วิศัลย์
วิศัลย์ เอกธรรมกุล

ฉบับนี้ WJ ถูกกระตุ้นและเร่งเร้าชนิดที่ “อยู่เฉยๆ ไม่ได้เสียแล้ว” นับว่าเจ้าเครื่องเสียงที่นำมาทดสอบครั้งนี้ ทำเอา WJ กระโดดโลดเต้นอย่างออกหน้าออกตา จะเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจาก Accuphase DP-750 CD/SACD Player รุ่นเรือธงตัวถังเดียวของค่าย 

วิถีซามูไร 

ขนบประจำชาติของญี่ปุ่น คือ การกระทำซ้ำๆ จนเกิด ความชำนาญ และดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เข้าทำนอง Slow but Sure เรื่องวินเทจและคอลเลกชั่น ผมจัดให้ญี่ปุ่นเป็น อันดับหนึ่งของโลกนะครับ อันว่าเครื่องเสียง Accuphase นี้ได้มีการวางรากฐานสินค้ายาวนาน เรียกว่าอะไหล่ที่หาตามร้านอะไหล่ไม่ได้ก็ส่งเครื่องกลับมาบริษัท ออกไปใหม่ กริ๊บเหมือนเดิม ยังจะมีอะไรที่ conservative ขนาดนี้ ในโลกปัจจุบัน ใครมีตัวอย่างก็นำมาเล่าสู่กันฟังบ้าง วิธีคิด และการปลูกฝังคนในประเทศของเขาจัดว่าเป็นไปแนวทาง sustainable หรือ ความยั่งยืนอย่างแท้จริง ดูเอาอย่างแผ่น CD, SACD หรือ LP สิครับ เขามีกันทุกแบบให้เล่น และ จัดเป็นมาตรฐานของซอร์สในการเล่นเครื่องเสียงทุกระดับ จนไปถึงไฮเอ็นด์ด้วย เรื่องนี้ดูๆ ไปก็คล้ายกับแนวของ เยอรมนีอยู่มาก เนื่องจากความสัมพันธ์อันแนบแน่นสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่แปลกที่เยอรมนีเป็นประเทศที่มี ยอดการจำหน่าย Accuphase เป็นลำดับที่สองรองจาก ประเทศญี่ปุ่น ความเนี้ยบ ความงาม ความถูกต้อง (สเปก) และความเชื่อถือได้ จัดเป็นวัฒนธรรมและนวัตกรรม ประดิษฐ์ที่อยู่ในดีเอ็นเอของสองชนชาตินี้ แค่แบรนด์ ก็กินขาด 

