BENQ W5700
ในปี 2562 นี้ ทาง BenQ ได้นำเสนอโปรเจกเตอร์เพื่อใช้ในงาน Home Theater อยู่มากมายหลายรุ่น หลากหลายคุณสมบัติเพื่อให้นำไปใช้ให้เข้ากับผู้ใช้แต่ละท่าน ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นรุ่น W1700, W2700, W11000H, X12000, LK990 และล่าสุดนี้ทาง BenQ ก็ได้เปิดตัวโปรเจกเตอร์สำหรับห้อง Home Theater โดยเฉพาะ ในราคาที่ไม่แรงมาก ได้แก่รุ่น W5700 วันนี้ลองมาดูกันว่าโปรเจกเตอร์ตัวนี้ มีจุดเด่นและมีข้อจำกัดตรงไหนกันบ้าง เผื่อผู้อ่านบางท่านกำลังสนใจ โปรเจกเตอร์ตัวนี้อยู่จะได้มีข้อมูลเพิ่มเติมช่วยในการตัดสินใจ
BenQ W5700 เป็นโปรเจกเตอร์ DLP® รองรับระบบภาพแบบ 4K HDR ในราคาประหยัดที่ทาง BenQ ตั้งราคาไว้ แค่ 69,900 บาท ใครๆ เห็นราคากับสเปก ที่ออกมาก็ต้องร้องโอ้โหกันเลยทีเดียว สำหรับสเปกที่สำคัญมีดังนี้…
ใช้ระบบกำเนิดภาพแบบ Single-DMD DLP® Chip 0.47” DLP ที่สามารถ แสดงภาพแบบ 4K UDH (3840×2160) โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า Fast Switching ให้กระจกขนาดเล็กๆ 4.15 ล้านชิ้นสามารถ แสดงภาพระดับ 3840×2160 หรือ 8.3 ล้านพิกเซลในภาพแต่ละเฟรมได้ ดังนั้น โดยตัวของมันจึงไม่ใช่เป็น Native 4K ที่ เป็น Pixel by Pixel แต่ด้วยความเป็น DLP® Chip ใช้หลักการสะท้อนของกระจก ทำให้ภาพที่ออกมามีความละเอียด ความคมของภาพไม่แพ้ภาพ 4K จากเทคโนโลยีอื่น สำหรับขอบเขตของเฉดสีที่แสดงได้ สามารถครอบคลุมได้ถึง 100% ของระดับ DCI-P3 ที่โหมดภาพ D.Cinema ส่วนในเรื่องของภาพ HDR นั้น เครื่องสามารถรองรับระบบ HDR ได้ทั้งแบบ HDR10 และ HLG (Hybrid Log Gamma) ความสว่างของเครื่องฉายแจ้งมาว่าอยู่ที่ 1800 ANSI Lumens มี Contrast Ratio เมื่อเปิดฟังก์ชั่น Dynamic Iris จะอยู่ที่ 100,000:1 ใช้วงล้อเพื่อกำเนิดสี Color Wheel 6 ส่วน แบบ RGBRGB หมุนด้วยความเร็ว 6X Speed เพื่อ ลดการเกิด Rainbow Effect แหล่งกำเนิดแสงเป็นแบบ Lamp Base 245W อายุหลอดแจ้งไว้ที่โหมดความสว่าง Normal เป็น 4,000 ชั่วโมง, Economic 10,000 ชั่วโมง, SmartEco 10,000 ชั่วโมง และ LampSave 15,000 ชั่วโมง ในการติดตั้งก็สามารถหาตำแหน่งแขวนได้สะดวกไม่ยาก เนื่องจากว่า มีระยะฉาย และ Lens Shift ที่กว้าง (Throw Distance) ขนาดของเครื่องก็ไม่ได้ใหญ่และหนักจนเกินไป และสิ่งที่สำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของภาพมากคือ เรื่องของเลนส์ โดยเลนส์ที่ใช้ในเครื่อง W5700 นี้จะใช้เลนส์แก้วแท้ขอบโลหะ 11 ชิ้น แบ่งเป็น 6 กลุ่มเพื่อให้สามารถถ่ายทอดความละเอียดในระดับ 4K มีความคมชัดสดในของภาพ ตั้งแต่มุมของจอภาพไปจนทั่วทั้งจอรับภาพ
