความไม่ Smooth บ้าง ในบางครั้ง สำหรับเรื่องความคมชัดของภาพต้องบอกว่า ถึงแม้ไม่ใช่ภาพที่ เป็น Native 4K แบบ pixel by pixel แต่ความคมชัดทำได้ดีมาก อาจจะด้วยได้เลนส์แก้วระดับคุณภาพสำหรับภาพ 4K โดยเฉพาะ และเป็นการ ใช้ชิพแบบ Sigle DLP จึงทำให้ไม่ต้องกลัวในเรื่องการเบลอของภาพจากการ Misalignment ของชิพ และเนื่องจากต้นกำเนิดของภาพที่เกิดจาก หลักการการสะท้อนของกระจกระดับ Nano ภาพของชิพ DMD DLP จึงให้ความคมชัดสมจริง สีสันมีความแม่นยำไม่เข้มเกินไปดูสบายตา ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมโรงภาพยนตร์ระบบ Digital มากกว่า 90% ในตลาดผู้บริโภค หรือแม้กระทั่งในโรงภาพยนตร์ระบบ IMAX ก็ยังใช้ชิพ กำเนิดภาพแบบ DMD DLP อยู่ ทั้งที่ระบบนี้มีข้อจำกัดในเรื่อง Contrast ของภาพ ซึ่งถ้าใครชอบในเรื่อง Contrast ของภาพแนวเข้มๆ ดำๆ โปรเจกเตอร์ ที่ใช้เทคโนโลยีแบบ DLP นี้ก็อาจจะไม่ถูกใจนัก แต่ถ้าใครชอบในเรื่องความสดใสของสีสัน ความแม่นยำความเป็นธรรมชาติของภาพ ความคมชัด ความสว่างของภาพ เทคโนโลยี DLP สามารถตอบโจทย์นี้ได้ดีทีเดียว 

ภาพ Full HD rec.709 ที่ Stream จากเครื่อง Apple TV 
ให้ความคมชัดของภาพและสีสันที่ดี 

สรุปแล้ว สำหรับผมจุดเด่นและที่ประทับใจที่สุดของโปรเจกเตอร์ตัวนี้ ก็คือ การที่โปรเจกเตอร์ไม่มีการใช้ Color Wheel ในการสร้างแสงสีแดง แสงสีเขียว แสงสีน้ำเงิน เนื่องจากว่าแหล่งกำเนิดแสงที่เป็น LED นั้นสามารถ สร้างแสงสีต่างๆ ได้ด้วยตัวของมันเอง จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องให้ยิงแสง ผ่านวงล้อสีหรือ Color Wheel เพื่อกำเนิดแสงสีต่างๆ เข้าไปสู่ชิพ DLP ผมจึงไม่เห็นการรั่วของสีรุ้ง หรือ Rainbow Effect ในโปรเจกเตอร์ตัวนี้ ดังที่ได้อธิบายไว้ตอนต้น การดูภาพจากโปรเจกเตอร์ตัวนี้ผมจึงดูได้นาน ไม่ปวดตาเหมือนโปรเจกเตอร์ DLP ที่ใช้ Color Wheel ทั่วไป ดังนั้น ใครที่ชื่นชอบสีสัน หรือภาพแนว DLP ที่ให้คุณภาพของภาพสูงดูแล้วสบายตา ในราคาที่ไม่ถึงสองแสนบาท ผมว่าโปรเจกเตอร์ BenQ X12000H เป็น โปรเจกเตอร์ที่น่าสนใจมากที่สุดตัวหนึ่งในท้องตลาดขณะนี้. VDP 

ราคา 199,900 บาท 
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท เบ็นคิว (ประเทศไทย) จำกัด 
โทร. 0-2670-0310-1 

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 271