Accuphase DP-750 

ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก ผมได้ทดสอบ Accuphase E-650 ที่เป็นอินทิเกรตแอมป์คลาสเอกำลังขับแค่ 30 วัตต์ ต่อข้างเท่านั้น เมื่อผ่านการแม็ตชิ่งกับลำโพง Full range Manger Zero Box ของเยอรมัน ก็ถึงกับทำให้ผมจัดเป็น Reference ตัวใหม่ไปเป็นที่เรียบร้อย ก็ตะหงิดๆ ว่าถ้ามีซอร์สจากค่ายเดียวกันมาเชื่อมต่อเป็นต้นทาง เห็นทีจะแตะขอบสวรรค์อยู่รำไร ไอ้เราก็เคยทดสอบ DP-700 มาหลาย ปีแล้ว ก็อาลัยรักอยู่ไม่ขาด กอง บก. ก็รู้สึกเหมือนจะมีอะไรไปดลใจให้ผู้นำเข้าติดต่อมาเพื่อทำการทดสอบเจ้า DP-750 ซึ่งดูเหมือนผมก็ว่างเว้นการทดสอบซอร์สหรือฟรอนต์เอ็นด์ รุ่น DP-720 ไปนะครับ ประจวบกับความ “อยาก” ที่ภาษาอังกฤษเขานิยามไว้เป็น Passion ที่รุมเร้าผมไปสู่วิถีโคจร “เรียบง่าย” กล่าวคือ ฟรอนต์หนึ่งตัว อินทิเกรตแอมป์หนึ่งตัว ลำโพงหนึ่งคู่ จบ!!! ดูไปก็เหมือนง่าย แต่การจับรวม ที่ว่าถ้ามันไม่เกิดจาก “สิ่งที่ดีที่สุดมารวมกัน” มันก็ไม่ง่าย นะครับ ถ้าท่านมีงานอดิเรกอื่นๆ (เหมือนผม) เช่น ชื่นชอบ การถ่ายรูปก็จะมีส่วนคล้ายกันอยู่บ้าง ความเรียบง่ายของ Leica M ไม่มี Autofocus เปิดรูรับแสงด้วยมือ ปรับโฟกัส ด้วยมือ ดีหน่อยตรงที่กล้องปรับชัตเตอร์สปีดให้สัมพันธ์กับ รูรับแสงให้ และ ISO Auto ที่ดีขึ้น อย่างอื่นไม่มีอะไรสู้กล้อง เทพๆ แบบโปรเลย แต่พอใส่เลนส์ M เข้าไปเท่านั้น ความ เรียบง่ายเช่นนั้น บังเกิด อารมณ์และไดนามิกส์ของภาพที่ สื่อออกมาให้เห็นนั้น ยากที่จะปฏิเสธว่าความเรียบง่าย นั่นเองคือจุดสูงสุดแล้ว (สำหรับคนที่ควบคุมกล้องและแสง ได้) เช่นเดียวกับ Accuphase System ที่ผมกำลังก่อร่าง สร้างตัวขึ้นมานั่นเอง พอพูดถึง DP-720 ก็ขอเปรียบเทียบ เพอร์ฟอร์มานซ์กับ DP-750 ให้เห็นกันเชิงตัวเลขสัก เล็กน้อย จะเห็นว่าDP-750 ให้ Noise ที่ต่ำกว่าและ การ Peak ของ Noise ที่เกิดจากการกวนของ Mechanical Jitter ที่ปนเปไปกับ Jitter ทางดิจิทัล (น่าจะมาจากกลไก ขับเคลื่อน) ที่เคยมีใน DP-720 ก็ดีขึ้นอย่างมาก ขอแนบ รูปภาพของชุดขับเคลื่อนของ DP-750 ที่มีขนาดใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่าเดิม (การเพิ่มมวลคือเรโซแนนซ์จูน) สุดท้าย สงสัยเขาใช้เครื่องอะไรวัดเนี่ย??? นับจุดทศนิยม ไม่ค่อยจะถูกแล้ว 

มันมีอะไรดี 

ขอเทียบกับ Accuphase DP-950 & DC-950 ซึ่งเป็น เรือธงประจำค่าย ในรูปแบบของสองตัวถัง นั่นคือภาค ขับเคลื่อนและภาค DAC เพื่อที่จะดูว่าถ้าผมจะลงทุนกับ DP-750 มีได้มีเสียขนาดไหนกันบ้าง โชว์กันจะจะไปเลย เอาที่สำคัญๆ ครับ อย่าเสียเวลาเทียบกับรุ่นน้องเลย ผมมันชอบข้ามรุ่นนิดหน่อย

