EMOTIVA TA-100
นักเขียน : ภมรเดช หัสเนตร :
ลองเล่น…แอมป์ “ออลอินวัน” ครบ…ทั้งมิติเสียงและเวทีโออ่า อะนาล็อก + ดิจิทัล เพื่อนักฟังเพลง…แบบ “เบสท์บัดเจ็ท” BasX Series
ALL IN ONE : PREAMP/DAC/TUNER/PHONO WITH INTEGRATED AMPLIFIER
เด่น…เวทีด้านลึกและการไต่เสียงจากเบา ไปดังที่นิ่ง แต่ทรงพลัง ให้พื้นเสียงสะอาด ชิ้นดนตรีผ่องแผ้ว เสียงกลาง – สูงน่าฟังมีความเป็นดนตรี
“สมดุลของเสียง” ???
ได้ยินแล้วอย่าทำหน้าเป็นเครื่องหมายคำถามซะก่อน วัยรุ่นถามว่า “คือไรอ่ะ” วัยหลายรุ่นที่ผ่านร้อนผ่านหนาวเล่นเครื่องเสียงมาเยอะได้ยินแล้ว ตอบสวนว่า “ได้โทนบาลานซ์ น่ะเหรอ”
ใครไม่เข้าใจทั้งไทยและฝรั่งขออธิ บายสั้นๆ ได้ ใจความว่าสมดุ ลของเสียงคือเสียงที่อยู่ในเกณฑ์ ไม่มากไม่น้อย มีจุดกึ่งกลาง ให้คนทั่วไปเข้าใจและสัมผัสได้ตรงกันแม้แต่คำว่าเล่นเครื่องเสียง ซึ่งเป็นคำสั้นๆ ทว่ามีความหมายกว้าง เนื่องจากประกอบด้วย การฟังเพลงจากซิสเต็มและดูหนังจากชุดโฮมเธียเตอร์ (ไม่ค่อยมีใครพูดว่าเล่นเครื่องภาพ) ยังถูกตีความไปมาไม่ต่างจากคำว่าสมดุลของเสียง
น่าเสียดายที่สมดุลของเสียงไม่ได้ถูกพูดถึงและนำมาใช้วัด ประสิทธิภาพเครื่องเสียงสักเท่าไร เล่นเครื่องเสียงต้องรู้จักความสมดุล (สมดุลทั้งเครื่อง น้ำเสียง ดนตรี อารมณ์ รวมถึงค่าใช้จ่าย) ใครเข้าใจและนำไปปรับใช้ รับรองว่างานไม่เข้าแน่นอน
ตามความเข้าใจของผมนั้นแบ่งได้ 2 แบบ แบบแรก – คือเสียง ที่อยู่ในเกณฑ์ไม่มากไม่น้อย ไม่เอนไปทางใดทางหนึ่ง ไม่ดังและไม่เบา เกิ นไป ฟั งแล้ วไม่ ร้ อนไม่ เย็ นส่ วนแบบสอง – คื อเสี ยงที่ลงลึ กและ ละเอียดในเรื่องความถี่มองเห็นภาพวงจร การเชื่อมต่อชัดเต็มตา ความถี่เสียงที่สมดุลเปรียบได้กับเส้นตรง ไม่โด่งขึ้นหรือหดลง เรียกว่าได้โทนบาลานซ์พอดี หรือมีความราบเรียบแบบแฟลต ไม่ว่า ตีความแบบใด ก็จะมีขีดคั่นตรงกลางเหมือนกัน นี่เองทำให้เกิดเสียง ภาพ และมิติมายา ทั้งในมุมมองของวิศวกรรม การออกแบบ การจัดการ ทางอะคูสติก และอารมณ์ เครื่องเสียงจึงเกิดขึ้นเพื่อถ่ายทอดสมดุล ของเสียง แต่ จะถ่ายทอดแบบใด คนฟังต้องค้ นหาเพื่อให้เหมาะต่ อจริตการฟังของตน
