ภมรเดช หัสเนตร

PMC DB1 GOLD Professional Monitor Limited Edition
สตูดิโอมอนิเตอร์ผลิตจำนวนจำกัด…แต่ไม่จำกัดคุณภาพเสียง

บ่อยครั้งที่ผมมักใช้ความรู้สึกส่วนตัวเรื่องการฟังเพลงมาเปรียบเทียบกับการชมภาพยนตร์ ผมเคยคิดว่าลำโพงที่เหมาะสมตรงตามอุดมคติจำต้องครบเครื่อง ในที่นี้คือใช้ฟังเพลงก็ดี ใช้ดูหนังก็เหมาะ จับคู่กับซิสเต็มและเซ็ตอัพในห้องให้ลงตัวในตำแหน่งตั้งวางที่สามารถฟังเพลงและดูหนังแล้วให้ความลงตัวสมบูรณ์ทั้งน้ำเสียงและความสวยงาม จนเรียกขานว่า “ลำโพงมอนิเตอร์” ได้เต็มปาก

แนวคิดนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ผมเล่นเครื่องเสียงผ่านห้วงเวลารันอินสักพักใหญ่ เป็นแนวคิดที่อาจเหมือนกับอีกหลายท่าน และก็อาจขัดกับนักเล่นเครื่องเสียงหลายคนที่คิดว่าชุดฟังเพลงกับชุดดูหนังควรแยกกันอย่างเด็ดขาด เอามาผสมหรือใช้ร่วมกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าในยุคนี้การเสพสื่อผ่านมีเดียต่างๆ นั้น อ้าแขนรับสื่อดิจิทัล High Definition เต็มพิกัดทั้งเพลงและภาพยนตร์ไปพร้อมๆ กันก็ตาม

สิ่งเดียวที่เราๆ ท่านๆ ควรตระหนักถึงนั้น ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ต้นทาง แต่ควรนึกถึงฮาร์ดแวร์ปลายทางให้เยอะเข้าไว้ ผมหมายถึง “ลำโพง” ไม่ว่าผ่านไปกี่ยุค ลำโพงก็ยังคงเป็นลำโพง ยังคงมีหน้าตาท่าทางไม่ต่างจากในอดีต โดยเฉพาะเทคนิคสร้างเสียงและควบคุมการกระจายเสียงและจัดการคลื่นเสียง ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับในอดีต (ขึ้นอยู่กับเทคนิคและโนว์ฮาวของแต่ละผู้ผลิต)

เมื่อนึกถึงลำโพง ผมอยากให้นึกถึงเรื่องซาวด์อะคูสติกส์ด้วย ผู้ผลิตคิดกันหัวแทบแตกในเรื่องนี้ เทคนิคไหนบ้างล่ะที่ใช้งานอย่างยืนยงมาจนถึงปัจจุบัน เท่าที่ผมนึกได้คือ TA: Time Alignment และ TL: Transmission Line สองเทคนิคนี้ถูกนำมาใช้คิดคำนวณในการทำตู้ลำโพงแทบทุกแบรนด์ มากน้อยลึกซึ้งต่างกันไป (ไม่นับรวมเทคนิคตู้เปิด Bass Reflex และตู้ปิด Closed Box)

จากอดีตจนถึงทุกวันนี้มีลำโพงโฮมยูสที่ขายแบบคอนซูเมอร์สักกี่รุ่นกันที่ให้น้ำเสียงเที่ยงตรงและครบเครื่องในระดับลำโพงมอนิเตอร์มีให้ ลองนับนิ้วทีเถิด

Professional Monitor Company Limited 

มารู้จักชื่อและชื่อเสียงแบรนด์นี้สักนิด PMC ย่อมาจาก Professional Monitor Company Limited เป็นบริษัทผู้ผลิตลำโพงอ้างอิงในห้องบันทึกเสียงจากประเทศอังกฤษ ก่อตั้งในปี 1990 โดย Mr. Peter Thomas และ Mr. Adrian Loader ซึ่ง Peter เคยทำงานกับ BBC มาก่อน เขามีแนวคิดว่า ลำโพงที่ดีควรถ่ยทอดควมงมของดนตรีและภพยนตร์ออกมได้หมดจด ลำโพงตัวเดียวกันควรตอบสนองต่อขั้นตอนการบันทึกเสียง ทำมาสเตอร์ และฟังในห้องฟังต่างๆ ได้อย่างดี มันเป็นแนวคิดที่พ้องกับความรู้สึกของผมซะจริงๆ (ตามที่เขียนข้างต้น) 

เคล็ดลับอันเป็นเทคนิคเฉพะซึ่งทำให้ PMC มีชื่อเสียงและได้รับควมไว้วงใจจกสตูดิโอบันทึกเสียงน้อยใหญ่อยู่ที่การออกแบบตู้แบบมีท่อลำเลียงเสียงต่ำ Advanced Transmission Line (ATL) ในลำโพงทุกรุ่น PMC ใช้เทคนิคเฉพาะนี้ผสมผสานกับการคัดเฟ้นตัวขับเสียง ออกแบบครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก เลือกใช้อุปกรณ์ร่วมต่างๆ ไปจนถึงการปรับจูนลำโพงเพื่อให้มันมีความเป็นมอนิเตอร์ระดับอ้างอิงสมกับชื่อแบรนด์ นักเล่นสไตล์วินเทจหรือสายดีไอวายที่ชอบลำโพงตัวใหญ่ติดตั้งดอกฟูลเรนจ์คงจะคุ้นเคยกับเทคนิคสร้างคลื่นเสียงต่ำด้วยการหน่วงเวลาให้เสียงที่ออกมาจากด้านหลังกรวยลำโพงไม่สามารถเดินทางมาหักล้างกับคลื่นเสียงหลักที่ออกจากด้านหน้าลำโพง โดยใช้ท่อยาวพับไปพับมาในตู้ เทคนิคทางอะคูสติกแบบนี้เอง

