สวัสดีครับทุกท่าน ก็พบกับผมอีกแล้วนะครับ ตอนที่หนังสือเล่มนี้ออก กิจกรรม “หยุดโลก” Analog VS Digital ในงาน BAV HI-END SHOW 2019 ก็คงผ่านไปแล้ว ผมหวังว่าทุกท่านที่ได้ไปร่วมฟังในงานจะได้ประสบการณ์ดีๆ ที่ พวกเราช่วยกันนำมาแบ่งปันให้นะครับ ทั้งสอง format ก็เสียงดีทั้งคู่ในรูปแบบ ของตัวเอง แต่ยังไงในอนาคต นักเล่นเครื่องเสียงที่ฟังเพลงผ่าน streaming ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่โลกยังหมุนต่อไปอยู่นั้น การพัฒนาคุณภาพเสียง ใน platform streaming ให้ดีขึ้นอาจจะสำคัญกว่าก็เป็นได้

 พูดถึงเรื่อง streaming เมื่อเดือนก่อน ผมได้มีโอกาสรับเชิญไปร่วมงาน แนะนำสินค้าของบริษัท dCS รุ่น Bartok ซึ่งเป็น DAC รุ่นใหม่ที่มาบุกเบิกตลาด หูฟังที่กำลังโตขึ้น ผมเองก็ เพิ่งซื้อหูฟังAudio Technica รุ่นATH-L5000 ที่ เป็น รุ่น limited ซึ่งโควต้าในไทยก็หมดไปอย่างรวดเร็วครับ ช่วงนี้ก็เริ่มเห็นหูฟังราคา หลักแสนออกมาหลายรุ่นอยู่เหมือนกัน แม้ในไทยตลาดหูฟังจะดูไม่คึกคักมากนัก แต่ก็มีผู้เล่นที่จัดชุดหนักอยู่เงียบๆ กันเยอะกว่าที่คิดครับ บางท่านก็จัด server ผมไปใช้กับ DAC ตัวหลายแสน ฟังกับหูฟังก็มีอยู่หลายรายเหมือนกันครับ

 • Headphone DAC – New Category ของบริษัท

แต่ไหนแต่ไรมา dCS ก็มุ่งพัฒนาสินค้าหลักคือ DAC เป็นหัวใจสำคัญ และมีอุปกรณ์อื่นๆ มาต่อพ่วงร่วมด้วยคือ Clock ที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำและ ความสมบูรณ์แบบของ Digital Audio, Up-sampler ที่ช่วยแปลงสัญญาณ เป็น DSD ให้เข้ากับระบบ Ring DAC แยกจาก DAC อีกทีอย่างจัดเต็ม, และ ก็มี Transport ที่นำส่งสัญญาณเข้า DAC อย่างดีที่สุดที่จะทำได้ แม้ปีที่ผ่านมา มีสินค้าใหม่อย่าง Network Bridge เพิ่มเข้ามา แต่ก็ยังอยู่ในกลุ่ม transport ของ Digital Audio อยู่ และ dCS ก็ไม่เคยผลิตสินค้าที่มี function ของ Analogue มาร่วมขายด้วยเลย

 dCS Bartok จึงเป็นสินค้าชิ้นแรกของ dCS ที่มี function Analogue เข้ามาด้วย ตั้งแต่ที่ dCS ทำDAC มานั้น ไม่เคยมีแม้แต่รุ่นเดียวที่มีช่องหูฟัง มาให้ด้วย การเปิดตัวรุ่น Bartok เปรียบได้ดังการเปิดตลาดสินค้ากลุ่มใหม่ ที่ยังไม่ค่อยมีในตลาด high end นัก ในระดับราคา $10,000 USD ขึ้นไป อันนี้ผมพูดถึงบริษัทใหญ่ๆ ที่ทำนะครับ ซึ่งก็มีไม่กี่แบรนด์ที่ผลิต DAC พร้อม feature Headphone Amp อย่างดีในตอนนี้

ภาค Headphone ที่จัดเต็มระดับ Class A พร้อม balanced output

สินค้าของ dCS เวลาออกรุ่นใหม่ในราคาที่จับต้องได้ลงมานั้น ก็มักมา พร้อมกับ technology ใหม่ๆ เพื่อบุกเบิกตลาดใหม่ด้วย อย่างตอนที่ dCS ออก DAC รุ่น Debussy มา ก็เป็น DAC สำหรับผู้เริ่มต้นเข้ามาใช้ dCS แต่ก็มาพร้อม feature USB Audio ที่เล่นไฟล์ DSD ตรงๆ ได้ และเป็น DAC รุ่นแรกๆ ในยุคนั้น ที่เล่น DSD ได้ด้วย การเปิดตัวสินค้าสำหรับผู้เข้ามาใหม่นั้นจึงไม่ใช่แค่เรื่องทำให้ สินค้ามีราคาถูกลง แต่ยังเพิ่มมูลค่าอย่างจัดเต็มด้วยเช่นกัน และเป็นบริษัทที่ตั้งใจ พัฒนาสินค้าเพื่อ Computer Audio ขนาดแยก clock สองเส้นเพื่อแก้ไขปัญหา sample rate สลับไปมาระหว่าง base 44.1 กับ 48kHz ด้วยในรุ่นต่อๆ มา

