ชานนท์

นักเขียน : ชานนท์ จุทัยรัศม์

ดังที่ทราบกันว่า จุดด้อยของทีวีหน้าจอแบนบางในปัจจุบัน คือ คุณภาพเสียงที่ไม่สู้ดีนัก อันเป็นเหตุจากเนื้อที่ติดตั้งลำโพงที่จำกัดจำเขี่ย ช่องว่างตรงนี้จึงเป็นที่มาของระบบเสียงรูปแบบที่เรียกว่า Soundbar และ Soundbase ซึ่งเข้ามาเติมเต็มความบันเทิง บนหน้าจอทีวีได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่อัพเกรดคุณภาพเสียง ในขณะที่ลักษณะการติดตั้งก็ดูกลมกลืนเข้ากันดี…

ทว่าก็ยังมีคำถามตามมาว่า คุณภาพเสียงของ Soundbar และ Soundbase จะดีสักเพียงใด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับซิสเต็มไฮไฟ หรือระบบโฮมเธียเตอร์ หากเป็นเมื่อก่อนก็ต้องตอบตรงๆ ว่า “ห่างชั้น” อยู่มาก แต่เมื่อ Canton ผู้ผลิต ลำโพงไฮไฟจากเยอรมนี นำเสนอ “DM Series” ซึ่งออกแบบมาเพื่อเสริมระบบเสียง ของทีวีโดยเฉพาะ ก็ขอตอบคำถามข้างต้นใหม่อีกครั้งว่า Soundbar และ Soundbase ในปัจจุบันสามารถให้คุณภาพเสียงได้ไม่น้อยหน้าลำโพงไฮไฟแล้วครับ!

ดังที่เรียนไปว่า DM Series คือ ระบบลำโพงแบบแอ็กทีฟ (มีภาคขยายในตัว) ที่ทาง Canton ออกแบบมาเพื่อใช้งานอัพเกรดระบบเสียงของทีวีตามการแบ่งแยก หมวดที่เรียกว่า TV-Soundsystem นั่นเอง โดยลักษณะจะเหมือนกับ Soundbar/ Soundbase 1 ที่เราๆ ท่านคุ้นเคยกันดี ปัจจุบันข้อมูลจากเว็บไซต์แจ้งว่ามีทั้งหมด 6 รุ่นด้วยกัน โดยรุ่น DM 90.3 ที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไป เป็น Soundbase รุ่นที่ มีขนาดใหญ่ที่สุดของซีรี่ส์นี้

DM 90.3 มีลักษณะเป็น Soundbase ซึ่งใหญ่กว่า Soundbar อย่างเห็น ได้ชัด พร้อมๆ กับน้ำหนักที่มากกว่าหลายเท่า ราว 16.7 กก. การติดตั้งจึงต้อง อาศัยวางบนชั้นที่แข็งแรงเท่านั้น ไม่สามารถยึดแขวนผนังแบบ Soundbar ที่มี ขนาดเล็กและเบากว่าได้

ตัวตู้ลำโพงลึก 30 ซม. และยาว 90 ซม. มองเผินๆ เหมือนลำโพงเซ็นเตอร์ ขนาดใหญ่ ชั้นวางที่จะนำมาใช้งานร่วมด้วยต้องค่อนข้างใหญ่สักหน่อยจึงจะวางได้ มั่นคง แต่ขนาดดังกล่าวช่วยให้สามารถนำทีวีขึ้นไปตั้งวางบน DM 90.3 ได้เลยครับ

เมื่อแกะตะแกรงโลหะที่แผงหน้าตู้ลำโพงออก เผยให้เห็น ตัวขับเสียงด้านใน ยิ่งมั่นใจว่าเสียงจาก Soundbase รุ่นนี้ ไม่ธรรมดาแน่ เพราะมันดูใกล้เคียงกับลำโพงไฮไฟจากผู้ผลิต เดียวกันอย่างมาก จุดที่เตะตาพร้อมๆ กับให้ความคุ้นเคย คือ “ตัวขับเสียงสีเงินจากวัสดุอะลูมิเนียม” อันเป็นเอกลักษณ์ของ Canton มาช้านาน

