CLEF StreamBRIDGE เป็น “อุปกรณ์แห่งยุคสมัย” จาก CLEF Audio ช่วยอัพเกรดคุณภาพการเชื่อมต่อของเครื่องเล่นสตรีมมิ่งได้อย่างเนียนกริบไหลลื่น เผยเนื้อแท้ของภาพและเสียงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในราคาที่ต้องถามซ้ำว่า “ทำได้อย่างไร”

สวัสดีครับ… พบกันอีกแล้วกับ audiophile go digital…อรรถคดีว่าด้วยเรื่องของ Digital Audio ซึ่งมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวให้เล่าขานอยู่เสมอ ทั้งบนสื่อ Online และ Offline และนี่เป็นบทความบนเว็บไซต์ https://www.audiophile-videophile.com/ ขอบคุณสำหรับการติดตาม

“อุปกรณ์แห่งยุคสมัย Network GIGA Switch” ที่ชื่อ StreamBRIDGE หนึ่งในของดีราคาสมเหตุสมผลประมาณว่าถูกมากกก จาก CLEF Audio ผู้ผลิตอุปกรณ์เสียงและภาพสัญชาติไทย อยู่คู่กับนักเล่นชาวไทยมาอย่างยาวนาน

StreamBRIDGE ตัวนี้มาอยู่ในบ้านแถบชานเมืองมาซักพัก ทดลองเล่น ได้ศึกษาเรื่องราวต้องทึ่งว่า ของดี ราคาเท่านี้ “ทำได้อย่างไร” ก่อนเข้าเรื่องขอเข้าไปดู Mission Statement ของ CLEF Audio ก็ต้องร้องอ๋อ เป็นแบบนี้นี่เอง

Mission

เพื่อจัดหา ออกแบบ ผลิต ประกอบ นำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง สำหรับผู้ที่ต้องการอัพเกรดเครื่องเสียงหรือแหล่งบันเทิงในบ้าน

มีเป้าหมายที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบ คัดสรรอุปกรณ์เกรดดี ผลิตประกอบอย่างดีเพื่อคุณภาพดีที่สุด ในราคาสมเหตุสมผล เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าถึง

CLEF ประกอบด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมออกแบบผลิต ประกอบเครื่องเสียง อยู่ในวงการไฮไฟบ้านเรามานับสิบปี มีผลิตภัณฑ์ประเภท Audio และ Power Products มากมายหลายตัว ทั้งขายในบ้านเราและส่งออกนอก

Why CLEF introduce this to the market?

ยุคของสตรีมมิ่งครองโลก ทุกบ้านล้วนติดตั้ง “อุปกรณ์แห่งยุคสมัย Network GIGA Switch” กันถ้วนหน้าโดยไม่รู้ตัวอยู่แล้ว แต่เพื่อคุณภาพที่ดีกว่าการอัพเกรดคุณภาพเสียงและภาพควรต้องเน้นอุปกรณ์จากผู้ผลิตสายออดิโอเกรดซึ่งเน้นคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตมากหน้าหลายตาผลิตออกมารองรับ ซึ่งถือว่าราคาสูง สนนราคาราว 10 – 50 เท่าของสินค้า IT ตลาดๆ ทีเดียว ส่วนใหญ่ก็มัก OEM จับมาโม หรือไม่ก็ติดแบรนด์ดื้อๆ ทำราคาก็มี แปลว่าตลาดยังเปิดกว้าง CLEF เป็นผู้ผลิตไทยมีศักยภาพที่จะทำได้ด้วยตัวเอง และเห็นโอกาสนี้เช่นกัน 