อย่าง feature headphone output ที่ Bartok ได้เพิ่มมานั้น ก็ไม่ใช่เพิ่ม มาให้ใช้ได้เฉยๆ แต่ใส่ใจกับตลาดหูฟังอย่างจริงจังพอที่จะมีทั้งช่อง 6.3mm ปกติ และ 4-pin XLR สำหรับต่อหูฟังระบบ balanced output ด้วย วงจร Class A ที่สามารถให้กำลังขับได้ถึง 1.4W ที่ load 33 ohm และ 150mW ที่ load 300 ohm นับว่าเยอะพอขับหูฟัง ส่วนใหญ่ในตลาดได้เลยล่ะครับ ในวันงานผมก็ได้ขอลอง feature หูฟังนี้ด้วย พบว่าคุณภาพเสียงดี มากแบบไม่ต้องหาแอมป์หูฟังมา ต่อแยก ก็เป็นชุดจบปี 2019 ได้ สบายๆ ครับ

ภาค DAC ที่มาจากพื้นฐานเดียวกับรุ่น Rossini

dCS Rossini DAC เป็นรุ่นที่นักเล่นระดับ high end ต่างให้การยอมรับ ว่าเป็นสินค้าที่ดีและคุ้มราคาของค่าย dCS แต่ก็ยังราคาสูงระดับเกินครึ่งล้าน ไปเยอะอยู่ Bartok จึงกลายเป็น DAC รุ่นใหม่ที่จะมาสานต่อนวัตกรรมใหม่ๆ ของบริษัทแทนรุ่น Debussy ที่ออกมานานแล้ว แม้ว่า Bartok มีราคาถูกกว่า Rossini ถึง $10,000 USD แต่ก็ใช้ digital processing platform และ Ring DAC รุ่นล่าสุดแบบเดียวกับที่ถูกพัฒนาสำหรับรุ่น Rossini นอกจากนี้ก็มีระบบ auto clocking ที่ใช้ในรุ่น Vivaldi เข้ามาด้วย ซึ่งช่วยลด jitter ทำให้ฟังเพลง เพราะขึ้นเยอะเลย

เวลาที่ dCS ออก firmware update รุ่นใหม่ๆ จึงรับประกันได้ว่า Bartok จะได้รับอัพเดตพร้อมกับรุ่น Rossini ไม่มีตกรุ่นแน่นอนครับ นอกจากนี้ Bartok ก็มาพร้อม firmware และ platform streaming รุ่นล่าสุดที่สามารถใช้ app ที่ชื่อว่า dCS Vivaldi พัฒนามาเล่นผ่านมือถือได้ตรงๆ ผ่านระบบ uPNP เลยครับ ตอนนี้ dCS Vivaldi สามารถใช้งานได้ผ่านระบบ iOS ผมก็ถามนะครับ ว่าจะมี ของเวอร์ชั่น Android ออกมาไหม ทางตัวแทนก็กำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งก็หวังว่า จะมีข่าวดีให้ชาว Android ในเร็ววันนี้ แต่ระบบ uPNP ก็มี app ที่รับรองเล่น ได้เลยเยอะ ก็ไม่น่าเป็นห่วงครับ ใช้ mConnect, Kinsky หรือ BubbleuPNP รอไปก่อนได้ครับ หรือถ้าใช้ Roon หรือ Airplay dCS Bartok ก็สามารถเล่น ผ่าน Airplay และ Roon ได้ทันทีเลยเช่นกันครับ

ภาค Output ที่สามารถต่อ Power Amplifier ตรงๆ ได้เลย

dCS Bartok ถูกเรียกเป็น DAC with Headphone Amplifier ตัวแรกของ บริษัท นอกจากจะขับหูฟังได้แล้ว ภาค output เองก็ถูกออกแบบมาให้สามารถ ต่อเข้าแอมป์ได้ตรงๆ โดยไม่ต้องผ่าน pre amplifier อีกด้วย คุณสามารถควบคุม เสียงพร้อม input ต่างๆ จาก remote ของ dCS ตรงๆ ได้เลย remote ของ dCS สามารถปรับเสียงได้ เลือก input ได้ ปรับ filter และ phase ได้ และสั่ง งานระบบ CD สำหรับ Rossini Player/Transport ได้ด้วย ที่สำคัญ… ใหญ่และ หนักมาก ถ้าโจรเข้ามาสามารถใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวได้เลยครับ