ที่ PMC นำมาคิดต่อยอดเพื่อใช้งานร่วมกับตัวขับเสียงแบบต่างๆ จนสร้างเป็นสูตร ATL (ลิขสิทธิ์เฉพาะในการสร้างความถี่ต่ำลึก) ใช้กับลำโพงทุกรุ่นในสายการผลิต เรียกว่าถ้าเอ่ยชื่อ PMC ก็ต้องพูดถึงเสียงต่ำและต่ำลึกที่ไม่ใช่มีแต่เสียง หากมีรายละเอียดของตัวโน้ตจากเทคนิค ATL ด้วย จะลืมไม่ได้เด็ดขาด

ด้วยเหตุนี้ PMC จึงเปี่ยมด้วยศักดิ์ศรีลำโพงอังกฤษที่ให้น้ำเสียงเที่ยงตรงระดับอ้งอิงจนเรียกว่เป็นหนึ่งในลำโพงมอนิเตอร์ระดับโลก มีน้ำเสียงเด็ดขดจะแจ้งและเป็นธรรมชติอย่งหที่เปรียบยเนื่องจากไม่มีผู้ผลิตรายใดใช้เทคนิคที่พัฒนาถึงขึดสุดแบบนี้นั่นเอง และที่น่าภูมิใจแทนเจ้าของ PMC ทุกคู่คือ เนื้องานออกแบบอันประณีตบรรจงระดับที่ชี้ชัดบนสติ๊กเกอร์ตรงแผงหลังลำโพงทุกตัวว่า Handmade in Britain

ใครติดตามอ่านนิตยสารออดิโอไฟล์มาตลอด คงได้เก็บเกี่ยวเรื่องราวของ PMC ผ่านรีวิวลำโพงแต่ละซีรี่ส์อย่างละเอียดจากรีวิวเวอร์ระดับหัวกะทิ ทุกรุ่นผลิตขึ้นมาในโอกาสครบรอบ 25 ปีของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น PMC: Twenty5.21 (Sep 2017) / PMC: MB2 SE (Nov 2017) / PMC: Twenty5.24 (Aug 2018) / PMC: fact.8 (Dec 2018) / PMC: Result6 (Jan 2019) และ PMC: fact.12 (Feb 2018) ผมมีโอกาสรีวิว Twenty5.21 เมื่อปี 2017 ยังจำบุคลิกเสียงได้ติดหู ยอมรับว่าทีเด็ดของ PMC ไม่ว่าจะเป็นลำโพงเล็กหรือใหญ่อยู่ที่สมดุลเสียงและการส่งผ่านคลื่นความถี่ต่ำลึก โดยไม่รบกวนเสียงกลางและสูง ยิ่งลำโพงตัวใหญ่ก็ยิ่งสามารถออกแบบท่อให้มีทางเดินของคลื่นเสียงต่ำได้ยาว ส่งผลให้เกิดเสียงต่ำและตำลึกที่ครอบคลุม เป็นเสียงต่ำที่ไม่ขาดแคลนโน้ตและบรรยากาศ ให้การเคลื่อนตัวว่องไวเท่าทันไปกับเสียงกลาง ทำให้ฟังเพลงสนุก จับต้องรายละเอียดเสียงต่างๆ ได้อย่างน่าฟังและชวนตื่นตาตื่นใจ

เช่นกันกับลำโพงวางขาตั้งที่ผมรีวิวรุ่นนี้ (Jun 2019) มันมีชื่อรุ่นว่า DB1 GOLD ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นมอนิเตอร์ในสตูดิโอสำหรับงานโปรเฟสชั่นนัล ซึ่งสามารถนำมาใช้ในห้องฟังทั่วไปได้สำหรับนักฟังที่ต้องการฟังเสียงเที่ยงตรงในแบบที่สตูดิโอได้ยิน มองแว่บแรกหลังจากแกะกล่อง มันชวนให้จินตนาการถึงเสียง ยิ่งไปกว่านั้นคือ ชวนให้ซื้อเก็บสำหรับสาวกลำโพงเล็กทรงพิมพ์นิยม ไม่น่าเชื่อว่าภายในหนึ่งตู้น้ำหนักแค่ 2 โลกว่า จะซ่อนท่อลำเลียงคลื่นเสียงต่ำไว้ และยังบุใยเก็บเสียงสีขาวตลอดความยาวท่อ เพื่อซับความถี่ก้องสะท้อนในตู้

ถ้าอยากดูว่า เขาพับท่อแล้วยัดลงตู้อย่างไร เข้าไปชมภาพประกอบ ATL ในเว็บไซต์ PMC ได้ สมกับที่ตั้งชื่อว่า Advanced Transmission Line แบบล้ำไปอีกขั้น ล้ำกว่าท่อในแบบเดียวกันที่คุณเคยเห็นในลำโพงต่างๆ (ส่วนใหญ่มักเจอในลำโพงที่ใช้ตัวขับเสียงฟูลเรนจ์ดอกเดียวที่มีขนาดตู้สูงใหญ่ / ลำโพงวินเทจตัวใหญ่ / ลำโพงดีไอวายที่ใช้เทคนิค TL เป็นพื้นฐาน/ ลำโพงโฮมยูสบางแบรนด์ที่ใช้เทคนิค TL)

