The SUMO Contest 2019
นักเขียน : ณัฐวุฒิ อ่วมเครือ
สวัสดีครับ หลังจากกลับมาจากงาน Tube Fair ที่ญี่ปุ่น ผมก็ไปงาน November HiFi Show ที่ฟิลิปปินส์ ตามด้วย Sumo Contest 2019 ที่เวียดนามต่อเลย โดยเฉพาะงานที่เวียดนามนั้นน่าสนใจมาก จนต้องนำมาเขียนถึงตัดหน้าที่อื่นๆ ไปก่อน เพราะกลัวจะลืมในบางรายละเอียด และเป็นงานที่ผมได้ข่าวและติดตามงานมาหลายปี อีกทั้งมีเพื่อนนักเล่นเครื่องเสียงชาวเวียดนามอยู่ที่นั่นหลายคนครับ
งานนี้ชื่อว่า Sumo Contest ครับ จัดขึ้น ครั้งแรกในปี 2005 และต่อเนื่องมาถึงปีนี้ เป็นครั้งที่ 14 ตามปกติจะจัดสลับกันระหว่าง เมือง Hanoi และ Ho Chi Minh เพราะนักเล่น เครื่องเสียงในเวียดนามนั้นมีอยู่ทั่วประเทศ และต้องการให้ทุกๆ คนสามารถเข้าร่วมงาน กันได้อย่างทั่วถึง ตามวัตถุประสงค์ของงาน ที่จะเชื่อมความสามัคคีของกลุ่มคนที่ชื่นชอบ ในสิ่งเดียวกันไว้ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น และ เป็นงานใหญ่ที่สุดที่ชาวเวียดนามภาคภูมิใจ
ทีมงานตรวจสอบสภาพเครื่องก่อนเข้าแข่งขัน ขะมักเขม้นกันทุกๆ ทีมครับ
เนื้อหาของงานนี้คือ ทำเครื่องขยายเสียงแบบหลอดสุญญากาศ ไม่ว่าจะเป็นวงจรแบบ Single Ended, Push Pull หรือแม้แต่ OTL ก็ตาม ขอแค่ให้ภาคขยายสัญญาณสุดท้ายเป็นหลอดและมีกำลังขับ ไม่น้อยกว่าที่กำหนด เช่น Single Ended ต้องมีกำลังขับไม่น้อยกว่า 15W และ 50W ในส่วนของ Push Pull และแจ้งความจำนงเข้าร่วม แข่งขัน โดยที่อาจจะรู้ว่าลำโพงหลักในการแข่งเป็นอะไรก่อนงาน ช้าเร็วแค่ไหนแตกต่างกันแต่ละปี ตามแต่ทีมจัดงานจะให้ข้อมูลได้ครับ
พอถึงวันงานจริง ก็นำเครื่องของตนเองมาวัดค่าต่างๆ ด้วยเครื่องมือ ที่ทางผู้จัดงานเตรียมเอาไว้ เพื่อตรวจสอบกำลังขับของแต่ละเครื่องและ ดูการตอบสนองความถี่เก็บไว้เป็นข้อมูล เพราะสุดท้ายแล้วจะมีการให้ รางวัลเครื่องขยายเสียงที่มีผลวัดดีที่สุดอีก 1 รางวัลครับ ในขณะที่วัด กำลังขับก็จะทำการ fixed volume ก็คือกำหนดให้แอมป์แต่ละตัว ทำงานที่ระดับความดังเท่ากันทั้งหมด เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการ แข่งขัน และเครื่องไหนที่วัดแล้ว ไม่ผ่านตามค่าต่างๆ ที่กำหนดไว้ก็ต้อง อดแข่งขัน แพ้ฟาล์วกันไปครับ
ตอนแรกผมและคุณอาร์ตตั้งใจจะไปงานนี้ในฐานะผู้ชมงานทำตัว ตามปกติ แต่เพื่อนสนิทชาวเวียดนามที่รู้จักกันมาเกิน 10 ปี ได้พา พวกผมไปแนะนำกับทางทีมผู้ก่อตั้งและจัดงานนี้ขึ้นมา ซึ่งทางทีมงาน ตื่นเต้นมาก เพราะเป็นปีแรกที่มีคนต่างชาติเข้ามาร่วมงาน ก็เลยเชิญ ผมไปเป็นกรรมการตัดสินร่วมด้วย จากเดิมที่มีกรรมการอยู่ 6 คน ในขณะที่ผู้ร่วมงานทั้งหมดร่วม 200 คนซึ่งถือว่าเยอะมาก สำหรับงาน แข่งขันที่ไม่ใช่งานขายของครับ