เรื่อง 2 ตัวถังของ DP-950 & DC-950 ผมคงจะไม่เปรียบเทียบมากนัก ลำพังแค่ DP-950 ก็หนักกว่าDP-750 ทั้งตัวแล้ว ผมจะมาเน้นเรื่อง DAC ดีกว่านอกเหนือไปจากการใช้ DAC ที่แตกต่างกันหนึ่งเบอร์ (แน่นอนว่าได้มาซึ่ง S/N ที่ดีขึ้น) การจัดวงจรของ MDSD และ MDS++ ถึง 8 ตัวต่อข้าง ก็เหมือนกับ DC-950 ทุกประการ!!! เรียกว่างานนี้ไม่มีการกั๊กกันแล้ว ผมว่าเซอร์กิตบอร์ดอาจจะใช้ตัวเดียวกันด้วยซ้ำไป ที่แตกต่างกันบ้างในส่วนของการชีลด์กันกวน ภาคจ่ายไฟที่ DP-750 ยังต้องมีการจ่ายไฟให้มอเตอร์ขับเคลื่อนอยู่ แต่ก็ยังแยกหม้อแปลงสองลูกออกจากกันระหว่างมอเตอร์ขับเคลื่อนและภาคดิจิทัล แน่นอน เข้าทางผมเต็มๆ เพราะผมอยากจะทำตัวให้เบาที่สุดอยู่แล้ว สเปกของ DP-750 ที่จำลองหรือตัดต่อมาจากรุ่นพี่ ผมว่าดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในตอนนี้ (ที่ยัดลงไปได้ในตัวถังเดียว) ที่สำคัญที่สุด Digital Input ทุกช่องและ Disc Player ในเครื่องผ่าน Gateway เดียว (Interface decoder) เพื่อเข้าภาคแปลงดิจิทัลเป็นอะนาล็อก MDSD++ ระดับเทพประทาน ซึ่งให้เอาต์พุตแบบบาลานซ์แท้ ดังนั้น การเชื่อมต่อเอาต์พุตอันบาลานซ์ในกรณีนี้ก็ต้องเรียกว่าเสียของโดยแท้ กรณีนี้ สิ่งที่น่าตื่นเต้นคือ ผมสามารถใช้ Ayre C5XeMP เล่นแผ่น DVD Concert1 แล้วปล่อยดิจิทัลเอาต์พุตมาเข้าDP-750 หรือแม้แต่ใช้ USB type C เล่น Streaming ผ่าน Notebook มาเข้าDP-750 ผมก็จะได้ใช้ DAC MDSD++ เช่นกัน 

การบรรยายลักษณะตัวเครื่องขอใช้ภาพแบบ Hi-res ที่โคตรสวยนะครับ ฟีเจอร์เด่นๆ ก็มีความสามารถในการอ่าน CD-RW (สักที) การเปลี่ยนเฟสเมื่อเชื่อมต่อสัญญาณ Balanced ด้วย pin dip switch ด้านหลัง การรองรับการเชื่อมต่อด้วยคอมพิวเตอร์ซอร์สด้วย USB Type C ได้ Sampling frequency ถึง 384kHz/32-Bit หรือ DSD 11.2896 MHz/1-Bit (ซึ่งผมขอติดฟีเจอร์นี้เอาไว้ก่อน จะ follow up ให้ภายหลัง) คือ เข้าใจไหมว่าของมันเนี้ยบ เรียบ หรู เริด ไม่ต้องการคำบรรยายใดๆ กลไกในการขับเคลื่อนถาดรับแผ่น ให้ความรู้สึกถาดที่แข็งแรง ลื่นปรื๊ดและนุ่มนวล การอ่านแผ่น SACD จะใช้เวลาพอสมควร แต่ไม่ทำให้ถึงกับหงุดหงิด ในการทดสอบ ผมฟังทั้ง SACD & CD เนื่องจากมีความประทับใจทั้งสองฟอร์แมตเมื่อได้ฟัง แต่เพื่อให้มันสุดขอบ ขอบรรยายเฉพาะฟอร์แมต SACD เท่านั้นครับ

SET UP 

ไม่มีอะไรจะง่ายกว่านี้อีกแล้ว ฟรอนต์เอ็นด์ DP-750 ต่อเชื่อมสายบาลานซ์ Nordost Tyr2 เข้าไปยัง Accuphase E-650 อินทิเกรตแอมป์, สายลำโพง Tellurium Q Silver Diamond จบลงที่ลำโพง Manger Zero Box LLE แค่นั้น 

