วิศัลย์

นักเขียน : วิศัลย์ เอกธรรมกุล

ยินดีต้อนรับสู่ WJWJ 106 ครับ ฉบับนี้ ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และน่าจะตีพิมพ์พร้อมกับ AUDIOPHILE RECOMMENDED EQUIPMENTS OF THE YEAR 2018-2019 ว่าไปแล้วในฉบับต้อนรับ ปี 2019 ก็ดูราวกับกอง บก. จะตอบสนองความต้องการ ของ WJ อยู่ลึกๆ ในแง่การทดสอบเครื่องเสียงที่เน้น ความเรียบง่ายเป็นหลัก ซึ่งน่าจะเป็นธีมแห่งปี 2019 ของ WJ นะครับ

ฉบับนี้ WJ ภูมิใจนำเสนอลำโพงเล็กดีรสโต PMC Result6 ที่เป็นลำโพงสตูดิโอในอนุกรม Entry Level ของค่ายที่คราวนี้ เป็นลำโพง Active ซะด้วยสิ เท่ากับว่า ผมเอาปรีแอมป์เชื่อมต่อสัญญาณบาลานซ์ตรงเข้าไปที่ ลำโพง แล้วก็เสียบปลั๊ก ข้อดีมากของลำโพงรุ่นนี้คือ สามารถปรับเกนของสัญญาณอินพุตได้อีกด้วย นั่นแปลว่า การแม็ตชิ่งกับปรีแอมป์มีความยืดหยุ่นสูงสุด แล้วที่สำคัญ เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ PMC ที่เป็นการออกแบบตู้ ที่เรียกว่า Transmission Line Enclosure ยังคงนำมาใช้ กับ Entry Level ตัวนี้ซะด้วย

PMC: Result6

PMC หรือ Professional Monitor Company ก่อตั้งมาเมื่อปี 1990 และทำลำโพงสำหรับเป็นลำโพง มอนิเตอร์ในห้องบันทึกเสียงหรือกระจายเสียงเป็นหลัก ตรงตามชื่อบริษัท ลำโพงตัวเรือธงตัวแรกของค่ายคือ รุ่น BB5 ที่พัฒนามาเป็น BB5 SE ใหม่นี่เอง และก็เริ่มต้น กับรุ่นเรือธงตัวใหม่ จุดเด่นที่สุดของค่ายคือ การออกแบบ ลำโพงที่เรียกว่า “Advance Transmission Line” โดยมี หลักการทำงานที่แตกต่างจาก Transmission Line ทั่วไป กล่าวคือ ลำโพง Transmission Line นั้น แท้จริงแล้วเป็น ลำโพงตู้เปิด เพียงแต่ความยาวของช่องระบายลมในการ ปรับความถี่ หรือ Resonance Port จะต้องมีความยาว มากกว่าลำโพงตู้เปิดทั่วไปไม่น้อยกว่า 1 ในสิบของ ความยาวคลื่นของความถี่ต่ำที่ตอบสนองของระบบ ส่วนการที่ PMC กล่าวว่าของเขาเป็น Advance Transmission Line นั้น ก็เนื่องจากว่า การเลือกวัสดุ ซับเสียงของตู้นั้นจะมีคุณสมบัติที่สามารถกลั่นกรองใหม่

มันเป็นลำโพงที่ตรงไป ตรงมาแบบสตูดิโอ มอนิเตอร์ สะอาด เป็น ลำโพงมอนิเตอร์สมัยใหม่ ที่ฟังง่ายขึ้นและติดหู