ควมยกของเทคนิค ATL มี 2 ประกร หนึ่งคือกรคำนวณควมยวท่อ (Effective ATL Length) เพื่อหาความยาวคลื่นเสียงต่ำ (Wavelength) ที่เกิดขึ้นเมื่อวูฟเฟอร์ขยับตัวตั้งแต่ความดังเบาสุดไปจนถึงดังสุดให้เหมาะสมตรงตามที่ต้องการ โดยต้องคิดคำนวณร่วมกับการออกแบบวงจรตัดแบ่งความถี่ และคำนึงถึงการหน่วงเวลาให้คลื่นเสียงต่ำเดินทางสู่ปลายพอร์ตด้านนอกตู้ลำโพงอย่างพอดี โดยไม่ไปสร้างความถี่ซ้ำซ้อนจนทำให้เสียงหลักจากลำโพงพร่าเลือนหรือบิดเบือน อีกหนึ่งคือกรหตำแหน่งติดตั้งพอร์ตที่ส่งผลต่อกรเปล่งเสียงของลำโพง โดยต้องเอื้อต่อการตั้งวางลำโพงในพื้นที่ต่างๆ (ทั้งในตำแหน่งด้านหน้าตู้หรือด้านหลังตู้ เพื่อสร้างเบสรีเฟล็กซ์ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าเบสรีเฟล็กซ์ทั่วไป) การออกแบบ ปรับแก้ และไฟน์จูนลำโพงลักษณะนี้จึงไม่ง่าย เรียกว่าต้องมีโนว์ฮาวที่ชำนาญการ ไม่อย่างนั้นทุ้มจะบวมหึ่ง เสียงกลางและแหลมจะเจิดจ้าเจี๊ยวจ๊าว

ผมเดาว่า การออกแบบ ATL มีความท้าทายต่อลำโพงแต่ละรุ่นของ PMC โดยเฉพาะ กับ DB1 GOLD ด้วยแล้ว มันยิ่งท้าทาย ไม่งั้นลำโพงเล็กสุดรุ่นนี้จะแป๊ก ทุ้มไม่มา เสียงต่ำไม่เดินอย่างที่อยากให้เป็น DB1 GOLD จึงเป็นลำโพงขนาดเล็กเพียงรุ่นเดียวที่ผลิตมาเพื่อการฟังแบบส่วนตัวในแบบใกล้ชิดทั้งโฮมยูสและสตูดิโอยูส ลำโพงรุ่นนี้ไม่ได้ออกแบบให้ทำงานแบบตู้ปิด (ไม่มีช่องระบายความถี่) ฉะนั้น ใครที่ชอบเสียงลำโพงตู้ปิดซึ่งให้ความสะอาดเคลียร์เป็นจุดเด่น ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า DB1 GOLD จะไม่เจ๋งในเรื่องนี้ กลับกันหากได้ฟังเสียงไม่ว่าเบาหรือดัง รับรองว่าต้องสัมผัสถึงสิ่งที่ PMC อดทนค้นคว้าจนสร้างลิขสิทธิ์ทางเทคนิคว่ามันตอบสนองต่อเสียงได้อย่างสมบูรณ์แบบจริงๆ เทคนิคนี้ทำให้ลำโพงเล็กคู่นี้มีฤทธานุภาพ มีพลังสำรองที่พร้อมโบยบินมิติไปทุกทิศทาง ถ้าคุณชอบลำโพงเล็กที่เด่นมิติโฟกัส คุณต้องตื่นตากับพลังเสียงของมันเหมือนผม

แม้ว่าลำโพงพ้นรันอินแล้วก็ตาม ทว่าทุกครั้งที่ฟัง น้ำเสียงจะเข้าที่ และท่อ ATL พร้อมปลดปล่อยคลื่นเสียงต่ำหลังจากเปิดฟังราวครึ่งชั่วโมงไปแล้ว ถือเป็นลักษณะเฉพาะของ DB1 GOLD

ชื่อสุดหรู สู่การออกแบบสุดประณีต

DB1 GOLD เป็นลำโพงวงขตั้งขนดเล็กที่สุดรุ่นเดียวใน Gold Series ถูกผลิตขึ้นมเพื่อฉลองครบรอบ 25 ปีของ PMC ความสวยงามของผิวตู้วีเนียร์ลาย Black Ash สีดำด้านที่เรียกว่า Jet Black โชว์เส้นริ้วนูนตลอดทั้งตู้ ลายด้านข้างตู้ไม่เหมือนกัน

ซะด้วย เป็นการแปะผิวที่ไม่มีรอยต่อทำให้ตู้ลำโพงสวยหรูดูเนียนตา แผงหน้าใช้สีดำด้านไม่แปะวีเนียร์ เพื่อลดแสงสะท้อนเข้าตากรณีวางมันบนคอนโซลในสตูดิโอ