GMI-30 Single Ended 810 Push Pull 845 Single Ended GU-13 Single Ended KT150 Push Pull 5D22 Single Ended 805 Push Pull 805 Single Ended
หลังจากที่ได้ผู้เข้าแข่งขันครบแล้ว ทางทีมงานก็จะนำเครื่องทั้งหมด ไปด้านหลังฉากผ้าใบและทำการกำหนดหมายเลขเครื่องขึ้นมา โดยไม่มี ใครทราบว่าเครื่องไหนเป็นหมายเลขอะไร แล้วทำการเปิดเพลงทดสอบ ที่ตัดมาแค่บางส่วน โดยปีนี้ใช้เพลง Dies Irae ของ Verdi กับเพลง J’ai deux amours ของ Chantal Chamberland เป็นเพลงทดสอบครับ
ระหว่างตรวจสอบเครื่อง ก็มีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่เครื่องชอร์ตจนไฟดับไปทั้งงาน คุณพ่อบางคนก็พาลูกมาชมงานด้วย ชุด reference ของงาน จากทาง Octave
เครื่องที่สมัครลงแข่งทั้งหมดในปีนี้ มีอยู่ 19 เครื่อง แต่ผ่านการตรวจสภาพแล้วเหลืออยู่ 12 เครื่องครับ มีแบบ Single Ended 8 เครื่อง และแบบ Push Pull 4 เครื่อง โดยผู้ชนะ การแข่งขันครั้งนี้คือ คุณ Tuấn Anh Amply Đèn ที่มาพร้อมแอมป์หลอด 833 แบบ Single Ended ซึ่งคว้าแชมป์เป็นครั้งที่ 5 จากทั้งหมด 14 ครั้ง และครั้งนี้พ่วงรางวัล Best Single Ended ไปด้วยอีก 1 รางวัล จากที่สอบถามมา ถือเป็นนักพันหม้อแปลงอันดับต้นๆ ของประเทศ ที่คนส่วนใหญ่ให้การยอมรับและเป็นลูกค้า หลังจากที่ได้คุยกันส่วนตัว ก็ยอมรับว่าคุณ Tuấn Anh Amply Đèn เก่งมากและเข้าใจในสิ่งที่ ตนเองทำเป็นอย่างดีครับ
ช่วยกันคนละไม้ละมือ แม้ไม่ใช่เครื่องของตัวเอง เก็บผลวัดเป็นข้อมูลของแต่ละเครื่อง ไว้เป็นรางวัลพิเศษ จริงจังในการแก้ปัญหา เพื่อให้ทันการแข่งขัน GMI-30 Single Ended อีกเครื่อง และได้รางวัล Best Design 845 Single Ended ได้รางวัล Best Measurements ติดมือกลับบ้าน
ขั้นตอนการตัดสินจะมีการให้คะแนนในแต่ละหัวข้อ ทั้งในส่วนของความสามารถใน การขับลำโพงในความถี่ย่านต่างๆ และความโดดเด่นด้านอื่นๆ ซึ่งในแต่ละเครื่องมีความแตกต่าง กันไม่มากครับ ถือว่ามีมาตรฐานที่ดีใกล้เคียงกันในระดับหนึ่งเลย สิ่งหนึ่งที่น่าภูมิใจแทนคือ ปีหลังๆ ที่จัดงาน หม้อแปลงที่ใช้ในการประกอบเครื่องซึ่งถือเป็นหัวใจหลัก จะเป็นหม้อแปลง ที่ผลิตในประเทศเวียดนามเองเกิน 90% ครับ จากปีแรกๆ ที่แข่งขันที่มีการใช้หม้อแปลงจาก ทางญี่ปุ่นหรือยุโรปเป็นหลัก แสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้และพัฒนา ในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบอย่าง ต่อเนื่อง หลายต่อหลายคนที่มาลงแข่ง ก็จะทำเครื่องทั้งหมดด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะประกอบเครื่อง ทำตัวถัง พันหม้อแปลง และออกแบบวงจร ซึ่งน่าชื่นชมในความตั้งใจและพยายามมากครับ