การจัดวางตัวขับเสียงแยก 2 ฝั่ง ตามแบบฉบับสเตริโอ ซ้าย-ขวา คั่นกลางด้วยท่อ Bass-reflex ทรงสี่เหลี่ยมยาว และ แผงหน้าปัดดิจิทัลแสดงสถานะ ตัวขับเสียงทั้งหมดประกอบไป ด้วย… วูฟเฟอร์อะลูมิเนียมขนาด 4.3 นิ้ว ถึงแม้ขนาดไม่ใหญ่ แต่ด้วยจำนวนมากถึง 4 ชุด ทำงานสอดประสานจึงถ่ายทอด เสี ยงเบสได้ เกิ นตั วถั ดมาริ มนอกของแต่ ละฝั่งเป็นตำแหน่ งของ อะลูมิเนียมทวีตเตอร์ขนาด 1 นิ้ว จัดวางบนโครงสร้างที่ซ้อนอยู่ หน้าอะลูมิเนียมมิดเรนจ์ขนาด 4.3 นิ้ว การแจกแจงรายละเอียด เสียงย่อมไม่ธรรมดา ทั้งหมดได้รับการผลักดันด้วยภาคขยาย กำลังขับรวม 300 วัตต์ ตอบสนองความถี่เสียงตามสเปกได้ ตั้งแต่ 27Hz ไปจนถึง 30kHz เลยทีเดียว

ช่องต่อรับสัญญาณที่ให้มาครบครันมากๆ อาทิ HDMI In มี ถึง 4 ช่อง ด้วยกัน ทั้งหมดรองรับ 4K, 3D Video Pass-through ในส่วนของ HDMI Out จำนวน 1 ช่อง รองรับ ARC (Audio Return Channel) และยังมี Digital Audio แบบ Optical, Coaxial ไปจนถึง Analog Audio (AUX) อีกอย่างละ 1 ชุด Sub Out 1 ชุด และที่ขาดไม่ได้ คือ รองรับการเชื่อมต่อ สัญญาณเสียงไร้สายผ่าน Bluetooth (apt-X) และยังสามารถ ถอดรหัสเสียงดิจิทัลเซอร์ราวด์ทั้ง DTS และ Dolby Digital ได้ ในตัว จึงครอบคลุมเติมเต็มความบันเทิงทั้งการฟังเพลง รับชม ภาพยนตร์ ไปจนถึงการเล่นเกม

1 ความแตกต่างระหว่าง Soundbar และ Soundbase โดยทั่วไป Soundbar จะมีขนาดที่เล็ก บางกว่า การใช้งานจึงมักเป็นแบบ 2.1 กล่าวคือ ต้องมีลำโพงซับวูฟเฟอร์รับหน้าที่ในส่วนของการ ถ่ายทอดย่านเสียงความถี่ต่ำ ข้อดีจากขนาดที่กะทัดรัด คือ ไม่กินที่ น้ำหนักไม่มาก สามารถแขวนได้ ส่วน Soundbase มีขนาดที่ใหญ่ (ตัวตู้ลึก) กว่าจึงสามารถนำทีวีไปตั้งวางบน Soundbase ได้เลย และผลพลอยได้จากตัวตู้ที่มีขนาดใหญ่ยังส่งผลด้านการถ่ายทอดเสียงเบสได้โดยลำพัง อาจไม่จำเป็นต้องพึ่งลำโพงซับวูฟเฟอร์แยก

ถึงแม้ DM 90.3 ถ่ายทอดย่านความถี่ต่ำได้เพียงลำพัง แต่กรณีที่ต้องการ เสริมย่านความถี่ต่ำลึก โดยเฉพาะเมื่อต้องการรับชมภาพยนตร์ให้ได้อรรถรส สูงสุด สามารถเสริมลำโพงซับวูฟเฟอร์ที่ช่อง Sub Out ได้ แต่จะต้อง On ฟังก์ชั่น Sub Out ที่ DM 90.3 ก่อน (กดปุ่ม SOUND ที่รีโมตค้างไว้ 3 วินาที แล้วกดซ้ำๆ จนเจอหัวข้อ SUB) 2 จึงจะมีสัญญาณออกทางช่อง Sub Out เพื่อส่งไปยังลำโพง ซับวูฟเฟอร์ภายนอกที่นำมาต่อพ่วง