สมดุลของเสียงพาเราไปเจออะไรบ้าง แอมป์ในรีวิวครั้งนี้มี คำตอบครั บมั นเป็ นแอมป์ ที่เอื้ออาทรต่ อการฟังโหมดดิจิทัลและอะนาล็อกในขนาดแบนบาง น้ำหนั กพอประมาณ มาพร้ อมฟั งก์ ชั่ นแบบคุ้มครบในเครื่องเดียวซะด้วย Dan Laufman และทีมผู้สร้างสรรค์ แบรนด์นี้มีแรงบันดาลใจต่อผลิตภัณฑ์ตรงกันว่า “Why can’t we have amazing audio and video sound at prices that don’t treaten our mortgage?” คิดและทำด้วยความชำนาญใน งานด้านออดิโอ วิศวกร และมีโนว์ฮาวด้านโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ซึ่งไม่ได้ทำแค่เครื่องเสียงสองแชนแนลสำหรับฟังเพลงอย่างเดียว หากแต่ทำแอมป์ดูหนั มัลติแชนแนลเพื่อความบันเทิงที่ หลากหลาย ในบ้านด้วย อย่างนี้ถือว่าได้สมดุลทั้งดิจิทัลและอะนาล็อก
ถ้าคุณมองหาอินทิเกรตแอมป์ที่รองรับอินพุตอะนาล็อกและดิจิทัลแบบครบๆ เป็นปรีอะนาล็อกเพียวๆ ได้รับจูนเนอร์ได้โฟโนได้ แดคเอ็กซ์เทอนอลได้ จำชื่อนี้ไว้ก่อน Emotiva – อีโมติวา
1 x SPEAKER OUTPUTS : 5-WAYS BINDING POST
ขั้วต่อสายลำโพงอยู่ด้านซ้ายของเครื่อง (ห่างจากอินพุตและอยู่ด้านหลังหม้อแปลง) ใช้ขั้วต่อไบดิ้งโพสต์พลาสติกเกรดมาตรฐานขนาดเหมาะมือ ใกล้กันเป็นเอซีอินพุตแบบ 2 ขาที่เชื่อมต่อกับวงจรตรวจวัดและจ่ายแรงดันไฟ 115V / 230V อัตโนมัติ (น่าเสียดายที่ไม่ใช้เต้ารับสามขามีกราวด์ จะได้ใช้งานกับสายเอซีออดิโอเกรดได้) พร้อมสวิตช์เปิด / ปิด สายเอซีที่ให้มามีหน้าตัดปานกลาง ฉนวนสายแข็งแรง หัวปลั๊กชุบนิกเกิล 2 ขา แนะนำให้สลับขั้วปลั๊กแล้วฟังหาด้านที่ให้เสียงดีที่สุด (ผมลองสลับแล้ว ด้านหนึ่งให้เวทีเสียงกระจุกกึ่งกลาง อีกด้านกระจายเวทีซ้ายขวา ให้เลือกด้านที่กระจายเวที จะให้สมดุลเสียงดีที่สุด)
ชื่อ…บ่งอารมณ์…บอกแรงบันดาลใจ
Emotiva Audio Corporation เป็นผู้ผลิตแอมป์สำหรับดูหนังหรือเอวีแอมป์สัญชาติอเมริกันในชื่อ Emotiva ที่ขยันคิดขยันทำ เห็นได้จากจำนวนรุ่นมากมายที่มีตอบสนองต่อนักเล่นฯสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจของต้นสังกัดที่ต้องการทำเครื่องเสียคุณภาพสูงทั้งรูปร่างหน้าตาและน้ำเสียงในราคาที่ใครๆ ก็จับต้องได้