ความถี่ต่ำ (ที่ต้องการในเฟสที่พ้องกับไดรเวอร์) เล็ดลอดผ่านออกมาทางท่อเปิด ที่วกวน ส่วนความถี่ที่สูงกว่านั้นจะถูกวัสดุซับเสียงภายในตู้ดูดซับพลังงานนั้นไป ราวกับลำโพงตู้ปิด ด้วยเทคนิคแบบเดียวกับลำโพงตู้เปิดที่มีการใช้ประโยชน์จาก ท่อลมอันวกวนแบบลำโพง Transmission Line เช่นนี้ จะทำให้ได้ความถี่ที่ลึก และทอดตัวได้ดี โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ตู้ขนาดใหญ่เลย แล้วผมก็คิดว่าด้วย คาแร็กเตอร์ตู้ลำโพงแบบกึ่งซับกึ่งสะท้อน ก็ควรจะทำให้ลำโพงมีประสิทธิภาพ สูงด้วย จัดว่านำข้อดีของลำโพงตู้ปิดและตู้เปิดเอามารวมไว้เป็นหนึ่งเดียว อ้อ! สำหรับ PMC Result6 ตอบสนองความถี่ต่ำที่ 45Hz จะได้ความยาวคลื่น อยู่ที่ 7.6 เมตร ในขณะที่ตู้มีความยาวเรโซแนนซ์พอร์ตที่ 1.5 เมตร หรือมากกว่า 1 ในสิบของ 7.6 เมตร (0.76 เมตร) ถึงหนึ่งเท่าตัว ก็เรียกว่าเป็นลำโพง Transmission Line ได้เต็มปากล่ะครับ

PMC Results6 จัดว่าเป็นลำโพงมอนิเตอร์วางหิ้งที่มาแทนที่ลำโพงตระกูล TB (Tiny Box) ที่ผ่านการปรับปรุงมาหลายต่อหลายเวอร์ชั่น ทั้งเป็นลำโพง พาสสีฟธรรมดาในรุ่นแรก กลายมาเป็นลำโพงกึ่งแอ็กทีฟ มาเป็นลำโพงแอ็กทีฟ รวมเพาเวอร์แอมป์ในตัว จนมาถึง Results6 นี่ก็ออกแบบกันใหม่หมด มันเป็น ลำโพงสองทางวางหิ้งแบบแอ็กทีฟ แยกเพาเวอร์แอมป์ขนาด 100 วัตต์เพื่อขับ มิด/เบสไดรเวอร์กรวยกระดาษขนาด 6.5 นิ้ว หรือ 170 มม. โครงไดรเวอร์เป็น โลหะอัลลอยหล่อขึ้นรูปเพื่อความแกร่งและระบายความร้อนได้ดี ส่วนทวีตเตอร์ โดมผ้าไหมขนาด 27 มม. กลไกแม่เหล็กนีโอไดเมียมใส่สารเฟอร์โรฟลูอิดเพื่อการ ระบายความร้อนที่ดีและลดการริงกิ้ง ถูกขับด้วยเพาเวอร์แอมป์ขนาด 65 วัตต์ การตัดความถี่ใช้ครอสโอเวอร์ทั่วไปตัดความชันที่ระดับ 24dB แล้วจึงแยกสัญญาณสัญญาณบาลานซ์เท่านั้น เน้นย้ำการใช้งานแบบสตูดิโอ แท้ๆ พร้อมวงจรป้องกัน RMI/EFI ที่ฝั่งรับสัญญาณขาเข้า เราสามารถปรับอินพุตทริมหรือความไวอินพุตให้แม็ตช์กับ ปรีแอมป์ที่ใช้งานได้ ซึ่งมันเจ๋งมากๆ ตู้ลำโพงมีการใช้วัสดุ แดมปิ้งและค้ำยันมาผสมกับตู้ลำโพง มีการจัดเลย์เอาต์ ด้านหลังตู้เป็นโลหะบางส่วนเพื่อการติดตั้งแอมป์ภายใน และเพื่อประโยชน์ในเรื่องการระบายความร้อนจากวงจร ภายในพาออกมาสู่ภายนอก รวมทั้งต้านแรงสั่นสะเทือน จากตัวตู้ที่จะมารบกวนการทำงานของวงจรได้