แต่ก่อนจะเข้าเรื่อง อยากขอทบทวนบทความที่เกี่ยวข้องเคยเขียนไว้มาให้อ่าน เพื่อเห็นภาพชัดขึ้นหน่อย เผื่อบางท่านอาจไม่มีโอกาสได้ติดตาม

the Way of Stream

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อดนตรีและภาพยนตร์ วิดีโอที่เสพกันอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นการสตรีมมาทางอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น ฟังเพลงจาก Streaming services: Tidal, QOBUZ, Spotify, Apple Music… Internet Radio หรือเปิดทีวีดูข่าวติดตามช่อง YouTube ดูหนัง Netflix, DisneyPlus, HBO, Amazon Prime หรือถ่ายทอดสดกีฬาอย่าง F1, NFL, NBA หรือ Premier League จะผ่าน TV หรือ Topbox ล้วนเป็นการสตรีมทั้งสิ้น แม้ว่าต้นทางจัดการดีสักเพียงไร Infrastructure ปลายทางคือโฮมเน็ตเวิร์กในบ้านก็ต้องวางระบบให้ดีที่สุด แต่ดีแค่ไหนล่ะ ดีแบบ IT ก็ใช่ แค่สัญญาณเสถียรก็บอกว่าดีแล้ว จริงอยู่ที่ัข้อมูลดิจิทัลคือ 0 กับ 1 แต่สำหรับสายสตรีมอย่างเราอาจดีไม่พอ หรือแปลว่าดีกว่านี้ได้

คิดดูซิ กว่าสัญญาณดิจิทัลจะเดินทางมาถึงเรากี่หมื่นไมล์ เจอ “ขยะ” ระหว่างทาง (Garbage In) ที่มาในระบบเครือข่ายกับต่อพ่วงกี่ต่อ สัญญาณดิจิทัลอาจถูกรบกวนจาก noise & jitter เกิดความผิดเพี้ยนของสัญญาณดิจิทัลอันส่งผลต่อคุณภาพเสียงและภาพอย่างมาก หนทางที่จะจัดการกับปัญหานี้ก็พอมี… จัดการกำจัด “ขยะที่ติดมากับไฟล์ดิจิทัล” (Garbage Out) ให้มากที่สุด ก่อนที่สัญญาณดิจิทัลบริสุทธิ์จะเดินทางเข้าสู่ Player / Music Server / TV / Topbox ซึ่งต้องส่งผ่านสาย LAN ในวง Ethernet ไง

the Connection…

ในภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่า LAN cable ต้องต่อเชื่อมกับ Router และ Network Switch อย่างเลี่ยงไม่ได้ เมื่อตกลงปลงใจลงทุนกับ Streamer / Player / Topbox หรือ TV เทพ และแล้ว “สาย LAN เทพ” ก็ต้องมา ตราบใดที่รับรู้ถึงความแตกต่างแล้ว จะต่อกับอะไรล่ะ “ที่คู่ควร” ไม่ไปลดทอนคุณภาพจากเครื่องเล่นที่ลงทุนไป

Network Switch เป็น “อุปกรณ์แห่งยุคสมัย” ซึ่งล้วนถูกติดตั้งไว้แทบทุกบ้านนั่นแหละ ติดตั้งง่าย เพียงตั้งคั่นระหว่าง Router ของ ISP (Internet Service Provider) และเชื่อม Music Server กับ Player / Topbox เท่านั้น LAN cable กับ Network Switch อยู่ในวงของการต่อพ่วงในระบบและ Router หรือ Network Switch คือ the Weakest Link นั่นเอง

LAN cable and then… ANS (Audio-grade Network Switch)

Audio grade Network Switch ถูกนำเสนอไม่นานมานี่เอง ถ้าจำไม่ผิดน่าจะราว 5 ปี ในปี 2018 เคยพบในงานที่มิวนิก และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดมากขึ้นนับ 10 แบรนด์ แต่ละแบรนด์มีเทคโนโลยีต่างกันบ้าง โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือจัดการกับ noise และป้องกัน jitter จัดอยู่ในกลุ่ม accessories ซึ่งแพร่หลายขึ้นในปัจจุบัน ผ่านมือผมเองก็หลายตัวอยู่เหมือนกัน บอกเลยว่าพวก IT ร้องจ๊าก จะบ้าเหรอ

WHY…?