ความหลากหลายนำมาซึ่งจำนวนรุ่นและบุคลิกน้ำเสียงที่รองรับการใช้งาน นั่นทำให้เกิดฟีดแบ็กหรือผลการใช้งานจากผู้ใช้ เสียงลือปนเสียงชมว่าแอมป์เจ้านี้ชอบทำเสียงเจิดจ้า เน้นย่านกลางแหลม ให้เสียงพุ่งจู่โจม ถ้าเป็นรุ่นที่จัดเต็มเพื่อดูหนังอย่างเช่น XPA-5 (แอมป์ 5 แชนแนลราคาสี่หมื่นกว่า) / XPA-1 แอมป์โมโนราคาห้าหมื่นกว่า) ใน Gen 1 หรือ 2 ล่ะก็ ผมไม่ค้าน เนื่องจากเสียงประกอบในภาพยนตร์ยุคดิจิทัลจ๋า โดยเฉพาะเสียงเอฟเฟกต์ต่างๆ ที่ไม่ใช่เสียงดนตรีเขาเน้นประเคนความคมชัดไม่ต่างจากความละเอียดของภาพที่ขยายเรโซลูชั่นขึ้นไปเรื่อยๆการออกแบบแอมป์ดูหนังให้ตอบสนองต่อสัญญาณเสียงฉับพลันและปลดปล่อยความถี่ตลอดย่านอย่างทันท่วงทีและครบถ้วน เพื่อรองรับเสียงต่างๆ ในภาพยนตร์หรือที่เรียกว่ามีไดนามิก อิมแพค และทรานเชี้ยนต์นั้น ถือเป็นเรื่องจำเป็น
ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องคัดสรรอุปกรณ์และปรับจูนเพื่อให้ตอบสนองต่อรสชาติในภาพยนตร์ที่หลากหลาย จริงๆ แล้วแบรนด์นี้มีการพัฒนาและปรับจูนต่อเนื่องหลายรุ่น แม้ว่าจะมี Gen 2, 3 ที่ปรับจูนให้มีสมดุลเสียงดีขึ้นตามลำดับ ทว่ารุ่นแรกหรือ Gen 1 ก็ยังคงประทับใจนักเล่นฯ สายเอวีอยู่ไม่น้อย แต่ใช่ว่า Emotiva จะถนัดทำแอมป์ดูหนังเสียงคับโรงอย่างเดียว TA-100 รุ่นนี้คือบทพิสูจน์ที่ฟันธงตรงเผงว่า Emotiva ทำแอมป์ฟังเพลงได้ดีไม่แพ้แอมป์มัลติแชนแนล
Emotiva มีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 ซีรีส์คือ BasX / Airmotiv / X Series ทุกซีรีส์ถูกออกแบบและปรับจูนน้ำเสียงจนมาถึง Gen 3 (ตัวแทนจำหน่ายในไทยคือ Inventive AV (IAV) TA-100 เป็นหนึ่งในซีรีส์ BasX ที่มีครบทั้งแอมป์สองแชนแนล มัลติแชนแนล ซีดี /ทรานสปอร์ต และลำโพง (วางขาตั้ง / เซ็นเตอร์ / ซับฯ) จับคู่เป็นซิสเต็มขนาดย่อมๆ ในห้องขนาดปานกลางได้เลย (ซีดีเพลเยอร์กับลำโพงดึงดูดตามากๆ) ทีมวิศวกรออกแบบซีรีส์นี้ให้ตอบสนองการฟังเพลงเป็นหลักเจาะกลุ่มนักฟัง TA-100 จึงน่าจะได้แนวทางการจูนเสียงใน Gen 3 มาไม่น้อย หน้าตาของมันเรียบง่าย แต่เปี่ยมด้วยความแข็งแกร่งและไฮเทค