สำหรับไดรเวอร์ทวีตเตอร์มีเวฟไกด์ด้านหน้าตู้ เพื่อลดความเพี้ยนของการกระจายเสียงที่บริเวณหน้าตู้ จากการสวิงความถี่ของไดรเวอร์ที่ไม่ต้องการ และเพิ่มยัง ความกว้างของ Sweetspot ด้วย ทางค่ายเรียกว่า D-Fin ความถี่ตอบสนองของระบบอยู่ที่ 45Hz – 22kHz น้ำหนัก ตู้ก็ราว 8 กิโลกรัม

Set up Result6

การทดสอบครั้งนี้ ผมใช้ Ayre: C5XEMP เป็นตัวยืน ด้วย SACD Playback ต่อผ่านภาคปรี AVVA ของ Accuphase: E650 แล้วยิงสายบาลานซ์เข้าไปที่ PMC Result6 เลย สายบาลานซ์ใช้ Cardas: Neutral Reference เข้าหัว Cardas รุ่นใหม่ Clear Beyond ต่อจากปรีแอมป์เข้าลำโพง สายลำโพงกับแอมป์ก็ไม่ต้องใช้ มันจะง่ายอะไรแบบ นั้น ในระหว่างการ ทดสอบ ผมแม็ตช์ ด้วยสายไฟ Cardas: Golden Reference ครับ สะดวกเพราะผม มีใช้และสำรองอยู่ หลายเส้น และให้คุณภาพในระดับมาตรฐานดีเพียงพอ ที่เหลือก็แค่ขยับ ลำโพงตามชอบเท่านั้น ชีวิตดี๊ดี อ่อ! คราวนี้ PMC Results6 จับคู่กับขาตั้งตรงรุ่นครับ ไม่ต้องมาแม็ตชชิ่ง อะไรเพิ่มอีกแล้ว ปรับอินพุตทริมเริ่มที่ -10dB ระยะห่าง ลำโพงซ้ายขวาและผนังหลัง คือ 194/159.5 เซนติเมตร ตามลำดับ เปิดสวิตช์ลำโพงที่ด้านหลังตู้ มีไฟเรืองแสง สีขาวที่ลำโพง ก็เป็นอันใช้ได้ เปิดทิ้งๆ ไว้ซัก 80 ชั่วโมง ก่อนการฟังจริงครับ ในคู่มือแนะนำไว้ที่ 50 ชั่วโมงขึ้นไป

Overture

หลังจากผ่านไป 80 ชั่วโมงก็ถึงเวลานั่งฟังกันจริงจัง สุดท้ายผมปรับอินพุตทริมที่ 0 ครับ ที่ -10 ผมว่ารูปวง แบนไปหน่อย นักร้องก็ออกอาการเมากัญชาครึ่งหลับ ครึ่ งตื่ นสิ่ งที่ น่ าประทั บใจที่ สุ ดของลำโพงวางหิ้ งตู้เล็ กคู่นี้ พูดไปก็ยากจะเชื่อ มันคือ คุณภาพของเบสครับ ที่เรียกว่าเหนือความคาดหมายทั้งในแง่ความสมดุลและคุณภาพ มิอาจจะแยกแยะความผิดแผกแตกต่างของลำโพงที่ใช้ แอมป์ในตู้สองตัวสองวงจรแยกขับไดรเวอร์อิสระ มันเบลนด์กันได้ในระดับที่ไม่ต้องมาสนใจอะไรใน เชิงเทคนิค นอกเหนือไปจากการฟังดนตรีที่มันเปล่งเสียง ออกมาเท่านั้น