โครงสร้างตู้เป็นไม้เอ็มดีเอฟเนื้อหนาปานกลาง ทุกเหลี่ยมมุมเข้าฉากแน่นหนา เน้นเรื่องการสะท้อนเสียงภายในเพื่อสร้างความถี่ต่ำและรีดความถี่ต่ำออกนอกตู้ตามเวลาที่คำนวณไว้ โดยให้สัมพันธ์การยิงเสียงตรงจากตัวขับเสียงด้านหน้าตู้ เทคนิคที่ใช้ส่งผลให้ตู้มวลรวมไม่หนักเมื่อเทียบกับลำโพงอื่นในไซส์เดียวกัน (ใช้ข้อนิ้วเคาะแล้วสัมผัสถึงโครงสร้างตู้ที่ผมกล่าวข้างต้น) ลำโพงรุ่นนี้ยกสบาย เหมาะกับนักฟังที่ชื่นชอบการเซ็ตอัพ นักฟังที่ต้องการความแม่นยำของเสียง นักฟังที่ต้องใช้งานลำโพงสตูดิโอวางบนคอนโซลหรือขนาบข้างจอคอมฯ บนโต๊ะทำงาน หรือแม้แต่การวางลำโพงขนาบข้างทีวีจอแบนเพื่อดูหนังฟังเพลง

น็อตยึดไดรเวอร์แบบ 6 แฉก (8 ตัว) สกัดอักษร YFS 0109 บนหัวน็อตเป็นจุดสะดุดตา ทำให้ลำโพงคู่เล็กๆ เปล่งประกายความงามยิ่งขึ้น (การจับคู่สีส่งผลต่อการมองเห็นและจินตนาการ ต้องชมทีมออกแบบ) ผนังด้านหลังเจาะพอร์ต ATL ไว้ด้านบน ตรงกลางตู้มีน็อตเกลียวใหญ่ขันยึดไว้ 4 ตัว ติดสติ๊กเกอร์สีทองระบุหมายเลขล?ำโพง (คู่ที่ผมได้มาเลขสวยซะด้วย 2223) ด้านล่างตู้เจาะช่องติดตั้งแบฟเฟิลขั้วต่อสายลำโพงไบไวร์พร้อมจั๊มเปอร์ชุบทองทั้งหมด งามตาและน่าเกรงขาม ภายในมีบอร์ดวงจรตัดแบ่งความถี่ขนาดใหญ่ ผมให้คะแนนเนื้องานทำมือจากอังกฤษ 9 ใน 10 ไปเลย

Easy Listening & Easy Install

แม้ว่าห้องฟังของผมมีส่วนยาวเป็นสองเท่าของส่วนกว้าง (4.3 x 9 เมตร) ซึ่งอาจใหญ่กว่าขนาด DB1 GOLD ไปหลายช่วง ทว่าเมื่อใช้งานจริง (พ้นรันอิน) กลับพบว่ามันไม่เกี่ยงห้อง ผมวางลำโพงห่างกันเกิน 3 เมตร เพื่อเช็คว่าแผงหน้าแคบที่เด่นมิติโฟกัสจะไปได้สุดๆ แค่ไหน มันไปได้สุดจริงๆ โดยมิติตรงกลางไม่โหว่ เวทีเสียงกระจายหลุดตู้ไปรอบด้าน เสียงเบสจากเทคนิค ATL กระเด็นหลุดตู้ อย่างที่นักเลงลำโพงชื่นชมตรงกันว่าลำโพงแผงหน้าแคบมักแสบตรงมิติโฟกัสชัดเป๊ะ เมื่อผมลดระยะลำโพงซ้ายขวาให้แคบลงราว 170 – 175 ซม. ซึ่งเป็นระยะหวังผลของลำโพงไซส์เล็กทั่วไป มิติเสียงย่านกลาง / กลางต่ำ/ กลางสูง อาทิ เสียงร้อง เปียโน แซ็กโซโฟน คีย์บอร์ด กีตาร์ ไวโอลิน เชลโล เบสไฟฟ้า โชว์รายละเอียดเสียงที่แพรวพราวในแบบเดียวกับตอนวางลำโพงห่างกันเกิน 3 เมตร แต่มวลเสียงเข้มข้นกว่า และตึงตัวน้อยกว่า มิติโฟกัสมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่สัมผัสถึงขอบรอบชัดเจนกว่าเล็กน้อย ลักษณะเช่นนี้บ่งบอกว่ามันสามารถเซ็ตอัพได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับพื้นที่ตั้งและความชอบของผู้เซ็ต (กรณีนี้มันจึงต่างจากลำโพงพิกัดเดียวกันหรือลำโพงตัวใหญ่กว่า) เหมาะกับนักเล่นฯ ที่และเข้าใจเรื่องมิติและเวทีเสียง