Overture 

เริ่มจาก SACD Collection, Linn Records Volume 4, สิ่งที่ DP-750 ทำให้ผมประทับใจอย่างมาก ก็คือ เสียงของความเงียบราวกับเธอก?ำลังร้องในห้องใน Anechoic หรือ ห้องไร้เสียงสะท้อนอะไรอย่างนั้น คือท่าน น่าจะนึกออกถึงระดับความเงียบแบบนั้น เพียงแต่ความ ชัดเจนราวกับการถ่ายภาพด้วยเลนส์สว่าง (เช่น F0.95 Noctilux) ที่ให้ความชัดเจนดีดตัวออกมาพ้นแบ็กกราวด์ ของห้อง เป็นนักร้องตัวเป็นๆ และพลังเสียงก้องกังวาน แบบ Live สดกันในห้องฟังเลยทีเดียว ประทานโทษ มันชัดแจ้งแม้ในขณะที่ผมเปิดไฟสว่างเพื่อพิมพ์ต้นฉบับ น่าขนหัวลุกอย่างยิ่ง ในความสด หรือ Live Like นั้น ผมสัมผัสได้ถึงอากัปอาการของ Maeve O’Boyle ที่ขยับ ศีรษะในระหว่างการขับร้อง และมะรุมมะตุ้มอยู่กับ ไมโครโฟนบันทึกเสียง เส้นเสียงมีความอบอุ่นด้วย กลิ่นอายของมนุษย์ตัวเป็นๆ แค่เพียงแต่ในห้องผมไม่มี ไมโครโฟน แค่นั้น!!! การออกเสียงของเธอมีความอบอุ่น และออดอ้อนเหลือเกิน จนผมผมนี่แทบจะละลาย ถึงกับ หยุดพิมพ์แล้วก็ใช้เวลาฟังแทร็กนี้้ซ้ำราว 10 รอบเห็นจะได้ (เป็นอย่างต่ำ) คือการที่จะกล่าวว่าDP-750 มันดีกว่าFront End ที่ผมใช้อยู่ในแง่ไหน คงไม่ไปที่สเปกนะครับ น่าเบื่อ เอาเป็นแบบนี้ นะ ผมคิ ดว่ าผมต้ องใช้สมาธิในการ หยุดรั้ง Immerse ที่ DP-750 ดึงผมเข้าไปให้ถลำลึกกับ เจ้าหล่อนและนักดนตรีกีตาร์คลาสสิกมากกว่าเดิม แหม! นี่ขนาดเป็นแค่เพลงร้องกับกีตาร์อีกหนึ่งตัว แต่จังหวะ หรือ Time & Pace มันเป๊ะตั้งแต่หัวโน้ตและติดตามไป จนหางโน้ตละลายหายไปในอากาศ โอมาย! ความผ่อนปรน ชัดแจ้ง ในลีลาที่อีหนูร้อง มันสะกดหูให้เราฟัง ดื่มด่ำ และ กระหายที่จะฟังในสาระของเพลงๆ นั้นจนจบมากกว่าเดิม ขึ้นไปอีกระดับ เสียงกีตาร์ อืมมมไม่รู้จะบรรยายออกมาอย่างไร มันก็คือกีตาร์ที่เล่นอยู่ข้างหน้าผมนี่เอง มันสร้าง ภาพเสมือนผ่านการฟังได้ในระดับนั้น จังหวะในการเกี่ยว สายรู้ ถึ งสั มผัสของนิ้ วที่ เกี่ยวลงบนสายที่ตึ งหย่ อนต่างกั นตามตำแหน่งและเบอร์ของเส้นสาย โดยที่ไม่รู้สึกว่ากำลัง ถูกเน้นออกมาให้ชัด มันชัดเจนโดยหมดจดในการเล่น ฟิงเกอร์ที่เป็นธรรมดาและธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง (ถ้าคุณฟังเพลงที่ใช้ iPad control ในการเล่นกลับด้วย Streamer และ Swap ไป Swap มาแล้วเพลิดเพลินกับ การค้นหาเพลง 5 ล้านเพลงใน Library หาโมเมนต์ที่จะ พิสูจน์ว่าเครื่องเสียงของคุณให้เสียงดนตรีอย่างไร ดีขนาดไหน ก็แปลว่าเครื่องเสียงหรือซิสเต็มที่คุณฟังอยู่ นั้นไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดที่มีพลังมากพอที่จะให้ คุณฟังเพลงหรือดนตรีจนจบเพลง หรือกระหายที่จะ เก็บเกี่ยวมันซ้ำอย่างไม่เบื่อ) นั่นแหละครับ ที่ผมอยากจะ ขยายความถึงความทรงพลังของ DP-750 