สำหรับช่องต่อด้านหลังมี HDMI (2.0b & HDCP2.2) x 2, USB Type A x 1, USB Type mini B x 1, Audio out (3.5mm Mini Jack) x 1, Audio out (S/PDIF) x 1, LAN (RJ45) x 1, RS232 (DB-9pin), DC 12V Trigger (3.5mm Jack) x 1, IR Receiver x 2, Wired Remote in (3.5mm Mini Jack) x 1
เมื่อเทียบกับรุ่นใหญ่ LK990 โดยขนาดของเครื่องอยู่ที่ 492 x 168 x 349 mm น้ำหนัก 6.5 กิโลกรัม ส่วนครีบระบายความร้อนเป่าลมออกจาก ด้านข้างซ้าย จึงไม่เหมาะที่จะวางเครื่องในชั้นวางที่ปิดด้านข้างนะครับ เพราะจะทำให้ระบายความร้อนลำบาก
เมื่อเปิดกล่องออกมาจะพบกับใบรายงานผลการทดสอบของ D65 Color Temperature, Gamma, Black Level, White Level, Neutral Grey, RGBCMY Color Tracking, Hue, Saturation, Brightness และ Output ของ DCI-P3/Rec709 เพื่อเป็นการยืนยัน เขาได้ทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ Meter Microscope CL-200X แล้วมีเฉดสีที่อยู่ในระดับ 100% Rec.709 และ DCI-P3 และมีความผิดพลาดหรือ Delta E น้อยกว่า 3
ได้เวลาเริ่มทดสอบ อุปกรณ์ที่ใช้ก็เหมือนเดิมคือ Murideo Six-G Pattern Generator เครื่องสร้าง Pattern ในการวัดค่า มิเตอร์วัดค่าใช้ทั้งแบบ Colorimeter และ Spectroradiometer ได้แก่ Klein K10-A Colorimeter และ Jeti Spectraval 1511 ตามลำดับ ใช้โปรแกรมวัดภาพ LightSpace HTP, CalMAN for Business และ ChromaPure Professional จอภาพ ที่ใช้ทดสอบเป็นจอ Stewart FireHawk ขนาด 120 นิ้ว เกรน1.25 วัดค่า ความสว่างในภาพแบบ SDR ได้ประมาณ 40-50nits, HDRได้ 60-70nits ขึ้นอยู่กับ Picture Mode และ Color Gamut ที่เลือก
Picture Mode ในภาพแบบ SDR มีทั้ง Bight, Vivid TV, Cinema (Rec.709), D. Cinema (ใช้สำหรับภาพ 4K SDR) ทั้งยังสามารถ Activate ISF Night & Day เพื่อปรับได้ด้วย
เมื่อวัดค่าต่างๆ พบว่าในภาพแบบ 1080p SDR ค่าที่ใกล้เคียงมาตรฐาน ที่สุดคือ Picture Mode แบบ Cinema แต่ถ้าต้องการปรับค่าแบบ Manual เพื่อให้ได้ค่าใกล้เคียงมาตรฐานมากขึ้น ผมแนะนำให้ไปทำใน User Picture Mode จะดีกว่า เผื่อว่าจะได้เอาไว้เปรียบเทียบกับ Picture Mode แบบ Cinema ได้ โดยจากสภาพอุปกรณ์ต่างๆ และในสภาพแวดล้อมในห้องของผม ค่าใน User Picture Mode ที่แสดงในกราฟมีรายละเอียดดังนี้… Brightness 53, Contrast 48, Gamma 2.5, Color Temp Normal = Red Gain 100, Green Gain 99, Blue Gain 