ใช้ปุ่มกดไซส์เล็ก (มีแค่ปุ่มอินพุต ปุ่มเปิด/ปิด) ช่องเสียบหูฟังไซส์มินิ ลูกบิดโวลุ่มก็เล็กโชว์แสงสีฟ้า ใช้จอ VFD ปรับความสว่างได้ 3 สเต็ป (ตัวหนังสือใหญ่สะใจวัยรุ่น) รีโมทฯ มีขนาดเหมาะมือ สวยใสสไตล์คอสเมติก (ใช้แบตเตอรี่ 3 โวลต์ CR2032) แผงหน้าเรียบหรูดูดี แผงหลังแน่นด้วยช่องต่อทั้งอะนาล็อกหรือดิจิทัล ถูกใจใครหลายคนแน่ๆ
แอมป์ยุคใหม่…ของคนยุคใหม่
TA-100 ถือเป็นยูนิฟอร์มของอินทิเกรตแอมป์ยุคใหม่ที่ผสมผสานแนวการเล่นยุคเก่ากับใหม่ เลือกใช้ภาคขยายคลาส A/B ซึ่งมีจุดเด่นตรงปั๊มกำลังขับดี ให้พลังเสียงทุ้มที่เหมาะต่อการขับลำโพงทั่วไป มีอินพุตอะนาล็อกรับสัญญาณไลน์ลีเวลจากซีดีเพลเยอร์ มีภาครับวิทยุ FM ตั้งสถานีได้ 50 ช่อง มีช่องเสียบเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ปรับเกนขยายหัวเข็มทั้ง MM / MC (มีสวิตช์ปรับแยก ไม่รวมกับไลน์อินพุต) มีอินพุตดิจิทัลชวนใช้เพื่อนักเลงไฟล์ฯลฯ มันทำให้ผมนึกถึงแอมป์พิกัดสูสี NAD : C338 ที่เคยรีวิว (C338 เน้นรับ
BT / WF ไม่เน้นดิจิทัลอินพุต) หากใครคิดทำอินทิเกรตในยุคนี้ คงต้องคิดอ่านแบบนี้ ใช้คำว่ายูนิฟอร์มคงไม่ผิดนัก
สิ่งสำคัญสำหรับแอมป์ออลอินวันแบบนี้คือการออกแบบภาคจ่ายไฟที่ไม่ก่อกวนวงจรต่างๆ เนื่องจากภาคแดคร่วมตัวถังเดียวกับภาคปรีและเพาเวอร์ มักส่งความถี่สูงรบกวนการทำงาน ทำให้เสียงเจิดจ้าพร่าเลือนปลายเสียงสูงจัดกัดหู (จุดที่ต้องเน้นเพื่อป้องกันการรบกวนให้ดีคือเอาต์พุตอะนาล็อกซึ่งเป็นปลายทางของเสียงก่อนปล่อยสู่ขั้วต่อสายลำโพง) TA-100 วางวงจรทั้งหมดเป็นระเบียบเรียบร้อยและห่างกัน คำนึงเรื่องคุณภาพเสียงที่ดีที่สุดด้วยแบนด์วิธหรือการตอบสนองความถี่กว้างที่สุด (20Hz – 20kHz) เน้นระบายความร้อนและป้องกันการกวนทางความถี่ระหว่างบอร์ด เพื่อให้มีน้อยส์น้อยที่สุด (ฟังครั้งแรก เจอกับหูว่าเงียบกริบ เร่งโวลุ่มจนสุดก็ไม่มีเสียงเล็ดลอด)
TA-100 ติดตั้งบอร์ดวงจรแบบดับเบิ้ลไซส์ที่ใช้อุปกรณ์ดิสครีตเพลททรูโฮลด์ทำให้ประหยัดพื้นที่ ฝาครอบเจาะช่องระบายความร้อนยาวตลอด (ใช้นิ้วกดแรงๆ ไม่ยุบ) งานออกแบบเครื่องเป็นสไตล์อเมริกัน โครงโลหะ 2RU แผงหน้าอะลูมิเนียมอะโนไดซ์หนาแผ่นเดียว (ด้านข้างซ้ายขวาติดแผ่นอะลูฯ เพิ่มความดุดันและให้ฟีลลิ่งเครื่องสตูดิโอ)