ต่อกันที่ SACD Collection, Linn Records Volume 5, Barb Jungr ในเพลง Sara หล่อนร้องได้แบบ เศร้าสร้อย ติดแหบเล็กน้อย ให้โทนที่เหงาหงอย และ ปลอบโยนด้วยการเล่นน้ำหนักของเสียง การควบคุมโทน เพลงของเปียโน ดับเบิลเบส เสียงร้องประสาน เป็นไป 

ตามจังหวะเน้นอารมณ์ของนักร้องนำ เสียงเปียโนโชว์จังหวะกระแทกคีย์บอร์ด จังหวะปล่อยและหยุดเสียงที่ชัดเจนราวกับตาเห็น คือเวลาคุณมองเห็นความชัดเจนที่ว่าก็เป็นความรู้สึกที่คุณไม่ต้องเพ่ง หรือเขาต้องเน้นให้คุณเห็นใช่ไหมครับ DP-750 ช่างทรงพลังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเล่นกลับด้วยแผ่น SACD ของ Linn Records ที่บันทึกได้สุดยอดเช่นกัน ผมนั่งฟังดนตรีและบทเพลงที่สวยงามนี้หลายต่อหลายรอบ ชุ่มฉ่ำชื่นใจจริงๆ เพลง When the sunny sky has gone ขับร้องโดย Fiona Mackenzie ที่แค่ขึ้นต้นก็แทบจะทำให้คลุ้มคลั่ง นี่ผมกำลังมีนักร้องสาวมาร้องเพลงให้ฟังอยู่ตรงหน้ากันเลยแบบคอนเสิร์ตส่วนตัว ร้องได้ดีและไพเราะมาก เสียงกังวานที่รายล้อมในห้วงอากาศที่สัมผัสได้จากโสต มันเกิดขึ้นในห้องผมนี่เอง ไม่ใช่ห้องอัด โอมาย! มันขนาดนั้นแหละครับท่าน อารมณ์ติสท์แตกแบบนี้ ผมไม่คิดว่าจะถูกกระตุ้นออกมาได้ง่ายดายแบบนี้ (ในภาวะจิตตกของผมในช่วงนี้) เต็มอิ่มเต็มอารมณ์ครับพี่น้อง 