เครื่องเสียงใหม่ในกล่องจะมี สายไฟแถมใส่กล่องมาให้ เสียบสายปั๊บ เปิดเครื่องติด เสียงก็ดังนี่ แต่นักเล่นน้อยนักโดยเฉพาะสายโอ้ฟายไม่มีใครยอมใช้สายแถมหรอก เพราะรับรู้ถึง “ความต่าง” ของการอัพเกรดสายไฟ ให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสายลำโพงหรือสายสัญญาณ บางทีอาจมากกว่าด้วย… ดังนั้นไฮเอนด์จึงให้ความสำคัญกับสายไฟ ปลั๊กราง เครื่องกรองไฟมาก บางครั้งเกินค่าตัวเครื่องด้วยซ้ำ ทำไมจะไม่ล่ะ

What’s critical point?

ในแวดวง Digital Audiophile จะซีเรียสกับ Clock และ Jitter-Affected สองคำนี้เป็นอย่างยิ่ง คำถามที่ว่าแล้ว Clock ทำหน้าที่อะไร? ทำไมจึงมีความสำคัญมาก ตัวผมเองรู้จัก Clock ครั้งแรกเมื่อสมัยเพิ่งจบ King Mongkut’s เริ่มเข้าทำงานในโรงงาน National Semiconductors ในกลางยุค ’70s โน่น มีสายการผลิต Crystal oscillators ส่งให้กับผู้ผลิตรายอื่นถือเป็นคอมโพเนนต์หนึ่งที่มีหน้าที่สำคัญเรียกว่า Clock และยังมี Production Line: Watch Module ตั้งแต่เริ่มของยุคนาฬิกาดิจิทัลหน้าจอเป็น LED สีแดง… Clock ใกล้ตัวเรามากในวงการเครื่องเสียง ที่ใกล้ตัวเราหน่อยก็น่าจะเป็นเครื่องเล่นดิจิทัล เช่น CD Player, DAC, Streamer หรือแม้แต่เครื่องเล่นโต๊ะหมุนที่ใช้ Speed control ยิ่งยุคนี้เป็นยุคของดิจิทัล ซึ่งล้วนมี Clock มาเกี่ยวข้องในการทำงานของวงจรและสำคัญมากทั้งสิ้น

Clock’s duty

การแข่งขันเรือพาย (Rowing) นักกีฬาที่เป็นฝีพายของเรือทุกลำต้องฟิตซ้อมอย่างเข้มข้น มิเพียงเพื่อให้มีพละกำลังและความอดทน แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับจังหวะ (Stroke) อย่างมาก นั่นหมายถึง ฝีพายเรือทั้งสองข้างต้องพายอย่างสัมพันธ์กัน สปีดและแม่นยำพร้อมเพรียงกันอย่างยิ่งยวด เพื่อให้เกิดกำลังส่ง และสมดุล ผลักให้เรือพุ่งไปข้างหน้าอย่างมีเอกภาพ จึงจะบรรลุเป้าเดียวกันคือเส้นชัยข้างหน้านั่นเอง

ภาพต่อไปคือ “วาทยากร (Conductor) หรือผู้อำนวยเพลง” ของวงออร์เคสตร้าที่มีความสำคัญมาก เพราะเครื่องดนตรีในวงมีหลายสิบชิ้น เมื่อรวมนักร้องประสานเสียงเข้าไปด้วยบางครั้งร่วมร้อย วงออร์เคสตร้าวงเดียวกัน โน้ตเพลงก็เดียวกันแท้ๆ วาทยากรแต่ละคนยังอำนวยเพลงไม่เหมือนกันเลย แต่ที่แน่ๆ จังหวะต้องแม่นเป๊ะเหมือนกัน จะแตกต่างก็ตรงให้ความดัง ความเบาของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่จะทำให้ไพเราะต่างกัน ลองนึกสิว่า ถ้านักดนตรีขาด Timing ที่แม่นยำเที่ยงตรงเป็นตัวกำหนดจะเป๊ะไหม คงเละน่าดู อาจฟังไม่เป็นเพลงกันเลยทีเดียว 

อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็ต้อง PIT Stop ของทีมใน F1 คิดดูว่า Timing ต้องเป๊ะแค่ไหนถึงจะเปลี่ยนล้อ 4 ล้อได้ในเวลาต่ำกว่า 2 วินาทีโดยไม่ผิดพลาด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ Timing ทั้งสิ้น