วัสดุไปจนถึงการออกแบบตัวตู้ที่พิถีพิถันของ DM 90.3 โดยเฉพาะลักษณะผิวเปียโนดำเงา และโครงสร้างตัวตู้ที่แน่น หนา และหนัก ทำให้นึกไปถึง Vento Series ชุดลำโพงไฮไฟระดับ ไฮเอ็นด์ของผู้ผลิตเดียวกัน ล่าสุดถูกนำมาจัดแสดงโชว์ศักยภาพเสียงในงาน BAV HI-END SHOW เมื่อต้นปี 2017 นี่เอง

ซ้าย – แผงหน้าปัดตัวอักษรเรืองแสงสีน้ำเงินบริเวณกึ่งกลาง แจ้งสถานะและชื่ออินพุตได้ สว่าง มองเห็นเด่นชัดแม้อยู่ใต้ตะแกรงโลหะ; กลาง – ด้านหลังของตะแกรงโลหะมีการซ้อน ใยสังเคราะห์โปร่งแผ่นบางเต็มพื้นที่ เว้นไว้เฉพาะบริเวณที่ตรงกับแผงหน้าปัด จากการใช้งาน พบว่า ใยสังเคราะห์บางนี้มีส่วนช่วยในการจูนเสียงให้มีความลงตัวมากยิ่งขึ้น; ขวา – ช่องรับ สัญญาณต่างๆ ของ DM 90.3 จัดเรียงไว้ด้านหลังทั้งหมด

ช่องรับสัญญาณด้านหลังครบครัน ตรงตามความต้องการในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย 1) AC Power Inlet (C7), 2) Subwoofer Output, 3) AUX (Analog) Input, 4) Digital Coaxial Input, 5) Digital Optical Input, 6) Service Input, 7) HDMI Input, 8) HDMI (ARC) Output พร้อมการเชื่อมต่อสัญญาณเสียงไร้สาย Bluetooth with apt-X

เมื่อ On ฟังก์ชั่น Sub Out ของ DM 90.3 แล้ว วงจร High-pass Filter จะถูกเปิดขึ้นโดย อัตโนมัติ โดยระบบฯ จะตัดความถี่เสียงย่านที่ต่ำกว่า 80Hz ทิ้งไป เพื่อให้การจับคู่ DM 90.3 กับ ลำโพงซับวูฟเฟอร์ภายนอกทำได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงต้องระวังอย่า On ฟั งก์ชั่น Sub Out กรณีที่ไม่มี การเชื่อมต่อกับลำโพงซับวูฟเฟอร์ เพราะจะทำให้เบสหายครับ

คุณภาพการใช้งาน

ด้วยการที่เป็นลำโพงชิ้นเดียว ความยุ่งยากเรื่องของขั้นตอน การเซ็ตอัพตำแหน่งลำโพงซ้าย-ขวาจึงตัดออกไปได้โดยปริยาย อย่างไรก็ดีจุดที่ยังต้องให้ความสำคัญ คือ พื้นที่แวดล้อมที่ทำการตั้งวาง DM 90.3 เพราะจะส่งผลกับสมดุลเสียงอยู่ไม่น้อย เช่น การจัดวางในช่อง หรือในซอกของตู้ built-in อาจส่งผลกับดุลเสียง เบสมากกว่าการวางแบบอิสระบนชั้นโล่งๆ เป็นต้น ในจุดนี้ DM 90.3 จึงมีระบบชดเชยผ่าน EQ ที่เรียกว่า “Installation Mode” 3 แบบ ด้วยกัน ถือเป็นขั้นตอนแรกที่ผู้ใช้ควรให้ความสำคัญ เพราะจะส่ง ผลกับคุณภาพเสียงของ Soundbase ชุดนี้โดยตรง จึงต้องเลือกให้ แม็ตช์กับสภาพการติดตั้งจริง

ขั้นตอนการปรับเปลี่ยน Installation Mode ทำได้โดยกด ปุ่ม SOUND ที่รีโมตค้างไว้ 3 วินาทีเป็นอย่างน้อย จากนั้นกดปุ่ม SOUND นี้ซ้ำๆ จนหน้าปัดเปลี่ยนไปที่ EQ หากต้องการเปลี่ยนตัว เลือกให้กดปุ่ม Volume +/-