กระนั้นก็ตาม ประสบการณ์ผมบอกว่า ลำโพงวางขาตั้งทรงนี้เหมาะกับการฟังเพลงแบบแนวชิดสนิทนักร้องมากที่สุด การฟัง + เซ็ตอัพแบบ Nearfield Listening จึงน่จะเหมะที่สุดในกรรีดเค้นน้ำเสียงและบุคลิกเสียงของมันมกที่สุดเช่นกัน (กำหนดจุดวางลำโพงและจุดนั่งฟังเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า) สอดคล้องตรงตามกายภาพลำโพงที่มีแผงหน้ากว้าง 15.5 ซม. ฟิตพอดีกับกรวย PMC (ขนาด 4.25 นิ้ว แชสซีส์อัลลอย ขอบกรวยเป็นยางนิ่ม ดัสต์แค็ปใช้วัสดุเดียวกับไดอะแฟรม) โดยมีโดมผ้า (ขนาด 1 นิ้ว เปิดโล่งไม่มีตะแกรง) ที่มีขอบแบฟเฟิลใหญ่ไล่เรี่ยกับกรวยติดตั้งด้านบน (เรียงในแนวดิ่ง) เมื่อมองแผงหลังด้านบน ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าเป็นลำโพงวางขาตั้งทั่วไป ควรเป็นตำแหน่งของพอร์ตกลมแบบเบสรีเฟล็กซ์ที่สะท้อนเสียงเบสในตู้สู่นอกตู้ แต่ลำโพงรุ่นนี้ไม่เป็นแบบนั้น พอร์ตของ DB1 GOLD เจาะช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่เกือบเต็มพื้นที่ พ่วงติดกับท่อยาวพับวนอยู่ในตู้ที่วัดความยาวได้ 1.5 เมตร ตามสูตรที่ผู้ผลิตคิดค้นและปรับจูน (วัสดุคล้ายโฟมผสมผ้าสีดำปิดพอร์ตไว้ เพื่อกรองความถี่ต่ำอีกทีหนึ่ง และช่วยกันฝุ่นละอองเข้าไปในสะสมในตู้)

ถ้าคุณเป็นนักฟังที่ไม่ชอบเทคนิคัล นิยมฟังอย่างเดียว เมื่อฟังเจ้านี่ครั้งแรก (รันอิน 6 ชั่วโมงแรก (ไม่เน้นเซ็ตลำโพง ไม่เน้นซิสเต็มแม็ตชิ่ง) จะพบว่า มันเป็นลำโพงเล็กที่ไม่ได้เน้นเปล่งเสียงใหญ่เกินตัว (แผงหน้าแค่คืบเดียว) เสียงกลางและแหลม เคลียร์ กังวานสะดุดหูกว่ากว่าเสียงต่ำรันอินช่วงแรกอย่าปรามาสว่าทุ้มน้อย ให้ฟังไปเรื่อยๆ จนพ้นชั่วโมง ที่ 10 / 20 / 30 จนถึง 80 ท่อพับยาว 1.5 เมตร ในตู้ถูกคลื่นเสียงทะลวง เน็ตเวิร์กจุดตัดแบ่ง 2kHz ถูกทะลวงด้วยไฟฟ้า กรวยและโดมถูกนวดไดอะแฟรมจนเข้าที่ทั้งหมด เสียงที่คุณได้ยินจะต่างจากชั่วโมงแรกๆ อย่างสิ้นเชิง สังเกตเสียงต่ำจะมีปริมาณและการเคลื่อนตัวที่สัมพันธ์กับเสียงกลาง เป็นเสียงต่ำที่ไม่เน้นปริมาณ ไม่เน้นความดัง ไม่เน้นไดนามิกคมกริบ ทว่าเน้นความต่อเนื่อง เน้นมวลอากาศ และหางเสียงเสริมรับกับเสียงกลางอย่างกลมกลืน ไม่มีอาการเสียงต่ำพุ่งสาดหรือบวมเบลอให้สะดุดหู

ยอมรับว่าผู้ผลิตจูนท่อ ATL มาลงตัว บางเพลงทำเอาตื่นตกใจ เพราะสัมผัสรายละเอียดอันเกิดจากโน้ตเสียงต่ำเหมือนซ่อนซับวูฟเฟอร์ตัวย่อมๆ ไว้ในห้อง แล้วตั้งโวลุ่มซับฯ ไม่มาก ลักษณะเสียงคล้ายกับลำโพงทรานส์มิสชั่นไลน์ตู้ยาว Voight Pipes หนึ่งในลำโพงดีไอวายยอดนิยมของนักเล่นแอมป์หลอด ผมมี Voight Pipes (ฟูลเรนจ์ 4 นิ้ว) ในห้อง เลยนำมาฟังเทียบกับเจ้านี่ซะเลย (Voight Pipes ให้แรงปะทะของหัวเสียงต่ำคมและไวกว่า DB1 GOLD เสียงสูงก็ไม่เปิดกระจ่างเท่า เพราะไม่มีทวีตเตอร์เหมือนกับ DB1 GOLD)

แม้ว่ลำโพงพ้นรันอินแล้วก็ตม ทว่ทุกครั้งที่ฟัง น้ำเสียงจะเข้ที่ และท่อ ATL พร้อมปลดปล่อยคลื่นเสียงต่ำหลังจกเปิดฟังรวครึ่งชั่วโมงไปแล้ว ถือเป็นลักษณะเฉพะของ DB1 GOLD

ชอบแอมป์กำลังสำรองดีๆ ไดนามิกพรั่งพรู

ลำโพงรุ่นนี้ฟังเพลงอะไรก็ไพเราะ เพราะไม่ขาดแคลนเสียงต่ำอันประกอบด้วยเสียงหลักและเสียงฮาร์โมนิก มันเป็นลำโพงสองทางขนาดเล็กอีกคู่หนึ่งในท้องตลาดที่สำแดงมิติโฟกัสและซาวด์สเตจได้อย่างออกรสชาติ ละเอียดแพรวพราว ให้วรรณะเสียงผุดผ่อง บริสุทธิ์ และฉับไว การใช้งานในห้องฟังจึงเปิดกว้าง ไม่จำเป็นว่าต้องมีความยาวมากกว่ากว้าง ยกตัวอย่างห้อง 3 x 4 / 4 x 5 / 6 x 5 เมตร หรือ 3 x 3 / 4 x 4 / 5 x 5 เมตร ไม่ว่าเป็นห้องแบบไหน ขนาดเท่าใด (ไม่เกิน 35 ตร.ม.) มันพร้อมสำแดงน้ำเสียงและเทคนิค ATL อย่างไม่เกี่ยงงอน ยิ่งพิถีพิถันเซ็ตตำแหน่งลำโพง ก็ยิ่งสัมผัสรายละเอียดเสียงกลาง เสียงสูง และเสียงต่ำที่แผ่ตัวอย่างครบเครื่อง 