หลอด GMI-30 ขนาดใหญ่มากครับ ทีมงานเบื้องหลังถ่ายภาพร่วมกัน เตรียมตัวก่อนงานจริงจะเริ่ม คุณอาร์ตออกไปกล่าวความรู้สึก กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ ถ่ายคู่กับคุณ Minhpt หนึ่งในผู้ก่อตั้ง VNAV และเป็นผู้ดำเนินงานครั้งนี้ครับ
หลังการประกาศรางวัลทั้งหมดแล้ว คือรางวัลที่ 1, 2, 3 และ รางวัลพิเศษคือ Best Single Ended, Best Specifications กับ Best Design ทางทีมผู้จัดงานก็ได้เชิญผมและคุณอาร์ตขึ้นไป กล่าวความรู้สึกที่ได้มาร่วมงานพร้อมกับเอ่ยปากชวนแกมกดดัน ให้ทำแอมป์หลอดมาร่วมลงแข่งในปีหน้า ที่จะเป็นการครบรอบ 15 ปีของงานด้วย ซึ่งทางผู้จัดงานจะไปแก้กฎที่ว่าผู้แข่งขัน จะต้องเป็นคนเวียดนามเท่านั้น และให้คนต่างชาติสามารถ เข้าร่วมแข่งขันได้ ซึ่งอารมณ์คนในงานคงมีความรู้สึกเหมือน เชียร์ฟุตบอล อยากจะทำแอมป์มารอต้อนรับคนไทยในปีหน้า ทางเราเองก็ตอบตกลงอย่างเสียไม่ได้ เลยต้องกลับมาคิดวางแผน สำหรับปีหน้าแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งก็ถือว่าโชคดีที่ได้รับเกียรตินั้น จากงานแบบปิดภายในประเทศแล้ วมาเปิดรับคนต่างชาติ จนน่าจะเป็นงานระดับภูมิภาคย่อมๆ น่าสนุกและน่าสนใจมากครับ
เพื่อนชาวเวียดนามที่รู้จักกันมา 13 ปีแล้ว
กลับจากงานนี้มา ก็ได้แนวทางหลายต่อหลายอย่างครับ อนาคตอาจจะมีงานแบบนี้เกิดขึ้นที่เมืองไทยบ้าง เพื่อเป็น การสนับสนุนให้มีการต่อยอดและพัฒนาจากแค่สิ่งที่ตนเองรัก เป็นงานอดิเรก สามารถพัฒนาจนได้รับการยอมรับในวงกว้าง สามารถทำในเชิงธุรกิจและสร้างชื่อเสียงให้ประเทศต่อไปได้ เดือนหน้าจะพาไปที่ไหนกันต่อรอติดตามกันนะครับ ส่วนใคร มีข้อเสนอแนะต่างๆ สามารถ ส่งเมลมาได้เลย แล้วพบกัน ฉบับหน้าครับ. ADP
ฉายภาพการ meeting และงานครั้งก่อนๆ ระหว่างรอประกาศรางวัล ผู้เข้าร่วมงานประมาณ 200 ท่าน ที่เห็นว่ามากันเหนียวแน่นทุกๆ ปี บรรยากาศงานเลี้ยงหลังจบการแข่งขัน ระหว่างรอประกาศรางวัล Best Design และ Best Measurements ในครั้งนี้ครับ ถ่ายรูปกับคุณ Duong Hoang ผู้ได้รับรางวัลที่ 2 และรู้จักพวกเรามานาน โดยเราไม่รู้ตัว โฉมหน้าผู้ได้รับรางวัลที่ 1 ถึง 3
ผู้หญิงที่เป็นนักเล่นเครื่องเสียงก็มีให้เห็นที่นั่น คุณ Tuấn Anh Amply Đèn ผู้ชนะการแข่งขัน กล่าวความรู้สึก
มอบของที่ระลึกให้ทีมงานและผู้ร่วมเป็นกรรมการในงาน บรรยากาศงานเลี้ยงหลังจบการแข่งขัน ระหว่างรอประกาศรางวัล
เดือนหน้าจะพาไปที่ไหนกันต่อรอติดตามกันนะครับ ส่วนใครมีข้อเสนอแนะต่างๆ สามารถส่งเมลมาได้เลย แล้วพบกันฉบับหน้าครับ. ADP
No Comments