99, Red offset 255, Green offset 257, Blue offset 251 ค่า Color Management เรียงตาม Hue/Saturation/Gain ในแต่ละสีคือ Red = 217/196/199, Green = 223/177/182, Blue = 169/200/179, Cyan = 238/180/208, Magenta = 289/187/214, Yellow = 165/168/191, Brilliant Color On, Wide Color Gamut off ค่าอื่นๆ เอาตามที่ default มาค่าตัวเลขต่างๆ ที่แจ้งมานี้ไม่ได้หมายความว่าปรับค่านี้แล้วจะให้ภาพใกล้เคียงค่ามาตรฐานเหมือนกราฟที่แสดงนะครับ ผมเอามาให้เป็นแนวทางว่า ปรับค่าประมาณนี้ กราฟจะออกมาแนวไหน เพราะค่าต่างๆ เหล่านี้ เมื่อสภาพห้องสภาพอุปกรณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป ค่าก็จะเปลี่ยนไปบ้างครับ
ส่วนถ้าเป็นภาพแบบ 4K HDR นั้น ถ้าตั้งค่า HDR ไว้แบบ Auto เมื่อเจอ สัญญาณ HDR ตัว Picture Mode ก็จะเปลี่ยนไปที่ HDR10 โดยอัตโนมัติ โดยค่า default ที่ให้มานั้นยังไม่แม่นมากเหมือนกับในภาพ Full HD rec.709 SDR โดยค่าในห้องของผมที่ปรับแล้วเหมาะสมจะเป็น Brightness 40, Contrast 90, Color 30, CinemaMaster Flesh Tone -3, Brilliant Color On, Wide Color Gamut off สิ่งที่ต้องระวังนิดหนึ่งในเรื่องการปรับ Color ของภาพโหมด 4K HDR ก็คือ ค่าตั้งต้นที่ให้มาจะเป็น 50 จากสเกล 100 ส่วน สเกล 0 ไม่ได้เป็นภาพไม่เป็นสีนะครับ และพบว่าสีออกมา default ที่ 50 สี จะเข้มกว่าปกติที่ควรเป็น อย่างกับในสภาพแวดล้อมของห้องผมเอง เมื่อปรับ Color เป็น 50 แล้ว สีคนจะออกเหลืองเข้มมากเกินไป (ดูแล้วคล้ายๆ คนเป็น ดีซ่าน 555) แต่เมื่อลดลงเหลือประมาณ Color 30-40 แล้ว ภาพที่ออกมา กลับดูเป็นธรรมชาติสวยงามกว่า ยังไงใครใช้โปรเจกเตอร์รุ่นนี้และไม่มี เครื่องมือหรือมิเตอร์ช่วยวัด ก็ลองปรับเล่นดูได้ว่าสภาพแวดล้อมในห้องของเรา ร่วมกับสภาพการสะท้อนสีของจอในห้องที่ออกมาให้สีสันสดเกินจริงไหม เวลาปรับก็ให้ลองดูจากสีเนื้อคนจะปรับได้ง่าย โดยค่อยๆ ปรับลดค่า Color ลงมาจนดูสีผิวคนดูเป็นปกติ เป็นธรรมชาติ ก็ถือว่าใช้ได้แล้วในเบื้องต้น
นอกจากนี้ ถ้าใครต้องการให้ภาพแบบ 4K HDR มีการปรับความสว่าง ของภาพตาม Max CLL (Maximum Content Light Level) และ Max FALL (Maximum Frame Average Light Level) คล้ายๆ กับลักษณะของ Dynamic Metadata ก็สามารถทำได้ โดยเลือกปรับ Function Dynamic Iris เป็น On และตั้งค่าความสว่างของหลอดเป็น SmartEco แต่พบว่าก็อาจ จะมีเสียงกวนของ Iris ที่ปรับตามความสว่างของภาพในแต่ละฉากอยู่บ้าง ซึ่งถ้าใครจะใช้โหมดนี้ก็ควรวางโปรเจกเตอร์ไว้ไกลตำแหน่งนั่งดูหนังนิดหนึ่ง เสียงของการปรับ Iris อัตโนมัติจะได้ไม่รบกวนมากเกินไป