การที่ลำโพงเล็กสองทางวูฟเฟอร์ 4 นิ้วเปล่งเสียงต่ำอย่างมีคุณภาพเช่นนี้ นั่นหมายความว่าเราจะได้ยินความสมบูรณ์แบบของมิติและซาวด์สเตจแบบไม่ต้องพึ่งลำโพงใหญ่กว่านี้ หากคุณเข้าใจเรื่องดนตรีในแบบที่คนดนตรีเขาฟังกัน (ต้องเป็นนักฟังที่ไม่หิวเบส แต่เน้นรายละเอียดเสียง) ลำโพงรุ่นนี้จึงก่อเกิดรูปแบบการเล่นหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่ลำโพงกับอินทิเกรตแอมป์กำลังขับ 20 – 65 วัตต์ (สูงสุด 100 วัตต์) หรือแอมป์หลอดซิงเกิ้ลเอ็นด์หลอดไตรโอด อาทิ KT88, 300B, 845, EL84 กำลังขับที่ต่อเนื่องจากภาคเอาต์พุตที่เสถียรและออกแบบวงจรมาดี จะส่งผลต่อเสียงของ DB1 GOLD อย่างยิ่ง

ตอนผมใช้ซิงเกิ้ลเอ็นด์ Viola Audio: SE3 Upgraded OPT (หลอด 12AX7 + EL84 + หม้อแปลงเอาต์พุตสูตรเฉพาะ) ขับมันสลับกับปรี Viola Audio: TL1SE (หลอด 7DJ8) + เพาเวอร์โมโนบล็อกซิงเกิ้ลเอ็นด์ Viola Audio: SE3 6C33C (หลอด 6C33C), ซีดีเพลเยอร์ YBA: CD100 Heritage + สายสัญญาณ Canare: GS4 + แจ๊ค Neutrik ทั้งหมดใช้ไฟฟ้าจากไอโซเลชั่นทรานส์ฟอร์เมอร์ของ Viola Audio: ITF2 ผมสัมผัสถึงความแตกต่างของแอมป์กำลังขับต่างกันอย่างชัดเจน ผมชอบเสียงและลีลาของ DB1 GOLD เมื่อขับด้วย SE3 Upgraded OPT มากกว่า แม้ว่ากำลังขับจะน้อยกว่า 6C33C มันช่วยยืนยันได้ว่า หากภาคเอาต์พุตออกแบบมาลงตัวแล้วล่ะก็ ลำโพงรุ่นนี้ก็พร้อมทะยานไปและแม็ตชิ่งกับแอมป์นั้นๆ อย่างกลมกลืน ขอเพียงแอมป์มีโทนบาลานซ์และสมดุลเสียงดี มีความเป็นกลางและให้ความเป็นดนตรีที่เที่ยงตรง (งานนี้แอมป์หลอด, แอมป์คลาส A, แอมป์ไฮบริดจ์ ได้เปรียบ) 

ข้อแม้ซึ่งผมไม่ถือเป็นข้อด้อยของมัน ทำให้สรุปได้ว่เจ้นี่กินวัตต์ มันจึงต้องกรแอมป์กำลังสำรองดีๆ สเปกบอกว่ค่ควมไวอยู่ที่ 87 ดีบี อิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม ซึ่งถือว่าไม่หินมาก เมื่อเทียบกับลำโพงบางคู่ที่มีค่า 4 / 6 โอห์ม สาเหตุที่เลขตกไปที่ 87 ก็เพราะเทคนิค ATL นั้นต้องการพลังจากแอมป์ที่มีไดนามิกทรานเชี้ยนต์ดีๆ หยุดยั้งการขยับตัวของกรวยทันท่วงที เพื่อให้คลื่นเสียงต่ำเดินทางผ่านท่อยาวอย่างรวดเร็ว ลำโพงรุ่นนี้จึงอ่อนไหวกับแอมป์ ถ้าได้แอมป์ดี กำลังดี น้ำเสียงจะทะยานไปไกลจนเรียกว่าลำโพงล่องหนได้เต็มปาก!!!

ขั้วต่อสายลำโพงของ DB1 GOLD เป็นไบไวร์ชุบทอง ผมเสียบสายลำโพงที่ใช้งานประจำในห้อง ได้แก่…สายแกนเดี่ยว Tellurium Q: Silver II สลับกับสายแกนฝอย Tchernov: Original One SC ได้เรื่องได้ราวว่า การเสียบสายเข้าขั้วไบดิ้งโพสต์ (ล่าง) ให้โทนบาลานซ์ของเสียงที่กลมกลืน เสียงสูงไม่เน้นปลายเสียงมากเกินไป กรณีใช้กับสายไบไวร์ ความคมชัดจะแจ้งของเสียงกลางและสูงจะเด่นล้ำกว่าเสียงตำหากวางลำโพงใกล้ผนัง บนคอนโซล หรือข้างจอคอมฯ สายไบไวร์อาจช่วยได้ยินรายละเอียดที่คมชัดยิ่งขึ้น ทั้งนี้สายลำโพงที่เหมาะกับ DB1 GOLD ควรมีบุคลิกเสียงอบอุ่น เสียงไม่บางเกินไปอย่างเช่น ตัวนำทองแดง และควรมีหน้าตัดไม่ใหญ่เกินไป (ขั้วเสียบไม่ต้องการสายใหญ่ ตัวขันยึดไม่ใหญ่ และวางตำแหน่งบวกลบค่อนข้างชิดกัน)