นี่คือคำอธิบายหน้าที่ของ Clock ให้เห็นภาพแบบเข้าใจง่าย ไม่ใช้วิชาการใดๆ เลย

Clock Generator มีหลายเทคโนโลยีที่ทำงานแม่นยำสูง และอยู่ในเครื่องเสียงไฮเอนด์ทั้งสิ้น แยกชิ้นก็ยังมี… แล้วถ้าจ่ายด้วยงบไม่แพงมากนักมีไหม คำตอบคือมี ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปไม่ได้

Jitter-Affected

ตรงกันข้ามถ้าเกิดการเหลื่อมของเวลา เช่น รูปของ Square Wave ที่บิดเบี้ยวไปนั่นคือปัญหาที่เรียกว่าเกิด Jitter-Affected ในแง่ Time Jitter จริงๆ แล้ว Jitter เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ซึ่งนักเล่นเครื่องเสียงแนว Digital audio ไม่ว่าจะเล่นจากแผ่นซีดีหรือสายสตรีม ล้วนไม่ใช่สิ่งดีและต้องพยายามจัดการให้อยู่หมัด

 “Jitter: Lost data, Inaccurate data, Mis-timed data”

การส่งข้อมูลผ่านข้อมูลเสียงดิจิทัล (Digital Transmission) เมื่อสัญญาณเสียงถูก Encode แบบดิจิทัล เป็นบิต 0 และ 1 ส่งผ่านทางสายด้วยวิธีอะนาล็อก จริงๆ แล้วที่ว่าสัญญาณดิจิทัลก็คืออะนาล็อกแบบ Square wave ส่งผ่านสายนั่นเอง โดยที่สายมีทั้ง Resistance และ Capacitance และบางทีก็ Inductance ซึ่งแน่นอนว่า Square wave นั้นบางทีอาจจะไม่สมบูรณ์ ยอดคลื่นไม่เหลี่ยมเป๊ะอาจไม่สำคัญเท่า ถ้าเกิดบิดเบี้ยวไปแล้วยากที่จะกลับมาเหมือนต้นฉบับ สัญญาณ Square wave ลูกต่อไปมาทับ ก็จะเป็นเงาทับซ้อนเพราะการเหลื่อมของเวลา (Timing Jitter) ได้อีก ซีเรียสมาก เพราะนั่นคือ Jitter-Affected

Streaming / Playing music / Movie 

เป็นการสตรีมแบบ Realtime แปลว่าไม่สามารถกู้คืนข้อมูลที่สูญหายหรือผิดเพี้ยนไปได้เหมือนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งแน่นอนว่าความแตกต่างของคุณภาพเสียงหรือภาพจะชัดเจนมาก ทางที่ดีควรจัดการกับปัญหาเสียก่อน โดยจัดการกับ Noise /Jitter เสียตั้งแต่แรก ที่ต้องปิด Gap ให้ได้ แต่ไม่ง่าย Network Switch คือ “ส่วนหนึ่ง” ที่ต้องโฟกัส เพราะมันคือ Weakest Link นั่นเอง ทีนี้ทราบเหตุผลแล้วใช่ไหม งั้นเข้าเรื่องเลย

What’s they did in ANS…!

ใน Home Network จาก Router ทั้งสาย LAN cable + Switch คือตัวเชื่อมต่อทำงานร่วมกันเช่นเดียวกับของ IT แต่ทว่า Audio-File Network Switch แม้ทำงานไม่ต่างกันก็จริง แต่เรามีเป้าหมายที่ไกลกว่า เรียกว่าคิดเยอะกว่าซีเรียสกว่า ทั้งนี้ก็เพื่อทำหน้าที่ป้องกัน ลด ขจัด จัดการ Noise ตัวก่อปัญหาใหญ่คือความผิดเพี้ยน (Distortion) & Jitter เจอเรื่องของ (Phase &Timing) ก็จะถูกจัดการให้ทุกอย่างอยู่ในความควบคุม ก่อนที่ข้อมูลดิจิทัลจะเดินทางสู่ Network Player / TV / Topbox ซึ่งอุปกรณ์ก็จะได้รับสัญญาณดิจิทัลบริสุทธิ์ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้นั่นเอง