ส่วนข้อสงสัยที่ทุกคนถามว่า โปรเจกเตอร์ BenQ W5700 นั้น ครอบคลุม Color Gamut ได้ 100% DCI-P3 หรือเปล่า ก็จากสภาพแสงภาพในห้องและ อุ ปกรณ์ของผมก็วัดได้มากกว่า99% ตามที่แสดงไว้ ซึ่งในห้องปฏิบัติการก็ คงสามารถวัดได้ 100% จริงๆ แหละ แต่จะได้ 100% แค่ใน Picture Mode D.Cinema เท่านั้นนะครับ ส่วน Picture Mode อื่นๆ ก็จะลดหลั่นกันลงมา และถ้าสังเกตดูการปรับค่าของผมจะ Off ใน Function Wide Color Gamut ไว้ เพราะเท่าที่ลองดูแล้ว ถ้า On ใน Wide Color Gamut ภาพที่ออกมาจะ มีความสว่างลดลงเนื่องจากเครื่องต้องใส่ฟิลเตอร์ให้ค่าสีกว้างขึ้น ก็เป็นเรื่อง ปกติของโปรเจกเตอร์โดยทั่วไปที่ถ้าต้องการ Color Gamut ที่กว้างขึ้น ถูกต้องมากขึ้น เครื่องก็ต้องใส่ฟิลเตอร์เข้าไป ผลที่ตามมาก็คือ ความสว่างของภาพลดลง เท่าที่ลองดู ผมว่าในเครื่องนี้ตั้งค่า Off ไว้จะให้ภาพที่สว่าง สดใส และสีสันสวยงามกว่า ผมจึงยอมลดความกว้างของ Color Gamut ลงไปเพื่อให้ภาพดีขึ้นโดยเฉพาะในภาพแบบ 4K HDR แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าใครมีเครื่องอยู่ลองเปิดปิดสลับกันก็ได้ครับ แล้วดูว่าสภาพห้องของเรา เหมาะกับแบบไหนมากกว่า
เมื่อทำการตั้งต่าต่างๆ เสร็จแล้วก็ได้ทำการเปรียบเทียบภาพที่ออกมา จริงๆ กับ Reference Monitor โดยในที่นี้ผมใช้เป็น Monitor ของ BenQ รุ่น SW271 ที่ผ่านการทำ 3D LUT และฝัง LUT อยู่ในเครื่องแล้ว ที่ใช้ Monitor ตัวนี้ก็เนื่องจากเป็นจอที่ Technicolor บริษัทที่เป็น Post-Production ของ Hollywood ชื่อดังได้รับรองสีที่ได้จากจอภาพนี้ (Color Certified) และได้ ใช้จอนี้เป็น Post-Production Monitor ด้วย ทำให้มั่นใจได้ว่าภาพและสีสัน ของจอนี้มีความถูกต้องเที่ยงตรงแน่นอน ความจริงถ้าจะให้ดีนี่ ผมอยากได้จอ Sony BVM-X300 หรือ Dolby Pulsar มาเทียบเลย แต่เห็นราคาค่าตัวแต่ละ เครื่องที่เกินระดับเจ็ดหลักแล้ว คิดว่าคงไม่มีปัญญาครับ 555
บางคนก็อาจจะสงสัยว่า ทำไมต้อง เอามาเทียบกับจอที่เป็น Reference ด้วย ทั้งๆ ที่ก็วัดค่าสี ค่าความสว่าง ให้ได้ตามมาตรฐานแล้ว ภาพก็น่าที่จะให้ สีใกล้เคียงกับภาพที่อยู่ใน Mastering Monitor แล้ว ความจริงปัญหามันอยู่ ที่ตรง Spectral Power Distribution (SPD) ของจอภาพ เพราะเมื่อเราใส่ ค่าสีตามแกน x y z ให้ตรงกันในจอที่ มี SPD ต่างกัน สีที่ตามนุษย์เห็นจริงๆ ก็จะต่างกัน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Metamerism