ความโลดโผน ทรงพลัง กังวาน โดยโทนเสียงที่อิ่มเต็มและหวานจากไวโอลิน Guarneri 1742 บรรเลงโดย Leonidas Kavakos คงจะปลุกวิญญาณของเจ้าของเดิม Nicol Paganini ให้ขึ้นมาฟังอย่างใจจดใจจ่อ และคงจะร่ำไห้เป็นเผาเต่ากับผมแน่นอน เพราะผมสามารถจะฟังดนตรีสดจากบทประพันธ์ที่บรรเลงผ่านเครื่องดนตรีที่ดีที่สุดในโลก ทั้งไวโอลิน Guarneri และ Bosendorfer 275 Grand Piano และเพอร์ฟอร์มานซ์ของนักดนตรีชั้นครู การบันทึกเสียงที่ยอดเยี่ยม ครั้งแล้วครั้งเล่าในห้องฟังที่บ้าน เพียงแค่เล่น SACD ผ่านเจ้าAccuphase DP-750 ตัวนี้เท่านั้น ความก้องกังวานของเรือนเปียโนที่ฟังในครั้งนี้ให้สเกลที่ใหญ่ มีอาณาเขตที่ชัดเจนมาก (ย้ำ… ไม่ได้ชัดแบบถูกเน้นให้ชัด) DP-750 ให้เสียงที่ใสแบบอากาศบริสุทธิ์ ปลอดโปร่งไร้ขอบเขต จะแนวกว้างยาว หรือตื้นลึก มันให้ออกมาตามที่แผ่นจะบันทึกออกมาได้ ผมไม่รู้สึกว่าผมฟังเพลงในฟอร์แมตดิจิทัลเลยครับ คล้ายกับการฟังเสียงแบบแผ่นเสียงที่ไม่มีเสียงข้าวโพดคั่วชัดๆ มันยอดเยี่ยมและสมดุลในตัวมันเองแบบไม่มีตัวตน มีแค่คุณกับดนตรีเท่านั้น เครื่องเสียงไม่มีตัวตนและไร้ความหมายที่จะต้องมาสนใจ ฟังเพลงอย่างเดียว อย่างเดียวเท่านั้น 

ขอจบกับ Symphony No.5 Beethoven, SACD Deutch Grammophone บรรเลงโดย Berlin Philharmoniker อำนวยเพลงโดย Karajan ผู้ล่วงลับ จังหวะที่ขึ้นเพลงในลีลาแรก ผมสามารถรู้สึกถึงความมั่นคง เที่ยงตรง ในจังหวะของดนตรีที่เล่นกลับด้วย Mechanism ที่แข็งแกร่ง และ MSDS++ ที่ทำงานไร้ที่ติ 