EQ1 เหมาะกับการจัดวางแบบอิสระที่ด้านบนชั้นวางเปิดโล่ง (กรณีนี้ทีวีอาจแขวนอยู่บนผนัง) โหมดนี้อาจเรียกว่าเป็น Flat Mode ก็ได้ จึงเป็นค่าเริ่มต้นที่ถูกตั้งมาจากโรงงาน แนะนำให้ทดลองอ้างอิง ฟังเสียง DM 90.3 ที่โหมดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก

ลำดับถัดมา EQ2 เหมาะสำหรับกรณีที่ใช้งาน DM 90.3 ใน ลักษณะเป็น Soundbase จริงๆ กล่าวคือ นำทีวีขึ้นตั้งวางไว้ด้านบน พื้นที่เปิดโล่งโดยรอบลำโพงจึงน้อยกว่าแบบแรก ตรงนี้ระบบฯ จะทำการทอนบางย่านเสียงที่อาจมีปริมาณอื้ออึงขึ้นจากสภาพ แวดล้อมดังกล่าวลงเล็กน้อย

และสุดท้าย EQ3 สำหรับกรณีที่นำDM 90.3 ไปไว้ในช่องชั้น หรือในซอกตู้ ซึ่งแบบนี้มีโอกาสที่เบสจะบวมขึ้นมากวนได้ แต่ไม่ใช่ ปัญหาสำหรับ Soundbase รุ่นนี้ เพราะระบบฯ จะทำการแก้ไข โดยทอนย่านความถี่ต่ำดังกล่าวลงเพื่อผลลัพธ์สุดท้าย คือ สมดุล เสียงที่ดีขึ้นนั่นเอง

ไปเจอรูปของผู้ใช้งานท่านหนึ่งในอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้ออกแบบชั้นวางทีวี โดยทำช่องไว้เหมาะ เจาะพอดีกับขนาดของ DM 90.3 ดูลงตัวเป็น อย่างยิ่ง และเช่นเดียวกันว่า “คุณภาพเสียง” ของซิสเต็มความบันเทิงผ่านหน้าจอทีวีชุดนี้ น่าจะให้ความกลมกลืนลงตัวมาก ไม่แพ้รูปลักษณ์ ที่เห็นเช่นเดียวกัน

มันสามารถพิสูจน์ได้ว่าหากผู้ผลิตพิถีพิถันออกแบบให้ดีเช่นเดียวกับลำโพงไฮไฟก็จะได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงจนสามารถทดแทนกันได้

ในแง่การไฟน์จูนเสียงในขั้นตอนติดตั้ง DM 90.3 ยังมี Bass และ Treble สำหรับปรับแต่งเสียงเพิ่มเติมได้อีกจุดหนึ่ง แต่แนะนำให้ความสำคัญกับการปรับตั้ง ในส่วนของ Installation Mode (EQ) ให้ลงตัว โดยอิงตามสภาพการติดตั้ง ก่อนเป็นอันดับแรก ส่วน Bass และ Treble ไว้เสริมในบางกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อคงธรรมชาติของสมดุลเสียงไว้มากที่สุด ไม่ถูกปรุงแต่งจนเกินพอดี เพราะประเด็นเรื่องของสมดุลเสียงที่เป็นธรรมชาตินี้ถือเป็นจุดเด่นของมาตรฐาน ลำโพงไฮไฟ และแน่นอนว่าของ Soundbase รุ่นนี้เลยครับ

ปกติถ้าเป็นลำโพงทั่วไป ผมชอบเปิดหน้ากาก เพราะรู้สึกว่าเสียงเป็นอิสระ มากกว่า ทว่ากรณีของ DM 90.3 พบว่า หากเปิดหน้ากาก ดุลเสียงจะเอนเอียง ไปทางโทนสว่างมากหน่อย เมื่อพินิจที่หน้ากากตะแกรงโลหะก็พบว่ามีการซ้อน ใยสังเคราะห์โปร่งแผ่นบางเอาไว้ด้วย ผลจากการทดสอบดูท่าจะส่งผลในแง่จูน เสียงให้มีความพอดีตลอดย่านมากขึ้น สังเกตได้จากเสียงร้องที่สะอาดใส แต่มีความ นวลเนียน กลมกล่อมมากกว่าตอนถอดหน้ากาก รายละเอียดเสียงไม่ต้องพูดถึง ยังคงเปิดเผยชัดเจน ตามแบบฉบับลำโพงไฮไฟของ Canton ซึ่งถือว่าทำได้เกินหน้า เกินตา เมื่อเทียบกับมาตรฐาน Soundbar/Soundbase แต่ทั้งนี้เรื่องของหน้ากาก ก็แล้วแต่ความชอบ ทดลองฟังเปรียบเทียบดูก่อน ต้องบอกว่า Soundbase รุ่นนี้ มีอะไรให้เล่นกับเสียงได้เยอะจริงๆ ครับ