น้ำเสียงกระจ่าง พรั่งพรู เที่ยงตรง และชำแหละ

DB1 GOLD เหมาะกับนักเล่นฯ และฟังแบบเริ่มต้น ไปจนถึงแก่พรรษา เหมาะเป็นลำโพงคู่ที่สองหรือสามหรือสี่ เพื่อฟังเพลงในห้องทำงาน ห้องนอน หรือห้องฟังส่วนตัวแบบใกล้ชิด ใครชื่นชอบมิติโฟกัสของเสียงย่านกลางและสูงแบบคมชัด ลอยเด่นในอากาศ ให้ฟิลลิ่งลื่นไหล ฉับไว สว่างกระจ่างอย่างที่ลำโพงเล็กคุณภาพดีพึงมีให้ล่ะก็ DB1 GOLD มีในสิ่งเหล่านั้น และใครอยากได้เสียงย่านต่ำที่มีหัวเสียงกระชับต่อเนื่องกับเสียงย่านกลางอย่างกลมกลืน มีหางเสียงที่เคลื่อนตัวบ่งบอกถึงสเกลของเครื่องดนตรีที่ควรจะเป็น DB1 GOLD ก็มีให้อย่างไม่ต้องแกล้งสร้าง มีลำโพงแบบนี้ในกลุ่มมิดเอ็นด์ถึงไฮเอ็นด์หลายรุ่นพยายามสร้างมิติเสียงที่เพียบพร้อม ทว่าส่วนใหญ่พลาดท่าตรงคลื่นเสียงต่ำที่ไม่กระจาย ไม่โอบอุ้ม ไม่แผ่ตัว และไม่ต่อเนื่องด้วยจังหวะเวลาที่พอดีกันเหมือนอย่างที่ DB1 GOLD ทำได้

ข้อความย่อหน้านี้ ผมบอกกับตัวเองตอนรันอินผ่าน 20 ชั่วโมงแรก ใครว่าลำโพงในตู้โหลดฟังยาก เสียงต่ำมาช้าไม่ทันเสียงกลาง ผมอยากให้ลบความคิดนั้นแล้วมาฟังเจ้านี่

สิ่งที่ใช้วัดคุณภพเสียงลำโพงได้ดีที่สุดคือดนตรี ผมจึงเลือกเพลงมาฟังและตรวจเช็คบุคลิกเสียงและความเป็นมอนิเตอร์ครบทุกแนวทุกแบบ มันเหมาะกับเพลงหลากแนวหลายประเภท เน้นเพลงโชว์เสียงร้อง เสียงโซโลเครื่องดนตรีประเภทดีดหรือเป่า เพลงที่มีวงแบ็กอัพด้วยเครื่องดนตรีไม่เกิน 6 ชิ้นในแนวพ็อพ บอสซาโนวา แจ๊ส หรือกระเถิบฮาร์โมนิกไปที่วงทรีโอหรือเชมเบอร์ ซึ่งเล่นดนตรีในสเกลซับซ้อนกว่า เจ้านี่ก็ร้องเพลงเหล่านั้นได้อย่างไพเราะ เพลงไทย เพลงสากล เพลงไทยเดิม เพลงแขก เพลงจีน พี่แกเหมาหมด ใครมองหาลำโพงเล็กเล่นง่าย  ฟังง่าย เบสไม่หายไม่แผ่ว เข้าได้กับดนตรีแทบทุกแนว ผมเจอลำโพงในอุดมคติของคุณแล้วล่ะ

มีหลายอัลบั้มที่อยากแนะนำเริ่มจาก “เพลงโปรด” (สองสมิต) เป็นซีดีรวมเพลงไพเราะ 12 เพลง เสียงร้องของคุณสุภัทรา โกราษฎร์ เด่นตระการกลางเวที โดยมีวงออร์เคสตร้าไหมไทยบรรเลงสดห้อมล้อม ให้จังหวะลีลาดนตรีสมจริง ไทมิ่งไม่ช้าเนิบเกินไปท่ามกลางบรรยากาศของสถานที่บันทึกที่ไม่แห้งและเงียบเกินไป ภายใต้การควบคุมวงของ อ. ดนู ฮันตระกูล จุดเด่นของ “งานเพลงแบบดนู” อยู่ที่ร้องสด บรรเลงสด บันทึกสด แผ่นนี้ผ่านขั้นตอนต่างๆ อย่างประณีต แนะนำเพลง “ฉันจะฝันถึงเธอ” “ลุ่มเจ้าพระยา” DB1 GOLD จำลองเสียงเครื่องดนตรีอะคูสติกและเสียงร้องได้เสนาะหู ให้น้ำเสียงหลุดตู้ พาผมหลุดเข้าไปในโลกออดิโอไฟล์ จนผมต้องหยิบซีดี “ภาพรัก” มาเปิดฟังต่อเนื่อง ตามด้วยงานของ อ. ดนู อีกหลายแผ่น แม้แต่ซีดีชุด เยื่อไม้ 1 / 2 เมื่อฟังกับเจ้านี่ มันได้อรรถรส ได้ยินเนื้อเสียงสุกสกาว จังหวะลีลาเนิบเนียน เครื่องดนตรีบรรเลงอย่างอ่อนน้อมถ่อมตัว วางตำแหน่งเป็นสามมิติ เสียงร้องของคุณวิระและคุณอรวี มีเสน่ห์ติดหู (แนะนำเพลงบางปะกง, ทุยจ๋าทุย, ดอกแก้ว, เรือนแพ) ถ้าชอบฟังเชมเบอร์ มินิออร์เคสตร้าหรือแจ๊สทรีโอ คุณต้องฟังกับ DB1 GOLD ให้จงได้