CHECK IN

CLEF StreamBRIDGE อยู่ในสัณฐาน (W x H x D): 206 x 50 x 126 mm. ถือว่าค่อนข้างหนา มีน้ำหนักที่ 1.2 Kgs รวมกล่องและสายที่ให้มาจะหนัก 1.7 Kgs ซึ่งถือว่าหนักมากกว่า Sw ทั่วไปอย่างชัดเจน เพราะติดตั้งภาคจ่ายไฟชั้นดีมาให้ด้วยเลย ดังนั้นจึงจ่ายไฟเข้าเครื่องด้วยไฟ AC 220-230V/50Hz ตรงๆ ได้เลย ด้านหน้ามีไฟ LED สีน้ำเงินเป็นแถบเล็กๆ แนวตั้งเพื่อบอกสถานะ

Keys of Designed Configuration

What’s specially-selected in StreamBRIDGE?

เป็น GIGA Bit Switch ทำงานที่ 10/100/1000 Mbps ชนิด Auto-Negotiation เป็นสวิตช์ชนิด 5 Port สังเกตจากขั้ว RJ45 เป็นโลหะเลือกมาจากรุ่นที่เป็นมาตรฐานโดยสั่งซื้อจากแบรนด์ IT ในท้องตลาด เช่นเดียวกับแบรนด์ดังอีกหลายตัวก็ใช้ OEM จะเสียเวลาทำขึ้นใหม่ทำไม ทำขึ้นเองต้นทุนจะสูงกว่า CLEF: StreamBRIDGE ก็เช่นเดียวกัน จากนั้นก็จับมาโม (Modify) ใช้ความรู้ทางออดิโอของทีมงาน CLEF โม ปรับแต่งเลื่อนชั้นให้เป็น Audio-File Network Switch ชั้นดีในราคาจับต้องได้ในแบบของ CLEF ซึ่งหลักๆ ใน StreamBridge นั้นจัดการที่ “เป้าใหญ่” ไม่กี่จุดซึ่งลงทุนไม่สูงนัก แต่ส่งผลโดยรวมมากไว้ก่อน มีอยู่ 2 – 3 เรื่องคือ

  • 1.เจาะตรงหัวใจเลยที่ภาคจ่ายไฟ PSU ตรงนี้เด่นเพราะส่วนใหญ่จะเป็น Switching ราคาถูก Clock Shield & Ground… ก็คือทางถนัดของ CLEF ที่ทำผลิตภัณฑ์ Power Supply ในงานออดิโอมานานจนเจนจัด กดไปเต็มคาราเบล โดยจัด Ultra Linear PSU with IEC cable ที่ทำได้เองอยู่แล้ว สามารถลดต้นทุนได้ต่ำจนเหลือเชื่อ ตรงนี้ทำให้คู่แข่งเหนื่อยทีเดียว
  • 2.อัพเป็น Low Noise TCXO CLOCK ในกรณีนี้คือคำตอบที่ถูกนำมาใช้ในอุปกรณ์ที่เพิ่มต้นทุนไม่มากเกินไป จนทำให้ค่าตัวขยับสูง ซึ่งไม่ใช่ทิศทางของ CLEF
  • 3. จัดวางอุปกรณ์ทั้งหมดไว้ใน Metal case ซึ่งออกแบบขึ้นใหม่ให้ดูขึงขังพร้อมไฟ Indicator สีน้ำเงิน แถมยังชีลด์ได้ระดับหนึ่ง ทำให้ดูดีกว่า SW กล่องเดิมๆ จากตลาด IT ด้วย