ขอบรรยายความในแทร็กแรกของ SACD Linn Records Volume 4, Pray It Never Happens ขับร้อง โดย Maeve O’Boyle ลำโพง PMC Results6 ให้คุณภาพ เสียงกลางที่ตรงไปตรงมา สะอาด ชัดเจน ความสด (Lively) พอประมาณ ไม่ให้ความรู้สึกจริตจะก้านของ นักร้องในระดับลึกแบบที่ผมเคยฟัง เข้าใจว่าเป็นลักษณะ ของแอมป์ที่ขับลำโพงนะครับ ในแง่นี้ ผมคิดว่าตรงตาม ความประสงค์ของลำโพงมอนิเตอร์ในห้องอัดเสียงครับ ที่ระยะการจัดวางที่ต้องบอกว่าค่อนข้างกว้างสำหรับลำโพง ขนาดเท่านี้ แต่ด้วยเทคโนโลยีไวด์แบนด์ของเขาก็นับว่าได้ ผลจริง วงไม่โหว่ แถมช่องไฟของวงก็มีอะไรให้ฟังให้ค้นหามากพอสมควรเลยครับ ความละเอียดหรือ Resolution ของลำโพงตัวนี้ไม่ให้ความรู้สึกถึงการบ่งบอกฟอร์แมตใน การเล่นกลับ คือ มันปลดปล่อยลำนำเสียงดนตรีแบบอิสระ เรียบง่าย น่าฟัง ไม่มีความรู้สึกถึงรูปรสใดๆ เป็นพิเศษ

มาต่อกันที่แทร็กที่สาม A Good and Simple Man ขับร้องโดย Ian Shaw เป็นเพลงที่มีความสลับซับซ้อนของ เมโลดี้และผสมผสานฟิวชั่นเข้าไปหน่อย โอ้ว! เบสดีมาก จริงๆ ชัดเจน เป็นตัวตนของโน้ต ทิ้งได้ลึก และสะอาดมาก ทอดตัวและกระชับในสัดส่วนที่ลงตัว เสียงร้องชายให้โทน ที่แตกต่างไปจากนักร้องหญิงที่สะท้อนความจริงของ ต้นกำเนิดเสียงและการบันทึกในห้องอัด ในแง่การจัดวาง รูปวงดูเหมือนกับไม่ได้เน้นแบบอลังการ แต่มีความ สามารถแยกแยะแจกแจงอาณาเขตได้ดีพอสมควร ดีพอที่ จะบอกได้ว่า ช่องไฟของดนตรีมีขึ้นลงสอดรับและประสาน กันเป็นจังหวะกันได้ไพเราะขนาดไหน ทั้งกีตาร์ไฟฟ้าเครื่องเป่า ที่คลอไปผลุบๆ โผล่ตลอด ฟังเพลินกลมกล่อมดี ผิดกับลำโพงมอนิเตอร์ ที่เพียวๆ (มากไป) ผมว่าเขาปรับแต่งมาได้ลงตัวมากนะ

อีกนิดหนึ่งที่น่าสนใจ การออกแบบตู้ลำโพงที่แปลกกว่าชาวบ้านเขานี่ ถึงแม้ว่าจะใช้เรโซแนนซ์ของตู้มาช่วยเสริมหรือหักล้างเรโซแนนซ์เพื่อให้ได้ความถี่ที่ต้องการ นำเสนอ ผมกลับไม่รู้สึกว่า มันมีเสียงของตู้ลำโพงผสมออกมาด้วยนะ แง่นี้จัดว่าเก่งนะครับ สำหรับวัสดุทำตู้ที่เป็นวัสดุธรรมดา ลืมบอก… ในระหว่างการฟัง เอามือสัมผัสตัวตู้รู้สึกถึงการสั่นนะ แต่การสั่นมันไม่มากวนกับเสียงที่ฟังจนฟังแล้ว พบความผิดปรกติ