อีกหนึ่งงานเพลงขึ้นหิ้งที่ควรมีไว้ติดห้องคือ Warm Your Heart ของป๋า Aaron Neville (A&M Records) มีเหล่านักดนตรีมากมายและนักร้องเสียงประสานจาก The Grace Episcopal Choir มาช่วย เสียงดนตรีแบ็กอัพวงใหญ่จาก The Skywalker Symphony Orchestra เด่นด้วยเสียงทรัมเป็ต เทเนอร์แซ็ก อัลโต้แซ็ก บาริโทนแซ็ก เปียโน DB1 GOLD แจกแจงและแบ่งระนาบชิ้นดนตรีได้ไม่ขาดตกบกพร่อง มันบ่งบอกการบันทึกเสียงมัลติแทร็กและแสดงความประณีตและคุณภาพการทำมาสเตอร์ของ Doug Sax ซึ่งลำโพงมอนิเตอร์ได้เปรียบเรื่องนี้มากกว่าลำโพงโฮมยูส (มันโชว์รายละเอียดเสียงข้างต้นใกล้เคียงกับตอนผมฟังกับ Yamaha: NS10M สตูดิโอมอนิเตอร์กรวย 6 นิ้ว)

อัลบั้มคอนเทมโพลารี่แนวบิ๊กแบนด์ผสมคิวบันชุด She ของ Harry Connick, JR เป็นอีกหนึ่งที่แสดงไดนามิกและทรานเชี้ยนต์ของ DB1 GOLD ว่าไม่ธรรมดา แม้ไม่หนักหน่วงทะลวงไส้อย่างที่หลายคนชอบ แต่ก็จำแนกเสียงเครื่องดนตรีที่หลั่งไหลแต่งแต้มในแต่ละเพลงจนตามติดโน้ตและเสียงประกอบที่เกิดจากการเรียบเรียงอย่างสนุก เสียงต่ำของคิกดรัม เบส เปียโน ออร์แกนจาก ATL ไม่เน้นปริมาณใหญ่จนเสียงต่ำตอนบนขาดความต่อเนื่องกับเสียงกลางตอนล่าง หัวเสียงต่ำจากเครื่องดนตรีต่างๆ จึงไม่เน้นอวบอ้วนจนผิดรูป หากเน้นจุดกำเนิดเสียงในอากาศและเน้นการเคลื่อนที่จากเสียงแรกไปจนสิ้นสุดหางเสียง สังเกตเสียงเพอร์คัสชั่น กลองคองกา แทมบัวลีนให้ดี มันฉวัดเฉวียน สด กระจ่าง และมีไดนามิก

สิ่งเสริมสมรรถนะให้ DB1 GOLD ซึ่งสมควรมีอย่งยิ่งคือขตั้งที่เหมะสมกัน มันเหมาะกับขาตั้งมวลหนาทั้งโลหะและไม้ที่ไม่โปร่งและไม่บางเกินไป โดยควรให้ตำแหน่งโดมอยู่ในตำแหน่งเดียวกับหูคนฟัง ถ้าใช้งานบนคอนโซลหรือข้างจอคอมฯ ให้หาขาตั้งที่วางแล้วโดมอยู่ในตำแหน่งเดียวกับหูคนฟัง จะช่วยให้ได้ยินเสียงที่มีสมดุลมากที่สุด (มิติโฟกัสเสียงต่ำชัดเจนและมีดีเทลที่สุด) 

DB1 GOLD ช่วยให้คนนิยมลำโพงเล็กดีรสโตที่ชอบโชว์มิติโฟกัสและเวทีเสียง ไม่ต้องเหนื่อยวิ่งหลำโพงอื่นอีกต่อไป ขณะที่ช่วยสำทับควมมั่นใจให้ผู้มองหลำโพงวงคอนโซลใช้งนในสตูดิโอ ซึ่งต้องกรน้ำเสียงเที่ยงตรงและชี้ชัดว่นี่คือลำโพงที่หมยปอง ทั้งหมดทั้งมวลข้งต้นถือเป็นจุดสุดยอดและจุดสิ้นสุดของลำโพงเจ้เทคนิค ATL ที่รอคนฟังชั้นหัวกะทิอย่งแท้จริง ไม่ว่คุณจะเป็นนักเล่นเครื่องเสียงระดับไหนก็ตม. ADP

ราคาพิเศษ 46,800 บาท

จัดจำหน่ายโดย 
HIGH END GALLERY – THE NINE พระราม 9
โทร. 0-2056-7934, 086-252-2429
HIFI STUDIO – CDC SHOPPING CENTER
โทร. 087-070-1685

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 268