ภาคจ่ายไฟใช้หม้อแปลงเทอรอยดัลลูกใหญ่อยู่ด้านซ้ายของตัวถัง ส่วนบอร์ดอะนาล็อกและดิจิทัลอยู่ใกล้กับขั้วต่อของมันค่อนไปทางแผงหลัง บอร์ดซีเลคเตอร์ โวลุ่มและช่องเสียบเฮดโฟนอยู่ติดกับแผงหน้า ใช้สายเชื่อมต่อสั้นมาก สิ่งที่ไม่ควรละเลยทั้งผู้ผลิต (คนทำ) และผู้ใช้ (คนฟัง) คือ การปรับจูนเสียง ภาคดิจิทัลและอะนาล็อกให้มีมวลและ บรรยากาศที่สมจริง มีความกังวาน ให้มิติหัวเสียงและปลายเสียงบ่งบอก เสียงร้องและเสียงเครื่องดนตรี TA-100 สอบผ่านครับ
อะนาล็อกอินพุตและเอาต์พุตเรียงจากซ้ายไปขวา ตรงกลางเป็นดิจิทัลอินพุต ส่วนขั้วต่อสายลำโพงอยู่ด้านขวา (แยกภาคอินพุตห่างจากภาคจ่ายไฟ ป้องกันสัญญาณรบกวน) ฝาครอบเจาะช่องระบายความร้อน ใช้งานจริง ไม่ร้อนเลย
มิติชัด…โฟกัสไม่คม…อุดมเวทีด้านลึก
ลึกๆ แล้วเสียงของ TA-100 มีบุคลิกบางอย่างละม้ายเสียงแอมป์มัลติแชนแนลแบรนด์เดียวกัน ชม. แรกๆ ที่ทำความคุ้นเคยกับฟังก์ชั่นและเลือกอินพุตที่เหมาะสมต่อการฟัง (ตามจริตของผู้รีวิว) TA-100 ยังให้มิติเสียงแนวกว้าง ไม่เน้นชิ้นดนตรีเป็นตัว ด้านลึกไม่ชี้ชัด กลวงตรงกลางนิดๆ ผมต้องเร่งโวลุ่มมากเพื่อให้เสียงแซกโซโฟนควอเต็ต โซปราโน อัลโต้ เทเนอร์ และบาริโทนในเพลง Wal.Halla จากชุด Truffles ของ Artvark Saxophone Quartet (Hitman) แผดพุ่งเสียงแหวกอากาศมาถึงจุดนั่งฟัง (ขับมอนิเตอร์ Yamaha NS10M วางห่างกัน 3 ม. Nearfield Set-Up / ฟังอินพุตอะนาล็อก (CD) แอมป์ใช้สายเอซีสองขา ผมจึงสลับขาปลั๊กเสียบ เลือกด้านเสียงดีที่สุด (เฟสไฟพ้องกับเฟสสายในเครื่อง) แนะนำให้ทำก่อนใช้งานแอมป์รุ่นนี้!!! และควรหาสายกราวด์มาเชื่อมจากจุดกราวด์ตัวถัง (ใกล้ช่อง Phono) ไปยังจุดกราวด์ที่ปลั๊กรางของคุณ สภาวะไร้กราวด์ลูปบนตัวถังจะช่วยขจัดน้อยส์และผลักชิ้นดนตรีเป็น 3 มิติ ซึ่งส่งผลต่อการฟังและเซ็ตลำโพงอย่างยิ่ง นั่นคุณถึงจะได้ยินตัวตนของ TA-100