SACD 7243 5 41747 28 สังกัด Bluenote Records ปั๊มอเมริกา ของ แม่สาว Norah Jones จะพบว่าอัลบั้มนี้อัดเกนแรงกว่าฝั่งยุโรปมากเลยครับ ฟังเพลงแรก Don’t Know Why หรี่วอลลุ่มแทบไม่ทัน มันชัดจนฟังไม่ค่อยสบาย นี่ก็โดน PMC Results6 ฟ้องเอาซะแล้ว มาแทร็กที่สอง Seven Years นี่ ดูเกน ของเสียงโดยรวมมีการควบคุมและกลมกล่อม ผ่อนคลายน่าฟังกว่ามาก นี่บ่งบอกถึงการ บันทึกและการนำเสนอของผู้จัดทำ ว่าต้องการ ให้แต่ละเพลงให้โทนออกมาทางไหน พอมาถึงแทร็กที่ 3 Cold Cold Heart ที่เริ่มด้วย ดับเบิ้ลเบส ผมว่าเจ้า Results6 ให้เบสที่ดี เกินตัว โดยเฉพาะดูจากขนาดตัวตู้และ ไดรเวอร์ แน่นอนว่ามันให้สเกลของเบสที่ไม่ใหญ่โตมโหฬารอะไร แต่เราสามารถอนุมานถึงขนาดเครื่องดนตรีเทียบกับเบส ที่มันให้ออกมา และระยะการนั่งฟังที่ห่างออกมา มันยังคงให้พลังงานและ ฮาร์โมนิกส์ของเบสในปริมาณที่ดี รวมไปถึงความฉับพลันเมื่อมือเบสตบสายอย่าง ชัดเจน การรูดสาย และการค่อยๆ มีเสียงการพรมนิ้วลงบนแป้นคีย์บอร์ดเปียโน Steinway & Sons ที่สุกใสพอประมาณ ผมพอใจกับเสียงที่ผมได้ฟังนะ มันให้ ความผ่อนคลายและจริงจังในสัดส่วนที่กำลังดีหรือ Well Balance เสียง ของมิดเรนจ์ โดยเฉพาะเสียงร้อง ผมคิดว่าน่าจะผ่อนคลายดีขึ้นกว่านี้ ถ้ามีเวลาเล่นกับมันอีกซัก 200 ชั่วโมง ก็เหมือนกับนักร้องระดับโลกครับ เพลงแรก แก้วเสียงยังไม่เข้าที่ พอเพลงที่สามก็เริ่มกลมกล่อมมากขึ้น เสียงกลางของ PMC มันมีความเป็นกลางสูงมากกว่าลำโพงที่พวกหลงเสียงนางชอบ คือไม่ได้ขี้อ้อน ลีลาเยอะ มันง่ายๆ สะอาด จริงใจ มากกว่า มีทาลิปมันสีอ่อนๆ เท่านั้นเอง กล่าวแค่นี้พอเข้าใจนะครับ ส่วนเสียงสูง ไม่มีจุดเด่นหรือจุดด้อยอะไรมากพอ จนจะชี้นำให้เห็นได้ ให้ความละเอียด ฮาร์โมนิกส์และทรานเชี้ยนต์ที่ไม่น้อยแบบ ห้วนกุดและไม่มากจนอยู่ในระดับละลายไปกับอากาศ นี่แหละผมว่า คนจูนลำโพง นี่เก่งนะ มันให้โทนัลบาลานซ์ที่ดีจริงๆ ลงตัวกับสภาพและงบประมาณ