ความสามารถในการแยกแยะเครื่องเป่าประเภทบาสซูน เบส เชลโล ที่คลอเป็นพื้นออกจากกลองที่ตีรัวอยู่บนหน้ากลอง ที่สุดท้ายรวมตัวกันเป็นฐานของเบส ยิ่งสร้างอารมณ์ฮึกเหิมและมีพลัง (Reinforce) เมื่อผนวกกับเครื่องเป่าทองเหลืองที่แผดจ้าเกรียงไกร ทำให้เกิดการผสมผสานหรือ Harmony ให้เกิดโทนประสานใหม่ของเสียงดนตรีอันยิ่งใหญ่อลังการสุดบรรเจิดในจินตนาการของ Beethoven ที่เริ่มจะมีปัญหาการได้ยิน เมื่อครั้งที่กำลังนิพนธ์งานชิ้นเอกชิ้นนี้อยู่ เรียกว่าไม่อาจจะทำให้พระเอกของเราสะทกสะท้านจนปราศจากความทรนงองอาจไปเลยแม้แต่น้อย เบสดีมากครับ หนักแน่น มั่นคงเป็นรากฐาน ชัดเจน และให้รายละเอียดสูงในแบบที่ผมไม่เคยสัมผัสมาก่อนจากลำโพงวางขาตั้งสองทาง จังหวะดนตรีหนักเบาลีลาเร่งเร้าหรือผ่อนคลาย เกรียงไกร เหิมเกริม อลังการ ครบรสครับท่าน ความต่อเนื่องทั้งสี่ลีลาไม่มีห้วงเวลาไหนที่จะทำให้ผมรู้สึกผิดแผก หรือจับผิดเพอร์ฟอร์มานซ์ของวงออร์เคสตร้าหรือการรั้งจังหวะที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมของ Karajan ได้เลย มันเพอร์เฟ็กต์อย่างที่ควรจะเป็น เพราะมันได้สื่ออารมณ์และความรู้สึกที่กินลึกในบทประพันธ์ให้ได้ซาบซึ้งไปแล้ว ผมรู้จัก Beethoven มากขึ้น เมื่อฟังบทประพันธ์นี้เล่นกลับด้วย DP-750 ลีลาที่สามจากเครื่องสายเสียงเบสและเฟรนช์ฮอร์นอันสง่างาม ตามมาด้วยกลุ่มเครื่องสายในลำดับที่สูงกว่าการเบลนด์ทุกอย่าง การแบ่งแยกและสอดรับของดนตรี ความสามารถในการติดตามการเคลื่อนไหวของดนตรีและตัวโน้ต ความชัดเจน สะอาด ต่อเนื่องและเด็ดขาด ทำให้อารมณ์ในการฟังการเชื่อมต่อลีลานี้กับลีลาที่สี่ ให้ความพึงพอใจกับผมมากที่สุดเท่าที่ผมเคยฟังมาไดนามิกส์คอนทราสต์ไม่อยู่ในระดับที่จะถูกนำมาอ้างอิงอีกแล้ว ฟัง ฟัง ฟัง แล้วก็ฟัง สารภาพว่าผมน้ำตาซึมแบบ กูถ้าจะบ้าโอย! ตอนขยุ้มสายไวโอลินหยุมหยิมสลับกับเครื่องเป่าแผ่วเบาแซวกันน่ารักและเหนียมนิดหน่อย (โคตรชัด) ตามมาด้วยทิมปานีให้จังหวะก่อนการฉายประกายความยิ่งใหญ่ของเครื่องเป่าทองเหลืองตอนขึ้นลีลาที่สี่ เจ้าประคุณ นี่มันบทประพันธ์ฟ้าประทานชัดๆ พูดไงดี ผมว่าDP-750 นี่มันเป็นตัวอะไรดีล่ะ มันควรจะเป็นงานศิลปะมากกว่าเครื่องเสียงนะ มันคือ State of the Art ที่ผมไม่ค่อยจะนิยามให้กันง่ายๆ ครับ สำหรับการชื่นชม Symphony No.6 ของดใช้คีย์บอร์ดในการบรรยาย บอกแค่ว่ากลิ่นอายของทุ่งกว้าง สายลม แสงแดด นกบินหยอกล้อฉวัดเฉวียน และลำธารที่ห้อมล้อม Beethoven ในขณะที่กำลังประพันธ์ระหว่างทางเดินกลับบ้าน เป็นบรรยากาศที่งดงาม เพราะคงปลอดฝุ่น PM2.5 ในยุคนั้นแถบๆ บาวาเรียน ผมรู้สึกว่ากำลังรับรู้อารมณ์ของเขาในขณะนั้นว่าคงจะอารมณ์ดีมาก ผิดแผกไปจาก Symphony No.5 ชัดเจน เอ่อ! ผมพยายามค้นแผ่น Mozart Requiem K626 SACD ไม่รู้ไปเก็บที่ไหน สงสัยคืนนี้คงจะยาว,,,,,,,,

สรุป

นี่อาจเป็น SACD/CD Player Reference หนึ่งเดียวของ WJ ในอีกทศวรรษนับจากนี้???