ขนาดวูฟเฟอร์ 4.3 นิ้ว แต่ผลลัพธ์ที่ได้เกินตัว ปริมาณเบสน่าจะพอๆ กับลำโพง ไฮไฟวางหิ้งวูฟเฟอร์ขนาดประมาณ 6.5 นิ้ว ที่แม็ตชิ่งภาคขยายได้ลงตัว การรับ ฟังดนตรีหลากหลายแนวไม่พบว่าขาดแคลนย่านต่ำเบสอาจไม่อึกทึกตึงตังเหมือน Soundbar รุ่นที่มีลำโพงซับวูฟเฟอร์แยก ทว่าในแง่การตอบสนองที่ฉับไวเป็นอิสระ บวกกับความกลมกลืนต่อเนื่องเป็นธรรมชาติของย่านต่ำจาก Soundbase รุ่นนี้ หาไม่ได้จาก Soundbar ทั่วไปแน่นอน

ขนาดเวทีเสียงอาจแคบกว่าลำโพงไฮไฟ 2 แชนเนลก็จริง จากข้อจำกัดเรื่อง ของระยะห่างตัวขับเสียงฝั่งซ้ายและขวา แต่ก็แลกมาด้วยพื้นที่ติดตั้งที่กะทัดรัด ดูไม่เกะกะดี ทั้งนี้ DM 90.3 มีระบบ “Virtual Surround” (กดปุ่ม PLAY MODE ที่รีโมต) สามารถจำลองขนาดเวทีเสียงให้กว้างขึ้นได้ และเมื่อนำไปใช้กับการรับชม ภาพยนตร์ต้นฉบับระบบเสียงรอบทิศทางก็ดูเหมือนจะเหมาะเหม็งกันมาก เพราะสามารถจำลองสนามเสียงโอบล้อมเป็นสามมิติขึ้นด้วย อย่างไรก็ดีเมื่อใช้ Virtual Surround กับเพลง 2 แชนเนล อาจต้องแลกกับความกลมกลึงของเนื้อ เสียงไปบ้าง ทดลองฟังเทียบกับ Stereo Mode ดูก่อนว่าชอบแบบไหนมากกว่ากัน สำหรับการฟังเพลงครับ ซึ่งเมื่อท่านเลือกในจุดที่ตรงกับความต้องการแล้ว ความบันเทิงก็ไม่ไปไหน มันจะรออยู่ตรงหน้านี่เอง

ท่านที่กังขาเรื่องของคุณภาพเสียงจาก Soundbar และ Soundbase ว่าจะ ไปได้ไกลสักแค่ไหนกัน? แนะนำให้ลองฟัง DM 90.3 ของ Canton รุ่นนี้ดู อาจ จะได้มุมมองที่ต่างไปจากเดิม ซึ่งในแง่ “สมดุลเสียง” มันสามารถพิสูจน์ได้ว่า หากผู้ผลิตพิถีพิถันออกแบบให้ดีเช่นเดียวกับลำโพงไฮไฟ ก็จะได้ผลลัพธ์ใกล้เคียง จนสามารถทดแทนกันได้ อย่างไรก็ดีจุดเด่นสำคัญของ DM 90.3 คือ ลักษณะที่ เป็นลำโพงชิ้นเดียวพร้อมภาคขยายในตัว ย่อมสะดวกกว่าในแง่การติดตั้งใช้งาน ไม่ต้องการพื้นที่มากมาย ไม่มีสายสัญญาณระโยงระยางต่อพ่วงระหว่างอุปกรณ์ เยอะแยะ จึงดูกลมกลืนเข้ากับความบันเทิงผ่านทีวีในสภาพแวดล้อมห้องนั่งเล่น ทั่วไปได้โดดเด่น. VDP

ราคา 58,000 บาท
จัดจำหน่ายโดย บริษัท อินเวนทีฟ เอวี จำกัด
โทร. 0-2238-4078-9