มันปั๊มกำลังขับ 50 วัตต์ที่ 8 โอห์ม (90 วัตต์ที่ 4 โอห์ม) ใช้วงจรขยายคลาส A/B ซึ่งให้เรี่ยวแรงที่เพียงพอสำหรับลำโพงวางขาตั้งและตั้งพื้นไดรเวอร์น้อย เสียงของซีดีข้างต้นเมื่อฟังช่องอะนาล็อก CD หลังจากรันอินระยะหนึ่งพบว่าชิ้นดนตรีมีระเบียบ เข้าที่เข้าทาง มิติด้านกว้างแผ่และโค้งไปรับกับด้านลึก ผมสัมผัสเวทีด้านลึกที่สร้างความโอ่อ่าให้เกิดขึ้น เสียงแซกฯแต่ละตัวมีอิสระ แจกแจงบอดี้และสเกลเสียงต่างกัน ทว่าเชื่อมโยงจากต้นและปลายโน้ตอย่างกลมกลืน โวลุ่มที่ปรับเพิ่มหรือลดทีละ .5 ดีบี ช่วยกำหนด
ระดับเสียงแต่ละอัลบั้มได้ง่าย ส่งผลต่อการเซ็ตอัพและเลือกใช้อินพุตต่างๆ (เครื่องจำโวลุ่มสุดท้ายกับอินพุตสุดท้ายที่ใช้ก่อนปิดเครื่อง) สิ่งที่ผมว่าเหมือนแอมป์มัลติฯ ของเขาคือ เวทีด้านลึกและการไต่เสียงจากเบาไปดังที่นิ่งแต่ทรงพลัง ให้พื้นเสียงสะอาด ชิ้นดนตรีผ่องแผ้ว เด่นที่เสียงกลาง-สูง
อินพุตดิจิทัลเป็นทีเด็ดที่ทำให้เจ้านี่ไม่หลุดเทรนด์ไฮเรสไฟล์ มันรับดิจิทัลอินพุตได้ทั้งแบบมีสายคือ โคแอ็กเชียล (24/192k), ออพติคัล (24/192k), ยูเอสบี (24/96k) และไร้สายคือ บลูทูธ (ต้องมีตัวรับบลูทูธ AptX) ขาดแค่อย่างเดียวคือ วายฟาย แค่นี้ก็ฟังกันเพลิน เพลเยอร์ทั่วไปที่ปล่อยดิจิทัลเอาต์โคแอ็กฯ และออพตัลได้ไม่ว่าจะรุ่นเก่าหรือใหม่ นำมาอัพเกรดเสียงได้แค่เสียบกับ TA-100 ได้สบม. (THD+Noise <0.003% ทุกแซมปลิ้งเรท ค่า S/N >110 ดีบี) เขี้ยวเล็บของ TA-100 อยู่ในช่องดิจิทัล ผมได้ยินชิ้นดนตรีถูกย้ำเน้น แต่ไม่อวบอูม เวทีกว้างพอเหมาะกับลึก ด้านลึกเป็นจุดขายที่สร้างความโอ่อ่าให้การฟัง มันช่วยถ่างยืดมิติให้ห้องที่ไม่ใหญ่ (วางลำโพงห่างผนังหลังไม่มาก) เบ่งมิติดนตรีเต็มตา โทนบาลานซ์มี มันมาพร้อมกับเสียงต่ำที่กระชับ แน่น งานนี้ไฟล์ไฮเรสคุณภาพดีส่งผลต่อมิติด้านลึกและเสียงต่ำอย่างยิ่ง
เชื่อแล้วล่ะว่า ทีมผู้ผลิตหลงใหลในโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ พอๆ กับที่คิดทำแอมป์แนวนี้ออกมา แต่ถ้าคุณอยากได้แอมป์ 2 แชนแนลในโนว์ฮาวเดียวกัน ให้รายละเอียดเสียงเด่นชัด มีความเป็นดนตรีดีงาม นิยามแห่งสมดุลเสียงรุ่นนี้ รอคุณเป็นเจ้าของอยู่. ADP
นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 250
No Comments