แน่นอนว่าในโลกปัจจุบันนี้ย่อมต้องมีบรรดาฟรอนต์เอ็นด์ดิจิทัลที่ใช้ระบบขับเคลื่อนแผ่นที่มีราคาที่สูงกว่าและคุณภาพที่ดีกว่า(มั้ง) เมื่อเปรียบเทียบกับ Accuphase DP-750 ซึ่งรวมไปถึงรุ่นแยกตัวถังสองชิ้นของค่ายรุ่น 950 และรวมถึงรหัส 800 ในอนาคตที่ห่างหายไปนานพอสมควร ผมก็เดาๆ เอาว่า Accuphase คงจะต้องรันรหัสใหม่เป็นเลข 4 หลักเป็น แน่แท้ เริ่มตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป คุณจะทำไปกี่หลักก็แล้วแต่สำหรับผม ณ วันนี้ไป อีก 10 ปีข้างหน้าซึ่งผมก็คงจะเกษียณ ตัวเองจากงานประจำ DP-750 จะยังคงเป็น Reference Digital Source แบบ Mechanic /Digital Player ควบคู่ไปกับ Meridian 818 Reference V3 ที่เป็น Digital Player ไปอีกนาน2 จนกว่าอุบัติเหตุ (ทางอารมณ์) จะพรากเราจากกัน คือ คุณจะต้องมี Benchmark ในการฟังเพลงที่ชัดเจนมากระดับหนึ่ง ก่อน (ซึ่งส่วนใหญ่จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ตาม ประสบการณ์ที่คุณฟัง) ไม่ใช่ว่าปุ๊บปั๊บก็ เปลี่ยนเครื่องใหม่เรื่อยๆ อยู่ตลอดตาม เทคโนโลยี เรียกว่าแผ่นวงจรยังมีกลิ่น เหม็นเขียวอยู่เลยก็เปลี่ยนซะแล้ว ใช้เวลากับ มันสักหน่อย ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดสภาวะการ ฟังที่นิ่ง สงบ เกิดการประเมิน พิจารณาทบทวน และท้ายสุดก็ไฟน์จูน ซ้ำแล้วซ้ำเล่าแล้วก็ให้เวลาที่ผ่านไปนี้ บรรเลงเพลงที่คุณฟังผ่านซิสเต็ม ที่คุณใช้ให้อิ่มเอมชุ่มฉ่ำหัวใจ ผมไม่เห็นว่าชีวิตต้องเร่งเร้าอะไรกันมากมาย หรือจะต้องถูกขับเคลื่อนหรือขับดันด้วย ตัวเลขทางสเปกที่ดีกว่าเรโซลูชั่นที่ดีกว่าไดนามิกส์เรนจ์ที่ดีกว่าอะไรเทือกนั้น คุณต้อง มีเวลาที่จะเจริญสมาธิสภาพและนิ่งพอที่จะฟังดนตรีผ่านเครื่องเสียงให้เข้าถึงวิญญาณ และเจตจำนงของศิลปินและความประณีต บรรเจิดวิจิตรของกวีนิพนธ์นั้น แล้วเมื่อคุณได้ สัมผัสในรูปเสียงนั้นแล้ว สเปกก็ไม่มีความ หมายอีกต่อไป และ Accuphase DP-750 ก็ได้อยู่ในระดับ Benchmark นั้นของผม ซึ่งมันอาจจะถูกท้าทายจาก “ตัวใหม่” ในอีก 10 ปีข้างหน้าดังนั้น ในเวลา10 ปีที่เริ่มนับ หนึ่งแล้วในปีนี้ ผมคงจะเสพศิลปะดนตรีผ่าน Accuphase System ของผมที่คิดสะระตะ ดูแล้ว ซิสเต็มนี้ราคาถูกเหมือนได้เปล่า!!! แนะนำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับใครที่ยังเอ็นจอยกับการเล่นแผ่นดิจิทัลในฟอร์แมต CD/SACD และอยากจะเล่นกลับไฟล์ดิจิทัลด้วย DAC MDSD++ ที่ดีที่สุดในวันนี้ หรือใครที่ต้องการ ฟังเสียงที่เนียน ละเอียด อิ่มเต็มและ ผ่อนคลายแบบ “แผ่นเสียง” ด้วยฟอร์แมต CD/SACD ว่าเป็นแบบไหน ก็เห็นจะพลาดไม่ได้เช่นกัน!!!. ADP 

ราคา 550,000 บาท 
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย Hi-End Audio
โทร. 0-2101-1988, 0-2102-1168, 062-551-2410 

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 266