Get to the POINT

อนึ่งในแวดวงไฮไฟทราบดีว่า การอัพเกรดภาคจ่ายไฟคือทิศทางที่ถูกนำมาใช้อย่างได้ผลเสมอ ขอบอกว่าปกติแล้ว PSU ของ ANS จะขายแยกต่างหากเป็นออปชันแทบทั้งสิ้น เมื่อ CLEF จัดมาเลยก็ถือว่าตรงเป้าประสงค์และตรงประเด็นที่สุด เอ่อ… ถ้าเป็นแบรนด์อื่นไม่ถูกนะวิ! แต่ CLEF บอกไม่มีปัญหา ออกแบบเอง ผลิตเอง จับมัน Built In เข้าไปเลยในตัวถังโลหะด้วย Ultra Linear Power Supply ซึ่งแทบจะเป็น Module ที่มีวงจรเดียวกับที่ใช้ใน PowerBRIDGE อันโด่งดังของ CLEF นั่นแหละ จึงทำให้ StreamBRIDGE เป็น Network Switch ที่มีน้ำหนักตัวค่อนข้างมาก ทั้งหมดติดตั้งอุปกรณ์ในเคสโลหะ โดยออกแบบขึ้นใหม่ สามารถชีลด์ได้ระดับนึง ซึ่งทำให้คุมค่าตัวได้ ไม่ถึงกับต้องขุดอะลูมินัมทั้งก้อนหรอกมั้ง อ้อๆ มาพร้อมกับสาย AC แบบ IEC standard ในกล่องกระดาษแข็งที่เป็นแพ็กกิ้งที่ดูดีด้วย

Hook Up

บ้านของผมเองแม้จะอยู่บ้านนอก แต่ก็ติดตั้ง Network GIGA Switch ของ IT ไว้นานหลายปี ตั้งแต่แรกที่มีสาย LAN CAT7 ของ AQ เข้ามา และมี SW หลายตัว ก็ 3-4 ตัวแหละ แบ่งเป็นโซนชั้นบน 2 ตัวใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ส่วนชั้นล่าง 2 ตัว ห้องนั่งเล่นมีทีวีกับพวก Apple TV / Android box ในห้องฟัง Home Studio ซึ่งฟังเพลงสตรีมเป็นหลัก แม้มีแผ่นฟิสิคัลก็เปิดน้อยมาก จอโปรเจกเตอร์เผื่อไว้ดูหนัง คอนเสิร์ต กีฬาก็มีบ้าง ดู F1, NFL ที่ตามติดตลอด อ้อๆ วอลเลย์บอลสาวไทยต้องเชียร์กันหน่อย จะดูบอลเชียร์ช้างศึกบ้างไม่ถึงกับติด เว้นทัวร์นาเมนต์ใหญ่ๆ 

อุปกรณ์ทั้งหมดล้วนเชื่อมต่อกับ Network Switch ทั้งสิ้น ห้องหลักนี้จะซีเรียสหน่อยจึงใช้ของพี่ส้ม SOtM G10 เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อ ไหนจะเครื่องทดสอบแต่ละตัว ทาง บกบห. ก็รู้ใจส่งมาล้วนสายสตรีมทั้งนั้น เพราะคือทางของเรานี่นา

ช่วงที่ทดสอบพี่ปลาใหญ่ Mola Mola: Tambaqui พ่วงกับ Pachanko Labs: Constellation Mini อยู่ที่ห้องฟัง Home Studio พอดี เลยถอดของเจ้าถิ่นออกเสียบ StreamBRIDGE เข้าไปซะ อย่างที่เห็นสายจะแพงกว่า SW เสียอีก เอาเถอะ… แล้วจะฟังออกไหมในเมื่อของเดิมก็ใช้ของดีอยู่แล้ว อาจไม่เทียบกับตัวที่ใหญ่กว่านักหรอก แต่ที่ใช้ภาพประกอบเพื่อจะได้เห็นชัดว่าต่ออย่างไร ขอไม่เปรียบเทียบเสียงนะ แค่บอกให้รู้ว่าต่างกันตามค่าตัว