จึงต้องมีการชดเชย ค่าสีต่างเพื่อให้ตามนุษย์มองเห็นเป็น สีเดียวกัน อย่างเช่นในจอ OLED เวลา ดูสีขาวที่ D65 x = 0.312, y = 0.329 ก็จะไม่เหมือนกับสีขาวของจอ CRT ที่ D65 x = 0.312, y = 0.329 ดังนั้น สีขาวของ OLED จึงต้องมีการชดเชยค่าที่ เรียกว่า Judd-Vos Correction หรือแม้กระทั่งสีขาวของจอ OLED Sony BVM-X300 ที่ใช้ใน Post Production Studio ก็ไม่เหมือนสีขาวของ OLED ที่ใช้อยู่ในบ้าน เพราะ Sony BVM-X300 เป็น Pure RGB แต่ OLED ที่ใช้ โดยทั่วไปภายในบ้านเป็น RGBW ค่า SPD ของจอทั้งสองแบบเลยต่างกัน ดังนั้น การน?ำเอาจอ Monitor ที่เป็น Reference มาเทียบจึงเปรียบเสมือน เป็นการ Fine Tune ให้แน่ใจว่าสีที่เรามองเห็นหลังจากได้ใช้มิเตอร์วัดค่า ต่างๆ แล้ว เป็นสีเดียวกับที่อยู่ใน Mastering Monitor จริงๆ
สำหรับภาพที่ออกมาจริงๆ ของโปรเจกเตอร์ BenQ W5700 ตัวนี้ ต้องบอกว่าภาพยังคงแนวแบบ DLP® อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องได้ใช้ชิพ 4K DLP® ของ Texas Instruments (TI) ตัวใหม่ล่าสุด ทำให้สีสันมีความสดใส สว่าง ภาพมีความคมชัดรายละเอียดดีตามแนว Single Chip DLP® การเคลื่อนไหวของภาพมีความ Smooth ไม่กระตุกเหมือนในรุ่นเก่า ส่วนในเรื่อง Contrast ที่มักเป็นปัญหาของชิพ ก็พบว่าทาง TI DLP® ได้พัฒนาชิพตัวนี้ ทำให้มีความดำของภาพมากขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด สีของภาพในระบบสี Rec.709 ให้ความแม่นยำถูกต้องของสีภาพดีตั้งแต่เริ่มต้น แต่ถ้าเป็นแบบ 4K HDR อาจจะต้องมีการปรับภาพให้สีถูกต้องอีกเล็กน้อยอย่างที่ได้ กล่าวไว้แล้ว เพื่อให้ Tone Mapping ของเครื่องทำงานได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
สรุปต้องบอกว่า กับค่าตัวแค่หกหมื่นกว่าบาท สามารถได้โปรเจกเตอร์ ที่สามารถแสดงภาพแบบ 4K HDR และได้คุณภาพของภาพออกมาขนาดนี้ ต้องเรียกว่า คุ้มค่ามากๆ ยิ่งกับตัวเครื่องที่ไม่ใหญ่ ไม่หนักเกินไป การจัดวาง ทำได้ง่าย สามารถดูภาพได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะดูทีวี ดูกีฬา ใช้เล่นเกม ดูหนังจาก Apple TV Netflix ฯลฯ ทำให้ตอบโจทย์ของนักเล่น Home Theater ทั่วไปได้ หรือแม้กระทั่งนักเล่นที่จริงจังกับ Home Theater ได้เป็นอย่างดี สำหรับใครที่กำลังมองหาโปรเจกเตอร์ 4K HDR ที่ให้ภาพดี ในราคาที่ไม่สูง เกินไป ผมขอแนะนำโปรเจกเตอร์ตัวนี้เลยครับ. VDP
ราคา 69,900 บาท
จัดจำหน่ายโดย บริษัท เบ็นคิว (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2670-0310-1
No Comments