มาฟัง CD จากซาวด์แทร็ก Bohemian Rhapsody ปั๊มอเมริกาเป็นการส่งท้ายหน่อย ครับ

อินโทรของ 20th Century Fox ใช้การ โหมโรงของลีดกีตาร์สไตล์ Queen เป็นการ อุ่นเครื่องร็อกหวานๆ ตามท้องเรื่อง ผมข้ามมาแทร็กตามชื่อหนังใน แทร็กที่ 7 Bohemian Rhapsody ผมว่าแผ่นนี้ดีนะ น่าจะมีการ รีมาสเตอร์อัลบั้มใหม่กันหน่อยด้วย แม้ว่าจะเล่นผ่าน PMC Results6 ผมก็รู้สึก ถึงความสดใหม่มีชีวิตชีวาของเพลงนี้ราวกับเพิ่งจะอัดกันมาเมื่อไม่นานมานี้ ช่วงเสียงประสานของนักร้องและกีตาร์นำ มันให้ความชัดเจนและโดดเด่นมาก แต่กลมกลืนไปด้วยเครื่องดนตรีหลายชิ้นที่คอยคุมโทน พอกาลิเลโอมา ความเงียบ และการกระแทกกระทั้น การแยกแยะชั้นในแต่ละเลเยอร์ “มามามีอะ” แล้วก็อัด กันนัว เจ้า PMC ตัวจิ๋วๆ นี้ก็ทำเอาขี้หูผมกระเทือนกันเลยทีเดียว ช่วงที่ผ่อน ตอนหลังก็มาในแนวที่หวานจับใจจากน้ำเสียงของเฟรดดี้ และเปียโนที่เข้ากันมาก ติดเศร้านิดหน่อย ผมว่านี่เป็นสไตล์ลำโพงมอนิเตอร์สมัยใหม่ที่ตอบโจทย์ คนรุ่นใหม่ที่ต้องการความยืดหยุ่น โดยเฉพาะสามารถนำไปฟังในห้องฟังหรือ ห้องนั่งเล่นที่ต้องการเสียงที่จริงจังแบบมอนิเตอร์ แต่ต้องใช้งานได้ง่าย และยังให้ ความน่าฟังด้วย แหม! อดไม่ได้ที่จะต้องเอาซีดีมาฟังจนได้

สรุป

PMC Results6 เป็นลำโพง Active ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ งานที่ฟังดนตรีแบบเอาจริงเอาจัง (ที่มีการฟังแบบมิวสิคัล ด้วย) แต่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการแม็ตชิ่งลำโพงกับ แอมป์ รวมไปถึงเครื่องเคราองคาพยพอะไรกันมากมาย ที่บอกว่าจริงจังก็เนื่องจากมันต้องการอินพุตบาลานซ์จาก ภาคปรีที่จะมีฟีเจอร์นี้ให้เฉพาะปรีแอมป์รุ่นใหญ่หรือปรีที่ ใช้ในห้องอัด มันเป็นลำโพงที่เซ็ตอัพง่าย ปรับเกนอินพุตได้ เป็นข้อดี คืออยากให้เสียงที่ดุดันเจิดจรัสก็ปรับเกนไปทาง + อยากได้เสียงที่ผ่อนปรนและสงบมากกว่าก็ปรับเกนมาทาง – ผมคิดว่าประหยัดงบประมาณการแม็ตชิ่งได้มากพอสมควรมันเป็นลำโพงที่ตรงไปตรงมาแบบสตูดิโอมอนิเตอร์ สะอาด เป็นลำโพงมอนิเตอร์สมัยใหม่ที่ฟังง่ายขึ้นและติดหู ดีครับ การเพิ่มความกว้างของการกระจายเสียงจาก แบฟเฟิลให้การจัดวางในห้องอัด หรือแม้แต่ในห้องฟังก็ ทำได้ง่าย ซึ่งเป็นจุดเด่น ฟังแล้วประสาทหูปลอดโปร่ง ราวกับการได้สูดอากาศบริสุทธิ์ฟอกปอดและทางเดิน หายใจบนเขาค้อ มันให้เสียงที่เที่ยงตรง และสะอาดมาก สำหรับผม นี่เป็นลำโพง PMC ที่เก็บได้เลย และถ้าดีลจบ ก็อาจจะไม่ได้ยกกลับนะ1 ใครชอบลำโพงและฟังเพลงแบบ สปาหู 2 ขอแนะนำ PMC Results6 คู่นี้เป็นพิเศษครับ. ADP

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 263