งั้นลองเทียบแบบนักเล่นทั่วไป ก็ไม่ยาก เพียงเทียบกับ GIGA Sw ของ IT มาตรฐานที่ไม่ได้โม หยิบ GIGA Sw ของ D-Link กล่องเหล็กจากห้องชั้นบนมาเสียบเทียบกันดูโดยยังคงใช้สายเทพอยู่ รู้เลยว่าห่างกันเยอะ ทีนี้ลองอีกที ไว้ในห้องนั่งเล่นซึ่งใช้กับทีวี บังเอิญช่วงนี้มีเพื่อนบ้านเยอรมันมาใหม่เล่นเป็น Canton Smart Vento 9 กับ ROON CORE บน Pachanko Labs: Constellation Mini เสียบ StreamBRIDGE เข้าไปก็เนียนซิคร้าบ เมื่อเทียบกันกับของเดิมซึ่งเป็น D-Link อีกตัว โอ้ว… ไม่ต้องสืบ ช่างต่างกันเยอะจริง บอกตรงๆ ว่าไม่น่าเทียบเลย แล้วจะกลับมาใช้ตัวเดิมได้อย่างไร

SHOW TIME

ปกติฟังเพลงสตรีมเป็นหลักอยู่แล้ว ไม่ใช้คนที่ติดซีรีส์ แต่ก็ดู NFL ต่อเนื่องจนจะถึง NFL Super Bowl 2023 แล้วบางครั้งก็ดูย้อนหลังจากแอป NFL Games pass เดี๋ยว F1 กำลังจะเริ่มแข่งให้ติดตามนานหลายเดือน อุ่นเครื่องด้วย Netflix => F1 Drive to survive Season 5 ที่ภาพ เสียงสุดๆ อ้างอิงได้เลย

หนักไปทางฟังเพลงซึ่งระยะนี้หลอนกับดนตรีของลุงน้ำ Roger Waters ซึ่งไม่ว่าอัลบั้มใดจะลึกล้ำ ดนตรีของแกมักจะใส่เอฟเฟกต์สอดแทรกไว้เสมอ เสียงบ่น เสียงกระแอม หมาเห่า สับฟืน แม้กระทั่ง เสียงปืน จนถึงขีปนาวุธ อัลบั้มล่าสุด The Lock Down ซึ่งเป็น EP มีแค่ 6 แทร็กก็เช่นกัน โทนของดนตรีลดความเกรี้ยวกราดลง อาจเพราะโดนล็อกดาวน์จนไปไหนไม่ได้ ทัวร์คอนเสิร์ตก็จัดไม่ได้ ทำให้ดนตรีหม่นๆ เหมือนปกที่เป็นขาวดำ

กับอีกอัลบั้มคืออัลบั้มเก่ง Nil Lofgren: Acoustics LIVE  รวมถึงผลงานของนักร้องแม่ค้า Natalie Merchant หลายอัลบั้ม ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ฟังสบาย เหมาะกับอากาศในช่วงนี้คือเย็นสบาย ฟังแล้ว Relax ไม่เร่งรีบ ฟังได้ทั้งวัน ถ้าอยากฟังดนตรีซับซ้อนก็ต้อง Pink Floyd: Animal (2018 remaster) หรือไม่ก็ Roger Waters: Amuse to Death  อัลบั้มที่เอ่ยมานี่ให้รายละเอียดดีมากอยู่แล้ว

…Less noise / Jitter… meant:

ได้อานิสงส์ของ CLEF StreamBRIDGE มาช่วยลดอาการ “ไม่พึงประสงค์” ในวงเน็ตเวิร์กอย่างเบ็ดเสร็จ แม้อาจไม่ได้ทำให้คาแรกเตอร์ของเครื่องเปลี่ยนไปจากเดิม แต่ส่งผลต่อคุณภาพของภาพและเสียง “ที่แท้ทรู” จาก “Player” (TopBox / TV) ให้เปล่งประสิทธิภาพตามเนื้อแท้ของ Player ตัวนั้นอย่างมีนัยยะ จะมีแนวเสียง ภาพที่เปลี่ยนไปตามแนวของ Player / Display แต่ละแบรนด์ที่ลงทุนซื้อ ก็ควรเป็นเช่นนั้นมิใช่รึ?