ถ้าผู้ใช้มี pre amp อยู่แล้ว ก็สามารถทดลองเทียบระหว่างต่อผ่านปรี แยกกับต่อผ่าน Bartok ตรงๆ เข้า amp ดูก่อนได้ว่าจะชอบกว่าต่อผ่าน pre amp ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ถ้าจะต่อผ่าน pre amp สามารถปรับ volume จาก Bartok ให้สูงสุดได้ ถ้าหากยังไม่มี pre amp ในดวงใจก็สามารถใช้ dCS Bartok ต่อเข้า amp ตรงๆ ได้ยาวๆ เลยล่ะครับ ตรง output สามารถปรับ voltage ได้ที่ 0.2/0.6/2/6V ซึ่งก็สามารถแมตช์กับ amp และ pre amp ได้แบบ ครอบจักรวาลเลยล่ะครับ ไม่มีปัญหาเรื่อง matching ผิดพลาดแน่นอน

ภาค Digital I/O ที่จัดเต็มครบเครื่องไม่น้อยหน้า DAC รุ่นใหญ่

dCS Bartok แม้จะเป็น DAC with Headphone Amplifier ตัวแรก แต่ก็ มี feature ครบเครื่องเหมือน DAC dCS รุ่นใหญ่ๆ ที่ผ่านมา เช่น clock input ที่สามารถต่อร่วมกับ Rossini Clock ได้ ตามที่ระบุไว้ใน manual ถ้าจะเล่น ไฟล์ให้ลื่นไหลก็ต้องใช้ dCS clock แบบแยกสองเส้น ซึ่งมีแค่รุ่น Rossini กับ Vivaldi ในตอนนี้ที่สามารถต่อ clock สองค่าให้สามารถ lock sample rate ได้ตลอด อย่าง Debussy เองก็รับรองเทคโนโลยี SACD playback ผ่าน dual AES ได้เช่นเดียวกัน ในยุคนั้น dCS ยังไม่ได้คิดค้นระบบ dual clock input ขึ้นมา จึงยังไม่มี แต่พอวิจัย core features อะไรได้ dCS ก็จะนำมา implement ตลอด อย่างที่เห็นใน Bartok นี้

ตรง digital input นี้ก็จะมี dual AES input ที่สามารถรับสัญญาณจาก SACD Transport ได้เหมือน DAC รุ่นใหญ่ที่ผ่านมา ในคู่มือไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็น รุ่นไว้ อาจจะเล่นได้หมดเลยก็เป็น ถ้าใครมี dCS รุ่นก่อนก็สามารถนำBartok ไปใช้แทน แล้วเล่น SACD จาก transport ตัวเดิมมา Bartok ได้เลย แต่ผม ก็ไม่ชัวร์นะครับ ถ้าสนใจก็สอบถามผู้นำเข้า หรือร้านค้าที่ขายก่อนได้นะครับ

ในส่วน streaming นั้น dCS ก็รองรับระบบ streaming แบบครบวงจร เช่นกันครับ สามารถเล่น Tidal และ Spotify ตรงๆผ่าน dCS Bartok ได้เลย นอกจากนี้ก็รองรับ Roon Ready และ Airplay ด้วยซึ่ง app streaming ส่วน มากใน iPhone ก็สามารถเล่นผ่าน Airplay ตรงๆ ได้เลย และ Bartok ก็รองรับ MQA ด้วยนะครับ ล่าสุด Tidal ในมือถือก็รองรับ MQA แล้วด้วย ใครสนใจ ก็สามารถทดลองได้ครับ

สรุป

dCS Bartok อาจเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นถึงการเติบโตของตลาดหูฟังระดับ high end ว่าเริ่มกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ทุกวันนี้ในไทยเองก็มีหลายคนที่ ซื้อเครื่องเล่นหูฟังแบบพกพาหลักแสน และซื้อหลายท่านเลยด้วย การจะจัด ชุดจบของหูฟังตั้งโต๊ะแบบชิ้นเดียวอยู่เลย ก็น่าจะมีคนสนใจไม่น้อย แต่ที่ น่าสนใจกว่าสำหรับผมก็คือ การที่ dCS เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีในส่วน Analogue เข้ามาในผลิตภัณฑ์ด้วย ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่าง Portable Headphone DAC หรือ Player ด้วยก็เป็นได้. ADP