“BRIDGE over trouble STREAM”

สะพานเชื่อม ข้ามความแปรปรวนของกระแสสตรีมมิ่งอันเชี่ยวกราก…

เสียงดนตรีที่ออกจากเครื่องเสียงชั้นดีนั้นหาใช่เพียง “(Sample rate, codec, server, apps, network, หรือ softwares)” ต้องมี Details, Timbre > Real Sound > Image > Sound Stage > Dynamic Head Room > Musical & Emotion คือความซาบซึ้ง ลุ่มลึก สุนทรีในเสียงดนตรี ประเด็นหลังนี่แหละเป็นข้อบ่งชี้ทางศิลปะดนตรี ที่มิอาจวัดได้ด้วยเครื่องมือใดๆ ฟังได้ด้วยหูจากชุดไฮไฟ ก็สามารถให้ความแตกต่างได้ 
การอัพเกรด PSU คือ Core ของ CLEF StreamBRIDGE อันเป็นจุดแข็งโป๊ก ตรงประเด็นที่สุด ทำให้ Noise ลดลงหรือหายไป ซึ่งจะไม่ไปรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึง Clock ด้วย แถมยังเปลี่ยนเป็น Low Noise TCXO Clock ยกระดับคุณภาพและความคุ้มค่าขึ้นไปอีก

เมื่อ Background noise ต่ำ สิ่งที่ได้คือความสงัด รายละเอียดเล็กๆ ได้ยิน มีโฟกัสชัดขึ้น ความลื่นไหล และมีความสมดุลของ Tonal balance ดีขึ้น ให้เสียงอุ่น นวลเนียน ดนตรีมีบอดี้ และเมื่อ Clock ทำงานแม่นยำ Timing เป๊ะ ดนตรีจะไหลลื่น เนียนกริบ มีชีวิตชีวาขึ้นอย่างฟังได้ชัด ซึ่งอาจขึ้นกับสกิลการฟังของแต่ละคน ถ้าไม่ไบอัสเกินสำหรับบางคนที่ตั้งการ์ด

แม้ CLEF StreamBRIDGE บนเว็บจะระบุว่าเพื่อ Audio Streaming ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้กับภาพไม่ได้ แต่กลับเห็นผลง่ายกว่าด้วย จะให้ภาพใส มีไดนามิกส์คอนทราสต์ดีขึ้นอย่างชัดเจน เห็นรายละเอียดชัดขึ้นมาก แนะนำว่าให้มองด้วยตาจะแยกแยะความแตกต่างได้ง่าย ไม่ต้องเพ่ง ถ้าไม่มีปัญหาบกพร่องทางสายตายังไงก็ต้องเห็นความแตกต่าง จะรับรู้ถึงความแตกต่างจนคิดในใจว่า “ไปอยู่ที่ไหนมา” บอกเลยว่าได้เสียเงินแน่

CLEF StreamBRIDGE Network Switch ชั้นดีที่เป็น “อุปกรณ์แห่งยุคสมัย”

คุณภาพคับแก้วอย่างนี้ ขายราคานี้ได้อย่างไร?

“อยากขายเท่านี้ เพื่อยกระดับคุณภาพและให้ได้ใช้กันในวงกว้างไงครับ”

…คือคำตอบของคุณสิทธิชัย บอสแห่ง CLEF Audio ต้องยอมใจและขอเชียร์อีกแรง

อยาก “ยุออกไปกวาดให้หมด” อย่างน้อยก็ลูกค้าของ CLEF ที่ใช้สินค้าของ CLEF อยู่แล้ว ไม่ต้องสงสัยในคุณภาพและการบริการหลังการขาย เชื่อว่าต้องมีลูกค้าสายสตรีมไม่ “เสียงก็ภาพ” ล่ะ ซึ่งน่าจะมีอยู่ไม่น้อย ส่วนใครที่ยังไม่เคยสัมผัส “อุปกรณ์แห่งยุคสมัย” นี้ ซึ่งของมันต้องมีครับ. ADP

ราคา 7,400 บาท

ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Clef Audio
โทร. 0-2932-5981-2
Line Official Account: clefaudio
Facebook: Clef Audio

ผู้สัมภาษณ์: ธรรมนูญ ประทีปจินดา
Audiophile/Videophile Reviewer
อดีตที่ปรึกษาฝ่ายวิศวกรรมสนับสนุนการผลิตโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำ
ผู้เฝ้าติดตามความเป็นไปของดิจิทัลออดิโอ ตาไม่กะพริบ